รัฐบาลญี่ปุ่นหยุดออกบัตรประกันสุขภาพเป็นครั้งแรก โดยผู้ถือบัตรเดิมสามารถใช้งานต่อไปได้ หรือใช้บัตรประชาชน My Number แทนที่
บัตรประชาชนหรือบัตร My Number ของญี่ปุ่นเพิ่งเริ่มออกมาตั้งแต่ปี 2015 พร้อมกับการระบุเลขประจำตัว 12 หลัก โดยเป็นหมายเลขจริง 11 หลัก และหลักที่ 12 เป็นค่า checksum ลดความผิดพลาด
ญี่ปุ่นนั้นมีการจัดทำทะเบียนประชากรมานาน แต่เพิ่งมีการออกบัตรประจำตัวเมื่อปี 2003 เท่านั้น และการออกบัตรก็เป็นไปตามความสมัครใจในกรณีที่ต้องการหลักฐานยืนยันตัวตน และตัวเลขประจำตัวก็ไม่รวมศูนย์ทำให้อ้างอิงถึงตัวบุคคลได้ยาก กระบวนการออกบัตร My Number ที่ใช้เลข 12 หลักอ้างอิงได้ทุกบริการเพิ่งเริ่มเมื่อปี 2015 และมีบัตรชิปเมื่อปี 2021 ทำให้สามารถใช้บัตร My Number แทนบัตรประกันสุขภาพได้ จนถึงเดือนตุลาคม 2023 มีผู้ถือบัตร My Number คิดเป็น 77.4% ของประชากรทั้งประเทศ
หลักจากนี้รัฐบาลญี่ปุ่นจะหยุดออกบัตรประกันสุขภาพโดยสามารถบัตรเดิมไปจนหมดอายุหรือใช้บัตรประชาชน แต่หากประชาชนคนใดยังไม่สมัครบัตร My Number อีกก็จะออกเอกสารรับรองสิทธิ์การรักษาให้แทน โดยตัวเลขเมื่อเดือนตุลาคมที่ผ่านมา ผู้ป่วยในญี่ปุ่นใช้บัตรประชาชนแสดงสิทธิ์การรักษาเพียง 15.7% เท่านั้น
ที่มา - The Japan Times
Comments
ตอนผมทำ My Number มีโปรได้ point ใช้แทนเงินคืน 20,000 เยนครับ คนญี่ปุ่นเองหลายคนไม่อยากทำ เพราะกลัวเรื่อง privacy แต่เด็กนักเรียนต่างชาติทำกันทุกคนครับ ร้อนเงิน😂
หลังจากเรื่องโควิวมา ผมพึ่งรู้ว่า ระบบ30บาท,บัตรทอง บัตรประชาชนใบเดียว บ้านเรานี้ยอดเยี่ยมมากผ่าตัดหรืออะไรที่มันแพงๆมากๆเป็นแสนๆ การเดินสิทธิ์โรงบาลรัฐ ช่วยเหลือได้
อเมริกัน เหมือนบางคนอยากได้สิทธิ์ผ่าตัด หรือหาหมอให้กับครอบครัว ต้องไปเป็นนาวิกโยธิน เพื่อรับสิทธิ์
คนไทยที่ทำงานญี่ปุน บางคนจะผ่าตัดใหญ่ ต้องบินกลับมาไทย ใช้สิทธิ์รัฐ เพราะที่นู่นแพงมาก
แล้วเหมือนเรื่องหัตถการ ไทยจะนำหน้าญี่ปุ่น (อารมณ์แบบคนไทยใจถึง) ญี่ปุนเขาต้องมีลำดับการทำงานชัดเจน ตอนโควิวนี้หนักเลย
แลกมาด้วยฝั่งโรงพยาบาลขาดทุนเละ ต้องเปิดแผนกพิเศษรับลูกค้าวีไอพีหาเงินมาหมุน ฯลฯ
ถ้ารัฐบาลจ่ายเงินตามค่าใช้จ่ายจริงมันก็ไม่น่ามีปัญหาล่ะครับ
ผมก็เพิ่งรู้ เพื่อนผมเป็นมะเร็งเต้านม ใช้สิทธิ์ 30 บาท ผ่าตัดรักษาจนหายได้ ผมอึ้งเลย นึกว่าต้องเสียเงินเป็นหลักแสน นึกว่าต้องขายที่ดินซะแล้ว
คนไทยคงไม่ห่วง Privacy เท่าไรบัตรประชาชนเหมือนขอสาธารณะ
สมัยก่อนยังขอเลข 13 หลัก สมัครไอดีเกมส์กันเรื่องปกติเลย 555
Estonia นี่เลขบัตรเดากันได้เลยนะฮะ 😂 เพศกำเนิด + วันเกิด + running number (ที่แยกตาม 2 ข้อข้างหน้า เหลืออยู่ไม่กี่คนให้รัน) + checksum จากนั้นก็เอาไปดึงชื่อ–นามสกุลมาเช็คต่อได้ว่าถูกคนมั้ย 🙄
แต่ของบ้านเรามันแย่ตรงแจกกันเป็นสาธารณะ แต่ดันใช้ยืนยันในเรื่องสำคัญๆ ได้เนี่ย
ไม่คิดว่าจะมีคนคิดเหมือนผม
เลขบัตรจริง ๆ ผมว่าปล่อยไปก็ได้ แต่ที่สำคัญคือเราต้องมีวิธีการยืนยันธุรกรรมที่ดีกว่านี้ ไม่ใช่บอกเลขบัตรแล้วจบ กระบวนการ Digital Signature ก็ควรนำมาปรับใช้ได้แล้ว ตอนนี้ การผลักดัน ThaID ถือเป็นจุดเริ่มต้นที่ดี
ปล่อยไม่ได้ครับ แต่ไม่ใช่ว่าเราต้องเก็บเป็นความลับ
ปัญหาสำคัญคือการผูกตัวตนเราเข้ากับข้อมูลชุดอื่นๆ ได้ เช่น เราซื้อของสิ่งไหนมาบ้าง, เราเดินทางไปไหน, เราจ่ายเงินค่าอะไร ข้อมูลพวกนี้การบังคับเลยไม่ใช่การบังคับให้เลขบัตรประชาชนของเราเป็นความลับ แต่ไปบังคับเอากับบริการต่างๆ ว่าห้ามผูกข้อมูลของตัวเองเข้ากับเลขบัตรประชาชนไปเสียหมด หรือ ถ้าต้องผูกก็ต้องมีมาตรการป้องกันที่จะโยงกับเลขไม่ได้แม้ข้อมูลจะหลุด
lewcpe.com , @wasonliw
+1 ครับ
ส่วนตัวคิดว่าเลขบัตรประชาชนหรือข้อมูลบนหน้าบัตรเนี่ย ไม่ควรใช้ยืนยันธุรกรรมเพียงอย่างเดียว เพราะมันเป็นสิ่งที่อยู่กับตัวเราไปตลอดไป เช่นเดียวกับพวก Biometric ต่างๆ ถ้าจะใช้ต้องใช้ควบคู่กับอย่างอื่นด้วย (MFA)
ซึ่งเอาจริงๆผมมองว่าระบบเราก็น่าจะพร้อมอยู่นะ แต่น่าจะยังขาดความพร้อมเรื่องบุคลากรอยู่
ปล. แต่ก็ไม่ใช่ว่ามันไม่สำคัญหรือปล่อยสาธารณะได้นะ ดักไว้ก่อน
บ้านเราเริ่มใช้ Laser ID เลขหลังบัตรมาสักระยะแล้วครับ บริการหลายๆ อย่าง โดยเฉพาะพวก KYC ก็ต้องใช้ Laser ID ร่วมกับเลข 13 หลัก (ถึงได้มีการบอกกันว่าห้ามถ่ายสำเนาหลังบัตรเด็ดขาด)
iPAtS
อ่าว โดนไปหลายแล้ว
มันคือการตรวจกับ dopa ครับ
เลขบัตรมันตายตัว แต่ laser มันเปลี่ยนไปตามบัตรหลักๆ มันเช็คได้แค่ บัตรไม่หมดอายุ กันการปลอมแปลงบัตร (กรณีเอาเลขไปสวม ฯลฯ) แต่ในความเป็นจริงมันก็ต้องใช้การตรวจสอบอื่นๆ ร่วมด้วยอยู่ดี เช่น biomatric และ liveness test (เทียบหน้ากับรูป และถ่ายวิดีโอเพื่อดูว่าเป็นคนจริงๆ)
นอกจากนี้พวก online kyc มันก็มีการตรวจรูปด้วย ลำพังเอารูปถ่ายเอกสารมาหลอก มันทำไม่ได้ครับ (มันมีการเช็ครูปถ่ายหน้าเทียบกับรูปบนบัตรด้วย และยังมีการตรวจจับการปลอมแปลงเช่น photoshop ด้วย) และสุดท้ายก่แ็อาจจะมีเจ้าหน้าที่ตรวจอีกที
ค่อนข้างเห็นด้วยตามนี้ฮะ reply ต่อจากนี้แล้วกัน
ของ Estonia ไม่ได้ให้ confirm ความเป็นเจ้าของจริงๆ เพราะงั้นสวมสิทธิ์กันได้เลยแบบ 100% ถ้ายกให้ การยืนยันความเป็นเจ้าของก็แค่ให้ 1 ใน 3 ของที่ยืนยันตัวได้ (บัตร, ซิม, ลงแอปโทรศัพท์ให้) พร้อมกับ PIN ที่ถ้าไม่ให้ PUK ไปก็ยังเอามา reset/change PIN เองได้
(อย่าหาว่าผมขายของแล้วแปะบ่อยเลย แต่คิดว่ามันช่วยให้คนเห็นภาพได้มากขึ้น Digital ID ใน Estonia ทำงานยังไง )
เค้ายึดแค่ว่านั่นมันเป็น identity คุณ ปกป้องรักษากันเอาเอง ถ้าทำหลุดก็รับผิดชอบกันเอง (แต่ก็ยังมีสายด่วน 24 ชั่วโมงให้ revoke ได้) แล้วการจะยกให้ใครมันกระทบมาก เอาไปกู้เงินได้ เข้าถึงนู่นนี่นั่นได้ โอนเงินก็ได้ ขายบ้านทิ้งได้ เลือกตั้งได้ เข้าบริการต่างๆ ทั้งรัฐและเอกชนได้ เพราะงั้นคนคงไม่เอาไปยกให้กันง่ายๆ ไม่งั้นคงไม่เหลืออะไรเลย ส่งต่อให้ทำบัญชีม้าอะไรงี้คงไม่ไหว
หรือถ้าจะฝากคนอื่นทำบางอย่างแทน แบบดูเรื่องภาษี ซื้อยาจากใบสั่งยา มันมีมอบสิทธิ์บางส่วนให้คนนั้นคนนี้ได้ด้วย ไม่ได้ต้องให้เอาบัตรไปแทนทั้งใบ ไม่ต้องยกสิทธิ์ทุกอย่างให้ (แต่ไม่ใช่ทุกอย่างจะยกสิทธิ์ให้ได้)
สามารถใช้บัตรเดิม
เพิ่งรู้ว่าญี่ปุ่นเพิ่งมีบัตรประชาชน ได้ฟัง 9arm ก็บอกว่า อเมริกาไม่มีบัตรประชาชน เวลาจะเลือกตั้งทีก็ต้องไปลงทะเบียนยืนยันสิทธ์เลือกตั้งก่อนไม่งั้นเลือกไม่ได้ แปลกดี
คนละกรอบความคิดกันครับ ส่วนมากมาจากหลักเสรีภาพก่อน (ในยุคตั้งตน) ตั้งแต่ UK US Australia Canada เยอะอยู่ครับ แต่พอในยุคหลักต้องการจัดการข้อมู,ประชากรมันก็เลยมีมาแบบนี้แต่หลายประเทศก็ยังยึดหลักเดิมกัน
นั่นสิครับ เพิ่งทราบเหมือนกัน
รับทำเว็บไซต์ ออกแบบเว็บไซต์