เราเห็นเทคโนโลยี virtualization และกลุ่มเมฆสำหรับซีพียูกันมาเยอะแล้ว คราวนี้เป็นเรื่องของจีพียูกันบ้างครับ
ยักษ์ใหญ่แห่งวงการจีพียูอย่าง NVIDIA เปิดตัวผลิตภัณฑ์ใหม่ 2 ตัวรวด อย่างแรกคือแพลตฟอร์ม GPU virtualization ที่ใช้กับระบบเดสก์ท็อปเสมือน (virtual desktop infrastructure - VDI) ภายในองค์กร ช่วยเร่งความเร็วของกราฟิกบนเดสก์ท็อปได้มากขึ้น
แพลตฟอร์มตัวนี้ชื่อว่า NVIDIA VGXมันประกอบด้วยฮาร์ดแวร์เป็นบอร์ดพิเศษไว้เสียบกับเซิร์ฟเวอร์ VDI ยี่ห้ออื่นๆ ผ่านพอร์ต PCI Express บอร์ดตัวนี้เสียบจีพียูได้ 4 ตัว, แรม 16GB นอกจากนี้ยังมีซอฟต์แวร์ VGX GPU Hypervisor สำหรับสร้างจีพียูเสมือน และ NVIDIA User Selectable Machines (USMs) ไว้จัดสรรทรัพยากรแก่ผู้ใช้แต่ละคน
บริษัทบอกว่าฮาร์ดแวร์ VGX หนึ่งชุดสามารถบริการผู้ใช้ VDI ในองค์กรได้สูงสุด 100 ราย และตอนนี้ผู้ขายระบบ VDI อย่าง Citrix เซ็นสัญญานำไปใช้งานแล้ว
รายละเอียดอ่านได้จาก NVIDIA VGX ราคายังไม่เปิดเผย เริ่มขายจริงภายในปีนี้
ที่มา - NVIDIA Press
อย่างที่สองคือ GeForce GRIDมันเป็นบริการจีพียูบนกลุ่มเมฆ จับตลาดผู้ให้บริการ cloud gaming (ลักษณะเดียวกับ OnLive) เป็นหลัก
ฮาร์ดแวร์ GeForce GRID หนึ่งชุดประกอบด้วยจีพียูตระกูล Kepler สองตัว, มี CUDA core รวม 3,072 คอร์, จีพียูแต่ละตัวมี encoder ของตัวเองสำหรับสตรีมภาพออกไปยังปลายทาง, มีเทคโนโลยี Fast Streaming ลด latency ของภาพเหลือ 10ms ช่วยให้เล่นเกมได้ลื่นขึ้น (NVIDIA อ้างว่าอยู่ในระดับเดียวกับเกมคอนโซลแล้ว), ในแง่การออกแบบฮาร์ดแวร์ยังประหยัดพลังงานกว่าและใส่จีพียูต่อพื้นที่ได้เยอะกว่า
ในเบื้องต้น NVIDIA จับมือกับผู้ให้บริการเกมบนกลุ่มเมฆเพื่อนำระบบ GeForce GRID ไปใช้บ้างแล้ว ตัวอย่างได้แก่ Gaikai, Playcast, Ubitus เป็นต้น รายละเอียดดูได้จาก GeForce GRID
ที่มา - NVIDIA Press
Comments
ชอบการบริหารองกรค์ค่ายเขียว มีวิสัยทัศน์ ทำอะไรรวดเร็ว เข้ากับยุคนี้ทีเดียว
นี่ถ้าพี่แกทำ x86ได้ คงเดินย่างก้าวไปพร้อมอินเทลเลยละ
สุดยอดครับ พี่น้อง ต่อไปคงไม่ต้องเสียตังซื้อการ์ดจอเทพๆแล้ว ใช้บริการนี้เอา 55
ปัญหาอยู่ที่คงจะกิน Bandwith รับ/ส่งข้อมูลไม่น้อยเนี่ยสิ (เน็ตไม่ดีมี latency พุ่งด้วย T_T)
Dream high, work hard.
ใช่แล้ว โดยเฉพาะเน็ตบ้านเรา
ถ้าตปท. latency แทบจะใกล้ 0
ยังไงบ้านเราก็ยังคงต้องพึ่ง VGA ของตัวเองไปก่อน
studio พวก Render, งานตัดต่อ นี่มีเฮ ไม่ต้องคอยซื้อ Hardware อัพเดทกันบ่อยๆ ;)
my blog