ถ้ายังไม่ลืมกัน ตอนเปิดประมูล 3G เมื่อปลายปีที่แล้ว ผลปรากฏว่าราคาการประมูลคลื่น 3G แทบไม่เพิ่มจากราคาตั้งต้นเลย เนื่องมาจาก กสทช. ออกเกณฑ์ที่ทำให้เอกชนไม่จำต้องแข่งขันกันเลย ทำให้มีเสียงวิพากษ์วิจารณ์ตามมามากมาย และมีหลายหน่วยงานเข้ามาตรวจสอบ เช่น ปปช. สำนักงานผู้ตรวจการแผ่นดิน และ กระทรวงการคลัง ในครั้งนั้น กสทช. พยายามลดแรงกดดันจากสังคมโดยออกแถลงการณ์ว่า จะกำกับดูแลค่าบริการ 3G ให้ถูกลง 15-20% จากราคาปัจจุบัน รวมถึงจะกำกับดูแลคุณภาพของการให้บริการ และการปรับปรุงกระบวนการรับเรื่องและพิจารณาเรื่องร้องเรียน และอื่นๆ อีกหลายข้อ
มาวันนี้ พ.อ.เศรษฐพงศ์ มะลิสุวรรณ รองประธาน กสทช. และ ประธาน กทค. แถลงว่า ที่ประชุมมีมติเห็นชอบแนวทางตรวจสอบและกำกับดูแลอัตราค่าบริการโทรศัพท์เคลื่อนที่เพื่อให้เป็นไปตามเงื่อนไขใบอนุญาต 3G คลื่นความถี่ 2.1 GHz ต้องลดลง 15% จากอัตราค่าบริการปัจจุบัน โดยมีเงื่อนไข ดังนี้
1. กรณีที่ผู้ได้รับใบอนุญาตนำรายการส่งเสริมการขายที่ปรากฏอยู่ในตลาด ณ ปัจจุบันไปใช้ในการให้บริการ 3G บนคลื่น 2.1 GHz นั้น จะต้องปรับลดค่าบริการลงไม่น้อยกว่า 15%2. กรณีที่มีการออกรายการส่งเสริมการขายใหม่นั้น จะต้องปฏิบัติตามเงื่อนไขท้ายใบอนุญาต คือ ต้องกำหนดอัตราค่าบริการที่ลดลงโดยการเฉลี่ยจากทุกรายการส่งเสริมการขายของประเภทเสียงและบริการที่ไม่ใช่เสียงไม่น้อยกว่า 15% ของอัตราค่าเฉลี่ยที่มีการให้บริการอยู่ในตลาด ตั้งแต่วันที่ 7 ธ.ค. 2555 ซึ่งเป็นวันที่ได้รับใบอนุญาต
โดยทั้ง 2 กรณีดังกล่าวให้ยึดตามมตินี้จนกว่า กทค.จะกำหนดเป็นอย่างอื่น หรือจนกว่าจะมีการกำหนดอัตราขั้นสูงออกมา
สำหรับอัตราค่าเฉลี่ยของโทรศัพท์เคลื่อนที่ จะคำนวณ ณ วันที่ให้ใบอนุญาต คือ 7 ธ.ค. 2555 จากทุกรายการส่งเสริมการขายที่มีอยู่ในตลาด เพื่อมาเป็นข้อมูลอ้างอิงในการกำกับดูแลค่าบริการบนคลื่นความถี่ย่าน 2.1 GHz เพื่อให้เกิดความเป็นธรรมและไม่เอาเปรียบผู้บริโภค อย่างไรก็ตามโดยอัตราค่าเฉลี่ยดังกล่าวยังไม่สามารถเปิดเผยได้ เนื่องจากเกรงว่า ประชาชนจะสับสนในการเลือกบริการ อีกทั้ง จะเป็นการเปิดช่องให้ผู้ประกอบการปรับตัวและอาจจะเป็นการเอาเปรียบผู้บริโภคได้ และย้ำว่า การลดอัตราค่าบริการ 3G 15% ไม่ใช่ทุกโปรโมชั่น
ก่อนหน้านี้มีข่าวว่า ค่ายมือถือจะไม่ลดค่าบริการ 3G แต่จะใช้วิธีเพิ่มท็อปอัพเข้าไป เช่น เพิ่มจำนวนนาทีให้ หรือ เพิ่มปริมาณข้อมูลให้แต่ไม่ลดราคา
ที่มา: ไทยรัฐ และ ประชาชาติธุรกิจ
ป.ล. ผมว่าเหตุผลของ กสทช. ที่ไม่ยอมเปิดเผยอัตราค่าบริการเฉลี่ยฟังแปลกๆ ทั้งที่นักข่าวพยายามถามกันมาหลายครั้งแล้ว อีกทั้งประกาศครั้งนี้ใช้คำว่าอัตราเฉลี่ย และบอกไม่ใช่ลดทุกโปรโมชัน ดูท่าจะเข้าทางค่ายมือถือ
Comments
พูดตรงๆนะ จัญไรมากน่าลาออกไปทำงานให้ค่ายมือถือมากกว่า
+1
+1024เห็นเจตนาตั้งแต่ครั้งปิดประมูลแล้ว
+1T
ขอบคุณครับ
วิพากย์วิจารณ์ => วิพากษ์วิจารณ์
เรียบร้อยครับบอท ขอบคุณครับ
ชื่อนี้เป็นที่เข้าใจกันสินะครับ
"เพื่อไม่ให้เกิดความเป็นธรรมและไม่เอาเปรียบผู้บริโภค"
"ไม่" เกินมาครับ
เหอๆๆๆ รู้สึกว่ามีช่องให้มุดอื้อเลยแฮะ
เทคโนโลยีไม่ผิด คนใช้มันในทางที่ผิดนั่นแหละที่ผิด!?!
พ่ง จะ พยาม ที่สุก กัปพยายามหยะ!
พอเข้าใจเรื่องการตั้งราคานะ ถ้าทำโปรไว้ 399 ลด 10-15% มันคงดูไม่งาม ถ้าไปชดเชยพวกความเร็ว เวลา หรืออะไรก็แล้วแต่สมน้ำสมเนื้อ ผมรับได้นะ ลองดูกันไปยาวๆ
ชดเชยความเร็วมันวัดกันยาก เวลานี่ก็คงไม่ได้เท่าไหร่ ผมคิดว่าคนส่วนใหญ่อยากได้แบบเดิมแต่ราคาลดลงนะ อย่างน้อยไม่คิด VAT ก็ยังดี เพราะสมมติโปร 99 บาท รวม VAT มันจะเป็น 121 บาท เวลาคนจะเติมเงินจะเติมแค่ 100 ก็ไม่พอ เติมแค่ 120-130 ก็ไม่ได้เพราะไม่มีขาย ต้องเติม 150 บาท เหมือนผู้บริโภคโดนบังคับให้เติมเงินเกืน 30 บาท ผมว่ามันไม่ยุติธรรมเท่าไหร่ มันควรที่จะเป็นโปรราคา 99 บาทโดยที่ราคารวม VAT แล้ว แต่ก็นะ.. ความเห็นส่วนตัวครับ :)
เห็นด้วยตั้งราคารวม VAT ไว้จะดีกว่าเพราะผู้ใช้ส่วนใหญ่ไม่ได้เป็นนิติบุคคลอยู่แล้ว Operatorแบกภาระบ้างสุดท้ายภาษีก็หักบัญชีปลายปีได้อยู่แล้ว
ผมต่อต้าน FUP นะจะมากำจัดความเร็วทำไม เราจ่ายเพราะต้องการที่มันเร็วนั่นแหละ ถ้าคนใช้มากก็ต้องลงทุนให้มากขึ้นไม่ใช่มีแค่นี้เอาไปแชร์กัน ตอนเ็บเงินไม่เห็นให้Users มาแชร์ที่ใช้กันเลยปล. ตอนนี้เลิกใช้แบบเหมาจ่ายแล้ว ใช้วิธีเปิดเช็คเป็นรอบๆตอนว่าง(ไม่จำเป็นต้องOnตลอด ใช้PC) รู้สึกเร็วดีแถมค่าใช้จ่ายลดลงมาอีก
VAT ร้อยละ 7 ครับ ไม่ใช่ 21
ผมสมัครโปรของดีแทค 99 บาท โดนหัก 121 บาททุกทีอ่ะครับ - -
ผมเข้าใจถูกมั้ย
แยกระบบเดิม กับระบบใหม่ ออกจากกันก่อน
1. ถ้ายกโปรเดิมมา ต้องลดราคา 15%
2. ถ้าโปรใหม่ ต้องลดราคา ไม่น้อยกว่า 15% ของราคาเฉลี่ยวันที่ 7 ธ.ค.
แล้วโปรไหนจะเข้าข้อยกเว้น ไม่ลด 15% ได้ ??
:: DigiKin8 ::
ถ้าผมแปลไม่ผิด
กรณีที่มีการออกรายการส่งเสริมการขายใหม่นั้น จะต้องปฏิบัติตามเงื่อนไขท้ายใบอนุญาต คือ ต้องกำหนดอัตราค่าบริการที่ลดลงโดยการเฉลี่ยจากทุกรายการส่งเสริมการขายของประเภทเสียงและบริการที่ไม่ใช่เสียงไม่น้อยกว่า 15% ของอัตราค่าเฉลี่ยที่มีการให้บริการอยู่ในตลาด ตั้งแต่วันที่ 7 ธ.ค. 2555 ซึ่งเป็นวันที่ได้รับใบอนุญาต
ว่าง่ายๆคือ
หาค่าบริการเฉลี่ยของวันที่ 7 ธ.ค. 2555 (ยังไม่บอกสูตร***)
samsung ใหญ่แค่ใหน ?https://youtu.be/6Afpey7Eldo
ผมว่า การเพิ่ม top up เท่ากับลดราคาแล้ว ถึงแม้จะขัดใจ เพราะใคร ๆ ก็อยากได้ของถูก แต่เราก็ไม่มีเหตุผลพอที่จะแย้งในประเด็นนี้
ขอ FUP 384k ได้ไหมอ่า แพ็กถูกๆ
cleverham.com
นี่หรือ กสทช.ที่เรารอคอยมานาน แต่และเรื่องดีๆทั้งนั้น และเต็มไปด้วยทหาร สับสนอยู่ว่าคลื่นเป็นสมบัติของทหารหรือสาธารณะกันแน่(บางคนดีก็ชื่นชมนะ)
ผมอ่านแล้ว จับประเด็นไม่ได้ที่ว่าตรงไหนที่มองว่า "กสทช. เล่นลิ้น" เหรอคับ?
ช่างไฟสมัครเล่น (- -")
จริงๆ ผมก็ไม่แน่ใจว่าเล่นลิ้นหรือไม่ เลยใส่เครื่องหมายคำถามไว้ครับ หากจะตีความว่าเล่นลิ้นก็คงเป็นบอกว่าจะลดราคาลง 15% เอาเข้าจริงก็ลดไม่ครบทั้งหมด หรือไม่ลดราคาแต่ปล่อยให้ค่ายมือถือยัดเยียดให้ผู้ใช้ต้องใช้บริการเพิ่ม
คือ เท่าที่ผมอ่านและทำความเข้าใจจากข่าว
ดูเหมือน ค่าบริการรายเดือนอาจจะไม่ลด แต่อัตราค่าบริการ (คิดโดยอิงตาม นาที ที่ใช้ หรืออิงตามปริมาณข้อมูลที่ใช้ ) ก็น่าจะลดในระดับประมาณ 15% อย่างนั้นรึเปล่าครับ? คือ ผู้ใช้ อาจต้องจ่ายเท่าเดิม แต่ได้เวลาโทรเพิ่ม หรือได้ปริมาณ data เพิ่ม สินะ
ช่างไฟสมัครเล่น (- -")
ค่าโทร 0.99 บาท ยังทำไม่ได้เลย ประกาศมาเป็นปีแล้ว...
อันนี้จริง
สัญลักษณ์แห่งความเป็นเสือกระดาษของ กสทช. เลยล่ะผมว่า
ช่างไฟสมัครเล่น (- -")
ส่วนตัวถ้าเท่าเดิมแต่ความเร็วมันเสถียรผมรับได้นะ :)
เสือกระดาษอีกแล้ว
ต้นทุนสัมปทานแค่นี้ เราควรคาดหวังโปร 3G 5กิ๊กกะไบต์ต่อเดือนที่ราคาไหนดีละครับ ...สำหรับผมควร 99 บาท/เดือน ไม่ใช่ 9xx บาท
ผมว่ามันเทียบยากเหมือนกันนะครับ เพราะค่ายมือถือคงจะออกโปรแปลกๆ ไม่เหมือนเดิม ทำให้ยิ่งเทียบยากขึ้นไปอีกว่าลดไม่ลด มากน้อยแค่ไหนยังไง พวกโปรเกี่ยวกับ smart phone ก็มักจะเป็นโปรเหมาอยู่แล้ว แค่ปรับสัดส่วนค่าโทร sms mms เน็ต ในโปรเหมา ก็คิดยากละว่าราคาปรับแค่ไหนยังไง
อคติทำให้คนรับเหตุผลด้านเดียว
จุกจนพูดไม่ออกเลย (T_T)
ก็ไม่เคยหวังว่า องค์กรของรัฐ จะมาดูแลผลประโยชน์ของชาวบ้านอยู่แล้วครับ
อีกอย่าง ชาวบ้านคนธรรมดาก็คงทำอะไรไม่ได้ยอมรับชะตากรรม
ยิ่งคนต่างจังหวัดด้วยแล้ว
Opensource - Hackintosh - Graphic Design - Scriptkiddie - Xenlism Project
แต่เค้าบอกว่าตัวเองเป็นองค์กรอิสระนะครับ :)
ผลงานออกมาอิสระมากครับ ^^
Opensource - Hackintosh - Graphic Design - Scriptkiddie - Xenlism Project
ฮ่า ฮ่า ฮ่า
ธรรมดาโลก เหมือนห้างชอบทำโปร ซื้อ1แถม1 มากกว่าจะลดราคา50% หรือADSL broadband ที่เพิ่มความเร็วให้เรื่อยๆในราคาเดิมแต่จะไม่ลดราคาขั้นต่ำ
กรณีมือถือก็เช่นกัน สมมติโปร100บาทโทรได้100นาที เขาก็ไม่ลดลงเป็นโปร85บาท แต่จะคงราคาที่100บาทแต่เพิ่มโควต้าโทรเพิ่มเป็น115นาทีนั่นไง(ถ้าคิดแบบละเอียดว่าลดอัตราค่าโทร15% ตัวเลจจะไม่เท่านี้เป๊ะๆนะ ต้องได้117.647นาที)
คือยังไงเขาก็ต้องการรายได้ขั้นต่ำให้ไม่น้อยกว่าเดิม แต่จะดึงดูดลูกค้าด้วยการเพิ่มปริมาณแทน ซึ่งก็จริงที่ว่าลูกค้าอาจจะไม่ได้อยากใช้ส่วนที่เพิ่มเลยก็ได้
ก็คงเหมือนกับ กระทรวงพลังงาน แหละครับ ที่เห็นประโยชน์ของบริษัทเอกชน มากกว่าประโยชน์ส่วนรวม
ช่วยยกตัวอย่างหน่อยสิครับ?
PTT??
ผมเชื่อโดยบริสุทธ์ใจครับว่างานนี้มีอะไรบางอย่างแน่ๆ แต่มันคงซับซ้อนมากกว่าเรื่องน้ำมันแพงอย่างที่คนบ่นกัน ผมเชื่อว่า ปตท. ไม่ได้กำไรจากน้ำมันมากหรอก แต่... (ที่สงสัยอยู่คือ = น้ำมันแพง --> เพราะกองทุนน้ำมัน --> กองทุนน้ำมัน เพื่ออุดหนุนก๊าซหุงต้มในครัวเรือนไม่ให้มีราคาสูงไป ดูเหมือนจะช่วยประชาชน --> ก๊าซหุงต้มราคาสูงเพราะมีปริมาณการใช้มากจนต้องนำเข้าด้วย --> แต่ที่ปริมาณการใช้ก๊าซในประเทศสูงเพราะ ปตท. นำก๊าซไปใช้ในอุตสาหกรรมปิโตรเคมีของตนในสัดส่วนที่มากถ้าเทียบกับการใช้ทั้งประเทศ --> ก๊าซที่ ปตท. ใช้ในอุตสาหกรรมปิโตรเคมีของ ปตท. ได้มาในราคาที่ถูกกว่าราคาแก๊ซหุงต้มของประชาชนเล็กน้อย --> อนุมานได้ว่า ปตท. ใช้ก๊าซในอุตสาหกรรมของตัวเองในสัดส่วนที่มาก จนทำให้ก๊าซที่ผลิตในประเทศไม่พอ จนต้องนำเข้าก๊าซเข้ามาจนต้นทุนสูงขึ้น และเนียนภาระตรงนี้ให้ประชาชนผ่านกองทุนน้ำมัน โดยเหมือนว่าก๊าซราคาไม่แพงเพราะรัฐช่วยอุดหนุน (โดยไปเก็บชดเชยกับน้ำมันแทน ทำให้น้ำมันแพง) และ ปตท. ก็ได้ใช้ก๊าซในราคาที่ถูกกว่าท้องตลาดเล็กน้อยด้วย ทั้งๆ ที่ตนเองเป็นฝ่ายใช้ก๊าซมหาศาลจนต้องนำเข้ามาและทำให้ก๊าซราคาสูงขึ้น --> ปัจจุบัน ธุรกิจปิโตรเคมีเป็นกิจการที่สร้างรายได้ให้กับ ปตท. มหาศาล เป็นสายเลือดหลัก โดยที่ธุรกิจน้ำมันไม่ได้มีสัดส่วนกำไรที่มากซึ่งก็เป็นควาทจริง)
PTT เป็นผู้ลงทุนขุดก๊าซเองนะครับ เขาจะไปใช้อะไรก็เรื่องของเขา ที่สำคัญสุดท้ายภาคปิโตรฯ จ่ายvat ที่ผลิตภัณฑ์ปลายทางมูลค่าสูงกว่าเอาไปเผาขับรถเล่นแน่นอน
ยังไม่นับว่า กำไรขั้นต่ำ 51% เข้ารัฐ(ถ้านับทางอ้อมก็เกือบๆ70%)
ถ้ามองผลประโยชน์ของประเทศโดยรวม(รัฐ) ยังไงการนำLPGไปใช้ในผลิตภัณฑ์ที่เพิ่มมูลค่าได้สูงสุด น่าจะดีกว่าไปให้คนขับรถเล่นเผาทิ้งไปถูกๆนะครับ
อ้อภาคปิโตรฯขึ้นราคามาจะเกือบปีแล้ว จ่ายแพงกว่าภาคครัวเรือนและภาคขนส่งอีก คงต้องrevise ข้อมูลที่ด่าๆกันตามเวบเสียใหม่ได้แล้วล่ะ
ป.ล. ผมก็มีรถคันเก่าที่ใช้LPG เพราะตอนนั้นหาULG95 เติมที่ตจว.ไม่ได้ แต่ก็ยินดีที่จะจ่ายราคาตลาดโลก เพราะยังไงก็ถูกกว่าน้ำมันปกติอยู่ดีครับ
ใครที่บอกว่าประมูลได้ถูกค่าบริการจะถูกตามควรจะเข้าใจใหม่ได้แล้ว
มันผิดตั้งแต่ กสทช ออกกฏ 'ฮั้วประมูลแล้วครับ' เหมือนออกกฏมาบังคับให้3ค่ายใหญ่จับมือกัน เพราะมันไม่ต้องแข่งขันกันเลย เมื่อไม่การแข่งขัน ประโยชน์ที่ผู้บริโภคควรได้ก็มีน้อย แถมผู้ให้บริการรายใหญ่มีแค่3ราย 'จะทำอะไร จะเอากำไรแค่ไหน ก็คุยกันง่าย'ถ้าสมมุติว่า เอาง่ายๆตอนประมูลได้ความถี่ไม่เท่ากัน ก็จะเกิดการแข่งขันด้านราคาค่าบริการ เพราะต้นทุนแล้วความสามารถให้บริการไม่เท่ากัน
ยืนไว้อาลัยให้ตัวเองสามวินาที นี้แหละครับสยามประเทศ เมืองที่ประชาชนเป็นได้แค่ผู้รับทุกข์
ที่นี่ประเทศไทย...