กลายเป็นเรื่องขึ้นมาทันที เมื่อ แท็บเล็ตเพื่อการศึกษาสำหรับเด็กชั้น ป.1 ล็อตแรกจำนวน 2,000 เครื่อง ไม่ตรงตามสเปกที่กำหนดไว้ในสัญญา
จุดที่เป็นปัญหาคือปลั๊กของแท็บเล็ตที่กำหนดไว้ในเอกสาร TOR ว่าต้องเป็นปลั๊ก 3 ขาพร้อมสายดิน แต่ของล็อตแรกที่มากลับเป็นปลั๊ก 2 ขาไม่มีสายดิน นอกจากนี้ยังมีปัญหาว่าแท็บเล็ตล็อตนี้ไม่ผ่านการรับรองจากกูเกิล (Google Certification) ทำให้ไม่สามารถติดตั้งแอพของกูเกิลรวมถึง Google Play ได้ในอนาคต
ขั้นต่อไปต้องรอดูกันว่าคณะกรรมการตรวจรับแท็บเล็ตล็อตนี้จะพิจารณาอย่างไร ทางเลือกที่เป็นไปได้คือสั่งให้บริษัทสโคปผลิตมาใหม่ (แก้ปัญหาเรื่องปลั๊ก ส่วนเรื่องกูเกิลยังไม่มีข้อมูล) หรือกระทรวงไอซีทีแก้ TOR โดยกำหนดเงื่อนไขว่าถ้าแท็บเล็ตมีปัญหาจะได้เงินประกันเครื่องละ 200,000 บาทแทน
ที่มา - ไทยรัฐ
Comments
เหอะๆ ทำไมผมถึงไม่แปลกใจเลยนี้
ได้เงินค่าประกัน ดูไม่ค่อยแฟร์เท่าไหร่กับความปลอดภัยเด็ก
Coder | Designer | Thinker | Blogger
ปกติ มันก็มีแค่ 2 ขานี่ครับ ไม่ว่าจะ iPad Galaxy ฯลฯ
ผมแปลกใจมากกว่าที่ TOR ของกระทรวงฯกำหนดมา 3 ขา หรือ กำหนดตาม มอก. หรือ การไฟฟ้า
มาตรฐานของไทยเป็น 3 ขากลมหมดครับ เพิ่งกำหนดไม่นานนี้แหละ
ตามนั้น
"เต้ารับ" เป็นสามขาหมดครับ ผมเพิ่งทำบ้านใหม่ที่บ้านก็ต้องเดินสามขา ไม่อย่างนั้นการไฟฟ้าไม่ยอมต่อไฟเข้ามาให้
ส่วนฝั่งเครื่องใช้ไฟฟ้า มีสามประเภท และสองประเภทไม่ต้องมีสายดิน (คือมีฉนวนหนาพอ กับใช้กับไฟแรงดันต่ำ ไม่อันตราย) - การไฟฟ้านครหลวง (หน้า 6)
ผมเองตามข่าวนี้มานานพอสมควร ยังหา TOR ที่ระบุว่าต้องมีสามขาไม่เจอ มีเพียงแค่บอกว่าเข้ากันมาตรฐานมอก. ได้ (ฉบับเปิดเผยที่ลงกันตามหน้าเว็บทั่วไปซึ่งหยาบๆ นะครับ ไม่เจอฉบับเต็มที่ใช้เซ็นสัญญา)
lewcpe.com , @wasonliw
ผมคุ้นว่าเขาใช้แบบมีสายดินมานานแล้วนะครับ ค้นจากเว็บก็ได้ประมานนี้
เมื่อวันที่ 1 สิงหาคม พ.ศ.2539 การไฟฟ้านครหลวงได้ออกประกาศให้ผู้ยื่นขอไฟฟ้ารายใหม่ จะต้องเดินสายไฟฟ้าให้มีระบบต่อลงดิน รวมทั้งต้องติดเต้ารับไฟฟ้าทุกตัวให้เป็นเต้ารับไฟฟ้าชนิดที่มีขั้วสายดิน ....
ตั้งแต่สมัยก่อนพวกที่ชาร์จของ Palm เค้าทำมาแบบเปลี่ยนหัวได้ แล้วแถมหัวมาให้เปลี่ยน 3-4 อันเลย มีทั้งแบบสองขาและสามขาครับ แต่ก็แปลกใจเหมือนกันที่ smartphone/tablet สมัยนี้ทำออกมาแค่สองขาและเปลี่ยนแปลงไม่ได้ด้วย
ปกติจะมีแต่3ขาไป2ขานะ 2ขาไป3ขาไม่เคยเห็น เพราะ3ขาไป2ขา เพื่อจะเอ 3ขาไปเสียปลั๊ก2ขาได้ แต่2ขาไป3ขาไม่รู้ทำเพื่ออะไร เพราะปลั๊ก2ขามันเสียบ3ขาได้อยู่แล้ว
หากอุปกรณ์หรือเครื่องใช้ไฟฟ้าไม่มีส่วนที่เป็นโลหะหรือสื่อนำไฟฟ้า ที่จะทำให้หรือมีโอกาสที่ผู้ใช้จะสัมผัสได้ ความเสี่ยงก็น้อยลงครับ แต่หากยังมีส่วนที่เป็นสื่อไฟฟ้าให้สามารถหรือมีโอกาสจับต้องได้ ก็จำเป็นครับที่ต้องมีระบบกราวด์ไว้ครับ เพื่อลดความเสี่ยงจากการเกิดไฟฟ้ารั่วครับ
มาตรฐานของเต้ารับ เต้าเสียบ (ก็ปลั๊กในภาษาชาวบ้านเราน่ะครับ) มี มอก.166 จำปีไม่ได้ครับ ที่จำได้เลาๆ ก็มีมาตั้งแต่ปี 2538 แล้ว แต่ไม่ได้เป็นมาตรฐานบังคับ เพราะมีการต่อต้านมากจากผู้ประกอบการ แต่เพิ่งมาไม่กี่ปีนี้ที่ถูกบังคับจากมาตรฐานตัวอื่นๆ หากปัจจุบันจะเห็นได้จากอุปกรณ์ไฟฟ้า เช่น ทีวี ตู้เย็น เครื่องซักผ้า จะใช้เต้าเสียบแบบ มอก. หมด ครับ คือ ที่ขา Line และ Neutron จะมีฉนวนอยู่ส่วนหนึ่งเพื่อป้องกันการถูกไฟดูดไว้ขณะใส่เต้าเสียบ ไปที่เต้ารับ ครับ
การจะใช้แบบ 2 ขา หรือ 3 ขา ต้องพิจารณาด้านความปลอดภัยของอุปกรณ์ไฟฟ้าประกอบครับ(แบบ 3 ขา คือมีระบบของสายดินหรือกราวด์ เพิ่มมาครับ)
ง่ายๆ อย่าง Notebook comp. ที่ใช้ๆ กันแบบที่มีส่วนของโลหะหรือสื่อไฟฟ้าที่ ผู้ใช้จับต้องได้ นี่ หากเกิดไฟฟ้ารั่วขึ้นมา แล้วไม่มีระบบกราวด์ ก็จะมีความเสี่ยงมากจากไฟฟ้ารั่วผ่านผู้ใช้มากครับ (ถูกไฟดูด) ยิ่งบ้านเราปัจจุบันใช้พื้นกระเบื้องกันมากขึ้น มีความเป็นสื่อไฟฟ้ามากกว่า พื้นไม้ หรือ พื้นที่ปูพรม (แบบต่างประเทศ) โอกาสเกิดไฟฟ้ารั่วหรือดูดก็มีมากขึ้นครับ สำหรับเด็กๆ แล้วยิ่งอันตรายไปมากขึ้นอีก ... หากไม่มีการป้องกันหรือลดความเสี่ยงจากความไม่ปลอดภัยครับ
ปลั๊กแบบขาแบนเอง ในเชิงเทคนิค วิชาการแล้ว ก็ไม่ได้เหมาะสม (ไม่ปลอดภัย) กับการใช้กับระบบไฟฟ้า 220VAC ครับ เพราะมีพื้นที่ที่เป็นสื่อไฟฟ้าของ Line และ Neutron มาใกล้กันมากกว่าแบบ ขากลม ครับ
รู้สึกว่าที่ทำ 3 ขาเพราะ ขาที่ 3 เปนสายดินปะ ถ้าผมเข้าใจไม่ผิด มันเลยดูอันตรายสำหรับเด็ก เกิดถ้ามีไฟรั่วขึ้นมา
สายดินครับจากเรื่องนี้ควรจะตรวจสภาพโรงเรียนกันด้วยนะ ว่าได้ทำปลั๊ก3ขาแบบมีสายดินกันรึปล่าว สิงปลูกสร้างปัจจุบันไม่ค่อยจะทำสายดินกัน บางทีทำปลั๊ก3ขาแต่ปล่อยสายดินลอยเอาไว้ก็เยอะ
เด็กอาจจะชาร์จที่บ้านก็ได้นี่ครับ เวลาไปโรงเรียนแล้วต้องชาร์จไปเรียนไปน่าจะไม่สะดวกหรือเปล่าอาคารที่ได้มาตรฐานทำปลั๊กรองรับสายดินเยอะแยะครับ
ปัจจุบัน กม. บังคับแล้วว่า ระบบไฟฟ้าของสิ่งปลูกสร้างต่างๆ ต้องมีระบบสายดินครับ
ถูกครับ ขาที่สามเป็นสายดินจริงๆ แต่ว่าหม้อแปลง 3v - 5v มันไม่ค่อยจะจำเป็นสักเท่าไร่ ... ยังไงก็ตามถ้า tor มาแบบนี้ ก็น่าจะปรับตาม tor ใด้ไม่ยาก
ตัวปัญหาคือ Google Certification ถ้าจะเอาด้วย อาจต้องรอไปอีก หรือต้องเลือกชื้อเครื่องที่แพงขึ้น
samsung ใหญ่แค่ใหน ?https://youtu.be/6Afpey7Eldo
ที่น่ากลัวคือ หากเกิดไฟฟ้ารั่วข้ามจากด้านที่มีแรงดันสูง (220V AC) เข้ามาที่ด้านแรงดันต่ำ (3 - 12V)และไม่มีระบบสายดินเตรียมไว้ ไฟฟ้าที่่รั่วก็อาจจะมีโอกาสที่ไหลผ่านมาที่ผู้ใช้ได้ หากไปสัมผัสส่วนที่เป็นสื่อไฟฟ้าของอุปกรณ์ไฟฟ้านั้นๆ ครับ และยิ่งแย่ไปกว่านั้นคือ หากพื้นที่ผู้ใช้ยืนอยู่ไม่ได้มีความเป็นฉนวน (หรือไม่ได้ใส่รองเท้าที่เป็นฉนวนมากพอ) กระแสไฟฟ้าที่รั่วก็ยิ่งวิ่งผ่านลัดตัวผู้ใช้ลงดินสูงมากขึ้น ครับ ...
ผมว่า เรื่อง ระบบความปลอดภัยของอุปกรณ์ไฟฟ้า สำคัญมากกว่า ครับ ... โดยเฉพาะต้องให้เด็กใช้ด้วยแล้ว ... ในทางปฏิบัติอาจจะเป็นผู้ใหญ่ที่เกี่ยวข้องกับการช่วยเหลือเด็กในการชาร์จแบตเตอรี่ หรือ ทำอะไรที่ต้องเกี่ยวข้องกับ ระบบไฟฟ้าบ้าน แต่ผู้ใหญ่เองก็มีสิทธิ์ถูกไฟฟ้าดูด ไฟฟ้ารั่วได้ไม่ต่างจากเด็กครับ ...
ผิดเสปคก็ไม่ต้องตรวจรับง่ายๆ
แต่ปัญหาคือ ทำไมมันถึงผิดเสปคมอบหมายให้ใครไปเจรจา หรือบริษัทที่ผลิตมันไม่ได้ อันนี้หน้าห่วง
บ้านเราจริงๆ มีมาตรฐาน เช่น ในเรื่องระบบเต้ารับ เต้าเสียบ เช่นในกรณีนี้ แต่ไม่ได้ปฏิบัติ ไม่ได้นำมาบังคับกัน จนต่างชาติ หรือ แม้แต่คนไทยเราเอง ก็ไม่ทราบ และเข้าใจผิดไปเหมือนกันว่า ระบบเต้ารับ เต้าเสียบ ที่เป็นมาตรฐานคือขาแบน แบบที่นิยมใช้กัน ไปซะ ... ครับ
เกิดมายังไม่เคยเห็น charger 5V มีสายดินเลย - -"
ไปถึงโรงเรียนก็ต้องหาลำบากหาอแดปเตอร์มาแปลงให้มันเป็น 2 ขาอีกอยู่ดีแหละ
@mamuang
ของผมเป็น ipad ฮ่องกง เป้นสามขานะครับ (แต่เป็นขาหลอก)
ของมันไม่ได้ขึ้นอยู่กับขนาดไฟ แต่ขึ้นกับมาตรฐานของประเทศนั้นๆต่างหาก
อย่างกรณีของไทยเพราะ เครื่องใช้ไฟฟ้า + อาคารที่จะสร้าง นับตั้งแต่ปี .... กำหนดให้ต้องเป็น 3 ขากันหมดแล้วครับ
มันเป็นเรื่องความปลอดภัยในการออกแบบอุปกรณ์ไฟฟ้าครับ อย่าลืม ถึงแม้ว่าด้านไฟฟ้าขาออกเป็น 5 โวลท์ แต่ด้านไฟฟ้าเข้าเป็น 220 โวลท์ ครับ หากไฟรั่วข้ามมา ก็โดนเต็มๆ ครับ ... ผู้ใช้ ในกรณีที่ไม่มีสายดินต่อไว้และเผอิญผู้ใช้ไปจับส่วนที่เป็นสื่อไฟฟ้า หรือฉนวนตำแหน่งนั้นไม่ดีพอ ครับ ...
มาตรฐานหลายๆ อย่าง มอก. หลายๆ ตัว มีขึ้นเพื่อช่วยให้เราได้สินค้าที่มีมาตรฐานขึ้น มีความปลอดภัยมากขึ้น ได้สินค้าที่มีคุณภาพ คุณลักษณะขั้นพื้นฐานครบ
คุ้นๆว่า สมอ. ได้กำหนดมาตรฐานปลั๊กไฟให้ โดยเป็นแบบกลมสามขา แต่เต้ารับบ้านเรากับปลั๊ก ยังนิยมแบบแบนสองขาอยู่เลย ใจจริงๆอยากให้บังคับใช้โดยทั่วและพร้อมเพรียงกันด้วยซ้ำ
บังคับใช้แล้วครับ ผ่าน มาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม (มอก.) หมายเลขอื่นๆ เช่น มอก. ความปลอดภัยของอุปกรณ์ไฟฟ้าที่ใช้ในบ้าน ครับ ซึ่งจะเป็นได้จาก ตู้เย็น พัดลม ทีวี เครื่องซักผ้า ก็เห็นแบบที่ใช้ปลั๊กตาม มอก.166 มากขึ้นแล้ว ครับ
คงจะค่อยๆ เป็นค่อยๆ ไป เพราะที่ผ่านมา มีแรงต้านจาก ผู้ประกอบการ ผู้ผลิต มาก และ ผู้ใช้เอง ก็ไม่ได้รับการให้ความรู้จาก องค์การของรัฐต่างๆ เพียงพอให้เข้าใจถึงความปลอดภัยที่จะได้รับมากขึ้น บางอย่างก็ต้องประสบเองถึงจะทราบว่ามันอันตราย ไม่ปลอดภัยยังไง เพราะอย่างที่พูดคุยกัน บางทีเจอคำถามว่า ถูกไฟดูดตามไหม ... ก็อาจจะไม่ตาย แต่ถ้าเป็นไฟ 220 VAC ก็ตัวใครตัวมันครับ
เพื่อความปลอดภัยของเด็ก ผิดสเป๊กก็ไม่ต้องเซ็นรับ
จริงๆ ผมอยากให้ Huawei ผลิตให้มากกว่า แต่ราคามันแพงกว่าเท่าตัว
ใครผลิตไม่น่าจะเป็นประเด็น แต่ขอให้ของที่ผลิตเป็นไปตามมาตรฐานที่จำเป็นในทุกๆ ด้านก็พอครับ ...
หากเอามาตรฐาน มาเป็นเงื่อนไขในการตรวจรับแล้ว ก็เชื่อได้ระดับหนึ่งว่าจะได้ของที่มีคุณภาพ
โดยจำเป็นต้อง ระบุมาตรฐานไว้ในทุกๆ ด้านครับ ตั้งแต่การออกแบบ ความปลอดภัย การไม่รบกวนอุปกรณ์อื่นๆ ไม่ถูกรบกวนจากอุปกรณ์อื่นๆ ได้ เป็นต้น รวมทั้งมาตรฐานระบบการควบคุมคุณภาพการผลิต ครับ
เขียน TORได้ประหลาดดีแท้ เพราะของยี่ห้ออื่นๆราคาหลักหมื่นในตลาด ยังไม่มีเจ้าไหนทำปลั๊กสามขาขายมาเลยด้วยซ้ำ
เครื่องใช้ไฟฟ้าหลายๆอย่างที่เราๆใช้กันมันผลิตโดย บ.ในประเทศที่ไฟ 110v กันเยอะมากๆ ในประเทศพวกนั้นมันไม่มีสายดินอยู่แล้วครับ เพราะงั้นออกแบบมาไม่ให้มีสายดินมาแต่แรก และพอเอามาขายประเทศที่ไฟ 220v บางทีก็ไม่ได้เปลี่ยนแบบเพื่อทำสายดินก็ทำออกมา 2ขาเลย ไม่ก็ 3ขา แต่ขาหลอก
ไฟ 5V มี 3 ขามันก็ไม่ได้ปลอดภัยขึ้นครับ
พูดให้ถูกคือมันไม่อันตรายแต่แรกแล้ว
แต่ขาเข้ามัน 220V นะครับ :-)
ตามนั้น
.................
เอิ้ก ๆ เพราะขาเข้ามัน 220 V นะ และขาที่สามมันเป็นไฟด้านขาเข้าซะด้วย
ช่วยอธิบายหน่อยดิครับว่ามันช่วยให้ปลอดภัยยังไง ผมไม่เห็นภาพการลากวงจรข้างใน
ป.ล.
ที่มา
ปกติสายดินมันจะเป็นแค่สายไฟไปต่อกับผนังของตัวอุปกรณ์อีกทีนึงครับ ในกรณีที่มีไฟรั่วออกมาที่ตัวอุปกรณ์มันจะได้วิ่งลงสายดินแทนที่จะวิ่งเข้าตัวคนจับ แค่นั้นแหละครับ
ซึ่งปรกติแล้วปลั๊กไฟ มันก็มีฉนวนรอบตัวทำให้ไม่จำเป็นต้องลงสายดิน เข้ามาตรฐานประเภท 2 หนิครับ?
lewcpe.com , @wasonliw
ที่ผมเข้าใจการหุ้มฉนวนที่สายเป็นการป้องกันไฟรั่วที่ตัวสายกับตัวปลั๊ก แต่สายดินกันไฟรั่วที่ตัวอุปกรณ์ เพราะในกรณีในตัวอุปกรณ์เกิดมีที่รัดวงจรและไฟรั่ว การหุ้มฉนวนที่ตัวสายก็ไม่ได้ช่วยในกรณีนี้ หากไปจับตัวเครื่องก็ยังโดนไฟดูดอยู่เพราะตัวเครื่องไม่ได้หุ้มฉนวน แต่ไฟรั่วจากตัวเครื่องนั้นส่วนมากไฟถูกแปรงออกมาให้มีแรงดับต่ำตามเครื่องใช้ไฟฟ้าอยู่แล้ว ความแรงของไฟดูดของแค่ทำให้สะดุ้ง อย่างเวลาเราจับด้านหลังคอมเก่าๆ หรือตามเครื่องเล่น dvd vcd ราคาถูกๆ ต่างจากไฟรั่วบริเวณปลั๊กเพราะจะเป็นไฟ 220v โดนทีอาจถึงตายได้ ปลั๊กไฟปัจจุบันมีสายดินหรือไม่มีคิดว่าหุ้มฉนวนกันหมด
Adapter ไม่นับกระแสไฟขาเข้าอยู่แล้วครับ เพราะไฟกระแส 220V และ 5V นั้นไม่ได้สัมผัสกันอยู่แล้ว(การแปลงไฟใช้การเหนี่ยวนำกระแส) ยกเว้นจะมีการ short circuit เกิดขึ้น ซึ่งไม่เกี่ยวกับไฟรั่วแต่อย่างใด และไม่เกี่ยวกับสายดินครับ
ส่วนกระแสไฟทาง 220V เราไม่มีทางถูกดูดเนื่องจากการรั่วได้ครับ เพราะไฟทางฝั่ง 220V นั้น จะถูกหุ่มด้วยฉนวนทุกส่วนอยู่แล้ว ยกเว้นฉนวนจะหุ้มไม่ดีเอง ซึ่งผิดมาตรฐานอุตสาหกรรมแน่นอน แต่ไม่เกี่ยวกับกรณีนี้
จริงๆการทดลองทำง่ายๆ เมื่อเราแตะปลายสายชาร์ตที่ต่อมาจาก Adapter ที่มีสองขา เราจะไม่รู้สึกว่าไฟดูดหรือรั่วแต่อย่างใด แต่หากเราต่อจาก computer ที่ไม่ได้ต่อสายดินไว้และแตะปลายสายชาร์ต เราจะถูกดูดจากกระแสไฟ 220V ที่รั่วมาจากตัวคอมพิวเตอร์ครับ
อย่างไรก็ตาม เรื่องนี้ไม่ได้เป็นการสำคัญเท่ากับการทำผิดสเปกที่กำหนดไว้ตั้งแต่แรก ซึ่งเห็นอยู่ว่าผิดครับ
Russia is just nazi who accuse the others for being nazi.someone once said : ผมก็ด่าของผมอยู่นะ :)
"แท็บเล็ตล็อตนี้ไม่ผ่านการรับรองจากกูเกิล (Google Certification) ทำให้ไม่สามารถติดตั้งแอพของกูเกิลรวมถึง Google Play ได้ในอนาคต" คุ้นๆว่าไม่ให้ใส่ Play Store มานี่นา ซึ่งถ้ามี Google Cert มันบังคับให้มีตัว Play Store อยู่แล้ว หรือว่าเราเข้าใจอะไรผิดไปเอง
ปลั๊กสองขานี่เฉย ๆ เพราะเต้าเสียบบ้านเราก็น้อยนักที่จะต่อไฟลงดินจริง ๆ(เอ... เด็กป.หนึ่งนี่โตพอที่จะให้เสียบปลั๊กไฟเองได้หรือยังนะ???)
แล้วที่ไม่ได้รองรับจากกูเกิลนี่ เป็นแผนเพื่อไม่ให้เด็กโหลดเกมมาเล่นใช่ไหมล่ะ!
Happiness only real when shared.
ทำให้มีปัญหาเถอะ เงินประกันตั้งแพง กำไรเห็นๆ ^^'
my blog
ถึงไม่เป็นอันตราย แต่สร้างบรรทัดฐานที่ถูกต้องในสังคมก็สมควรทำครับ เด็กๆ จะได้โตมาโดยมีภาพติดตาว่าปลั๊กต้องมี 3 ขา "เป็นมาตรฐาน" ไม่ใช่แค่ 2 ขาเพราะผู้ผลิตในไทยหลายเจ้ามักง่ายครับ (มาเล สิงคโปร์ ฮ่องกง ที่ใช้ปลั๊กแบบ UK ล้วนเป็นแบบ 3 ขาทั้งสิ้นครับ...ผมเคยไปประเทศนึงมา รูกลมเหมือนบ้านเรา แต่ถ้าไม่มีขาที่สามเสียบเข้าไป จะแยงปลั๊กเข้าเต้าเสียบไม่ได้เลยครับ จนต้องหาไม้อะไรมาเสียบล่อรูที่สามก่อนถึงจะเสียบปลั๊กได้)
ครับ สำหรับคนที่ไม่เคยเห็น USB Adapter มีสามขา ก็หน้าตาประมาณนี้น่ะนะครับ (ของสิงคโปร์)
Design in California ด้วยล่ะ
ส่วนเขาต่อกราวนด์หรือเปล่าผมไม่ทราบนะ (รุ่นเก่าเหมือนจะไม่ได้ต่อ เพราะว่าตรงหัวต่อมันมีแค่สองช่อง) ถึงแม้ว่ามันจะไม่อันตรายแต่มีไว้ก็ไม่เสียหายนะ
ผมมีตัวนี้ แต่นอนสลบเหมือดอยู่ที่ทำงาน
พรุ่งนี้ดูให้
ของ UK สเปคเขาดีมากเลยนะครับ มีแบบมี fuse อยู่ให้ด้วยในมาตรฐาน
@TonsTweetings
ตาม spec ก็ต้องตาม spec
แต่ไปเจอ LCD TV Samsung ขาปลั๊กเหลือแค่ สองเอง มันจะปลอยภัยเนี่ย ลดต้นทุนหรือ ต้องการให้ชาวบ้านเข้าถึงง่ายกันละเนี่ย
ถึงปัจจุบันยังไม่มีแต่ ผมอยากให้มองว่าเป็นมาตรฐานความปลอดภัยที่สูงขึ้นดีกว่า เครื่องไฟฟ้าเดี๋ยวนี้ก็เป็นใช้ปลั๊กสามขากันเยอะ อาคารบ้านเรือนสร้างใหม่ก็มีเต้ารับสามขาทั้งนั้น หลายสิบปีก่อนไฟฟ้าบ้่านเราก็มีแต่ปลั๊กสองขา ปัจจุบันบ้านใหม่ๆเป็นปลั๊กสามขาแล้ว (ไม่ทั้งหมดเพราะมันแพงกว่า)ยกตัวอย่าง ทีวีCRTแต่ก่อนก็สองขานะครับ แต่ทีวีLCD หรือ LEDสมัยใหม่ก็สามขาหมด ทั้งที่กินไฟน้อยกว่า เงินประกันสองแสนซื้อชีวิตคนกลับคืนมาไม่ได้หรอกนะครับ ข่าวคนเสียบสายชาร์ตโทรศัพท์ทิ้งไว้แล้วเกิดไฟช๊อตไหม้ที่นอนก็เคยมีมาแล้วส่วนที่เป็นปลั๊กสามขาแล้วไม่ต่อสายดิน ถ้าไฟรั่ว ไฟซ๊อตมา ความผิดใครก็คิดเอาเอง เขาทำมาให้ส่วนหนึ่งแล้ว แต่เราไม่ทำบ้านเราให้รองรับเอง
เรื่องขาปลั๊กนี่ยังไม่เท่าไร ถ้าคิดเอาเองว่ายี่ห้ออื่นๆ ก็ทำแต่สองขา แต่เรื่องลงโปรแกรมจาก PlayStore ไม่ได้นี่ถ้าเป็นจริงผมว่าแย่แน่ๆ
ถ้าต้องการคุม CONTENT ในแทบเบล็ตเด็ก ไม่ใส่มาก็ไม่เสียหายนี่ครับ
จริง ๆ ก็ต้องดูว่าตัว adapter ของทาง Scope หน้าตาเป็นอย่างไร ถ้าเป็นแบบเปลี่ยนหัวได้ก็สบายไป ถ้าไม่ใช่ ... ง่ายที่สุดก็คือแถมไอ้หัวแปลงเป็นสามขาติดมาด้วย (ฟังดูไร้สาระ แต่ผมไม่รู้เหมือนกันว่าใน TOR ระบุว่าต้องมีขากราวนด์ หรือแค่มีสามขาก็พอ) ก็พอจะเลี่ยงบาลีได้ในระดับนึง หรือแม้กระทั่งว่าส่งกลับไปแก้ เปลี่ยนเคสแล้วใส่ขากราวนด์หลอก ๆ ก็ยังได้
ผมเดานะว่า adapter ของ Scope อาจจะมีหน้าตาประมาณนี้ (อันนี้เป็นของ Scope Scopad)
ส่วน Google Certifications เนี่ย ... ถ้าไม่ใช้ Google Apps แล้วจะขอมาทำไมก็ไม่มีใครทราบได้ (หรือว่าจะให้ใส่มาทั้งหมดยกเว้น Google Play ซึ่งผมว่า Google ไม่่น่าจะยอม) ก็ต้องดูกันว่าทำอย่างไร แต่ถ้าจะขออาจจะต้องรอไปอีก 3-6 เดือนกระมัง
ทางเลือกที่ให้ประกันเครื่องวงเงิน 200,000 บาทยิ่งฟังดูไร้สาระเข้าไปใหญ่ ขนาด Sony Tablet ผมแพงกว่าตั้ง 6-7 เท่าวงเงินประกันยังไม่ถึงเลย 555 (ได้ประกันของกรุงเทพประกันภัยด้วยเหมือน Sony VAIO ครับ) ถ้าทำเพื่อเอาใจรัฐบาลก็คงพอเป็นไปได้ล่ะมั้ง
เป็นวงเงินประกันที่เวอร์มากอะ เครื่องราคา 2000 ประกัน 10000%ของราคาเครื่อง
3 ขาก็ใช้ตัวแปลงเป็น 2 ขาเหมือนเดิมเพราะที่โรงเรียนไม่ได้ทำระบบสายดินไว้
จริง ๆ ผมอยากเห็นท้องถิ่นออกกฎหมายบังคับให้สถานประกอบการ/สถานศึกษาต้องติดตั้งระบบสายดินที่ใช้งานได้จริงนะครับ (พวกโรงงานน่าจะโดนบังคับหมดแล้วมั้ง)
ถึงมันจะต้องใช้เงินแต่มันเป็นเรื่องสำคัญนะ เรื่องความปลอดภัยนี่มองข้ามไม่ได้ครับ
+1 โรงเรียนไหนยังไม่มีจะได้มีซะที แต่ผมว่าส่วนใหญ่ก็น่าจะมีกันหมดแล้วนะดูไม่ได้ยากเย็นอะไร
แน่ๆอ่ะ ผมว่า
ปัญหานี้ แก้ง่าย ครับ เพราะยังไง โรงเรียน ก็ต้องทำใหม่เพิ่มอยู่แล้ว แต่ ถ้าเป็นที่ตัวแปลงที่ไม่มี ถ้าต้องการให้มีต้องซื้อใหม่ เท่านั้นนะครับ (ล้านตัว 5 5 5)
ปัญหาคือมันไม่ตรงกับที่ตกลง จะให้ถือว่าหยวนๆ ไปคงไม่ได้
ส่วนเรื่องสายดินมันควรเป็นกฎหมายบังคับตั้งนานแล้ว
เต้าเสียบ3ขา ถ้าเจอเต้ารับ3ขา(หลอก) ไม่ต่อสายดิน ก็แย่นะ
ผมมองว่า 3 ขาไม่จำเป็นครับ แต่วงจรใน charger ต้องเป็นแบบ isolated switching เท่านั้นครับซึ่งมีหม้อแปลงแยกกันระหว่าง ขาเข้า และ ขาออก ได้ไม่น้อยกว่า 1,xxx volt ครับ
ย้ำ ห้ามใช้ buck converter โดยเด็ดขาด!
ประเด็นหลักคือ มัน ผิดสเปก!
บอกหมูปิ้ง 7 ไม้ 20 แต่ให้มา 6 เนี่ย คงยอมไม่ได้
Blognone = 138.1 news/w เยอะมากๆ
อ่านความเห็นแล้วได้ความรู้มากเลยครับ สรุปว่ารอบตัวผมมีเครื่องใช้ไฟฟ้าที่ถูกมาตรฐานเต้ารับ มอก แค่อันเดียวคือเครื่องเป่าผม!
ของผมมีแค่คอมพิวเตอร์อย่างเดียวที่ถูก ฮ่าๆ
เอา TOR มาให้ดูครับ
http://issuu.com/vc2012/docs/otpc_tor/1
ระบบไฟเต้าเสียบ อยู่ข้อ 4 หน้า 0049 เป็นไปตามที่คุณ Lew อธิบาย คือต้องต่อตามที่การไฟฟ้ากำหนดให้ต่อสายดิน
ตัวอะแดปเตอร์ อยู่ข้อ 9 หน้า 0052
ไม่ได้ระบุถึงปลั๊ก 3 ขาแต่อย่างใด แต่เป็นการคิดเอาเองของคนบางคนว่าระบบไฟมีสายดิน ปลั๊กจะต้องมี 3 ขาด้วย Adapter ที่มีสายดินมีใช้ในไม่กี่ประเทศเท่านั้น ลองค้นหารูปภาพใน google ดูครับ โดยพิมพ์คำค้นหาว่า tablet adapter หรือ tablet power supply ก็จะพบรูปภาพขาปลั๊กของ tablet adapter จากทั่วโลก ซึ่งเป็นไปตามคำอธิบายของคุณ lancaster เรื่องนี้มีที่มาที่ไป เมื่อ tablet ถึงมือเด็กเมื่อไร คงจะมีคนออกมาเล่าเบื้องหลังให้ฟังครับ
แล่วๆๆ มันต้องมีอะไรแหม่งๆ ได้ทุกรายละเอียดสิน่า... เหอๆ
@ Virusfowl
I'm not a dev. not yet a user.