ศาลยุติธรรมยุโรป ได้ตัดสินคดีที่ SAS Institute ผู้ผลิตซอฟต์แวร์ทางสถิติ SAS ได้ฟ้องร้องบริษัท World Programming โทษฐานละเมิดลิขสิทธิ์ โดยระบุว่าฟังก์ชันของโปรแกรมคอมพิวเตอร์ และภาษาโปรแกรม ไม่ได้รับความคุ้มครองลิขสิทธิ์แต่อย่างใด
จุดเริ่มต้นของคดีนี้เกิดจากว่า บริษัท World Programming (WPL) ได้ออกผลิตภัณฑ์ซอฟต์แวร์ในชื่อ World Programming System เพื่อใช้ทำงานร่วมกับสคริปต์ของ SAS โดยผู้ใช้งานสามารถสร้าง แก้ไข และรันสคริปต์รูปแบบที่ใช้ใน SAS ได้ WPL ได้ซื้อไลเซนส์ Learning Edition ของ SAS มาเพื่อทำการศึกษาการใช้งาน และไม่มีสิ่งใดบ่งชี้ว่า WPL ได้เข้าถึงหรือคัดลอกซอร์สโค้ดของ SAS
SAS Institute ได้ฟ้องร้องว่า WPL ได้ละเมิดลิขสิทธิ์คู่มือการใช้งาน SAS ละเมิดลิขสิทธิ์คอมโพเนนต์ของ SAS และละเมิดข้อตกลงการใช้งานของซอฟต์แวร์ที่ซื้อมา
ศาลยุติธรรมยุโรปได้อ้างอิงหลักการว่า ลิขสิทธิ์คุ้มครองเฉพาะรูปแบบการแสดงออก แต่ไม่มีการคุ้มครองแนวความคิด ในกรณีนี้ ซอร์สโค้ดของซอฟต์แวร์นั้นได้รับความคุ้มครองลิขสิทธิ์แน่นอน แต่ความสามารถในการทำงาน ภาษาโปรแกรม หรือรูปแบบของไฟล์ ไม่เข้าข่ายการได้รับความคุ้มครองลิขสิทธิ์ ศาลได้ระบุว่า การคุ้มครองลิขสิทธิ์ให้กับความสามารถในการทำงานย่อมหมายถึงการอนุญาตให้ผูกขาดตัวแนวคิดได้
นอกจากนี้ ศาลยังได้ตัดสินด้วยว่า ผู้ซื้อไลเซนส์ซอฟต์แวร์มีสิทธิที่จะสังเกต ศึกษา หรือทดสอบการทำงานของซอฟต์แวร์เพื่อดูแนวคิดและหลักการของซอฟต์แวร์นั้นได้ (โดยไม่ได้เข้าถึงซอร์สโค้ดของซอฟต์แวร์) และเจ้าของลิขสิทธิ์ไม่มีสิทธิใช้ข้อตกลงการใช้งานมาห้ามการกระทำดังกล่าว
ที่มา - Ars Technica , Groklaw
Comments
สวดยอดดดด
วรรคแรก เหมือนประโยคไม่เคลียร์ หรือผมอ่านไม่เคลียร์เอง'ผู้ผลิตซอฟต์แวร์ทางสถิติ SAS "ที่"ได้ฟ้องร้องบริษัท'
แต่ดูไปก็น่าจะปกตินะ กรณีนี้ ถ้าผมซื้อ licence ของ photoshop มาแล้วก็มาดูแนวคิดของโปรแกรม แล้วทำเลียนแบบรีเวิร์ส เอ้นจิเนียร์ริงค์ ออกมาขายเอง ก็ไม่น่าจะผิดสินะ
เข้าใจว่า port แบบจับคู่ฟังก์ชั่นจากคู่มือ มากกว่านะครับเหมือนตอนไลนัส สร้าง Linux แรก ๆ ที่ต้องสร้าง system call มาตามคู่มือ posix ประมาณนั้น
เหมือนค่ายเกมบางค่าย พอเห็นเกมไหนดังๆ หรือน่าจะสนุก ก็ทำเลียนแบบทั้งดุ้น เปลี่ยนแค่ graphics ไม่ผิดกฎหมาย
reverse engineering is not a crime !
pittaya.com
แบบนี้ Sudteen จะรอดไม๊..
ผมสงสัยเรื่องที่ yahoo ฟ้องระบบ ของเว็บ กับ facebook อ่ะครับ
ระบบการทำงานบนเว็บหรือบางแนวคิดมันจดสิทธิบัตร ห้ามคนอื่นทำได้ด้วยเหรอครับ ถึงแม้จะเขียนโค้ดต่างรูปแบบแล้วก็ตาม
ผมคิดว่า มันคงต่างกันระหว่าง ลิขสิทธิ์และสิทธิบัตร น่ะครับ
แปลว่า
ถ้าเราไปก๊อบ source ฟังก์ชั่นสักอย่างจากชาวบ้านไปใส่ในโปรแกรมเรา อันนี้ ผิด
แต่ถ้าเราเขียนฟังก์ชั่นนี้เอง โดยการทำงานเหมือนกันเด๊ะ อันนี้ไม่ผิด
ดังนั้น ตราบใดที่เขาไม่จดสิทธิบัตรในการทำงานของฟังก์ชั่น/โปรแกรมนั้น เราก็จะทำแบบนี้ได้
1 เปิดโปรแกรมของชาวบ้านมาดู
2 เฮ้ย ฟังก์ชั่นคลิกขวาแล้วมีเมนูเด้งขึ้นมานี่เจ๋งดีว่ะ คิดได้ไงวะเอาไปใส่ในโปรแกรมเรามั่งดีกว่า
3 ???
4 Profit.
ผมเข้าใจถูกใช่ไหม
น่าจะแบบนั้นนะครับ
ประมาณว่า ทำกังหันผลิตไฟฟ้าแต่หมุนกันคนละด้าน
Blognone = 138.1 news/w เยอะมากๆ
เป็นลางร้ายของผู้ค้นคิด และเปิดช่องทางให้เกิดการเลียนแบบ
เลียนแบบกันเป็นปกติอยู่แล้วนี่ครับ