Forbes ได้จัดอันดับอาชีพที่น่าทำที่สุดในปี 2012 ซึ่งอาชีพที่น่าทำที่สุดได้แก่วิศวกรซอฟต์แวร์ (Software Engineer) โดยวัดจากปัจจัยความต้องการในตลาดแรงงานที่สูงสุดเป็นประวัติการณ์ รายได้ที่ดี บรรยากาศในการทำงานที่สบายๆ ต่างจากอาชีพอื่น และใช้ความต้องการทางกายภาพน้อยมาก
อุปสรรคสำหรับคนที่จะเข้ามาทำงานวิศวกรซอฟต์แวร์ คือต้องใช้ความสามารถเฉพาะทาง สิ่งที่เรียนมาอาจจะใช้ไม่ได้ตลอดไป ต้องเรียนรู้ตลอดเวลา พร้อมต่อการเปลี่ยนแปลง ส่วนอาชีพอื่นๆ ที่ได้อันดับรองลงมาคือ นักสถิติ, นักบริหารทรัพยากรบุคคล (HR), ทันตแพทย์และนักวางแผนการเงิน
ที่มา - Forbes
Comments
แล้วโปรแกรมเมอร์ละครับ :>
ข่าวปีที่แล้วบอก นักสถิติ จะติดอันดับเป็นอาชีพ ที่น่าทำที่สุดไปอีกหลายปี :-)
"ความสามารถเฉพาะทาง สิ่งที่เรียนมาอาจจะใช้ไม่ได้ตลอดไป ต้องเรียนรู้ตลอดเวลา พร้อมต่อการเปลี่ยนแปลง"
ผมว่านี่มันคือหัวใจของด้านนี้เลยนะครับ เทคโนโลยีเปลี่ยนแปลงตลอดเวลาจริงๆ มีของใหม่มาให้ใช้ตลอดเวลาบางอย่างอาจดีบางอย่างอาจห่วย สำหรับผมเจอมากับตัวแค่เปลี่ยนเครื่องมือที่ใช้ทำงานความเร็วในการพัฒนาและการแก้ไขก็ต่างกันแล้ว น่าจะมีคอมมูนิตี้ที่เป็นภาษาไทยแลกเปลี่ยนความรู้กันนะครับ หรือมันมีแต่ผมไม่รู้?? ถ้าใครรู้ก็เอามาโพสบอกกันบ้างนะครับจะได้เข้าไปอ่านบ้าง
+1
ผมอ่านแต่ใน stackoverflow ของเค้าดีจริง
narisa
ของจริงมีอยู่ครับ
agile66.com
code-66.com
2 เว็บนี้แนวมากครับ ขอบคุณครับ
ถ้าเรื่อง project management นี่เลยครับhttp://www.chapterpiece.com/
อันนี้ก็ดีครับ ขอบคุณมากครับ
"รายได้ที่ดี บรรยากาศในการทำงานที่สบายๆ"
จริงหรอ -_____-"
ตรงกันข้ามทั้ง 2 อย่าง
บ้านเรา ที่ไม่ได้เป็นประเทศผลิต Software ก็คงนะ ไม่มีผลอะไร ห้า ห้า
ปล. Programmer บ้านเรา มันคือแรงงานไอทีดีๆนี่เอง - -"
..: เรื่อยไป
บ้านเรามูลค่าของตลาดซอฟต์แวร์กับบริการซอฟต์แวร์ ไม่น้อยนะครับ ^_^
ไม่น้อยครับ เยอะเลยแหละ แต่ที่เยอะๆเนี่ย เป็น software นอกที่ซื้อมา implement ทั้งน้าน
..: เรื่อยไป
Software Engineer บ้านเรานี้ต้องเป็น SA เองด้วย Programe ก็ต้องทำเอง แถวยัง test QA เองหมด บรรยากาศ การทำงาน ก็สบายๆชิวๆ บ้านบ้านตี 4
+100
True Story
:: DigiKin8 ::
แต่บริษัทที่ผมทำงานไม่ได้เป็นแบบนี้นะครับ :)
บริษัทที่ผมทำอยู่ไม่ได้เป็นแบบนั้นนะ ลองมาสมัครบริษัทพวก Reuters DST อะไรพวกนี้ดูครับ ระบบค่อนข้างชัดเจนมากว่าใครทำอะไร
บางทีรู้สึกว่าเป็นระบบมากเกินไปด้วยซ้ำ
อ่ะคิ ๆ
อิคึๆ
ถึงจะเป็นระบบยังไง ไอทีเมื่อไทยมันก็คือ กรรมกรเทคโนโลยีดีๆนี้แหละครับ :) แต่ปฏิเสธ ตรงที่เงินมันก็ดีกว่าอาชีพอื่นๆนั้นแหละ
DST = Daylight Saving Time :-)
+1000โอ้ของผม นอกจาก sa เอง code เอง test QA เอง แล้วต้องไปติดตั้งเอง แถว support ลูกค้าเองอีก
ส่วนผมก็ทำ infra รอพวกท่านมาทำต่อนี่แหละ แฮะๆ
บวกไปอีกหนึ่ง ทำทุกอย่างทั้งหน้าบ้านหลังบ้านไปจนถึงเทสท์ติดตั้งซัพพอร์ท
บ้านเรา จบคอมพิวเตอร์ สาขาอะไรมาช่างมัน เพราะลูกค้าพอรู้ว่าจบคอมพิวเตอร์ ต้องเขียนได้ ซ่อมได้ ทำได้หมด ถามทุกอย่าง ให้ทำทุกอย่าง นั่นคือเรื่องจริง
+100 ผมสัมภาษณ์งานตำแหน่ง System Admin HR ยังถามว่าเขียนโปรแกรมเป็นไหม ถ้าผมเขียนโปรแกรมเก่งๆ ผมก็สมัครตำแหน่งโปรแกรมเมอร์แล้วจะคร๊าบบบ จะมาเป็น System Admin ทำมายย
เหอๆ คนสมัครโปรแกรมเมอร์ก็จะเจอตรงกันข้ามกับท่านครับ ก็จะมีโดนถามว่าซ่อมขำรุงระบบ ลงOSเพิ่ม ทำแชร์Sambaเป็นไหม แล้วโปรแกรมเมอร์ก็จะโว้ยผมไม่ได้สมัครมาเป็น System Admin นะค้าบบ อะไรแบบนั้น
มันไม่ง่ายเลยที่จะทำ GIF ให้มีขนาดน้อยกว่า 20kB
555 ทำให้ผมนึกถึงเพื่อนของผมเลย
บริษัทเก่า ขนาดเมาส์เสียยังต้องโทรตามอีกแผนก ซึ่งโต๊ะทำงานก็ติดกันแท้ๆ วันๆนั่งหน้าคอมทั้งวัน ห้อง UAT นี้เหมือนสถานที่ต้องห้าม ถ้าไม่มีกระดาษเชิญไม่มีสิทธิเข้า ทำอยู่นานจนออกมาอยู่อีกบริษัท เขาบอกให้ move โปรแกรมไปเซิฟเวอร์จริง ถึงกับงงเพราะทำอะไรไม่เป็นเลยถ้าโดนสั่งนอกหน้าที่ นี้แหละข้อเสียของการแบ่งหน้าที่ชัดเจนเกินไป
ถ้าไม่ชอบก็ไม่ต้องทำ ทำในสิ่งที่ชอบ
ชอบเล่นเน็ตไปวันๆอะครับแต่จะไม่มีกินอะดิ
ก็เล่นเน็ต ให้ได้ตังค์ซิครับ วิธีมีเยอะแยะ เงินอยู่ในนั้นเต็มไปหมด
ถ้าหากมีการเรียนทำ OS ก็น่าสนใจ
Coder | Designer | Thinker | Blogger
ต้องไปเริ่มที่ Hardware ครับ
คือต้องไปวิศวะคอมก่อนหรอครับ
Coder | Designer | Thinker | Blogger
No ครับ Computer Architecture + Software Engineering มันอยู่ทุกที่ของสาย IT ครับ แต่ไม่รู้ว่า IT buiss จะต้องเรียนรึปล่าวนะ แต่เอาเข้าจริงๆ มันก็เหมือนกับต้องศึกษาเองแหละครับ :) หาหนังสืออ่านเองเลยครับ ไม่เสียหาย
จริงๆ แล้วพวก Architecture มันจะอยู่ในส่วนของวิชาที่เรียนอยู่แล้วครับ ผมเองเคยถามคำถามแนวนี้ไปแล้ว ใกล้สุดแถวๆ นี้ก็มีที่สิงค์โปร์ครับ
คุ้น ๆ ว่าอยู่ในวิชา OS ซึ่งเป็นวิชาบังคับน่ะครับ
+1 ครับ
OS เป็นวิชาบังคับของ Com Eng และ Com Sci
ขับรถไปเจอรถติดทีไรผมนึกถึงทฤษฎี Deadlock อยู่บ่อยๆ อิอิเคยคิดว่าจะไม่ได้ใช้ จนวันทำงานนี่ล่ะ ที่ ผอ.สำนักงาน ถามว่ามันคืออะไร (- -")
ที่ทำ เพราะต้องทำ หรืออยากทำ งานที่มีให้ทำก็มีแค่เนี่ย
เพิ่งเรียนจบ ยังหางานไม่ได้เลย เศร้า (_ _")โอ่ว เย้ เย เย่
+1
ออกแนวปรับทุกข์
จริงหรือเนีย ยังว่างงานอยู่ =_=
ผมเปนเซลล์ขายโฆษณา google Adwords ให้กูเกิ้ลครับ ไม่ต้องเรียนรู้อะไรมากมายสลับซับซ้อน ไม่ต้องเก่งคอมด้วยครับ แค่พูดเก่งๆ ก็พอ(พูดตามสคริปท์) เท่านี้ก็ทำมาพอหากินได้ไปอีกนานเลยล่ะครับ ชิว ชิว เรยล่ะ
สุดท้ายแล้วเมื่อผมเห้นคนลงโฆษณาใน google เค้าขยายงานได้ ธุรกิจโต ยอดขายดี ผมก็จะผันตัวเองมาหาอะไรทำบ้าง เริ่มจากไปรับของชาวบ้านมาลงขายในหน้าหนึ่งกูเกิ้ลน่ะแหละ แค่นี้ก็สบายๆ แร้วล่ะ ไม่ต้องทำอะไรเลย เพราะยังไงคนที่มาซื้อของเค้าก้หาในกูเกิ้ลน่ะแหละ เท่านั้นเองครับ ไม่ต้องไปเรียนให้มันเหนื่อยหรอก ให้กูเกิ้ลเค้าทำงานเองน่ะแหละดีแร้ว
สาบานว่าสถิตินี้ใช้ในไทยไม่ได้แน่นอน
และกรรมกรห้องแอร์อย่างผมก็ทำงานงกๆต่อไป
แค่แวะมาให้ข้อมูลเพิ่มเติม สิ่งที่ Forbe บอกจริงครับ ในตลาดงานของเมกา
ผมเริ่มเห็นปรากฏการณ์นี้ประมาณปีที่แล้วช่วงซัมเมอร์ จากการที่เห็นว่าเพื่อน Com Sci, Com IT ได้ฝึกงานถึง 90-95% ในขณะที่ภาค Elec Eng, Telecom, System Eng. ได้ฝึกงานแค่ไม่ถึง 5%
ยิ่งตอนที่บริษัทเข้ามารับสมัครงานที่มหาลัย ตำแหน่งงานที่เขา recruit เรียกได้ว่าเป็น Software Engineer ถึง 70% และล่าสุดหลังจากจบกันหมาดๆ พบว่าเพื่อนๆภาค EE, Telecom ต้องยอมเปลี่ยนแนวไปทำ coding กันโดยส่วนใหญ่ พวกที่เหลือที่กะจะทำงานในสายเดิมนั้น พบว่ายังหางานกันอยู่เลยครับ
ถ้าใครคิดว่าอยากจะมาทำงาน SE ในเมกา ... ผมแนะนำว่าตอนนี้คือโอกาสที่ดี เพราะแทบเรียกได้ว่าคนไม่พอกับความต้องการของตลาดด้วยซ้ำ
อยากเรียนจบมาไปทำงานต่างประเทศมากกว่า ฮ่าๆ
มือใหม่!! ใหม่จริงๆนะ
......... ส่วนอาชีพอื่นๆ ที่ได้อันดับรองลงมาคือ นักสถิติ, นักบริหารทรัพยากรบุคคล .........
จากที่มา ใช้คำว่า Actuary = นักคณิตศาสตร์ประกันภัย ส่วนนักสถิติ = Statistician ครับ
อเมริกันมันขายอะไรไม่ได้แล้วนอกจากหลอกกินเรื่องเทคโนโลยีกับปประเทศโลกที่2-3 ไปวันๆ ลองไปหาหนังเรื่อง "Inside Job" มาดูนะครับ และสถิตินี้มิได้เกี่ยวอะไรกับประเทศโลกที่ 3 และประเทศไทย 1000 เปอร์เซนต์
ผมเป็นกรรมกร ซอฟแวร์ อดดิ :(