ACM มอบรางวัล Turing Award พร้อมเงินรางวัลล้านดอลลาร์ให้กับ Avi Wigderson จากการที่เขาเป็นนักวิจัยสำคัญในวงการ theory of computation โดยเฉพาะความเข้าใจความสำคัญของการสุ่มค่าในอัลกอริทึม
โดยทั่วไปแล้วอัลกอรึทึมที่เราใช้งานและคอมพิวเตอร์คำนวณให้จะเป็นระบบ deterministic หมายความว่าข้อมูลเข้าจะกำหนดผลลัพธ์และระยะเวลาที่ใช้คำนวณเสมอ ทำให้พฤติกรรมของอัลกอรึทึมคาดเดาได้ แต่อัลกอรึทึมหลายตัวอาศัยการสุ่มค่าเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพ (มั่วแล้วเร็วขึ้น) โดยปัญหาหลายอย่างไม่มีทางคำนวณอย่างมีประสิทธิภาพเลย หากไม่อาศัยการสุ่มค่า วงการวิจัย theory of computation พยายามทำความเข้าใจความสำคัญของการสุ่มค่าเช่นนี้ เช่น จำเป็นต้องมีการสุ่มที่ดีหรือไม่ หรือสามารถถอดการสุ่มค่าทิ้งไปเลยได้หรือไม่
Donald E. Knuth ปรมาจารย์แห่งวงการคอมพิวเตอร์ และผู้เขียนหนังสือชุด The Art of Computer Programming ( ที่ปัจจุบันยังเขียนไม่จบ! ) มีธรรมเนียมจะออกมาบรรยาย Christmas Lecture ให้นักศึกษาที่มหาวิทยาลัยสแตนฟอร์ดในช่วงเดือนธันวาคมของทุกปี ซึ่งเขาบรรยายแบบนี้ติดต่อกันมา 30 ปีแล้ว (มีเว้นไปช่วงปี 2020-2021 จากสถานการณ์โควิด)
Kathleen Booth นักคณิตศาสตร์ชาวอังกฤษ ผู้คิดค้นภาษา Assembly เสียชีวิตแล้ว โดยมีอายุครบ 100 ปีพอดี (เกิดปี 1922)
Kathleen ร่วมกับสามี Andrew Booth ทำงานที่มหาวิทยาลัย Birkbeck College (เป็นส่วนหนึ่งของ University of London) สร้างคอมพิวเตอร์ยุคแรกๆ ชื่อเครื่อง Automatic Relay Calculator (ARC) ในปี 1946 ซึ่งภายหลังพัฒนามาเป็นเครื่อง ARC2 และ Simple Electronic Computer (SEC) ในปี 1948
Kathleen เป็นผู้สร้างซอฟต์แวร์ของเครื่องคอมพิวเตอร์เหล่านี้ ซึ่งภายหลังกลายมาเป็นภาษา Assembly เธอยังเขียนหนังสือชื่อ Programming for an Automatic Digital Calculator ในปี 1958
DeepMind เป็นที่รู้จักกันดีในฐานะผู้พัฒนา AlphaGo ปัญญาประดิษฐ์ที่เล่นโกะได้เก่งกว่าแชมป์โลก ก่อนที่ต่อมาจะพัฒนา AlphaZero ที่มีความพิเศษตรงที่สามารถเทรนตัวเองได้ด้วย และล่าสุดทีมงาน DeepMind ได้พัฒนาปัญญาประดิษฐ์ตัวใหม่เพื่อแก้โจทย์สำคัญของวิทยาการคอมพิวเตอร์โดยเฉพาะและมันก็ทำได้สำเร็จโดยทำได้เร็วกว่าสถิติที่อยู่มานานนับ 50 ปีลงได้
การคำนวณที่ว่านี้คือการคูณเมทริกซ์ ซึ่งเป็นโจทย์การทำงานระดับพื้นฐานที่คอมพิวเตอร์จำนวนมากมายทั่วโลกต้องทำอยู่ทุกเมื่อเชื่อวัน ไม่ว่าจะเป็นการแสดงภาพให้ปรากฏบนหน้าจอ, การจำลองเชิงฟิสิกส์ที่มีความซับซ้อน และยังเป็นรากฐานสำคัญของตัว machine learning เองด้วย การที่ทำสิ่งนี้ให้เร็วขึ้นได้ย่อมเป็นเรื่องใหญ่กับโลกทุกวันนี้ที่ใช้คอมพิวเตอร์กับงานสารพัดอย่างรอบตัว
ยูสเซอร์ Developer-Y ได้สร้าง repository บน GitHub รวมคอร์สเรียนวิทย์คอมและโปรแกรมมิ่งออนไลน์แบบมีวิดีโอเป็นภาษาอังกฤษจากมหาวิทยาลัยชั้นนำทั่วโลกมาไว้ในที่เดียว ตั้งแต่ปี 2016 ปัจจุบันมีคอร์สเรียนกว่า 800 คอร์ส จากผู้มีส่วนร่วม 49 คนที่ช่วยกันอัพเดต
วิชาที่รวมมา มีตั้งแต่บทนำสู่วิทยาศาสตร์คอมพิวเตอร์, โครงสร้างข้อมูลและอัลกอริทึ่ม, แมชชีนเลิร์นนิ่ง, ควอนตัมคอมพิวเตอร์ ไปจนถึงวิชาการเงินเชิงคำนวณ (Computational Finance), ชีวะวิทยาเชิงคำนวณ (Computational Biology), โรโบติกส์ วิชาการพัฒนาบล็อกเชน และอื่นๆ อีกมากมาย
ช่วงหลังเราเริ่มเห็นการเข้ารหัสแบบ Fully Homomorphic Encryption (FHE) กันมากขึ้น เช่น ข่าวโครงการ DPRIVE ของ DARPA ที่จับมือกับภาคเอกชนหลายรายเพื่อพัฒนาชิปเฉพาะกิจ ช่วยให้ประมวลผล FHE ได้เร็วกว่าเดิม
FHE เป็นการปฏิวัติวิธีคิดเรื่องการเข้ารหัส (encryption) แบบเดิมๆ ที่ใช้กันมาเป็นพันปี ( Caesar cipher )
Donald E. Knuth หนึ่งในปรมาจารย์ของวงการวิทยาศาสตร์คอมพิวเตอร์ฉลองอายุครบ 10000 ปี (ฐานสาม) ด้วยการออกหนังสือ The Art of Computer Programming เล่ม (volume) 4 ส่วน B มัด (fascicle) ที่ 5 และ 6 ในเวลาไล่เลี่ยกัน
มัดที่ 5 เป็นเรื่องของ backtracking และส่วนพิเศษ Mathematical Preliminaries Redux เพิ่มเติมส่วนที่ Knuth ไม่รู้เมื่อเขียนเล่ม 1 ในปี 1960 โดยหนังสือมีโจทย์ 650 ข้อและเฉลย
มัดที่ 6 เป็นเรื่อง Satisfiability คือการวิเคราะห์ฟังก์ชั่น boolean แล้วหาว่ามีตัวค่าของตัวแปรที่ทำให้ฟังก์ชั่นเป็นจริงได้หรือไม่ หนังสือมีโจทย์ 500 ข้อและเฉลย
Fernando Corbato นักวิทยาการคอมพิวเตอร์จาก MIT ผู้คิดค้นระบบรหัสผ่านและ Compatible Time-Sharing System ได้เสียชีวิตแล้วในวัย 93 ปี
แต่เดิม ระบบคอมพิวเตอร์จะใช้งานได้ทีละคน แต่ Compatible Time-Sharing System หรือ CTSS ที่ Corbato และทีมคิดค้นขึ้นมาเป็นระบบคอมพิวเตอร์แชร์การใช้งาน คือผู้ใช้หลายคนสามารถเข้าใช้คอมพิวเตอร์เครื่องเดียวกันในเวลาเดียวกันไปพร้อม ๆ กัน ซึ่งเป็นต้นฉบับของระบบปฏิบัติการในยุคปัจจุบัน
การแชร์คอมพิวเตอร์กันใช้งานในระบบคอมพิวเตอร์ CTSS นี้เองที่ทำให้เกิดระบบรหัสผ่านขึ้น เพื่อเป็นเครื่องมือควบคุมความเป็นส่วนตัวขั้นพื้นฐานของผู้ใช้งานคอมพิวเตอร์ที่แชร์ทรัพยากรร่วมกัน
อาจจะต้องย้อนความทรงจำกันหน่อย ว่าผู้อ่าน Blognone ได้เริ่มเรียนวิชาที่เกี่ยวข้องกับคอมพิวเตอร์ ในหลักสูตรการศึกษาพื้นฐานภาคบังคับ (ป. 1 - ม. 6) ในตอนไหน? ความทรงจำวิชาด้านคอมพิวเตอร์ของแต่ละคนอาจไม่เหมือนกัน
Coursera เว็บไซต์คอร์สเรียนออนไลน์ ร่วมมือกับมหาวิทยาลัย 5 แห่ง ในการขยายหลักสูตรปริญญาตรีและโท และถือเป็นครั้งแรกของ Coursera ที่ให้ใบปริญญาจริงแก่ผู้เรียน โดยความร่วมมือกับมหาวิทยาลัย 5 แห่ง ประกอบด้วย
- มหาวิทยาลัยรัฐแอริโซนาเปิดหลักสูตรปริญญาโท Computer Science
- มหาวิทยาลัย Imperial College London เปิดหลักสูตรปริญญาโทด้านสาธารณสุขหรือ Public Health
- มหาวิทยาลัยอิลลินอยส์ เปิดหลักสูตรปริญญาโท Computer Science และ Data Science
- มหาวิทยาลัยมิชิแกน หลักสูตรปริญญาโทด้านสาธารณสุข
- University of London หลักสูตรปริญญาตรีสาขา Computer Science
AP Computer Science คือหลักสูตรและการสอบระดับสูงที่ครอบคลุมสาขาวิทยาการคอมพิวเตอร์ จัดให้เด็กไฮสคูลมาสอบเพื่อเอาเครดิตไปเรียนต่อในระดับมหาวิทยาลัยในสหรัฐฯ ปีนี้มีตัวเลขน่าสนใจพบว่า มีผู้หญิงเข้าร่วม AP CS มากขึ้นอย่างก้าวกระโดด คือ 29,000 คน มากกว่าปีที่แล้วกว่าเท่าตัวที่มีเพียง 12,642 คน
นอกจากจำนวนนักเรียนหญิงที่เข้าสอบจะเพิ่มขึ้นแล้ว ความหลากหลายทางเชื้อชาติเพิ่มขึ้นด้วย โดยตัวเลขของนักเรียนจากเชื้อชาติที่เป็นส่วนน้อยในสหรัฐฯเพิ่มขึ้นมาเป็น 13,024 คน คิดเป็น 20% ของจำนวนผู้เข้าสอบทั้งหมด
Robert Taylor ผู้ซึ่งเป็นที่รู้จักในวงการอินเทอร์เน็ตจากการสร้าง ARPANET ซึ่งเป็นสิ่งต้นกำเนิดของอินเทอร์เน็ต ได้เสียชีวิตลงแล้วด้วยโรคพาร์คินสันและโรคแทรกซ้อนอื่น ๆ ที่บ้านเขาในเมือง Woodside, California ด้วยวัย 85 ปี
Taylor รับตำแหน่งใน Advanced Research Projects Agency (ARPA) ซึ่งเป็นหน่วยงานในกระทรวงกลาโหมของสหรัฐฯ ในตั้งแต่ปี 1965 เขาเป็นผู้สร้างคอนเซปต์เบื้องหลัง shared network ซึ่งตอนที่เขารับตำแหน่งมา ARPA มีโครงการพัฒนาคอมพิวเตอร์ 3 เครื่องให้ติดต่อสื่อสารกัน
Microsoft ได้เปิดตัว Project Torino ซึ่งเป็นโครงการที่มีจุดประสงค์ในการสอนการเขียนโปแกรมให้เด็กที่มีปัญหาด้านการมองเห็น หรือมีปัญหาอื่น ๆ ที่ไม่สามารถเรียนการเขียนโปรแกรมในแบบปกติได้
Project Torino นี้จะใช้ภาษาโปรแกรมมิ่งมารวมเข้ากับของเล่นที่มีสีสันสวยงามเรียกว่า pods ซึ่งสามารถส่งเสียง, สร้างเรื่องราว, บทกวี หรือเพลงเพื่อช่วยการสอนคอนเซปต์การเขียนโปรแกรมให้เด็กได้ เด็ก ๆ จะใช้อุปกรณ์เหล่านี้มาต่อเรียง ๆ กันและให้อุปกรณ์ทำงาน (ลักษณะเหมือนการเขียนโปรแกรมใน Scratch แต่ใช้อุปกรณ์จริง) โดย Microsoft เรียกว่า physical programming language
BBC มีเรื่องของผู้หญิงคนหนึ่งชื่อ Jennifer ก่อนเธอแต่งงาน สามีของเธอเตือนว่าชีวิตหลังจากนี้อาจไม่ง่ายนัก เพราะนามสกุลของเขาคือ "Null"
หลัง Jennifer แต่งงานและเปลี่ยนนามสกุลแล้ว เธอก็พบความยากลำบากมากมาย ตั้งแต่ซื้อตั๋วเครื่องบินไม่ได้ เพราะเว็บไซต์สายการบินแจ้งข้อผิดพลาดว่าเธอไม่ได้กรอกนามสกุล จนสุดท้ายเธอต้องโทรเข้าศูนย์บริการลูกค้า ซึ่งฟังเรื่องของเธอแล้วก็ไม่เชื่อว่าเป็นเรื่องจริง
เธอพบปัญหาลักษณะนี้กับเว็บไซต์แทบทุกแห่ง ไม่ว่าจะเป็นเว็บไซต์ของหน่วยงานรัฐบาล จ่ายค่าไฟฟ้า หรือแม้แต่ระบบไอทีของที่ทำงาน เธอบอกว่าปัญหานี้น่าหงุดหงิด แต่ในอีกแง่มุมหนึ่งก็เป็นเรื่องตลก เล่าให้ใครฟังก็น่าสนใจเสมอ
ที่เมืองชิคาโก มลรัฐ Illinois ของสหรัฐอเมริกา คณะกรรมการโรงเรียนและการศึกษาของรัฐ (Public School Board of Education) ประจำเมือง ประกาศว่าวิชาด้านวิทยาการคอมพิวเตอร์ (computer science) จะเป็นวิชาบังคับสำหรับเด็กมัธยมที่จะเข้าศึกษาตามหลักสูตรใหม่ในปีหน้า (เด็กที่จะจบในปี 2020) อย่างเป็นทางการ
ข้อกำหนดนี้แปลว่าเด็กมัธยมที่เรียนด้วยหลักสูตรใหม่ จะต้องสอบผ่านในวิชาด้านวิทยาการคอมพิวเตอร์ที่เกี่ยวข้อง จึงจะเรียนจบระดับมัธยมศึกษา โดยเป็นแผนต่อเนื่อง 5 ปี ที่ประกาศในปี 2013 ว่าจะนำเอาวิชาด้านวิทยาการคอมพิวเตอร์เป็นส่วนหนึ่งของหลักสูตรด้วย
ประธานาธิบดีบารัค โอบามา แห่งสหรัฐอเมริกา ประกาศโครงการ Computer Science For All ส่งเสริมให้นักเรียนชาวอเมริกันทุกคนมีโอกาสเรียนวิชาวิทยาการคอมพิวเตอร์ เพื่อฝึกทักษะการเป็น "ผู้สร้าง" ในระบบเศรษฐกิจดิจิทัล แทนการเป็นผู้บริโภคแต่เพียงฝ่ายเดียว
โอบามาบอกว่า "วิทยาการคอมพิวเตอร์" กลายเป็นทักษะพื้นฐานที่ทุกคนต้องมีไปเรียบร้อยแล้ว รัฐบาลสหรัฐจะตั้งงบประมาณ 4 พันล้านดอลลาร์เพื่อพัฒนาการสอนวิชาคอมพิวเตอร์ในโรงเรียน และให้งบประมาณสนับสนุน National Science Foundation (NSF) พัฒนาหลักสูตรและฝึกอบรมครูสอนวิชาวิทยาการคอมพิวเตอร์เพิ่มด้วย
สำนักข่าว Reuters รายงานว่า มหาวิทยาลัย Stanford ที่สหรัฐอเมริกา ได้รายงานตัวเลขของนักศึกษาเบื้องต้นในปีนี้ที่เรียนอยู่ในระดับปีสูง (upper-class students) โดยพบว่าในสาขาของวิทยาศาสตร์คอมพิวเตอร์ มีนักศึกษาที่เป็นสุภาพสตรีจำนวน 214 คน ซึ่งคิดเป็นสัดส่วนถึง 30% ของภาควิชา และทำให้กลายเป็นภาควิชายอดนิยมของสุภาพสตรีในมหาวิทยาลัย แทนที่สาขามนุษย์-ชีววิทยา (human biology) ซึ่งตกไปอยู่อันดับสองด้วยจำนวน 208 คน
Eric Roberts ศาสตราจารย์เกียรติคุณในสาขาวิทยาศาสตร์คอมพิวเตอร์ของมหาวิทยาลัย ระบุว่า ตัวเลขดังกล่าวสะท้อนว่าทางภาควิชาสนับสนุนนักศึกษาที่เป็นสุภาพสตรี และจะไม่ทำให้นักศึกษาเหล่านี้ต้องออกไปเพียงเพราะขาดการสนับสนุนจากภาควิชาและชุมชนที่ใหญ่พอ
Microsoft มีแผนมอบเงินจำนวน 75 ล้านดอลลาร์ ให้โครงการต่างๆ เพื่อสนับสนุนการเรียนการสอนด้านวิทยาการคอมพิวเตอร์ให้มีความสำคัญมากขึ้นในโรงเรียน
Satya Nadella ซีอีโอ Microsoft ได้ขึ้นพูดในงานสัมมนา Dreamforce ที่จัดขึ้นใน San Francisco โดยบอกว่าการมอบเงิน 75 ล้านดอลลาร์เป็นส่วนหนึ่งในโครงการของ Microsoft ที่ชื่อว่า YouthSpark โครงการนี้มีจุดประสงค์เพื่อส่งเสริมการเรียนการสอนวิทยาการคอมพิวเตอร์
เงินจำนวน 75 ล้านดอลลาร์นี้ Microsoft จะค่อยๆ เฉลี่ยสนับสนุนให้กับโครงการต่างๆ ที่ถูกคัดเลือกเป็นเวลา 3 ปี จุดมุ่งหมายของโครงการนี้คือต้องการให้วิชาวิทยาการคอมพิวเตอร์ในโรงเรียนมีความสำคัญเท่ากับวิชาคณิตศาสตร์หรือฟิสิกส์
นาย Chris Reykdal สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจากรัฐวอชิงตันของสหรัฐฯ ได้เสนอร่างกฎหมายต่อคณะกรรมการสภาผู้แทนราษฎร (The Washington State House of Representatives Committee on Higher Education) กำหนดให้ ภาษาคอมพิวเตอร์สามารถใช้แทนภาษาต่างประเทศในการพิจารณาสมัครเข้าศึกษาต่อในมหาวิทยาลัยรัฐได้
ที่ผ่านมา นักเรียนที่ต้องการสมัครเรียนต่อในมหาวิทยาลัยรัฐ จำเป็นต้องเรียนภาษาต่างประเทศอย่างน้อย 1 ภาษาเป็นเวลา 2 ปีการศึกษา
วงการคอมพิวเตอร์และเทคโนโลยีสารสนเทศนั้นมีรางวัลใหญ่เพื่อมอบให้แก่ผู้ที่มีผลงานโดดเด่นและสร้างประโยชน์ต่อวงการชื่อว่า A.M. Turing Award ซึ่งอาจจะเรียกได้ว่านี่คือ "รางวัลโนเบลสาขาวิทยาการคอมพิวเตอร์" ก็ว่าได้ ซึ่งในปีนี้ผู้ที่ได้รางวัลดังกล่าวจะได้รับเงินตอบแทนเป็นมูลค่าสูงถึง 1 ล้านดอลลาร์
Walter Isaacson ผู้เขียนหนังสือชีวประวัติสตีฟ จ็อบส์ มีผลงานเล่มใหม่ชื่อ The Innovators: How a Group of Hackers, Geniuses, and Geeks Created the Digital Revolution
หนังสือเล่มนี้เล่าประวัติศาสตร์ของวงการคอมพิวเตอร์ โดยเริ่มตั้งแต่ Ada Lovelace ผู้บุกเบิกภาษาโปรแกรมในทศวรรษ 1840s (ชื่อของเธอถูกนำมาตั้งเป็นภาษา Ada ในภายหลัง) และกล่าวถึงผู้ยิ่งใหญ่ของวงการคอมพิวเตอร์มากมาย เช่น Vannevar Bush, Alan Turing, John von Neumann, J.C.R. Licklider, Doug Engelbart, Robert Noyce, Bill Gates, Steve Wozniak, Steve Jobs, Tim Berners-Lee, Larry Page รวมแล้วกว่า 60 คน
ธีมหลักของหนังสือเล่มนี้คือ Isaacson ตั้งคำถามว่านักประดิษฐ์ (innovator) เหล่านี้สามารถเปลี่ยนไอเดียและวิสัยทัศน์ให้เป็นผลิตภัณฑ์จริงที่เปลี่ยนแปลงโลกได้อย่างไร อะไรคือจุดเริ่มต้นของความสร้างสรรค์ในตัวคนเหล่านี้ และปัจจัยอะไรบ้างที่ทำให้บางคนสำเร็จหรือล้มเหลว
หนังสือพิมพ์ The Harvard Crimson ของมหาวิทยาลัยฮาร์วาร์ด รายงานข้อมูลจากสำนักทะเบียนของมหาวิทยาลัยว่านักศึกษานิยมลงวิชา CS50: Introduction to Computer Science I มากที่สุด มีผู้สมัครเรียนถึง 875 คน มากเป็นประวัติการณ์นับตั้งแต่เปิดวิชานี้มา 30 ปี
เจ้าของสถิติเดิมคือวิชาเศรษฐศาสตร์พื้นฐาน Economics 10a: Principles of Economics ที่มีผู้สมัครเรียนปีที่แล้ว 764 คน (ปีนี้ลดลงเหลือ 711 คน) ส่วนวิชา CS50 มีความนิยมมาเป็นอันดับสองในปีที่แล้ว คนเรียนประมาณ 700 คน ก่อนจะเพิ่มแบบก้าวกระโดดมาเป็นหลัก 800 คนในปีนี้
David J. Malan ผู้สอนวิชานี้ให้สัมภาษณ์ว่านักศึกษานิยมลงเรียนวิชาคอมพิวเตอร์กันมากขึ้น เป็นผลมาจากความนิยมในสาขาวิชาคอมพิวเตอร์ในระดับชาติด้วย
ข่าวนี้น่าจะมีประโยชน์กับนักเรียนหรือนักศึกษาที่กำลังศึกษาเรื่องของโครงสร้างข้อมูล, อัลกอริทึม, กราฟ โดยทางมหาวิทยาลัยแห่งชาติของสิงคโปร์ได้จัดทำเว็บไซต์สำหรับจำลองการทำงานของอัลกอริทึมในคอมพิวเตอร์อาทิ การจัดเรียงข้อมูล การค้นหาข้อมูล โดยสามารถจำลองการทำงานได้ทีละขั้นตอนคล้าย ๆ กับตอนดีบั้กโปรแกรม เอาเป็นว่าลองเข้าไปดูในเว็บไซต์ของ VisuAlgo เลยดีกว่าครับ
สำหรับคนที่จบมานานแล้วลองเข้าไปดูก็เพลิน ๆ ดีเหมือนกันครับ :)
ชีวประวัติของ Alan Turing ผู้สร้าง Turing Machine ซึ่งเป็นต้นกำเนิดของคอมพิวเตอร์ในปัจจุบันและได้ชื่อว่าเป็น "บิดาแห่งวิทยาการคอมพิวเตอร์" ได้ถูกนำมาสร้างเป็นภาพยนตร์โดยค่าย The Weinstein Company แล้ว
สมเด็จพระราชินีนาถเอลิซาเบธที่ 2 ได้พระราชทานอภัยโทษให้แก่ Alan Turing แล้ว ภายหลังเขาถูกตัดสินว่ามีความผิดด้วยข้อหารักร่วมเพศมานานกว่า 60 ปี
Alan Turing ผู้เป็น "บิดาแห่งวิทยาการคอมพิวเตอร์" ได้สร้างคุณประโยชน์มากมายให้แก่อังกฤษแผ่นดินแม่ของตนเอง โดยเฉพาะอย่างยิ่งผลงานการถอดรหัส Enigma ซึ่งมีส่วนช่วยให้ฝ่ายสัมพันธมิตรสามารถกุมความได้เปรียบและได้รับชัยชนะในสงครามโลกครั้งที่ 2 ในที่สุด รวมทั้งการคิดสร้างเครื่อง Turing Machine อันเป็นรากฐานของการประดิษฐ์คอมพิวเตอร์ในภายหลัง ทว่าเขากลับต้องจบชีวิตของตนลงอย่างน่าเศร้าด้วยการฆ่าตัวตายในปี 1954 ภายหลังจากที่เขาถูกตัดสินว่ามีความผิดฐานรักร่วมเพศ และถูกลงโทษโดยการฉีดฮอร์โมนเพศหญิง