Electronic Frontier Foundation (EFF) องค์กรด้านสิทธิเสรีภาพในโลกดิจิทัล เขียนบล็อกเรียกร้องไปยังแอปเปิลให้เปิดกว้างผลิตภัณฑ์ของตัวเองมากกว่านี้
EFF เปรียบเทียบผลิตภัณฑ์ของแอปเปิลในช่วงหลัง โดยเฉพาะตระกูล iOS ว่าเหมือนกับ "คุกกระจกอันสวยงาม" (beautiful crystal prisons) ที่มีข้อจำกัดปิดกั้นสิทธิของผู้ใช้มากมาย เว้นเสียแต่ว่าผู้ใช้จะทำการ jailbreak เพื่อหลบเลี่ยงข้อจำกัดเหล่านี้
EFF ยกตัวอย่างข้อจำกัดหลายประการของ iOS ซึ่งคนแถวนี้คงรู้กันดีอยู่แล้ว เช่น การจำกัดให้ลงแอพเฉพาะจาก App Store เท่านั้น โดยแอปเปิลควบคุมการส่งแอพเข้า App Store เองทั้งหมด, เงื่อนไขการปรับแก้ไฟล์ไบนารีของ App Store ที่ไม่สอดคล้องกับสัญญาอนุญาตแบบโอเพนซอร์ส และการกีดกันไม่ให้ผู้ใช้ jailbreak อุปกรณ์ของตน เป็นต้น
นอกจากนี้ EFF ยังพูดถึงแนวทางการพัฒนา Mac OS X ที่เริ่มปิดกั้นขึ้นเรื่อยๆ ตามอย่าง iOS โดยเฉพาะใน Mac OS X Mountain Lion ที่มีแนวคิดต้อง sign ก่อนแอพพลิเคชันจึงจะรันได้ (สำหรับคนส่วนใหญ่)
EFF เปรียบเทียบแอปเปิลกับระบบปฏิบัติการของไมโครซอฟท์ที่เปิดกว้างกว่า แต่ก็วิจารณ์ว่าไมโครซอฟท์ในช่วงหลังพยายามจำกัดสิทธิของผู้ใช้ตามอย่างแอปเปิลเช่นกัน เช่น กรณี UEFI ของ Windows 8 , กรณี Firefox บนโหมด Metro และกรณีว่า Windows 8 RT รุ่น ARM ไม่อนุญาตให้ลงระบบปฏิบัติการอื่น
EFF ได้เสนอให้มี "สิทธิขั้นพื้นฐาน" ของผู้ซื้อคอมพิวเตอร์จำนวน 4 ประการ ดังนี้
- ควรติดตั้งแอพอะไรก็ได้ตามที่เจ้าตัวต้องการ ไม่จำกัดเฉพาะ app store ของผู้ค้ารายใดรายหนึ่ง
- สิทธิการเข้าถึงระดับ root/superuser/hypervisor/administrator โดยไม่ปิดกั้น เพื่อให้ผู้ใช้ตรวจสอบการทำงานของเครื่องตัวเองได้
- ตัวเลือกการติดตั้งระบบปฏิบัติการต่างๆ บนฮาร์ดแวร์รุ่นเดียวกัน ถ้าผู้ใช้ต้องการ บริษัทฮาร์ดแวร์ไม่ควรปิดกั้นผ่านเทคนิคการเข้ารหัสต่างๆ
- การประกันฮาร์ดแวร์ต้องแยกจากการประกันซอฟต์แวร์อย่างชัดเจน ตัวอย่างคือ แอปเปิลปฏิเสธประกันฮาร์ดแวร์หากผู้ใช้ jailbreak อุปกรณ์
สุดท้าย EFF ยก คำพูดของ Steve Wozniak ที่เรียกร้องให้แอปเปิลเปิดกว้างผลิตภัณฑ์ตัวเอง มาเป็นกรณีศึกษา โดย EFF บอกว่าไม่มีระบบใดๆ จะสมบูรณ์ได้ถ้าหากปิดกั้นไม่ให้ประชากรของตัวเองมีอิสรภาพในการเปลี่ยนแปลงมันหรือเลิกใช้มัน
ที่มา - EFF
Comments
ปิดกั้น ? ใครเดือดร้อน ? เพื่อประสบการณ์ของผู้ใช้ที่ดีที่สุด ก็ต้องแลกบางอย่างมา การโฟกัสคือการปฏิเสธ "focus is about saying no" คนซื้อกันถล่มทลาย บริษัทก็กำไรมากมาย มีแต่คน win-win ใครเดือดร้อน ไปยุ่งอะไรกับเขา แอปเปิลไม่ได้ไปบังคับให้ใครใช้ ในตลาดมีตัวเลือกอื่นมากมาย ถ้าไม่ถูกใจก็ไม่ต้องใช้เท่านั้นเอง ผู้บริโภคเลือกเองได้ เปิดไปแล้วได้อะไร สร้างกำไรมากขึ้นหรือเปล่า ?
ถ้าไม่มีคนเดือดร้อน เขาจะ Jailbreak เหรอครับ
ช่วงที่เจลไม่ได้ ก็ไม่เห็นเค้าขายทิ้งกันนี่ครับ การเจล ก็เหมือนกับร้านขายของแต่งรถ มีก็ดี ไม่มีก็ไม่ได้เดือดร้อนจริงๆ
เดือดร้อนเพราะไม่อยากเสียเงินซื้อแอฟอ่ะหรอครับ ตลก แล้วคนที่เค้าไม่เดือนร้อนแล้วไม่อยากเจลล่ะ ???
ก็ไม่ต้องเจลสิครับ......คือปล่อยให้เสรีแล้วคนไม่อยากเจลเดือดร้อนตรงไหน ผมยังงง
เจลเบรคมันไม่ได้มีประโยชน์ที่ลงแอปฟรีนะครับ ประโยชน์คือแอปอีกหลายรูปแบบที่ผู้ใช้อยากได้ นักพัฒนาอยากขาย แต่ติด sandbox ก็เลยทำไม่ได้ เอาแค่คีย์บอร์ด4แถวก็พอแล้ว
ตรรกะที่ว่าเจล=ลงของเถื่อนเท่านั้นมันหนักแถวๆบ้านเราเนี่ยแหละครับ
บางอย่างไม่ควรแตะก็ไม่จำเป็นต้องแตะ นะครับ
ถ้าแอพที่ว่า มันถูกต้องไม่กระทบกับระบบ เค้าคงอนญาตให้ขาย
เช่น แอพปล่อย wifi ใน iPad2 เพราะมันเปลื่องแบต และแอพที่ ละเมิดชาวบ้าน อย่างโหลดหนังโหลดเพลง
แล้วคุณเอามาตรฐานอะไรว่าไม่ควรแตะล่ะครับ อย่างแอพปรับความเร็ว CPU ตอนเครื่อง sleep มันไม่ดีตรงไหนครับ แล้วแอพที่ทำให้เปลืองแบตคือต้องเชื่อนะครับ ว่าคนใช้ไม่ได้โง่ เขาคงรู้ว่าเปลืองแบต แต่มันจำเป็นต้องใช้
แล้วคนใช้มั่นใจแค่ไหนครับ ว่า Package ที่คุณลงมาจาก Source ภายนอกมีความปลอดภัย ไม่มีไวรัสหรือ malware ติดมาด้วยการ Jailbreak ถือเป็นการเปิดประตูบ้านต้อนรับขโมยนะครับ
Blog: https://medium.com/@tanakritsai
ผู้บริโภคเสียเงินซื้อแล้วควรมีสิทธิ์เลือกได้ด้วยตัวเองว่าอยากเปิดหรือไม่อยากเปิดครับ คนที่รับความเสี่ยงไม่ได้ก็ปิดไป
pittaya.com
นั้นก็อยู่ที่ผู้บริโภคแล้วละครับ หากผู้บริโภคต้องการให้มีฟีเจอร์นี้จริง ก็รวมตัวกันให้ได้จำนวนมากๆเรียกร้องฟีเจอร์นี้จากบริษัท
แต่จะทำยังไงกับการมีฟีเจอร์นี้แล้วผู้ใช้ลงแอพเถื่อนครับ
Blog: https://medium.com/@tanakritsai
ก็ตามข่าวนี้ไงครับ
Electronic Frontier Foundation (EFF) องค์กรด้านสิทธิเสรีภาพในโลกดิจิทัล
นี่ไม่ใช่ Consumer ไม่ใช่หลอครับ
Blog: https://medium.com/@tanakritsai
อย่าไปคิดแทนคนอื่นครับ มีคนอีกจำนวนมากที่ฉลาดพอจะระวังเรื่องพวกนี้ครับ
เบราว์เซอร์ล่ะ? โปรแกรมโทรล่ะ?
May the Force Close be with you. || @nuttyi
ถ้าคิดว่าเจลไม่ได้แล้วเดือดร้อน ก็อย่าใช้สิครับ เขาบังคับคุณเหรอครับ ถามตัวเองดีกว่าว่าซื้อมาเพราะอะไร เจล? (งั้นไปใช้อย่างอื่นเหอะ)
https://www.youtube.com/watch?v=rjeOuFKqTxg
ลองฟังเพลงนี้นะครับ :-)
+111111111
ผู้บริโภคไม่เห็นจะเดือดร้อนเลย แล้วคุณคือกลุ่มคนแค่ไม่กี่คนจะมาเดือนร้อนแทนคนมากมายมหาศาลเพื่ออะไร ระบบปิดจะดีหรือไม่ดีผู้บริโภคจเป็นคนตัดสินเอง ไม่ใช่องค์กร EFF ขี้เหม็นไม่กี่คน
คุณตอบแทนทุกคนเหรอครับ ผมว่ามีคนที่ใช้ iPhone แต่แหกคุกตลอดก็เยอะนะครับ และที่แหกคุกทำไมต้องลงโปรแกรมไม่จ่ายตังค์ล่ะครับ บางคนเขาก็ไม่ลงนะครับ
คุณก็เดือดร้อนแทนคนหมู่มากเหมือนกันนั่นแหละ
ผมเลือกอยู่ในคุกกระจกกำแพงสูงมากกว่าไปอยู่โลกกว้างที่เต็มไปด้วยซอมบี้อ่ะ
ถ้าอยู่สบายไม่อึดอัดก็ไม่น่ามีปัญหาอะไรนะครับ
Attack on Titan
เยี่ยมเลย ผิดหมดทั้ง 4 ข้อ
1.ควรติดตั้งแอพอะไรก็ได้ตามที่เจ้าตัวต้องการ ไม่จำกัดเฉพาะ app store ของผู้ค้ารายใดรายหนึ่ง (บางทีเจ้าของก็ถูกหลอกให้เอาไวรัสมาลงเครื่องตัวเองได้นะครับ)
2.สิทธิการเข้าถึงระดับ root/superuser/hypervisor/administrator โดยไม่ปิดกั้น เพื่อให้ผู้ใช้ตรวจสอบการทำงานของเครื่องตัวเองได้ (อย่าอ้างว่าตรวจสอบการทำงานของเครื่องเลยครับ ส่วนใหญ่จะเข้าถึงเพื่อดัดแปลงแก้ไขเสียมากกว่า เกรงว่าถ้าไม่ปิดกั้นมันก็เสี่ยงที่จะถูกโจมตีจากโปรแกรมประสงค์ร้าย)
3.ตัวเลือกการติดตั้งระบบปฏิบัติการต่างๆ บนฮาร์ดแวร์รุ่นเดียวกัน ถ้าผู้ใช้ต้องการ บริษัทฮาร์ดแวร์ไม่ควรปิดกั้นผ่านเทคนิคการเข้ารหัสต่างๆ (เอกลักษณ์เฉพาะตัวจะหายไป)
4.การประกันฮาร์ดแวร์ต้องแยกจากการประกันซอฟต์แวร์อย่างชัดเจน ตัวอย่างคือ แอปเปิลปฏิเสธประกันฮาร์ดแวร์หากผู้ใช้ jailbreak อุปกรณ์ (Software มีส่วนทำให้ Hardware เสียหายได้)
เป็นสิทธิ์ที่ผู้ซื้อสินค้าพึงมีครับ ใครที่คิดว่าของมันดีอยู่แล้วมีความสุขก็ใช้ไป ใครไม่พอใจก็ปรับแต่งได้ ถ้าพังก็ต้องรับผิดชอบกันภายใต้เงื่อนไขการรับประกันที่เป็นธรรม
ถ้าสมมุติว่า Microsoft ขายคอมที่ลงได้แต่ Windows ห้ามลง OS อื่น, ล็อคไม่ให้เข้าถึงไฟล์ระบบ, ติดตั้งได้เฉพาะโปรแกรมจาก Marketplace ตัวเองเท่านั้น feedback จะเป็นแบบนี้ไหมครับ?
pittaya.com
ทำไม blognone ไม่มีกด like
ผมก็เห็นด้วยนะเพราะซื้อของมาแล้วเป็นของเราแล้วก็ควรจะทำอะไรกับมันก็ได้ สามารถใช้ให้คุ้มค่าที่สุด
ปล. ตอนนี้ผมย้ายค่ายแล้ว รู้สีกเหมือนออกจาก the matrix
ใช่ครับมันเป็นสิทธิ์ แต่ผู้ซื้อส่วนใหญ่เกรียนครับ เอาไปปรับแต่งอะไรตามใจที่ผิดการรับประกัน พอพังขึ้นมา ก็มาสตรอเบอร์รี่ว่าไม่เคยทำอะไรเลย เดิมๆ บลา ฯลฯ แล้วดราม่าใส่ว่าของห่วยอย่างงี้อย่างงั้น เพราะผู้ใช้ส่วนใหญ่ระดับยูสเซอร์ผมว่าหากมีให้เค้าพร้อมในระดับการใช้งานทั่วไป โทรศัพท์ ดูหนัง ฟังเพลง เล่นเน็ต ถ่ายรูป ฯลฯ เค้าไม่ปรับแต่งอะไรมากเหมือน geek หรอกครับ เพราะหากอยากได้อะไรเพิ่ม ก็ ซื้อแอพเอาแค่นั้นเอง การไปละเมิดขโมยของคนอื่นเอามาใช้ฟรี มันเป็นสิทธิ์ที่ผู้ใช้สามารถเจลเพื่อทำได้ก็แล้วแต่นะ -*-
แน่ใจเหรอครับ
ผมว่ามันควรจะมีครับ ส่วน End User จะเปิดหรือจะปิดก็เรื่องของเขา
สำหรับการพัง ผมมองว่าถ้าพังจาก Hardware แบบที่ผู้ใช้ทำพังเอง เช่นตกน้ำ ก็ไม่ควรได้รับการเครม แต่ถ้ามันเสียจากผลิต เช่นจอมีดอท ก็ควรได้รับการเครม และ กรณี Software ควรจะรับเครมหรือช่วยแก้ไขให้ครับ
คือถ้าปลดล็อคการป้องกันแล้วผู้ใช้ควรจะต้องรับผิดชอบความเสียหายในซอฟต์แวร์ทั้งหมดนะครับ (ศูนย์อาจจะแค่ restore กลับให้อย่างเดียว)
สิ่งที่น่ากลัวกว่าคือ ร้านมือถือที่จะหลอก user ว่าปรับให้มันดีขึ้นได้โดย unlock แล้วลง software พิสดารที่ทำประกันหมด นั่นเท่ากับว่าคุณต้องเข้าร้านอย่างเดียวเพราะประกันซอฟต์แวร์หมดแล้ว และ end user ตาดำๆ จะรู้ได้ยังไงว่า software ที่ติดตั้งมาเสถียรแค่ไหน
ผมซื้อ nexus one แบบไม่ unlock มาเพื่อ unlock เอง ลงรอมเองที่ผมไว้ใจว่ามันเสถียร และหน้าบูท nexus ผมมีไอคอนกุญแจปลดล็อคเพื่อแสดงว่า "หมดประกันแล้ว"
Reality Distortion Field
พูดถึง MS นี้ต้องมีการรองรับการใช้โปแกรมใน Windows ตัวเก่าๆด้วย มันสามารถย้อนเปิดโปรแกรมได้ถึง Windows 95 แต่ Mac ไม่ได้นะครับ :)
ผมกำลังลำบากใจเพลงที่ซื้อมาจากไอจูนสโตร์
คือมันติด DRM
อยากจะย้ายค่ายไปหาแอนดรอยด์ใจจะขาด แต่เพราะ DRM มันนี่แหละ ทำให้ย้ายไม่ได้ซะที
(ซื้อมาใช่น้อย อุตส่าห์หาโปรแกรมแก้ DRM แบบเสียตังค์มาให้ก็แล้ว มันก็ยังไม่สะดวกอยู่ดี)
คุณอยู่ในคุกแล้วล่ะครับ คงออกมาลำบาก นอกจากจะยอมจ่ายค่าปรับ (= ทิ้งไอ้เพลงที่คุณซื้อมาไง)
ย้ายโลด 555555555
ตรงหัวข้อไหมครับ
จ่ายเงินซื้อมาแล้ว แต่ใช้ได้กับแค่อุปกรณ์แอปเปิ้ล
แทนที่จ่ายเงินแล้วจะได้เป็นเจ้าของอย่างสมบูรณ์หรือ ก็เปล่า...
ตอนซื้อ น่าจะมีข้อตกลงหรือแจ้งให้ทราบเรื่องข้อจำกัดการใช้งาน แต่เราก็ยังซื้อ แปลว่า...
เพราะงั้นเขาถึงต้องมีพวกที่ออกมาคอยคุ้มครองผู้บริโภคไงครับ
ไม่ใช่ว่าเขาจะทำอะไรมาก็ได้ แล้วจะหมายเหตุตัวเล็กๆ ไว้ข้างใต้ ซึ่งแทบจะไม่มีใครมองเห็น
แบบนี้ผมซื้อเกมส์บน iOS แล้ว ก็ควรย้ายไปลงใน Android ได้ด้วยสิ หากผมเลิกใช้ iOS
ตอนซื้อ ก็ซื้ออย่างเดียว ลืมอ่านข้างล่างว่า iOS only
ก็ตอนนี้เป็นแบบนั้นไงครับ หน่วยงานนี้ถึงอยากให้เป็นตาม 4 ข้อที่เขาเสนอมา
เพื่อเป็นประโยชน์ให้กับกลุ่มคนที่เรียกร้องแต่ถ้าหากคนไม่ได้เป็นผู้ที่ได้ประโยชน์ และก็ไม่เสียผลประโยชน์
ทำไมจึงต้องเดือดร้อนกับผู้ที่ได้ผลประโยชน์ด้วยล่ะครับ
แบบนี้ผมว่ามันเห็นแก่ตัวอ่ะ ทั้งที่มีข้อตกลงก่อนการขายอยู่ แต่ไม่เคารพ ไม่ศึกษา แล้วก็มาโวยวายว่าตัวเองเสียผลประโยชน์
แต่ว่าผมคิดในทางกลับกันนะครับผมคิดว่าที่เห็นแก่ตัวก็คือการไม่แบ่งปันให้ผู้อื่น ต้องการจะให้มีแต่พวกตนเองใช้นี่น่าจะเรียกว่าเห็นแก่ตัวมากกว่านะครับ
ส่วนเรื่องข้อตกลงการขายนั้นเป็นเรื่องของบริษัทผู้ผลิตและจำหน่ายครับถ้าหากสมมติว่าองค์การไฟฟ้าขึ้นค่าไฟฟ้าเป็นหน่วยละสิบบาทหรือร้อยบาท
สำหรับประเทศไทยคุณมีทางเลือกอื่นที่จะใช้ไฟฟ้าเหรอครับ
แต่ถ้าให้ผมเดาคุณอาจจะบอกว่าใช้ไฟฟ้าจากพลังงานทางเลือกอื่นได้มันก็จริงครับ
แต่ก็ไม่สำหรับทุกคนในประเทศนี้ที่เป็นคนส่วนใหญ่ที่ไม่มีทางเลือกครับ
ถึงต้องมีองค์กรที่ต้องคอยดูแลผลประโยชน์ของคนส่วนรวมไงครับ
แล้วมันเกี่ยวกะคุกกระจกตรงไหนเนี่ย
พูดคำเดียว เกินไป
Coder | Designer | Thinker | Blogger
เห็นชื่อแล้วผมนึกถึงเพลงนี้ครับ
https://www.youtube.com/watch?v=8h81PggfE8I
..
ของๆเขา เขาจะปิดหรือจะเปิดก็เป็นนโยบายของเขา สิทธิของเขา..
ใจของเรา เงินของเรา จะชอบหรือไม่ชอบ จะซื้อหรือไม่ซื้อ ก็เป็นสิทธิของเรา..
Electronic Frontier Foundation (EFF) องค์กรด้านสิทธิเสรีภาพในโลกดิจิทัลตกลงคุณคือองค์กรที่อยากจะมีเสรีภาพเหนือสิทธิของคนอื่นหรืออย่างไร??
..
จินตนาการสำคัญกว่าความรู้
ชอบคำนี้ 55
May the Force Close be with you. || @nuttyi
ถ้าผมเป็น apple คงคิดว่า "ไม่พอใจก็ไม่ต้องซื้อ" ผมว่าตัวสินค้าก็พิสูจน์ตัวเองระดับนึงแล้วนะ จาก market share ปัจจุบันมันก็พอจะสรุปได้ระดับนึงแหละว่าผู้บริโภคพอใจกับสินค้าเค้าแค่ไหน เค้าคงไม่มานั่งสนใจกับเรื่องพวกนี้ตราบที่มันยังเป็นอย่างนี้อยู่ ปล่อยให้คนที่อยากได้เรื่องพวกนั้นไปใช้อย่างอื่นดีกว่า ซึ่งหนึ่งในคนกลุ่มนั้นก็ผมเนี่ยแหละ
+1
ผมใช้ทั้ง iPhone 4S และ Galaxy S II ซึ่งผมพึงพอใจกับมันทั้ง 2 ดีอยู่แล้ว ทั้ง iOS และ Android ต่างก็มีจุดเด่นและจุดด้อยที่แตกต่างกันไป ผมกลับมองว่าเพราะ iOS เป็นระบบปิดจึงให้ประสบการณ์ใช้งานที่ดีกว่า Android สำหรับ end user (หรือผู้ที่ต้องการ) และ Android เป็นระบบเปิดจึงทำให้การใช้งานยืดหยุ่นและสะดวกกว่า iOS ในหลายๆด้านสำหรับ Geek user (หรือผู้ที่ต้องการ)
ใช้ Android ซิ
ผมว่าโมเดลปัจจุบันเวิร์คดีแล้ว คือถ้าทนไม่ไหวก็ (1) jailbreak (2) ใช้อย่างอื่นที่เปิดกว่า เช่น Android ... แต่มันคงจะดีกว่ามาก ถ้าตัวเลือกให้ Jailbreak มันมีแต่แรกอยู่แล้ว เช่น เปิดเครื่องมาบอกเลยว่าจะเลือกอยู่ในคุกหรือไม่ :)
@TonsTweetings
+10
a link
ผมเห็นด้วยกับคุณ toandthen ครับ คุณสาวกครับคือในข่าว ประเด็นที่เรียกร้องคือ อยากให้คนที่แหกคุกก็ยังอยู่ในประกัน อาจจะหลุดซอร์ฟแวร์แต่ประกันเครื่องควรอยู่ อ้าวเฮ้ย ใครรูท android ประกันก็หลุดเหมือนกันนี่นา 55555555555
+1 ครับ Android root ประกันเด้งเหมือนกัน ไม่ต่างจาก iOS
บางเจ้ารูทแล้วประกันไม่หายนะ ที่ประกันหมดแน่นอนคือปลดบูทโหลดเดอร์
แต่ก็มีคนหัวใส relock xD
Russia is just nazi who accuse the others for being nazi.someone once said : ผมก็ด่าของผมอยู่นะ :)
ก็คือถ้าศึกษาดีพอ ประกันยังอยู่กับคุณเสมอ อิอิ
+1 เห็นด้วยมากๆครับ
ใครพอใจอย่างไหนก็เลือกเอา อยากปิด ชอบเปิด เลือกเอาเลย
ข้อเรียกร้องต่างๆ ดูแลเหมือนว่า EFF ต้องการให้ SmartPhone ทำได้เหมือน PC ตัวนึงแล้วนะ แล้วก็เห็นมีแต่พวก Power User ต้องการ แต่ดันจะทำให้ Noob User มีปัญหาแทนด้วย
อีกอย่างมันเหมือนจุดขายอย่างนึงของ Apple ที่จะโฟกัสการใช้งานให้มันง่าย ไม่ยุ่งยาก ไม่ต้องไปกังวลอะไร แลกมาด้วยการทำอะไรได้น้อย(มาก) แต่สบายสำหรับคนไม่รู้เรื่อง/ขี้เกียจ งานนี้ EFF พยายามเรียกร้องให้เปิดกว้างในการเข้าถึง แต่ในขณะเดียวกันก็พยายามกีดกันการค้าเหมือนกัน
ผมว่าประเด็นของคุณนี่ "โคตรมั่ว" เลยนะ พยายามจับแพะชนแกะเหมือนจะให้ดูน่าเชื่อถือ
เรื่องกีดกันทางการค้านี่คุณมั่วสุดๆ เลยครับ
ขออธิบายข้อ 1 ที อ่านแล้วงง -*-
May the Force Close be with you. || @nuttyi
แบบนี้รึเปล่า? App Store ของ iPhone มีหลาย store แต่ไม่ได้เปิดให้มีหลาย store
ดูแบบ Android ก็ได้ครับ เราสามารถ sideload หรือลง Store ภายนอกเพิ่มเองได้ (เช่น GetJar หรือ SlideMe) แต่อันนั้นคือผู้ใช้เลือกเป็นคนทำเอง
เอาเข้าจริงแล้วคนใช้ Android จำนวนมากก็ใช้เพียงแค่ Market/Play เพียงอย่างเดียว ดังนั้นการเปิดให้มีหลาย Store ได้ ไม่ได้แปลว่าผู้ใช้จะใช้งานหลาย Store ครับ (และไม่ได้มีข้อเสียเยอะตามที่คอมเมนต์ต้นทางเขาอ้างมา)
:: DigiKin8 ::
ผมว่าตรงนี้ยังไง Apple ก็คงไม่มีทางเห็นด้วยแน่ๆ เพราะถ้ามีการติดตั้งได้อิสระสิ่งที่ตามมาคือความยากที่จะควบคุม จำนวนเครื่องที่มีปัญหาและต้องนำเข้ามารับการ service คงเพิ่มขึ้นเป็นเงาตามตัว นั่นหมายถึงต้นทุนในด้านการบริการที่เพิ่มขึ้นอย่างเลี่ยงไม่ได้
แก้ง่ายๆแบบโง่ๆ คือให้สโตร์ที่จะมาเปิดเซ็นสัญญากับทาง Apple ว่าฉันจะมีการตรวจสอบก่อนปล่อย ฉันจะมีการเตือนว่า App นี้ผู้ใช้ซื้อไปแล้วจากสโตร์อื่น
มันอาจจะไม่ได้เปิดเสรี แต่มันก็มีการแข่งขันมากขึ้น Apple อาจจะเรียกเก็บค่านายหน้าสัก 15% โดยที่ไม่ต้องทำอะไรเลยก็ได้ ส่วนเจ้าของสโตร์ก็ได้ 15% ไป
ทำไมผู้ใช้ต้องเสียค่านายหน้าเพิ่มทั้งที่ช่องทางจัดจำหน่ายเดียวกันและสินค้าเหมือนกันครับ
คุณครับตอนนี้คุณก็จ่ายอยู่ครับ เพียงแต่คุณไม่ทราบก็เท่านั้น เช่น app ราคา $1 Apple ก็จะกินค่าหัวคิวอยู่แล้วที่ 30% ฉนั้นนักพัฒนาก็จะได้ค่า 70% ของราคาเท่ากับว่าได้แค่ $0.70 ครับ
ในมุมมองของผมนั่นไม่แน่ใจว่าทิศทางของราคาจะเป็นอย่างไรถ้าเกิดมีการเปิดสโตร์อื่นๆ ขึ้นมาอีก ในเรื่องการจัดการสโตร์นั้นโดยส่วนตัวค่อนข้างรู้สึกพอใจ Appstore กับสิ่งที่เป็นอยู่ ไม่ว่าจะในด้านของราคาและคุณภาพและการนำเสนอ และผมก็คิดว่าด้วยวิธีการที่เข้มงวดนี้ที่ยังทำให้แอพจากฝั่งนี้ยังมีความปลอดภัยมากกว่าของทางแอนดรอยด์
คุณไม่รู้หรอกว่าถ้ามันเปิดเสรีแล้วมันจะเกิดข้อเสอนดีเกิดขึ้น
ครับผมไม่รู้จริงๆ ว่าถ้าเปิดแล้วจะมีข้อดีอะไรเกิดขึ้นบ้างลองยกตัวอย่างให้ฟังสักสามสี่ข้อได้ไหมครับ อย่างที่ผมบอกไปคือผมพอใจกับราคาแอพที่เป็นอยู่ ณ ปัจจุบันแล้ว มุมมองของผมยังไงมันก็ต้องมีการควบคุม ไม่งั้นก็จะเละแบบทางฝั่งแอนตรอยด์ที่ยังคาราคาซังกันอยู่ แล้วเรื่องแอพนี่ผมไม่แน่ใจว่าถ้าเกิดเปิดให้เกิดความเสรีมากกว่าที่เป็นอยู่ ราคาแอพจะไปอยู่ตรงจุดไหน อันนี้จากประสบการณ์ตรงเกี่ยวกับสินค้าอื่นๆ ที่เมื่อเปิดเสรีแล้วมักจะมีแนวโน้มสูงขึ้น
สงสัยอยู่อย่าง
ถ้า Apple บ้าจี้ทำตามข้อเสนอของ EFF แล้วเกิดกำไรหดขึ้นมา EFF จะรับผิดชอบมั้ย
ไม่ทำก็อาจลดได้นะครับ กฏหมายเขาแรง ถ้าลูกค้ารวมตัวฟ้องนี่หุ้นตกกราวรูดเลยนะครับ โดนมาหลายอุตสาหกรรมแล้วครับ ทั้งน้ำมัน บุหรี่ ประกันภัย CPU
ผมอ่านข่าวนี้แล้วนึกถึง Shinra Company คือตอนเราเล่น FFVII แผ่นแรกเกือบจะทั้งแผ่นเนี่ย เราจะอยู่แต่ใน Midgald ซึ่งเห็นแล้วก็ อืม FF ภาคนี้มันมืด ๆ ทึม นึกว่าทั้งเกมจะเป็นแบบนี้ (ฮา) คนที่อาศัยอยู่ใน Midgald เขาก็ดูมีชีวิตสะดวกสบาย มีสาธารณูปโภคพร้อม มีคนดูแลรักษาความปลอดภัยพร้อม แต่ดูแล้วมันไม่ได้เป็นสถานที่ที่น่าอยู่เลย ดูแล้วอึดอัดประมาณนึง คนที่เดินไปเดินมาในเมืองก็ดู้ไร้ชีวิตชีวา
พอออกมาจาก Midgald ได้ ก็ โอ้ โลกนี้มันสวยงามมาก (นึกถึงปี '97 นะ อย่าเอาไปเทียบกับพวก FFXIII หรือเกมฝรั่งใหม่ ๆ สมัยนี้) ชีวิตมีอิสระเสรีมาก ดูมีความสุข แต่เดิน ๆ ไปอาจจะโดนมอนสเตอร์ตบตายได้
ปล. จริง ๆ ถ้าเทียบกับ FFXIII ก็ยังได้ iOS เป็น Cocoon มี Apple เป็น fal'Cie มีนักพัฒนาเป็น l'Cie มีโฟกัสเป็นของตัวเอง และอาจจะถูกเปลี่ยนให้กลายเป็น Cie'th (แอพของตัวเองโดน reject จาก Appstore ด้วยเหตุผลอะไรก็ไม่รู้) ได้ตลอดเวลา 555 ผมแค่เทียบขำ ๆ นะ อย่าจริงจัง
อั้ยย๊ะ !!! เอาไปเทียบกันได้เนาะ 555+
+1 ยิ่งตอนได้ chocobo สีทองนี่ Android ที่ว่าเสรียังสู้ไม่ได้เลย
เค้าพูดถึง"สิทธิขั้นพื้นฐาน"ในแง่ที่ว่า เมื่อผู้ใช้จ่ายเงินซื้อแล้วสิทธิ์ในการใช้ก็ควรเป็นของผู้ใช้ ผู้ผลิตไม่ควร"ปิดกั้น"วิธีที่ลูกค้าจะเลือกใช้งานของผู้ใช้ด้วย"ข้ออ้าง"ใดๆมากกว่าละมั้งครับ
สิทธิขั้นพื้นฐานแบบนี้ก็ถูกเรียกร้องกับสินค้าแทบทุกประเภทนะเท่าที่เห็น
like +1
+1
อืมครับ เป็นอีกมุมที่น่าสนใจ +11111111111111
+1ผมว่าก็เหมือนการเปิดประตูและครับ(ที่จริงก็ไม่อยากเปรียบกับคุกเท่าไหร่) ถ้าใครคิดว่าข้างนอกมีสิ่งทีดีกว่าและกล้ารับความเสี่ยงก็สามารถออกไปได้โดยไม่มีความผิดอะไร แต่ถ้าพอใจที่จะอยู่ข้างในก็ยังอยู่ต่อไปได้และยังได้รับการดูแลอยู่เสมอ ก็เท่านั้นเอง
ดัดแปลงรถยนต์เกี่ยวด้วยมั้ย
คุณก็มีสิทธิที่จะดัดแปลงรถยนต์ได้นะถ้าไม่ทำให้เกิดความเดือดร้อนแก่ผู้อื่น อย่างพวกเปลื่ยนไฟหน้าให้สว่างมากๆ หรือแต่งท่อเสียงดัง นี่ก็ผิดครับ
ต่อไปอาจเห็นแอปเปิลขายเครื่องเปล่าสำหรับคนที่ไม่ต้องการใช้ iOS
ซื้อแล้วไปรับผิดชอบเองเอาใหมล่ะครับ ไม่มีการประกันอะไรทั้งสิ้น ซ่อมเอง ดูแลเอง สิทธิ์ของลูกค้าไม่ใช่ ฤเอากันใหม ?
ไม่ใช่เพราะต้องอยู่กับเค้าไปอีก 1 ปี หรือ 2 ปี ถ้าซื้อ applecare เหรอครับ หมดประกันแล้วอยากจะเอาไปทำอะไรเค้าก็ไม่ว่านี่เนาะ
android ที่ว่าแน่ยังหมดประกันถ้าปลดล็อก boot loader เลยนี่
ได้อยู่แล้วถ้าราคาเหมาะสม. จะว่าไปการรับประกันก็เป็นเรื่องการตลาดอย่างหนึ่ง
เหมาะสม ไม่เหมาะสมวัดจากอะไรครับ ?
อย่าง iphone คิดว่าเท่าไหร่ถึงจะเหมาะครับ ค่า r&d ค่า os รวมด้วยหรือเปล่า หรือว่าคิดแต่เฉพาะค่าเครื่อง ?
ส่วนเรื่องการตลาดผมว่าเป็นพวก lifetime waranty, หาย ไหม้, มากกว่า ส่วนพวกรับประกัน 1 ปี คงเป็นบริการหลังการขายที่ควรมีอยู่แล้ว
เหมาะสม = ราคาที่ผู้ซื้อยอมรับ
ผู้ซื้อมีเป็นล้าน ร้อยล้านคน จะยอมรับที่ราคาของใครครับ
ความเหมาะสม คือจุดที่อุปสงค์ตัดกับอุปทานครับการรับประกันก็ถือเป็น"ค่าการตลาด"อย่างนึง ต้นทุนของมันขึ้นกับบริษัทประเมิน
อย่างถ้าประเมินง่ายๆก็เอาสัดส่วนของค่าการตลาดนั้น เช่นยอดเคลมต่อจำนวนเครื่องที่ขาย หรือค่าซ่อมแซมในช่วงรับประกันคิดย้อนกลับมาเป็นต้นทุนต่อปี ถ้าจะขายแบบไม่มีประกันก็หักออกจากต้นทุนเครื่องแล้วค่อยกำหนดราคาใหม่โดยพิจารณาจากต้นทุนนั้น
หรือถ้ายากหน่อย ก็สำรวจตลาดว่าลูกค้ายินดีที่จะจ่ายเท่าไหร่ถ้าไอโฟนไม่มีประกัน/ซ่อม แล้วคำนวนต้นทุนให้ได้ส่วนต่างที่ต้องการกับการขายราคานั้น
การรับประกันคือการเพิ่มมูลค่าเพื่อให้เราซื้อ ไม่ใช่หนี้บุญคุณที่จะต้องสำนึกนะครับ
มันจะคิดได้อย่างที่คุณว่าจริงๆ เหรอครับ ที่เอาค่าต่างๆมาคิด หากเกิดเหตุสุดวิสัยขึ้นมา (ปัญหาโรงงานไฟไหม้, ปัญหาโรงงานเมมโมรี่ในไทยน้ำท่วม) ยอดขายตก ทำไงล่ะดี ซวยไป ?
คิดน้อย บริษัทขาดทุน
คิดมาก คนบ่น
หากท่านเป็น Apple ท่านจะเลือกอะไรอ่ะ บริษัทไม่ใช่องกรการกุศล ?
จุดพอดีมันอยู่ที่ตรงไหน แล้วคุณรู้ได้อย่างไรว่า ราคา ณ ตอนนี้ เค้าไม่ได้คิดรวมไปแล้ว ?
นี่เป็นทฤษฎีการตั้งราคาพื้นฐานที่ใช้กันทั่วโลกครับ คุณไปศึกษาตำราไหนก็เจอพื้นฐานคือต้องรู้ต้นทุนที่แท้จริง ราคาที่ลูกค้ายอมรับ และกำหนดสัดส่วนกำไรที่ต้องการ
ส่วนการรับมือปัญหาที่ไม่คาดคิด ก็มีเครื่องมือมากมายในหลายหน่วยงาน ตั้งแต่การทำ stock กำหนดเงินสดหมุนเวียนในบริษัท การใช้ outsource การบริหารเงินทุน ฯลฯ ไม่ได้เกี่ยวกับการตั้งราคาเลย
จุดพอดีคือจุดที่ราคาอยู่ในเส้นที่อุปสงค์ตัดกับอุปทาน วิธีทำกำไรคือเพิ่มความชันของอุปสงค์และหาวิธีทำให้อุปทานที่จุดสมดุลมีต้นทุนต่ำที่สุด แนะนำให้ไปหาทฤษฎีพื้นฐานทางเศรษศาสตร์อ่านก่อนค่อยมาคุยกันดีกว่าครับ
ราคา ณ ตอนนี้ เค้าคิดรวมไปหมดแล้วครับ รวมถึงการเพิ่ม"มูลค่า"จากการรับประกันด้วย พวกนี้มันพื้นฐานทางธุรกิจ ถ้าระดับผมยังคิดได้คุณไม่ต้องไปห่วงระดับ apple หรอก
ถ้าเป็นผมนะ ผมก็จะมองด้วยความรู้สึกที่เป็นอยู่ตอนนี้เพราะไม่มีความรู้ทางทฤษฎีเศรษฐศาสดร์ใดๆ ก็จะเห็นว่า คำว่าราคาเหมาะสม ราคาที่ลูกค้ายอมรับ มันก็ดูได้จากยอดขายที่มันออกมาไม่ใช่เหรอ ถ้าราคามันไม่สะท้อนคุณค่าในตัวสินค้าคนก็ไม่ซื้อกันเอง ซึ่งก็น่าจะเป็นอะไรที่เข้าใจได้ง่ายๆ
ส่วนจะอ้างตำราใดๆ นั้นผมว่ามันคงไม่ได้เป๊ะๆ ไปซะทุกอย่าง ถ้าทุกคนทำตามตำราแบบเดียวกันหรือทิมคุกไม่ได้ใช้วิธีการจัดการกระจายสินค้าแบบที่เป็นอยู่ เพราะไปยึดติดกับตำราเดิมๆ แบบคนอื่นๆ แอปเปิลก็คงไม่ได้มีกำไรอย่างที่เป็นอยู่ ซึ่งมันเป็นสิ่งที่ต้องทำอยู่แล้วกับการที่จะทำให้บริษัททำกำไรมากที่สุด ลองมองทางฝั่งอื่นดูเช่นซัมซุง ผมว่าถ้าเค้าเห็นว่าทางไหนมันทำกำไรได้มากที่สุดก็ีคงจะเลือกทางนั้นไม่ต่างกัน
การจัดการ supply chain เป็นเรื่องของ management คนละเรื่องกับเศรษฐศาสตร์เลยครับ
เศรษศาสตร์แค่บอกว่า"จุดที่เหมาะสม(ราคาทีทำกำไรสูงที่สุด)อยู่ตรงไหน" ไม่ได้บอกว่าต้องทำอะไรถึงจะได้กำไรสูงที่สุด และปัจจุบันยังไม่มีศาสตร์ไหนที่อธิบายเรื่องนี้ได้ดีกว่า
มันไม่ใช่ตรรกะแบบ 0 1 ว่าถ้าเหมาะสมคนจะซื้อ ไม่เหมาะคนจะไม่ซื้อ เพราะถึงจะตั้งราคาได้สูง/ต่ำกว่าราคาที่ควรจะเป็นมันก็ยังขายได้และก็ยังมีกำไรได้ เพียงแต่ไม่ใช่จุดที่ได้กำไรสูงที่สุด
ผมไม่ได้บอกว่าปัจจุบันราคาของสินค้าแอปเปิลถูกต้องรึเปล่านะครับ ผมแค่ตอบคำถามของคุณ por311 ว่า"ราคาที่เหมาะสม"จะวัดจากอะไร
สรุปผมต้องไปศึกษาเศรษฐศาสตร์เหรอเนี่ย ทั้งๆที่ผมแค่จะบอกว่า
การจะทำอะไรก็ตาม ดัดแปลง แก้ไข กับสินค้าชนิดใดชนิดนึงซึ่งอยู่นอกเหนือข้อกำหนดในการรับประกัน สามารถทำได้ แต่แลกกับการหมดประกัน หรือไม่มีการรับประกันเอาใหม เท่านั้นเอง (ซึ่งเครื่องใช้ไฟฟ้าทุกชนิดมันมีการรับประกันอยู่แล้ว แล้วก็แถมด้วยว่าทำอะไรกันมันแล้วจะหมดประกัน)
ถ้าสามารถเอาไปทำอะไรก็ได้อิสระ แถมยังมีการรับประกันอีก บริษัทจะอยู่ได้เหรอครับ
สินค้าไฟ 110 เผลอไปเสียบไฟ 220 บึ้ม ไปเคลม
ไมโครเวฟ ห้ามเอาวัสดุโลหะ สะท้อนเข้า เผลอเอาเข้าบึ้ม ไปเคลม
OC CPU เล่นจนไหม้ เอาไปเคลม
ไอโฟน เจลเบรกเล่น ทำตก โดนนำเคร่ื่องพัง เอาไปเคลม
แอนดรอยด์บางรุ่น ปลดล็อก bootloader เล่น ลงรอมนู่นนี่เล่น บริค เอาไปเคลม
มันมีจริงๆเหรอครับ บริษัทแบบนี้ หรือจะให้เค้าคิดอุปสงค์ อุปทาน ฯลฯ ที่คุณว่ามาเผื่อเอาไว้เลย แล้วราคาเครื่องพุ่งไปสัก 40,000 จะมีคนซื้อ ? จะขายดี ? จะทำกำไรมาก ?
ส่วนเรื่องการตั้งราคาเนี่ย ผมถามเพราะคุณ MN ตอบว่า ไม่มีการรับประกันก็รับได้ พังไม่พังช่างมัน ค่อยไปลุ้นเอา
ผมไม่ได้ต้องการรู้ครับว่ามันคิดยังไง คิดจากอะไรบ้าง ผมอยากแค่ว่าเครื่องเปล่าๆ เพียวๆ ไม่มีอะไรเลยเนี่ย รับได้ที่ราคาเท่าไหร่กันครับ เอา iphone นี่แหละ คุณ YF-01 ก็ได้ข่วยกะประมาณทีสิครับ เห็นเก่งเศษฐศาสตร์ คุ้นๆว่ามีเวปชำแระ iphone ด้วย ว่าอุปกรณ์ในเครื่องชิ้นละเท่าไหร่บ้าง เืผ่อจะเอามาไกด์ได้
คุณไม่อยากรู้ว่ามันคิดยังไง แต่พูดถึงเรื่องเหตุสุดวิสัยบ้าง ราคาที่คนส่วนใหญ่ยอมรับบ้าง แอปเปิลจะตั้งราคายังไงบ้าง ถ้าไม่พูดด้วยเศรษฐศาสตร์จะให้พูดด้วยอะไรครับ?
ไม่อยากศึกษาก็ไม่ว่ากัน แต่ให้รู้ไว้ว่ามันมีวิธีคิดอยู่ เห็นคุณเอาแต่ถามย้ำหัวตะปูว่า"เหมาะสมคืออะไร" ผมก็บอกว่าเหมาะสมมันคือแบบนี้แหละ(ว่าแต่ประโยคบนๆของคุณน่ะถามว่า"ถ้าเป็นแอปเปิล" ลงท้ายมากลับลำเป็นรับได้ที่ราคาเท่าไหร่ นี่กลับจากผู้ขายเป้นผู้ซื้อเลยนะ)
บอกไปแล้วว่าการรับประกันคือคุณค่าอย่างนึงซึ่งเอามาบวกเป็นมูลค่า ถ้าไม่รับประกันเลยก็หักออกเอา อยากได้กำไรเท่าไหร่ก็คำนวนรวมเข้าไปแต่ต้นมาก็ไม่ได้มีใครบอกเลยว่าต้องคงราคาเดิมหรือต้องรับประกันทุกกรณี มีคุณพูดอยู่คนเดียว แล้วก็ไปเหมาว่าคนอื่นคิดแบบนี้ซะงั้น
ไม่ใช่ว่าผมไม่อยากรู้ว่ามันคิดจากอะไรนะครับ แม้ไม่ได้ลงเศรษฐศาสตร์ลึกหรือแต่ก็พอจะรู้ครับว่า ของทุกอย่างก็ต้องมีต้นทุน ค่าขนส่ง บรรจุภัณฑ์ กำไรต่อชิ้น ฯลฯ จนออกมาเป็นราคาที่วางขายทั่วไป
ส่วนที่ผมย้ำว่าเหมาะสมคือ คุณ MN บอกว่าราคาเหมาะสม ผมถามแกอ่ะครับ ว่าวัดจากอะไร แต่ผมเสริมต่อนะครับว่า "ควรจะราคาเท่าไหร่"
ผมต้องการทราบราคาที่ MN หรือคุณ YF-01ยอมรับ
ผมอยากทราบ"ตัวเลข"ครับ ไม่ได้อยากทราบวิธีคิด เช่น 10,000 12,000 บาท ก็พอแล้วเครื่องกากๆแบบเนี้ย ไม่ใช่
เหมาะสม = ราคาที่ผู้ซื้อยอมรับ
เหมาะสม = อุปสงค์ตัดอุปทาน
มันไม่ได้คำตอบไงคร้าบบบ เลยถามย้ำๆๆๆ อย่างที่คุณว่า
คุณ YF-01 ก็เอาแต่พร่ำบอกว่ามันคิดยังไงๆ โดยไม่บอกราคาสินค้าที่คุณยอมรับโดยไม่มี"การรับประกัน"สักที กระทั่งโพสล่าสุดผมก็บอกแล้วว่าเวปพวกราคาต้นทุนต่อชิ้นส่วนก็มีนะลองหาดู (บอกเพราะพยายามสื่อให้ทราบว่าอยากรู้ราคา ไม่ได้อยากรู้วิธี)
ส่วนเรื่องการรับประกันผมบอกตรงไหนว่าต้องราคาคงเดิมหรือรับประกันทุกกรณี งง ผมต่างหากที่เป็นฝ่ายย้ำหัวตะปูน้ำลายยืดย้อยถามว่า หากไม่คงเดิม หรือซื้อแบบไม่มีประกันรับได้ที่เท่าไหร่
และที่เริ่มพูดพูดมาก็เพราะ มันเป็นหัวข้อในเรื่องนี้ไงครับ - -'แอปเปิ้ลเป็นคุกกระจกอันสวยงาม - หลายคนต้องการจะแหกคุก ต้องการจะทำนู่นทำนี่กับเครื่อง ซึ่งแอปเปิ้ลห้าม หากทำไม่ดีเครื่องอาจมีปัญหา แล้วก็มันก็จะเกิดการเคลมประกัน
แต่คุณกลับบอกว่า เครื่องเรา เราซื้อแล้ว สิทธิ์ของเรา - ผมก็เลยถามไงครับว่า ถ้าสิทธิ์ของคุณ apple ขายได้แต่ไม่มีประกันเอาใหม ราคาควรจะเป็นเท่าไหร่
คุณรับได้ คุณ mn รับได้ ก็ลองบอกดูว่ารับได้ที่เท่าไหร่ นอกจาก apple มันไม่มีใครรู้ราคาที่แท้จริงหรอกมั้ง ผมแค่อยากรู้ราคาแบบตัวเลขของคุณ แค่นั้นเอง ง่ายๆ - -'
ปล.1 ไม่ใช่ว่าผมไม่อยากศึกษานะ แต่จะให้ผมไปศึกษาอ่านตำราเป็นเล่มๆ เผื่อมาคุยแค่เนี่ย เอาเวลาไปทำมาหากินดีกว่าครับ
ปล.2 สมมุติผมเป็นคนใน apple มาแอบถามเผื่อจะได้ไปปรับปรุงมีการขายแบบไม่มีประกัน ว่าลูกค้าจะสนใจที่ราคาเท่าไหร่คงน่าขำเนอะ
อยากรู้ว่าเท่าไหร่ 10,000 15,000 (ซึ่งแน่นอนว่าขายจริงอาจจะไม่ใช่ราคานี้ แบบแค่มาเซอร์เวย์) แต่กลับได้คำตอบ
ราคาที่ผู้ซื้อยอมรับ, ราคาที่อุปสงค์ตัดอุปทาน
จบ กลับไปขาย 20,000 ขึ้นเท่าเดิมละกัน ขายดีจะตาย คนคงโอเคที่ราคานี้แหละ ^ ^
คุณถามว่า"ผู้ซื้อมีเป็นล้าน ร้อยล้านคน จะยอมรับที่ราคาของใคร", "หากท่านเป็น Apple ท่านจะเลือกอะไรอ่ะ บริษัทไม่ใช่องกรการกุศล ?" จบท้ายมาบอกว่าถามราคาที่ผมยอมรับได้ ใช่เหรอครับเนี่ย?
ถ้าคุณเป็นคนในappleมาทำแบบสำรวจ คงขำจริงละครับ ถามตั้งต้นว่า"ถ้าเป็นผู้ขายจะตั้งราคาเท่าไหร่"แต่อยากได้คำตอบว่า"ผู้ซื้อรับได้ที่ราคาเท่าไหร่"
ที่สำคัญคือคุณเข้าใจข่าวผิดไปไกลแล้วครับ ตัวข่าวบอกว่า"ผู้ซื้อควรมีสิทธิ์ใช้งานสินค้าได้ตามที่ตัวเองต้องการ" มันไม่ได้หมายความว่าให้ผู้ซื้อเจลเบรคได้นะครับ มันหมายความว่าผู้ซื้อไม่ควรจะต้องเจลเบรคเพื่อเข้าถึงสิทธิ์ admin ต่างหาก
สองอันนี้ต่างกันคนละเรื่องครับ การจำกัด sandbox ก็เหมือนมัดมือชกว่าเรา"ต้อง"ยอมอยู่ในคุก ถ้าอยากออกก็ต้องเสี่ยงแหก แถมยังล้อมรั้วใหม่ทุกครั้งที่มีคนแหกอีก
กับการให้สิทธิ์เข้าถึงแอดมินได้โดยระบุว่าถ้าคุณ root เมื่อไหร่หมดประกัน นี่คือการเปิดประตูไว้ให้โดยมีเงื่อนไข ถ้าคุณเลือกจะเดินออกจากสนามเด็กเล่นก็ต้องมั่นใจว่าโตพอจะรับผิดชอบตัวเองได้
ปล.เศรษฐศาสตร์เบื้องต้นที่ผมว่ามาอ่านไม่เกินครึ่งชม.ก็จบครับ บางคนเก่งๆ5นาทีก็เข้าใจแล้ว และมันเป็นศาสตร์พื้นฐานของโลกทุนนิยมที่คุณทำงานหาเงินกับมันอยู่ด้วยซ้ำนะ
เฮ้ออ ยอมครับยอม งงไปหมดแล้ว คุณเล่นเอาคำถามมารวมกันงี้ เดี๊ยวผมเป็นคนขายสุดท้ายมาเป็นคนซื้อ ผมว่าผมถามตอบๆเป็นสเตปไปนะ - -'
ผมไม่เก่งครับ หัวช้า แค่จะถามตอบกับคุณนี่ผมยังต้องเลื่อนไปดูไปๆมาๆ พิมพ์ๆ ลบๆ เลย อย่าคาดหวังผมมากเลยครับ
กลับไปไล่อีกทีนะครับ ผมงง บอกก่อนผมไม่เก่งเรื่องโปรแกรมนะครับ แซนบ้ง แซนบ็อกก็ไม่รู้จัก ^ ^'
คุณ - พูดเรื่องสิทธิ์พื้นฐาน "ผมไม่รู้ว่าพื้นฐานของคุณคืออะไรบ้างที่คุณอยากได้" จากข่าวผมอ่านคร่าวๆ ก็พูดเรื่อง ลง app นอกสโตร์ ห้าม jail ประกันหมด การเข้าถึง rootเพื่อตรวจสอบ ถ้าเข้า root ได้โปรแกรมเมอร์มือซนๆจะแค่เช็คอย่างเดียวจริงๆเหรอ ?
ผม - เอาใหม สมมุติ apple ขายให้ แต่ไม่มีประกัน อยากทำอะไรกับเครื่องก็ทำไป
MN - ได้อยู่แล้วถ้าราคาเหมาะสม (สำหรับผมคิดว่าคำตอบมันกำปั้นทุบดินไปหน่อย เหมาะคุณ แอปเปิ้ลอาจจะไม่เหมาะด้วย เลยถามต่อว่า)
ผม - เหมาะ ไม่เหมาะ วัดจากอะไร (คือ อารมณ์ประมาณว่า ที่พูดมาเนี่ยแสดงว่าแสดงว่าถ้าไม่มีประกันก็โอเค แล้วราคาก็คงต้องถูกกว่านี้สินะ) เลยถามต่อว่าราคาเท่าไหร่ถึงจะเหมาะสม
MN - ราคาที่ผู้ซื้อยอมรับ (ผมคิดว่าคำตอบมันกำปั้นทุบดินอีกแล้ว และคิดว่าอันนี้แหละที่ทำให้ผมอยากรู้ราคาเป็นตัวเลขว่า ผู้ซื้ออย่างคุณคิดว่าเท่าไหร่ เป็นตัวเลข เลยถามว่า)
ผม - ผู้ซื้อมีเป็นล้าน จะยอมรับที่ราคาของใคร (ล้าคน ล้านราคา สุดท้าย apple ก็ขายราคาที่ตัวเองคำนวนตามหลักเศรษฐศาสตร์แบบที่คุณ YF-01 ว่าอยู่ดี รู้ทั้งๆที่ถาม แต่ก็อยากรู้ว่า เหล่าโปรแกรมเมอร์ โคตรเซียน ที่อยากเล่น อยากให้มี iphone แบบอิสระเนี่ย ถ้าต้องแลกกับการไม่รับประกัน เค้าอยากได้เครื่องละกี่บาท เท่านั้นเองจริงๆ T_T) ……. จากนั้นก็ยาวว มาจนถึงตอนนี้แหละ
เห็นบอกว่า iPhone มันโคตรไม่อิสระกันเลย ทำอะไรๆก็ต้องผ่าน itune เสียบเครื่องอื่นก็ไม่ได้ ลากไฟล์ลงตรงๆก็ไม่ได้ ต้องแหกคุกเท่านั้นถึงจำทำด้ทุกอย่าง ซึ่งการแหกคุกมันก็หมดประกันไง ถ้าเค้าจับได้ เลยเป็นคำถามผมด้านบนไงครับ ว่าถ้าสินค้าขายโดยไม่มีการรับประกันคุณโอเคกันใช่ใหม แล้วก็ยกตัวอย่างเรื่อง iphone ว่าราคาเท่าไหร่ที่อยากได้กัน เท่าั้นเอง
ปล.ผมทำงานด้านอาหารครับ ไม่ได้เก่งหรอกครับ พอทานได้ หากผมให้คนมาทำแกงเขียวหวานแข่งกัน(ไม่กล้าท้าคุณ YF-01 เกิดทำเก่งขึ้นมาสงสัยจะฮาไม่ออก)
เขียวหวานแกงที่เห็นกันดาษดื่น มีตั้งแต่แกงถาดๆ ยันร้านอาหารหรูถ้วยละหลายร้อย แต่คนๆนั้นไม่เคยสนใจทำอาหารเลย ผมให้เวลาศึกษาสูตรจากกูเกิ้ลสามชั่วโมงเลย แล้วมาทำแข่งกัน โดยต้องเริ่มตั้งแต่จ่ายตลาด คุณคิดว่าเค้าจะทำได้อร่อยกว่าผมใหมครับ ทั้งๆที่เค้าอาจจะกินมันทุกวัน ^ ^' หรือเอาแค่ทำให้ออกมาหน้าตาถูกต้องก็ได้
ต่างกับคนเก่งๆ ไม่ต้องให้เวลาเลยบางทีแค่ชิมก็รู้แล้วว่าใส่อะไรบ้าง และสามารถทำออกมาได้อร่อย ของแบบนี้มันพูดยากนะผมว่า
ถึงได้บอกว่าคุณเข้าใจเนื้อข่าวผิดไงครับ
คือ EFF ไม่ได้บอกว่า"ให้ทำอะไรก็ได้ได้โดยไม่หมดประกัน"แต่บอกว่า"ถ้าผู้ใช้อยากซน ก็เป็นสิทธิ์ของผู้ใช้" ดังนั้นแอปเปิลจึงไม่ควรทำให้ระบบต้องมีการเจลเบรค(เพราะเจลเบรคมีสิทธิ์ทำให้เครื่องพังได้ แถมยังตามมาล้อมรั้วใหม่ทุก ver.)
แต่ถ้าแอปเปิลจะระบุเงื่อนไขว่ารูทแล้วหมดประกัน นั่นก็อีกเรื่องครับ
ถ้าถามผม โดยไม่มีประกัน1ปีแล้วเข้าถึงสิทธิ์แอดมินได้โดยไม่ต้องเจลสำหรับ4sตอนนี้ ผมยอมรับได้ที่ไม่เกิน18000บาทครับ
EFF บอกว่า"ถ้าผู้ใช้อยากซน ก็เป็นสิทธิ์ของผู้ใช้" ดังนั้นแอปเปิลจึงไม่ควรทำให้ระบบต้องมีการเจลเบรค(เพราะเจลเบรคมีสิทธิ์ทำให้เครื่องพังได้ แถมยังตามมาล้อมรั้วใหม่ทุก ver.)
กับ
กับการให้สิทธิ์เข้าถึงแอดมินได้โดยระบุว่าถ้าคุณ root เมื่อไหร่หมดประกัน นี่คือการเปิดประตูไว้ให้โดยมีเงื่อนไข ถ้าคุณเลือกจะเดินออกจากสนามเด็กเล่นก็ต้องมั่นใจว่าโตพอจะรับผิดชอบตัวเองได้
ต่างกันยังไงครับ
apple กัน ไม่ให้ jail ไว้ (ผมเข้าใจว่าการ jail ก็เผื่อการเข้าถึง root เครื่อง เพื่อทำนู่นนี่ ถ้าผมเข้าใจผิดโปรดอธิบาย)
ซึ่งก็มีเงื่อนไขไว้ว่า ถ้า jail เมื่อไหร่หมดประกันนะ ถ้าคุณพร้อม เราก็ไม่ห้าม ? - ใช่การเปิดประตูไว้แบบมีเงื่อนไขหรือเปล่าครับ
จริงๆผมว่ามันโอเคด้วยซ้ำนะ ที่ re เครื่องก็เหมือนเดิม HTC ผมขึ้น relocked ซึ่งดูยังไงก็รู้ว่า root มาแล้ว ประกันขาดกระจุย
เรื่องตามล็อกทุกเวอร์ชั่น ก็เห็นแก้กันได้ทุกเวอร์ชั่นนี่ครับ อยู่ที่ช้าเร็ว จะเดินออกจากสนามเด็กเล่น ก็ต้องเสี่ยงหน่อยหรือเปล่าครับ
......ระหว่างงับประตูไว้กับตามล๊อคมันต่างกันยังไง ถ้าไม่เข้าใจรอบนี้ผมคงต้องยอมจริงๆละ
เอาพื้นฐานก่อน คือปัจจุบันแอนดรอยด์ส่วนใหญ่สามารถ root ได้โดยไม่ต้อง unlock bootloader แล้วครับ และการ unlock นี่ก็ไม่ได้ทำอะไรพิศดารเลย ใส่คำสั่งง่ายๆไม่กี่บรรทัดแค่รู้ source code ซึ่งปล่อยกันเสรีอยู่แล้ว (เว้น HTC ยุคเก่าๆที่ต้องทำ gold cardนะ)
คือประตูไม่ได้ล๊อค คุณอยากออกก็เดินออกไปเลยตามใจ แต่ออกไปแล้วไม่รับผิดชอบนะ
ในขณะที่การเจลเบรคคือการหาช่องโหว่ที่แอปเปิลป้องกันไว้ นอกจากไม่ได้เปิดประตูให้คุณออกแล้วยังล๊อคกุญแจอีกต่างหาก เมื่อก่อนนี่แอปเปิลถึงขนาดฟ้องศาลให้การเจลเบรคผิดกฏหมายด้วยซ้ำไป(ข่าวเก่ามากแล้ว ลองหาดูนะครับ)
นอกจากล๊อคประตูแล้ว ยังตามมาเปลี่ยนกุญแจใหม่เรื่อยๆ พอขึ้น ver.ใหม่ทีก็ต้องมาหา"ช่องโหว่"กันใหม่ทีนึง นี่คือเปิดประตู?
แอปเปิลทำให้เห็นชัดเจนตลอดเวลาว่าไม่อยากให้คุณออกนอกประตูครับ และการที่มีคนมาเจลมันได้ก็ไม่ใช่เพราะแอปเปิลปล่อย แต่คนเจลเก่งพอจะหาช่องโหว่ได้ต่างหาก
การเรียกร้อง "เสรีภาพ" คือมีคน "ไม่พอใจ" ในการถูกจำกัด "สิทธิ" จึงมีกลุ่มก้อน องค์กรออกมาเรียกร้อง ต่อสู้
ที่ตามมาก็จะมีกลุ่มคนที่ "พอใจ" ในการถูกจำกัด "สิทธิ" ออกมาปกป้องบอกว่า "อยากจะมี เสรีภาพ เหนือ สิทธิ ของคนอื่นหรือ" , "ไม่พอใจก็ไม่ต้องซื้อ" ทั้งๆที่พวกคุณก็ไม่เดือดร้อนอะไร ถึงอีกกลุ่มจะเรียกร้องได้หรือไม่ก็ตาม
หรือคุณอาจจะออกมา เรียกร้องก็ได้นะคือ "ติด DRM คืนทีผมไม่อยากเห็นคนอื่นนำเพลงจาก itune เอาไปฟังกับ device อื่น" ,"ผมขัดตามากเลย ที่เห็นเครื่องคนอื่น run app อื่นที่ไม่ได้มาจาก Appstore บน OS ที่ผมรัก " , "เอเจนต์สมิธ จับนีโอ กลับไปฝันซะ แล้วทำลาย ไซออนให้ย่อยยับ ;P"
นั่นสิครับ
-w- มาม๊ะ มาใช้ลินุกซ์กัน หึๆ //ยื่นปืนลูกซองพร้อมกระสุนสองกำกับดาบหนึ่งเล่มให้
ถ้าใช้ android ก็กำลังใช้ linux อยู่ครับ 55555555555
อืม ถ้าเป็นกรณี DRM เนี่ย การปล่อยให้ JB แล้วเข้าถึงคอนเทนต์ของแอปเปิ้ลได้นี่หมายถึงทุบหม้อข้าวหม้อแกงจากอุตสาหกรรมเพลงนะ ใครมันจะกล้า
ส่วนข้อเรียกร้อง 4 ข้อ เห็นด้วยนิดหน่อย แต่ก็นะ ซอฟต์แวร์เจ้านี้แขาทำขายไม่ได้ทำแจก จะไปบ่นเพื่อ?
ถ้าชอบอิสระมากขนาดนั้น เชิญซื้อ HTC HD2 มายำเล่นเถอะ ได้ตั้ง 3 แพลตฟอร์ม
เอ่อ ผมเข้าใจว่าแม้แต่ในอุตสาหกรรมเพลงเองยังถกกันไม่จบเลยว่า DRM ช่วยหรือทำลายอุตสาหกรรม ลองไปดูข่าวเก่า ๆ ได้นะครับ
มันเป็นดาบสองคมน่ะครับ
DRM สำหรับเกม ถือว่าเป็นเรื่องที่ Ruin วงการมากกว่า แต่หลังๆมาจะออกไปทาง Multiplayer ซึ่งต้องผูกกับ Account อยู่แล้วเลยไม่ค่อยมีปัญหา ยังพออยู่ได้ แต่สำหรับวงการเพลงเนี่ย ผมเห็นว่า แม้บางเจ้าจะปลด DRM เพื่อรักษาศรัทธา แต่ถ้า Apple กล้าปลดล่ะก็ ล้มครืนแน่ๆครับ หาที่ยืนยาก กับตลาดเพลงที่ใหญ่ขนาดนี้ (จ้างให้ก็ไม่ปลด เชื่อเหอะ)
ถ้าเข้าใจ Model The Matrix ก็เข้าใจได้ทั้งสองรูปแบบนะครับ
จะอยู่ในโลกอันสวยงามหรือจะไปเผชิญโลกอันแท้จริงที่แสนยากลำบากจะยาเม็ดแดงหรือน้ำเงินคุณเลือกเอง
ถ้าจะให้เทียบก็เหมือนแอปเปิ้ลคือพวกผู้สร้างและเอเจนต์ พวกสร้าง jb ก็เหมือนกลุ่มของมอร์เฟียส ซีดีอาก็เหมือนไซออน iOS/OSX ก็เหมือน The Matrix แต่ทั้งนี้ทั้งนั้นผมว่าอย่างน้อยๆก็ควรให้เลือกนะ
สำหรับคนที่ซื้อแล้วอยู่ในคุกคริสตอลอย่างที่เค้าบอกแต่เรามีความสุขก็ซื้อใช้มันไปเถอะครับ แต่ที่เค้าเรียกร้องก็เพื่อสำหรับคนที่ไม่อยากจะถูกควบคุมและอยากจะมีเสรีในการทำอะไรก็ได้อย่างที่เราอยากทำนี่ครับ ผมว่านี่ก็เป็นสิทธิ์ขั้นพื้นฐานที่เราก็สมควรได้รับเช่นกัน ซึ่งก็อยู่ที่คุณอยู่ดีว่าจะเลือกที่จะรับหรือไม่รับก็แค่นั้น
เป็นบทสัมภาษณ์ที่เป็น propaganda โดยคู่แข่งทางการค้ามากกว่าครับวิธีสกัดดาวรุ่งก็เช่น
1) หาเรื่องฟ้องร้อง เพื่อสั่นคลอน brand royalty ถ่วงเวลาในการขยายผลิตผล ให้รับศึกทางกฎหมาย
2) ประชากรในประเทศที่สร้างมาด้วยการประกาศอิสรภาพ (usa) ซึ่งเป็นตลาดใหญ่ของแอปเปิล
จึงต้องใช้ประเด็นเรื่องอิสรภาพ กับกลุ่มที่อ่อนไหวทั้งที่ความเป็นจริง 'อิสรภาพ' ลวงตา มักจะถูกหยิบยกมาใช้ในการกบฎ การปฎิวัติ และได้ผลทุกครั้ง
เป็นกระบวนการพื้นฐานของการก่อการร้ายที่ได้ผลกับกลุ่มชาวไร่ชาวนา ที่ขาดอิสรภาพทางการเงิน นำไปปนเปกับอิสรภาพที่ตนมี
3) อิสรภาพกับการถูกทอดทิ้งคือสิ่งเดียวกัน
เพลงผมไม่ซื้อผ่าน itune เลย ripจากแผ่นเป็น Flac เปิดฟังใน App อื่นเอาก็ได้ ไม่เห็นต้อง jail
เมื่อก่อน Mac ก็แทบจะเป็นคอมพิวเตอร์ indy ที่คนแทบไม่รู้จักกัน และผมดีใจที่ทุกวันนี้มันยังคงมีแนวโน้มแบบนั้นไม่ต้องการให้เปิดกว้าง ถ้าไม่มีด่านภาษี ไม่มี visa คนเข้าออกได้อิสระ ปัญหาก็จะตามมาแบบไม่สิ้นสุด ทุกประเทศจึงมีการจำกัด ตั้งด่านภาษี กำหนดสัมปทาน
4) เคยมีคดีของเกม Kingdom Rush (เกมยอดขายอันดับ 3 ในหมวด ipad) ที่ถูกขโมยอาร์ทเวิร์ค ไปทำ replica game ในชื่อ Kingdom Rush TD ถ้าหากไม่มี AppleStore คอยจัดการให้ เหตุการณ์แบบนี้จะเกิดขึ้นซ้ำๆแบบควบคุมไม่ได้
5) คุณค่าของบางสิ่งไม่ได้เกิดจากการเปิดกว้าง แต่เกิดจากการจำกัด (Less is MORE)
6) คุณค่าของอัญมณีดำรงอยู่เพราะจำนวนที่จำกัด แต่คุณค่าของแฮมเบอร์เกอร์ คือมันสามารถหาซื้อได้ทุกที่
จินตนาการสำคัญกว่าความรู้ครับ
ผมว่าประเด็นมันไม่ได้อยู่ที่เจลแล้วใช้แอพเถื่อน แต่มันอยู่ที่ข้อกำหนดมากมายมากกว่า, แต่ในส่วนตัวแล้ว เหตุผลที่ apple ต้องการควบคุมสภาพแวดล้อมการทำงานของเครื่องนั้น สมเหตุสมผลดีแล้ว, ซึ่งมันก็จะกลายเป็นหนึ่งตัวเลือกด้านดี และไม่ดี ในการตัดสินใจเลือกของผู้ใช้ ถ้าผู้ใช้พิจารณาแล้วเห็นว่ามันไม่ดี เพราะมีข้อจำกัดมากไป ก็ไม่ซื้อ แต่ถ้าพวกเขารับได้ก็ซื้อ ดังนั้นผมว่า มันไม่ผิดถ้าจะมีตัวเลือกอื่นคือ รับไม่ได้ แต่ซื้อเผื่อคาดหวังว่าจะมีการเปลี่ยนแปลงให้เป็นไปในสิ่งที่ตนต้องการ แต่ก็ต้องรับได้ว่ามันอาจไม่เป็นอย่างนั้นในอนาคต
*รับได้ ผมขอนิยามรวมกันว่าคือ ทั้งคนที่ตั้งใจว่าจะเจล และไม่เจล ซึ่งรู้ตัวดีอยู่แล้ว
**เจลแล้วมีอะไรให้เล่นเยอะจริงๆนั่นแหละครับ ผมก็มีทั้งเครื่องที่เจลและไม่เจล
***ผมเห็นด้วยกับข้อเรียกร้องในข้อ 2
ข้อ4ผมก็อยากได้นะ แต่ดูน่าจะยุ่งยาก
ผมก็ว่ามันปิดเยอะจริงๆแหละ แต่มันก็ไม่ทำให้ถึงกับทนไม่ได้ ยังพอใจที่ใช้แบบนี้อยู่
แต่ที่มีปัญหามากที่สุดสำหรับผมก็คงเป็นเรื่องส่งไฟล์ผ่านบลูทูธ
ผมว่าข้อ 1 น่าจะมีปัญหาถ้าใช้หลักการนี้จริงๆ เพราะจุดเด่นของ iOS คือ จำนวน App ที่มากอยู่แล้วซึ่งไม่ได้มีปัญหากับผู้ใช้เลย แต่ถ้าปล่อยให้แอพอะไรๆ มาลงได้ จะทำให้ผู้ใช้มีประสบการณ์ใช้งาน App ที่แย่ๆ ขึ้นมากกว่า
และที่บอกว่าสามารถลง App อะไรที่เจ้าตัวต้องการหมายถึงลง App ฟรี จากการเจลเบรคหรือเปล่า ทุกวันนี้ก็ไม่ได้มีปัญหาอะไรนี่ ทำได้กันทั้งนั้น หรือจะเอารับประกันเครื่องจาก Apple หลังจากเจลเบรคอีก ?
แปลกที่ข่าวตอนต้นปี EFF ไม่ใช่เหรอที่พยายามผลักดันให้เจลเบรคเป็นการผิดกฏหมาย ตอนนี้กลับมาเรียกร้องให้ Apple เจลเบรคสินค้าตัวเองซะงั้น
ผมเห็นด้วยนะ "สิทธิขั้นพื้นฐาน" ของผู้ซื้อคอมพิวเตอร์จำนวน 4 ประการ นั้นเป็นข้อดีสวยหรู ให้ "USER"
แต่มองในอีกมุมนึง คุณจะปกป้อง "ลิขสิทธิ์" ได้ดีแค่ไหนในโลกสวยหรู ?
ทุกวันนี้ก็ปกป้องไม่ได้อยู่แล้วนี่ครับ???
คุณคิดจริงๆหรือว่ามันปกป้องไม่ได้ ???
ผมว่าปกป้องได้นะครับ
ทุกวันนี้ยังมีคนมากมายที่ไม่เจลไม่รูทเพราะมีปัจจัยอื่นมาหยุด(คุกกระจก) อย่างเช่น ประกันตัวเครื่อง ความปลาดภัย ประสบการที่ดีในการใช้งาน โน้นนี่นั้นมากมาย ที่ผู้ผลิตบอก(ขู่+ชักจุง)เอาใว้
ถ้าวันนึงโลกเกิดสวยหรูขึ้นมาผู้ผลิตบอก "เอ้าพวกเราทุกคนเจลได้เลย" อยากลงอะไรติดตั้งอะไร แค่ปลายนิ้ว คุณคิดจริงๆหรือ "ลิขสิทธิ์" ยังเหมือนเดิม
เสรีภาพ4ข้อในข่าว คุณmkว่ามันไม่มีข้อเสียกับอุตสาหกรรมซอฟต์แวร์ เลยอย่างนั้นหรือ ???ผู้บริโภคอย่างเราๆที่เป็นปลายน้ำ มีแต่ข้อดีทั้งนั้น แต่มันจะดียาวนานแค่ไหนกันหละ
แต่ถึงอย่างนั้นผมก็ยังชอบเสรีภาพ4ข้อในข่าว แต่จะไม่ให้มองเหรียญอีกด้าน(ข้อเสีย)เลยมันก็กระไรอยู่
มีประตูไว้ไม่อยากจะออกไปไหนได้ไม่ออกก็ไม่ต้องไปเปิด ผมก็ไม่เห็นว่าพวกที่อยากอยู่ในคุกจะเดือดร้อนตรงไหน ไม่อยากได้ Root ก็ไม่ต้องไปเปิด อยากจะโหลดผ่าน App Store อย่างเดียวก็ไม่ต้องไปโหลดที่อื่น ใช้แบบเดิมๆก็สบายดีอยู่แล้วก็ใช้ไป แต่คนอยากออกจากคุกมันมี คุณจะไปคิดแทนเค้าได้ไง คนพวกนี้ก็แค่เรียกร้องสิทธิในของๆตัวเองนะครับไม่ได้เรียกร้องเพื่อใคร
มันตลกตรงที่นอกจากจะปฏิเสธการมีเสรีภาพของตัวเองแล้วยังจะปฏิเสธการมีเสรีภาพของคนอื่นด้วย
Blognone = 138.1 news/w เยอะมากๆ
+1
เห็นด้วยกับบรรทัดสุดท้ายนะ
ในฐานะผู้ใช้งาน ผมพอใจกับที่มันเป็นอยู่ตอนนี้นะ
ในมุมมองผมน่ะครับ....สำหรับคนที่พอใจกับ Apple ตอนนี้ ก็เหมือนคุณติดคุกกระจกอันสวยงามอยู่รึป่าว แต่คุณดันพอใจที่อยู่ในคุกนั้น ไม่มีอันตราย แต่ก็ไม่มีอิสระ ก็เปรียบเทียบได้ดีน่ะ
ผมก็เป็นหนึ่งในนั้นครับ คือมันก็พอใจแต่ก็จะมีบางอย่างที่ขัดใจบ้างเช่นพวกบลูธูทที่ด้านบนบอก แต่ใช้งานในชีวิตประจำวันก็ถือว่าโอเคครับแค่โทรศัพท์แล้วก็ถ่ายรูปแชร์รูปเป็นส่วนใหญ่ นอกนั้นก็ยังอยู่ในคุกอย่างสบายใจ ไม่ได้รู้สึกอึดอัดอะไร
ก็คงงั้นแหละครับ ในคุกมันมีหลายๆอย่างดีมากแถมดูน่าอยู่ 555 ตอนนี้ใช้ไอแพดอยู่ ถ้าไม่ติดว่าเขียนโปรแกรมมือถือผมก็คงซื้อไอโฟนเช่นกัน แต่ตอนนี้ถอย Arc S สวย ลื่น แต่ยังเจอปัญหาบ้างตรงที่แรมหมดบ่อยๆกับไม่มีกล้องหน้า ไม่คิดว่าแอปเปิลจะต้องเปลี่ยนอะไรนะ แนวทางของเขาก็มีข้อดี ส่วนข้อเสียนั้นจะกระทบใคร ผู้บริโภคก็มีสิทธิ์เลือกที่จะไปใช้แพลตฟอรม์อื่นได้อยู่ดี
คิดว่าบางคนพอใจอยู่ในคุกกระจกอันสวยงามหรือว่ามันไม่ใช่คุก อาจจะเป็นปราสาทกระจกที่มั่นคงแข็งแรง และสวยงามเสียมากกว่าเพราะว่า Apple เลือกที่จะขายเครื่องพร้อมซอฟแวร์ของตัวเอง ออกแบบมาเพื่อกันและกัน เป็นส่วนเสริมซึ่งกันและกัน และพยายามสร้างประสบการณ์การใช้งานที่ดีที่สุด......ลูกค้ามีหลายกลุ่มและคงเป็นไปไม่ได้ที่จะทำให้ทุกกลุ่มพึงพอใจ
จะว่าไปบอกว่าคุกก็คงไม่ถูกต้องซะทีเดียว เพราะว่าคุกมันหมายถึงเรากระทำความผิดและถูกบังคับให้เข้าไปอยู่ แต่อันนี้คือเราพร้อมจ่ายเพื่อเข้าไปและที่สำคัญคือไม่ได้ถูกบังคับให้เข้าไปอยู่
มีแต่คนพูดถึงสิทธิที่คนซื้อควรได้จากการซื้อมือถือเครื่องนึง ว่าควรมีสิทธิเลือกใช้เครื่องเจลหรือไม่เจลก็ได้ แต่สิทธิด้านความปลอดภัยของผู้ที่ไม่ต้องการให้เครื่องสามารถปลดล็อคได้เองละ มันสร้างความไม่ปลอดภัยให้กับผู้ใช้คนอื่นไม่ใช่เหรอ
ตราบใดที่เป็นของที่ไม่ได้ผูกขาด ไม่เป็นของที่จำเป็นต้องใช้ และมีตัวเลือกมากมายในตลาด เค้าจะทำอะไรกับเครื่องเค้าก็สิทธิ์ของเค้า และสิทธิ์ของผู้ซื้อก็คือผู้ซื้อมีสิทธิ์เลือกจะซื้อหรือไม่ซื้อ เพราะมีของทดแทนได้มากมาย (Android) เปิดแล้วจะดีกว่านี้จริงๆ หรือ สู้ให้มีตัวเลือกคือชอบเปิดก็ไป Android ชอบแบบมีคนเลือกให้ก็ใช้ Apple ก็ไม่เห็นจะมีปัญหานี่นา
อคติทำให้คนรับเหตุผลด้านเดียว
ไม่เห็นด้วยกับ EFF
ผมไม่เห็นด้วยมาก ๆ เลยครับกับ EFF ให้บอกว่าเป็น "คุก" ก็ไม่ถูกเสียทีเดียว
เพราะว่า User บางคน ก็ไม่ต้องการที่จะมานั่งเสียเวลากับอุปกรณ์ของพวกเขา Jobs ยังเคยบอกว่า "ทุกคนปวดหัวกับเรื่องชีวิตประจำวันมามากพอแล้ว ไม่จำเป็นต้องมาปวดหัวกับผลิตภัณฑ์ของผมอีก"
ดังนั้น คำว่า "คุก" จึงไม่ถูกเสียทีเดียว ผมเปรียบว่า Apple คือโรงแรมสวยหรู มีสิ่งอำนวยความสะดวกพร้อมในระดับหนึ่ง มีความปลอดภัยสูง เพียงแค่คุณต้องจ่ายเงินที่แพงกว่า แต่บางทีอาจไม่ได้ดั่งใจสำหรับใครบางคน ซึ่งรู้สึกอึดอัด เขาคนนั้นจึงเลือกที่จะออกจากโรงแรมไปเผชิญกับภายนอก (Jailbreak) ซึ่งจะเป็นอย่างไรนั้น ทางโรงแรมไม่สามารถรับประกันความปลอดภัยให้กับคุณได้อีกต่อไปแล้ว
เพราะผมก็อยู่กึ่ง ๆ ระหว่าง User กับ Geek (แต่จะหนักไปทาง Geek) แต่ผมก็พอใจในสิ่งที่มีอยู่ ผมคงไม่เลือกไปในทางที่สร้างความยุ่งยากให้กับชีวิตของตัวเองอย่างแน่นอน ถึงแม้จะทำอะไรได้มากขึ้นก็เถอะ แต่ iOS มีจุดเด่นคือ ลื่น แต่ถ้าผมเลือกเดินทางนั้นแล้ว อาจทำให้ผมเสียจุดเด่นตรงนี้ไปได้
ส่วนเรื่องการรับประกันหรือไม่นั้น Android บางเจ้าก็ Root แล้วไม่รับประกันนะครับ
ผมคิดว่า EFF พูดเกินไป ผมคิดว่า ถ้าคุณไม่พอใจก็สามารถ Jailbreak หรือจะเลือกตัวเลือกอื่นในตลาดก็ได้ เพราะคนที่เข้าไปในคุก (ที่ EFF บอก) นั้น หมายถึงเขาพร้อมจ่ายเงินเข้าไปรับการอำนวยความสะดวกแล้ว ซึ่งเป็นสิทธิ์ของเขาว่าจะเลือกอะไร
ไม่เห็นด้วยกับ EFF ข้อเรียกร้องนี้ดูเหมือนจะเอาแต่ใจและสักแต่ต้องการให้เป็นไปอย่างแนวทางที่ตัวเองยึดถือโดยไม่ได้สนใจปัจจัยหลักของการทำธุรกิจที่เรียกว่า "กำไร" และแนวทางการดำเนินธุรกิจของ Apple เอาเสียเลย
EFF ออกมาบอกเพียงแต่ว่า Apple ควรจะทำอะไรแต่ไม่เคยบอกต่อไปว่าหาก Apple ทำแบบที่ EFF เสนอแล้วจะกำไรหรือขาดทุนมากขึ้นหรือน้อยลงอย่างไร หาก Apple ทำตามข้อเสนอของ EFF แล้วผลประกอบการลดลงผู้ถือหุ้นสูญเสียรายได้ EFF จะรับผิดชอบอย่างไร ? หรือจะบอกว่ามันเป็นเรื่องที่ช่วยไม่ได้ ?
สิ่งที่ Apple ขายไม่ใช่เป็นเพียงแค่ผลิตภัณฑ์แต่เป็นทั้งผลิตภัณฑ์ที่พ่วงไปกับบริการเพื่อตอบสนองความต้องการของผู้ซื้อในรูปแบบที่ Apple ต้องการ ในเมื่อประสบการณ์การใช้งานนั้นเกิดจากทั้งส่วน hardware และ software รวมกันแล้วทำไมจึงต้องพยายามแยกทั้ง 2 ส่วนออกจากกัน แน่นอนว่าหลายคนคงคิดว่าแยกเป็นอิสระก็จะทำให้สามารถปรับแต่งอะไรได้มากขึ้น แต่ก็ต้องอย่าลืมว่ายังมีคนอีกหลายกลุ่มที่ไม่ได้มองว่าความสามารถในการปรับแต่งเป็นส่วนหนึ่งของประสบการณ์การใช้งานที่ตัวเองต้องการ
หากให้เปรียบเทียบมันก็เหมือนกับเราไปกินข้าวที่ร้านอาหาร เวลาที่เราไปกินข้าวที่ร้านอาหารนั้นเราทำได้แค่เลือกอาหารจากเมนูที่ทางร้านจัดเตรียมเอาไว้ให้ และเราไม่สามารถดัดแปลงสูตรอาหารของแต่ละเมนูนอกเหนือจากที่ทางร้านอนุญาตได้ ยกตัวอย่างเช่น
สิ่งเดียวที่คุณทำได้คือย้ายไปกินร้านอื่นหรือไม่ก็กลับไปทำกินเองที่บ้าน คุณคงไม่กลับบ้านไปทำป้ายออกมาประท้วงเรียกร้องว่าร้านนี้ปิดกั้นเสรีภาพในการเลือกกินอาหารของคุณ เพราะมันคงเป็นเรื่องที่ตลกมาก
หากไม่ได้มีอำนาจผูกขาดเหนือตลาด สินค้าทุกอย่างที่ขายอยู่ในตลาดย่อมเป็นไปตามกลไกตลาดเสมอ ของที่ดีคนจะซื้อและของที่ไม่ดีคนจะไม่ซื้อ นี่เป็นสัจธรรมอันเที่ยงแท้
ขอแย้งข้อเสนอของ EFF ตามแต่ละหัวข้อดังนี้
หากมี application store หลายเจ้าแล้วจะส่งผลดีผลเสียต่อ user, developer และ Apple อย่างไร ผมว่าอย่างน้อยต้องมีผู้ใช้ที่สับสนกับการใช้งานแบบหลาย store แน่นอน แต่ก็คงมีผู้ใช้บางส่วนที่ไม่สับสน คำถามคือเอาอะไรมาวัดว่าคุณค่าของการเพิ่มตัวเลือก application store ให้กับผู้ใช้ที่ไม่สับสนในการใช้งานมีค่ามากกว่าการสร้างความสะดวกในการใช้งานของผู้ใช้ที่ไม่ต้องการ application store ซ้ำซ้อน ในเมื่อคุณค่าตรงนี้ไม่สามารถวัดได้แล้วทำไม Apple จึงควรเสี่ยงกับธุรกิจของตัวเองในการเปลี่ยนแปลงเรื่องนี้
การเข้าถึงสิทธิ์ดังกล่าวสร้างประโยชน์ให้กับผู้ใข้กลุ่มใดบ้างมากน้อยแค่ไหน และที่สำคัญส่งผลต่อกระบวนการและความรับผิดชอบต่อผลิตภัณฑ์ของ Apple อย่างไร หากผู้ใช้เข้าถึงสิทธิ์นั้นและทำให้เครื่องตัวเองมีปัญหาโดยไม่ได้ตั้งใจใครจะมีหน้าที่รับผิดชอบแก้ไขปัญหาให้กับผู้ใช้ดังกล่าว และที่สำคัญผู้ใช้ดังกล่าวจะรู้สึกอย่างไรกับปัญหาที่เกิดขึ้น จะโทษและยอมรับโดยดีว่าเป็นความผิดของตนเองหรือกล่าวโทษระบบที่เปิดให้เข้าถึงสิ่งที่ผู้ใช้ไม่เข้าใจอย่างถ่องแท้ง่ายเกินไป ?
ดังที่ได้กล่าวไว้สิ่งที่ Apple ขายคือสินค้าและบริการที่มีประสบการณ์การใช้งานที่ Apple คิดว่าดี ในเมื่อประสบการณ์การใช้งานเกิดจากส่วน hardware และ software ร่วมกัน การอนุญาตให้เปลี่ยน software ได้เองนั้นจะขัดต่อแนวทางการดำเนินธุรกิจของตัวเองหรือไม่ ? ทุกวันนี้ brand perception ของ iPhone คือ design แบบ minimalism และความลื่นไหลของ iOS ซึ่งคิดเป็นมูลค่ามหาศาล หากต้องเปลี่ยน brand perception จากของเดิมเป็น "อย่างอื่นอะไรสักอย่าง" แล้วมูลค่าของ brand ที่อาจจะลดลงจะต้องไปทวงถามความรับผิดชอบจากใคร ?
ข้อเสนอข้อนี้อยู่บนสมมติฐานที่ว่าการ jailbreak ไม่สามารถทำให้ hardware เกิดปัญหาได้ในทุกกรณี ซึ่งมันไม่มีทางเป็นจริงเพราะ application ที่สามารถเข้าถึงการทำงานในส่วน system โดยไม่ผ่านการตรวจสอบจาก Apple ย่อมสามารถทำให้เครื่องเสียได้แน่นอน
สิ่งที่สำคัญที่สุดคือ Apple ไม่ได้ผูกขาดตลาดและผู้ใช้เองก็มีสิทธิ์ที่จะเลือกไปซื้อผลิตภัณฑ์จากเจ้าอื่นที่ตอบสนองความต้องการทั้ง 4 ข้อที่ EFF เสนอมาได้ตลอดเวลา การเสนอเชิงเปรียบเทียบดูถูกผู้ใช้ว่าถูกขังอยู่ในคุกทั้ง ๆ ที่ผู้ใช้เป็นผู้เลือกผลิตภัณฑ์ที่ต้องการเองจากตัวเลือกที่มีอยู่อย่างเปิดกว้างมหาศาลในท้องตลาด ผมมองว่าเป็นอะไรค่อนข้างงี่เง่ามองอะไรด้านเดียวมาก ๆ
คงไม่มีใครคิดว่าการถูกเปรียบเทียบว่าอยู่ในคุกเป็นการชื่นชมใช่ไหม ?
That is the way things are.
จริงๆ มันก็เป็นสิทธิของลูกค้าอยู่แล้วนะ ไม่พอใจที่ต้องอยู่ในคุก ก็เลือกที่จะอยู่นอกคุกกับแอนดรอยได้ หรือถ้าไม่พอใจก็แหกคุกไปเลย เพราะยังไงก็หมดประกันเหมือนกันทั้งคู่ (มีแค่เรื่องแหกคุกแล้วหมดประกันนี่แหละ ที่ผมเห็นด้วยว่าควรแก้)