สืบเนื่องมาจากความสงสัยเรื่องไม้ยมกของผมที่ว่า ก่อนหน้าไม้ยมก ต้องเว้นวรรคหรือไม่ ผมก็เลยลองไปค้นหาในวิกิพีเดียดูแล้วพบว่า การเขียนที่ถูกต้องจริง ๆ ต้องเขียนแบบ เว้นหน้าเว้นหลัง จึงจะถูกต้อง อ้างอิงจาก "หลักเกณฑ์การใช้เครื่องหมายวรรคตอนและเครื่องหมายอื่น ๆ หลักเกณฑ์การเว้นวรรค หลักเกณฑ์การเขียนคำย่อ ฉบับราชบัณฑิตยสถาน ฉบับพิมพ์ครั้งที่ 5" ซึ่งผมเห็นว่าข่าวใน blognone เกือบทั้งหมดใช้การเขียนแบบ ชิดหน้าเว้นหลัง ซึ่งไม่ตรงกับหลักเกณฑ์ ดังนั้นเพื่อเป็นการส่งเสริมการเขียนภาษาไทยให้ถูกต้อง ผมจึงเห็นว่าข่าวในเว็บ blognone นี้ก็น่าจะเขียนให้ตรงกับหลักเกณฑ์จากราชบัณฑิตยสถานด้วย อย่างน้อยก็เพื่อเป็นส่วนหนึ่งที่จะกระตุ้นให้สังคมไทยของเราได้เขียน/ใช้ไม้ยมกกันอย่างถูกต้องมากขึ้นครับ
เว็บไซต์ ของราชบัณฑิตยสถานก็ใช้ไม้ยมกแบบเว้นหน้าเว้นหลังครับ(ต้องเปิดด้วยIE)
ทั้งหมดเป็นความคิดเห็นนะครับ ท่านอื่น ๆ มีความคิดเห็นอย่างไร ช่วยกันแชร์หน่อยครับ
ผมเห็นว่าแบบนี้ดีแล้วครับ แบบนั้นผมว่ามันดูรกไป หนังสือส่วนใหญ่ก็ไม่เว้นหน้านะลองสังเกตุดู
May the Force Close be with you. || @nuttyi
รกยังไงครับ ไม่ได้มีตัวอักษรเพิ่มมาสักตัว
รกแบบว่ามันมีช่องแบ่งมากเกินไปอะครับ ดูไม่เป็นประโยค= ='
เมื่อวานตอนสาย ๆ ผมไปวิ่งออกกำลังกายแถว ๆ ฟิตสวนลุม อยู่ ๆ ลุงยามก็เรียกผมให้...
ผมว่ามันดูมีช่องว่างแปลกๆ อะ
May the Force Close be with you. || @nuttyi
เป็นข้อยกเว้นที่ Blognone ยอมรับ เพราะความนิยม, ความง่ายในการอ่าน, และการตัดคำที่เบราเซอร์จะไม่ตัดเอาไม้ยมกไปขึ้นบรรทัดใหม่
แม้การชิดหน้าเว้นหลังจะยอมรับได้ (และได้รับความนิยม) แต่ผมไม่ห้ามการเว้นหน้าเว้นหลักตามหลักนะครับ ผมจำได้ว่ามีข่าวจำนวนหนึ่งที่มีคนเขียนรูปแบบนี้อยู่
ถ้าคุณอยากส่งเสริมการเขียนแบบนี้ เริ่มเขียนเลย เขียนข่าวได้เลยตอนนี้
lewcpe.com , @wasonliw
"แต่ผมไม่ห้ามการเว้นหน้าเว้น >หลัก< ตามหลัก"
ต้องเป็น"แต่ผมไม่ห้ามการเว้นหน้าเว้น >หลัง< ตามหลัก"
หรือเปล่าครับ ?
(เอ๊ะ ! ตัว ? จากประโยคข้างบน นี่ต้องเขียนติด หรือไม่ติด ตัวอักษรตัวสุดท้ายครับ ? / ครับ?)
(แล้ว ตัว ! จากประโยคข้างบน ต้องเขียนติด หรือไม่ติด ตัวอักษรตัวสุดท้ายล่ะ ! / ล่ะ!)
(แล้ววงเล็บเปิดกับวงเล็บปิด จากประโยคข้างบน ต้องเขียนติด หรือไม่ติด กับประโยคในวงเล็บล่ะ) / ล่ะ )
วงเล็บ (เว้นหน้าหลัง) แต่ข้างในไม่ต้องเว้น
ตัวอัศเจรีย์ เขียนติดหน้าได้เลย หลังเว้นรึเปล่าไม่แน่ใจ แต่ประโยคทั่วๆ ไปส่วนมากอัศเจรีย์จะอยู่ท้ายประโยคอยู่แล้ว ไม่น่ามีปัญหาอะไร
เครื่องหมายคำถามรอคนต่อไปละกัน
ป.ล. เขียนได้งงมาก -*-
อย่าไปเชื่อราชบัณฑิตมากเลยครับ ไม่มีประโยชน์หรอก
การใช้ไม้ยมกก็เพื่อซ้ำคำ มันก็ควรติดกับคำที่ซ้ำนะ
+100 ครับการใช้ไม้ยมกก็เพื่อซ้ำคำ มันก็ควรติดกับคำที่ซ้ำ
ผมไม่เห็นด้วยนะครับถ้าเราไม่ยึดตามระเบียบราชบัณฑิต แล้วเราจะไปเชื่อใครล่ะ
เริ่มหัดตั้งแต่วันนี้ก็ไม่มีคำว่าสายไปหรอกนะครับ
ตอนเด็ก ๆ ผมก็เขียนไม้ยมกแบบติด ๆ กันเหมือนคุณนั่นแหละ
แต่คุณแม่ผมเป็นครู แล้วช่วงนั้นแม่กำลังเรียนปริญญาโท และกำลังทำวิทยานิพนธ์ แม่บอกว่า การเขียนไม้ยมกที่ถูกต้อง จะต้องเว้นวรรคทั้งหน้าและหลังไม้ยมกครับ เป็นหลักที่ถูกต้องจริง ๆ (ถึงเอาไปเขียนเป็นวิทยานิพนธ์ได้ยังไงล่ะ)
สำหรับงานที่ไม่เป็นทางการ คงไม่เป็นไร แต่หากงานเป็นทางการก็ควรจะเขียนให้ถูก เป็นแบบอย่างที่ดีครับ ผมว่ามันไม่รกตานะ ทำให้อ่านง่ายซะอีก
ผมใช้เว้นหน้าเว้นหลังในงานที่เป็นทางการเท่านั้นครับ เพราะไม่งั้นมันขัดลูกกะตามาก ไอ้การเว้นหน้าเว้นหลังเนี่ย
แล้วเราเชื่อราชบัณฑิต แล้วเราได้อะไรขึ้นมาล่ะครับ
ราชบัณฑิตทำภาษาช่วงหนึ่งวิบัติ เพื่อที่จะสร้างอะไรบางอย่างที่เรียกว่า Standard ทั้งที่จริงๆมันไม่ใช่คำที่ถูกต้อง
ผลคือคนที่ใช้ภาษาอย่างถูกต้องอยู่แล้ว กลายเปนภาษาวิบัติ
แถมพอใครเห็นว่าควรจะเปลี่ยนบางคำ ให้เขียนให้มันถูกต้องมากกว่า ก็โดนหาว่าใช้ภาษาวิบัติอีก
การเขียนไม้ยมก มีมาแต่ในสมัยไหน และทำไมถึงต้องเว้นหน้าเว้นหลังที่ถูกต้องมันตรงตามหลักราชบัณฑิตจริงๆ หรือเปล่า
ส่วนตัวแล้วผมคิดด้วยซ้ำ ว่าการเว้น และการไม่เว้น มันอาจจะมีความหมายของมัน
เช่น การไม่เว้นหน้า คือซ้ำคำ การเว้นหน้า คือซ้ำทั้งประโยคแต่ไม่มีการวิเคราะห์วิจัย หรือปรับปรุงเปลี่ยนแปลงอะไรทั้งสิ้น บัญญัติเสร็จก็ถือว่า นี่คือความจริงเที่ยงแท้
พอถึงเวลาจริงๆ คนไม่ทำตรงตามที่บัญญัติ ก็มาร้องแรก มันผิดๆ ผิดอย่างเดียว ผิดเท่านั้น ทำภาษาวิบัติ
ถึงกับมีวิจัยออกมาสนับสนุนว่า ทำไมมันถึงผิด
แต่ทำไม ถึงไม่คิดบ้างว่า การกำหนดให้ไม้ยมก หรือแม้แต่ อัศเจรีย์ หรือ ปรัศเจรีย์ เว้นหน้าเว้นหลัง มันผิดตั้งแต่ต้น
อาจจะผิดหลักการยศาสตร์ ผิดหลักการเขียนอ่านภาษาของมนุษย์ หรือผิดสามัญสำนึก
พอถึงเวลาใช้ ถึงไม่มีใครใช้ตามนั้น ก็ยังไม่เคยคิด เอาแต่คิดว่า ต้องใช้ตามนี้ ถึงจะถูก บังคับในเวลาปกติไม่ได้ ก็มาบังคับใช้ในพวกหนังสือทางการ
ราชบัณฑิตอาจจะมีหลักการดี ทำให้ไม่ค่อยมีอะไรผิด แต่ไม่ใช่ว่าราชบัณฑิตไม่เคยผิด
บางอย่างที่คนเขาเขียนกันทั้งบ้านทั้งเมือง เพราะตัวเองบัญญัติไว้อย่างนั้นอยู่มาวันคืนดีไปเจอหลักฐานว่าตัวเองบัญญัติผิด ก็มาแก้บัญญัติว่า แบบนี้ถูก ที่ผ่านมาใช้กันผิด
ไอ้ที่มันเคยเปนคำที่ผิด ตอนนี้ถูกแล้ว เคยมีคนใช้เยอะแยะแต่ไปสอน ไปบังคับ ไปเคี่ยวเข็ญ ให้คนใช้กันแบบผิดๆเอง
ขอโทษสักคำก็ไม่เคยได้ยิน แถมมีอวดบุญคุณ ว่า เราจะอนุโลมให้ใช้คำเก่า (ที่เราบัญญัติผิดเองแต่แรก) ก็ได้นะ
ถ้าบัญญัติผิดเอง ทุกอย่างให้อนุโลม ภาษาไทยเลยมีแต่ "ข้อยกเว้น" "อนุโลม"ไม่มีมาตรฐาน
เราอยู่ใต้ราชบัณฑิต คือโลก Conservative และ เราก็เหมือนพลเมืองใต้ระบอบคณาธิปไตย
ความถูกต้องไม่มีอยู่จริง มีแต่ความถูกใจของคณะปกครอง ไม่มีสิทธิ์โต้แย้ง ไม่มีสิทธิ์เปลี่ยนแปลง
เพราะถึงเสนอไป โต้แย้งไป ถ้าไม่ถูกใจคณะปกครอง ต่อให้ถูก มันก็คือผิด
หาเหตุผลมาอ้างได้เสมอ คำที่ถูก แต่ไม่มีคนใช้ ก็ไม่บัญญัติ อ้างว่าไม่มีใครใช้
คำที่ตัวเองบัญญัติ คนใช้กันไม่ตรงตามที่ตัวเองสั่ง ก็หาว่าทำภาษาวิบัติ
เรื่องบางเรื่องมันมีหลัก มีเหตุในตัวมัน เหนือว่าราชบัณฑิตแต่เราไม่เคยถูกสอนให้เถียงผู้ใหญ่ ผู้อาวุโส ต้องสยบยอมเสมอ
ภาษาเลยมีแต่การวิบัติ ไม่มีการพัฒนา เพราะอะไรจะพัฒนา ก็ถือว่าวิบัติหมด
ไม่มีการคิด วิเคราะห์ แยกแยะ ว่าอะไรเหมาะไม่เหมาะ ควรเปลี่ยนอะไรได้หรือยัง
ก็มีแต่เสื่อม ถอยหลังลงคลอง ใส่ของใหม่ๆ มาให้ขัดกับของเก่าๆ
เพราะของเก่าๆ ต้องอนุรักษ์ เปลี่ยนแปลงไม่ได้
แล้วหลักการมันก็ตีกันเอง
จริงๆแล้วหลักการเขียนไม้ยมก ผมอ่านมาว่า ต้องเว้นหน้าเล็ก
แต่เพราะมันคือสิ่งที่ไม่มีมาตรฐาน ทั้งโลกเขาไม่มีใครใช้กัน
จะให้เปลี่ยนเปน เว้นไปเลย หรือไม่เว้นไปเลย
มันก็ได้ทั้งคู่
แต่อันไหนดีกว่ากันแน่
ทำไมราชบัณฑิต ถึงได้มีสิทธิ์กำหนดขาดแต่เพียงผู้เดียว
ทั้งที่ ภาษาไทย ไม่ได้เกิดจากราชบัณฑิต และยิ่งไม่ใช่ของๆ ราชบัณฑิต
และที่สำคัญ ภาษาไทยในปัจจุบัน ก็พัฒนามาจากพ่อขุนราม โดยพวกเราคนไทยกันเอง
ราชบัณฑิต มีสิทธิ์อะไรมาผูกขาด ความถูกต้อง เอาตามแต่ใจ?
โดยส่วนตัว ผมเห็นว่าในสถานการณ์ส่วนใหญ่ เรายึดหลักของราชบัณฑิตฯ ในฐานะที่เป็นรูปแบบที่ออกมาเป็นมาตรฐานชัดเจนที่สุด (เทียบกับแบบอื่นที่กระจัดกระจายไม่มีความแน่นอน) แต่ผม (ย้ำว่าความเห็นส่วนตัว) ไม่คิดว่าจำเป็นต้องเป็นราชบัณฑิตฯ เพียงอย่างเดียวครับ
ถ้ามันมีหลักอื่นๆ ที่มีหลักชัดเจน สามารถนำไปใช้ยึดหรืออ้างอิงได้ ผมก็ไม่มีปัญหานะ อย่างกรณีนี้ ผมเห็นว่า หลักชิดหน้าเว้นหลัง มันเป็นหลักที่มีการใช้งานเป็น norm ทางภาษาอย่างหนึ่งไปแล้ว คือไม่ใช่แค่เป็นครั้งคราวแบบการสะกดผิด แต่เป็นวิธีที่สำนักพิมพ์หลักๆ ใช้กันแทบทั้งหมด
ผมเขียน เว้นหน้าเว้นหลัง แต่ไม่ได้เพราะตามราชบัญฑิตฯ ผมแค่มองว่า มันสวยกว่า ^^" แต่เขียนชิดหน้าเว้นหลัง มันใช้กันทั่วไปไปแล้ว ไม่ใช่จุดที่ควรแก้ไขให้ถูกต้อง ถ้าใช้กันมาก ๆ จนเป็นปกติ สักวันหนึ่ง ราชบัญฑิตฯ ก็ต้องยอมรับเหมือนกันครับ
ภาษาที่ไม่ตาย มันเปลี่ยนแปลงไปได้เสมอแหละครับ
ป.ล. เว็บเขาแค่ไม่ตั้ง Encoding เท่านั้นเอง ไม่ใช่เข้าไม่ได้หรอกนะ เปลี่ยน Character Encoding เป็น Thai ก็ใช้งานได้แล้ว
Jusci - Google Plus - Twitter
ขอบคุณความเห็นจองทุกคนนะครับ จากความเห็นและจากที่ได้สอบถามคนอื่นๆ เพิ่มเติมทำให้รู้สึกว่าบางครั้งเราก็ต้องทำตามคนส่วนใหญ่เพื่อความกะทัดรัดที่มากกว่า
เหมือนคำว่า computer notebook ที่ ราชบัณฑิตยสถาน แปลออกมาว่า โน้ตบุ๊กคอมพิวเตอร์ แต่คำที่นิยมใช้กันกลับเป็น โน๊ตบุ๊คมากกว่า 1 2 3 4 ป.ล.แต่ผมสนับสนุนแบบเว้นวรรคหน้าหลังมากกว่านะ xD
โน๊ตบุ๊ค ผันเสียงผิดชัดๆเลยนะครับ
ป.ล. แล้วตามหลักแปลก็ควรใช้ โนตบุค นะ
โน๊ตบุ๊ค ไม่ได้ผันเสียงผิดครับ
ต้องบอกว่า ใช้วรรณยุกต์ผิด ต่างหาก
น. เป็นอักษรต่ำ ใช้วรรณยุกต์ได้แค่ น่า น้า
ถ้าอยากให้ครบเสียง ต้องอาศัยอักษรนำมาช่วย ดังนี้ (ครบ 5 เสียง)
นา หน่า น่า น้า หนา
(จะเห็นว่า ไม่มีการใช้ ไม้ตรี (น๊า) และไม้จัตวา (น๋า) กับ น. เลย)
แต่อักษรกลาง สามารถใช้วรรณยุกต์ได้ครบทั้งหมด
กา ก่า ก้า ก๊า ก๋า
ส่วนอักษรสูง ก็ใช้วรรณยุกต์ไม่ครบเช่นกัน
ถ้าอยากได้เสียงครบ ต้องเอาอักษรต่ำมาช่วย
คา ข่า ค่า ค้า ขา
ปัญหาคือ ถ้าไม่รู้จักอักษรสูง กลาง ต่ำ
ก็จะทำตามหลักนี้ไม่เป็น
ถ้าจำไม่ผิด ตามหลักต้องเป็น โนตบุก ด้วยหรือเปล่าครับ เพราะเหมือนจะไม่มีสะกดด้วย ค
หรือเขาเปลี่ยนหลักแล้ว (นึกถึงที่อุตส่าห์จำหลักทับศัพท์ภาษาฝรั่งเศสของราชบัณฑิตฯ ที่ให้ใช้ตัว ช แทนทั้งเสียงตัว j แทนที่จะเป็น ฌ ตามความนิยม มาตอนนี้ดันเปลี่ยนเป็นใช้ตัว ฌ เสียอย่างนั้น)
โน๊ตบุ๊คนั่นยังไงผมก็ว่าผิดครับ คุณลองผันเสียงให้ผมฟังหน่อย อักษรต่ำมีไม่ตรีความรู้ใหม่
May the Force Close be with you. || @nuttyi
ในฐานะที่เคยเรียนพิมพ์ดีด วิธีการพิมพ์ที่ถูกต้องของไม้ยมก คือเว้นหน้าและเว้นหลังค่ะ แต่ที่กลายมาเป็นชิดหน้าเว้นหลัง ก็เพราะเจ้า MS Word ตัวดีนี่แหละ เพราะบางทีตัดเอาไม้ยมกลงไปบรรทัดใหม่ ทำให้อ่านไม่รู้เรื่อง เลยเกิดธรรมเนียมชิดหน้าเว้นหลัง เพื่อแก้ปัญหานี้ค่ะ
ประเด็นเรื่องหลักการของราชบัณฑิต ควรรู้คือ Blognone ไม่ได้พยายามทำตามราชบัณฑิตทุกอย่างนะครับ ศัพท์บัญญัติหลายต่อหลายอันที่เราใช้ไม่ตรง หลักการหลายอย่าง รวมถึงศัพท์บัญญัติ และการถอดเสียงจำนวนมาก
แต่เรา ยอมรับหลักการของราชบัณฑิตครับ นั่นคือหากมีคนมาบอกว่าคุณเขียนผิด แต่คุณสามารถอ้างอิงเอกสารของราชบัณฑิตได้ ถือเป็นสิ้นสุด (ว่าไม่ได้ผิด) ทันที
lewcpe.com , @wasonliw
อย่าหาว่าผมเกรียนเลยนะ แบบนี้ถ้าวันนึงคำว่า ชิมิ เป็นคำที่นิยมขึ้นมาเราก็สามารถใช้คำว่า ชิมิ ด้วยหลักที่ว่ายอมรับ เพราะความนิยมชิมิ
ผมว่าคำนี้ไม่มีทางนิยมหรอกครับ
ตรงที่มีแสง
ถ้านิยมพอให้ราชบัณฑิตยอมรับ ใช่ครับใช้ได้
ถ้าราชบัณฑิตไม่ยอมรับ ก็ต้องมาคุยกันว่าทำไม Blognone จึงควรยอมรับ
lewcpe.com , @wasonliw
ถ้าถึงตอนนั้นมันนิยมในระดับที่เป็นภาษาเขียนที่ใช้กันทั่วไป อยู่ในเอกสารขององค์กร หนังสือพิมพ์ ฯลฯ ถึงตอนนั้นเขียนใน Blognone คงเรื่องเล็กน่ะครับ
สำหรับผม ไม้ยมก ผมพิมพ์เว้นหน้าเว้นหลังตลอด เป็นอัตโนมัติไม่ว่าจะเป็นงานพิมพ์ใด ๆ เพราะติดมาจากการเรียนพิมพ์สัมผัสมาจากเครื่องพิมพ์ดีด
มันเป็น สไตล์...
ผมใช้ชิดหน้าเว้นหลัง ป้องกันถูกตัดคำครับ
ผมว่ามาตรฐานการเขียนข่าวของ Blognone ไม่ได้อิงตามราชบัณฑิตเพื่อความถูกต้อง และมาตรฐานเท่านั้นครับ
ตอนนี้ผมเขียนซอฟแวร์บนแอนดรอยด์ที่ต้องเกี่ยวข้อกับภาษาไทย ซึ่งแอนดรอย์ยังตัดคำภาษาไทยได้ง่อยมากๆ ก็เลยมาถึงบางอ้อกับแนวทางการเขียนข่าวของ Blognone ครับ
แนวทางหลายๆ ข้อมีไว้เพื่อช่วยให้ Browser ตัดคำภาษาไทยได้ถูกต้อง/ดูมีความหมายมากขึ้นครับ
ลืมบอก ไอ้ที่ผมพิมพ์ยาวๆ นี่ผมเห็นด้วยครับ ^ ^
จริงๆก็รู้หลักการของราชบัณฑิตนะ แต่ส่วนตัวไม่ชอบพิมพ์แบบนั้น เพราะตัดคำไม่ดี และอ่านยากด้วย
ประโยคเดียวกันผมชอบพิมพ์ติดๆกันไปเลย หรือถ้าจริงจังหน่อยก็เว้นประโยคด้วย 2 เว้นวรรค เว้นทั่วไปด้วย 1 เว้นวรรค (ไม้ยมกชิดหน้าเว้นหลัง) อ่านง่ายกว่าล้านเท่า แต่ถ้าจะให้เป๊ะตามราชบัณฑิต ต้องมานั่งกด shift+enter เว้นบรรทัดตัดคำเอง
หนังสือบางเล่มเว้นวรรคทุกอย่าง 1 เคาะเท่ากันหมด บางทีเจอประโยคซับซ้อนต้องมานั่งแยกเอง
เวลาพิมพ์ผมจะพิพม์เว้นหลัง แต่บางทีก็กลับมาแก้ให้ติดๆกันเพราะแยกกันแล้วมันดูงงๆ
:: DigiKin8 ::
http://share.psu.ac.th/blog/earthscience-coke/24741
พจนานุกรม ฉบับราชบัณฑิตยสถาน ทั้งฉบับ พ.ศ. 2525 และฉบับ พ.ศ. 2542 เขียนไม้ยมกโดยเว้นวรรคทั้งหน้าและหลังไม้ยมก เช่น "สิ่งที่เป็นเส้น ๆ หุ้มยวงขนุน" และ "ติด ๆ กัน"
•ไม่เว้นวรรคเลย เช่น "ต่างๆกัน" ซึ่งผิดหลักเกณฑ์
•เขียนไม้ยมกติดคำหน้า แต่เว้นวรรคด้านหลัง เช่น "ต่างๆ กัน" ซึ่งผิดหลักเกณฑ์
•เว้นวรรคทั้งหน้าและหลังไม้ยมก เช่น "ต่าง ๆ กัน" ซึ่งถูกต้องตามหลักเกณฑ์
คำตอบของข้า คือ ประกาศิต
ควรอ่านย้อนไปนิดนึงครับ อยู่ด้านบนนี้เอง
276632
ไม่ชอบอ่ะ พิมพ์ยากดูยาก เรื่องแบบนี้มันก็ใช้ตามความชอบก็ได้มั้ง ถ้าพิมพ์สะกดผิดล่ะก็ว่าไปอย่าง
ถ้าตามความชอบจะไม่เรียกว่า "กฏ ระเบียบ" ครับ :)