Tags:
Topics: 
Node Thumbnail

จากการพูดคุยสนทนาวงปิด Blognone Quest ในตอนจบผู้ดำเนินรายการได้ถามความคิดเห็นผู้ร่วมสนทนา ถึงสิ่งที่อยากให้นักศึกษาให้ความสนใจ ให้ความสำคัญเพื่อตอบโจทย์การทำงานในวงการไอทีหลังจบการศึกษา หลายท่านให้ความคิดเห็นตรงกันว่า อยากให้นักศึกษาได้ลงมือปฏิบัติจริงในระหว่างการศึกษามากกว่านี้ แต่เนื่องจากระบบการศึกษาไทยมีข้อจำกัด (ทางระเบียบกฎเกณฑ์) มากมายจึงเป็นเรื่องที่ทำจริงได้ยาก

จึงมีท่านหนึ่งเสนอว่า เราน่าจะมีสถาบันเทคโนโลยีอะไรสักอย่างหนึ่ง ที่เน้นการการศีกษาภาคปฏิบัติ เพื่อป้อนคนเข้าสู่ตลาดแรงงานไอที โดยตุ๊กตาตั้งต้นคือ เรียนหนึ่งปี ที่เหลือทำโปรเจค ทำไป เรียนไป ถึงจุดหนึ่งหากสถาบันมองว่าวิชาแกร่งกล้าพอแล้ว ก็จะมอบประกาศนียบัตรให้ (ไม่จำเป็นต้องเป็นใบปริญญา) และประกาศนียบัตรนี้จะสามารถนำไปสมัครงานตามบริษัทต่าง ๆ โดยเฉพาะบริษัทที่เข้าร่วมโครงการได้

ในมุมมองของบริษัท ผมยินดีที่จะรับพนักงานที่ผ่านการศึกษาระบบนี้ มากกว่าบัณฑิตเกียรตินิยมที่เขียนโปรแกรมไม่เป็น ในมุมมองของคนทำงานด้านการศึกษา ผมเห็นว่าเป็นวิธีการเรียนรู้ที่ดีมาก กล่าวคือ learning by doing และเรียนในสิ่งที่จำเป็นสำหรับการทำงานจริง

การระดมความคิดเห็นนี้จึงเกิดขึ้น (และอยากผลักดันให้กลายเป็นความจริง)โดยโจทย์ง่าย ๆ ที่ตอบยากและยาว คือ หากจะเปิดสถาบันการศึกษาด้านไอทีที่เน้นการปฏิบัติ เราต้องมีแนวทางอย่างไรบ้าง โดยตัดประเด็นเรื่องการรับรองหลักสูตรโดยภาครัฐออกทั้งหมด

Get latest news from Blognone

Comments

By: modeQ
Writer In Love
on 21 September 2013 - 23:46 #629586

เห็นด้วย และขอเสริม จริงๆ ทุกสาขาเลยครับ ต้องปรับหลักสูตรกันใหม่


Writer no.59 เพื่อสังคมแห่งการแบ่งปันความรู้

By: PaPaSEK
Contributor Android WindowsIn Love
on 22 September 2013 - 00:14 #629606
PaPaSEK's picture

ถามสั้นมาก แต่มันกว้างมากอ่ะครับ รบกวนช่วยตีกรอบ หรือวาง outline ในการตอบคำถามให้หน่อยได้มั้ยครับ

เอาสายวิชาที่จบมาเป็นโปรแกรมเมอร์นะครับ

อย่างแรกคือตัดวิชาที่ "เรียนไว้เผื่อได้ใช้" ออกไปเลย

เบื้องต้นมองว่าปี 1 เรียน ปี 2,3 หัด coding โดยมีพี่ปี 4 มาเป็น SA คืออันนี้จะช่วยในการสร้างสิ่งแวดล้อมเรื่องการทำงานเป็นระบบ รู้ว่าแต่ละภาพส่วนมี input / outcome อย่างไร เมื่อจบมาจะได้เข้าใจใน life cycle ได้มากขึ้น ซึ่งในปี 4 อาจจะต้องมีการ specialize ไปแต่ละสายงานอย่างกว้างๆ เช่น เป็น SA, designer ฯลฯ

การบ้าน การวัดผลควรมีการทำเป็นรายบุคคล ซึ่งควรมีความแตกต่างกัน เช่น การออกแบบ class ก็ควรให้การบ้านเด็กแต่ละคนแยกให้ไม่เหมือนกันไปเลย เช่น สัตว์, คน, สิ่งของ ฯลฯ เพื่อป้องกันการลอกกัน

ผมไม่รู้ว่าการให้เด็กตกทั้งชั้น ไล่เด็กที่เกรดเฉลี่ยต่ำออกเป็นแผงมันสมควรรึเปล่า ... แต่มองว่าอาจารย์ในปัจจุบันถูกกดดันจากหลายด้านจนต้องตัดเกรดแบบอิงกลุ่ม

งงกับตัวเองอยู่ครับ ยังเรียบเรียงไม่ค่อยถูก ด้านบนเป็นสิ่งแวดล้อมแบบที่ผมอยากเรียนครับ

By: Architec
Contributor Windows Phone Android Windows
on 22 September 2013 - 15:19 #629832 Reply to:629606

เห็นด้วยครับ พวกวิชานั่งเรียนเฉยๆเอาออกไปเลย มันแทบจะไม่มีประโยชน์อะไรเลย และผมก็เห็นด้วยกับจขกท.มาก เพราะคิดตรงกันในเรื่องของการเน้น learning by doing

ความอุบาทว์ของการศึกษาคือคงสภาพไว้อย่างนั้น แล้วไล่ นศ. ไปอบรมหายใจทิ้งสองสามวัน ไม่ได้ประโยชน์อะไร(คือการอบรม(บางที่ บางโครงการ)ในประเทศไทยเป็นอะไรที่โง่และแทบไม่ได้รับความรู้แบบสุดๆ นอกจากจะพักเบรคกินของว่างแค่นั้น)

*ในเมื่อการไปอ้อนวอนให้แก้ไขหลักสูตรไม่เป็นผล ก็จัดตั้งศูนย์ทำเหมือนซิลิคอนวัลเลย์ไปเลยน่าจะมันส์ไม่น้อย แต่ใครจะเป็นคนจัดการ??? ทางเลือกสุดท้ายคือการไปอ้อน Nectec ที่สุดท้ายเท่านั้นแหละครับที่คุณจะสามารถพึ่งพาได้ แต่ก็จะไปตกม้าตายเรื่อง Opensource 100% อีก (.NET เขียนไม่เป็นผมไม่รับนะครับ)

ปล.ผมไม่ Funding ให้เด็กที่ทำ Mobile App นะครับ เกิดเร็วตายเร็วเหมือนปลูกถั่วงอกไปขายอ่ะแหละ

By: iDan
Contributor Android SUSE Ubuntu
on 22 September 2013 - 00:25 #629610

เห็นด้วยนะครับ แต่บอกตามตรง ยาก... เอาง่ายๆ เด็กจบปวส. บริษัทไทยไล่ไปเรียนป.ตรี แต่เมืองนอก รับเอาๆ

Learning by Doing น่ะ ดีครับ ผมสนับสนุน และผมก็จบสายนี้มาครับ เรียน2ปีเดียว อีกปีทำวิจัยจบ มีคุณภาพ เป็นงาน แต่ค่าตัวมันสูง สุดท้ายมันสมัครงานได้แค่เมืองนอกครับ บริษัทในประเทศไทย เจอ HR ด่านแรกเลย กับคำถาม "ถ้าแน่จริง คงไม่มาสมัครงานที่นี่" เจอแบบนี้ก็กลับบ้านละครับ...

ดังนั้นสถาบันนี้ ต้องเป็นที่ยอมรับกับสาธารณะชนด้วยครับ ไม่ใช่แค่บริษัทที่เข้าร่วมโครงการเท่านั้น และโดนดูจากบริษัทอื่นๆ

จากคนที่โดนมาแล้วครับ

By: bow_der_kleine
Writer Android Ubuntu
on 22 September 2013 - 14:54 #629826 Reply to:629610
bow_der_kleine's picture

ในที่สุดบริษัทที่มีแนวคิดแบบนั้นก็รับผลกรรมไปเองครับ

แต่ HR ที่ยกตัวอย่างนี่มีเยอะจริงอะไรจริงครับ พวกเอาอีโก้ตัวเองเป็นที่ตั้ง มากกว่าผลประโยชน์ขององค์กร

By: mr_tawan
Contributor iPhone Android Windows
on 22 September 2013 - 02:02 #629653
mr_tawan's picture

ที่จริงอีกรูปแบบหนึ่งที่ทำได้ก็คือเป็นคอร์สเรียนต่อหลังจบปริญญา 1 ปี คล้าย ๆ TOT Academy เมื่อก่อนน่ะครับ

แต่ปัญหาหลักในปัจจุบันผมคิดว่าน่าจะเป็นที่คนสมัยนี้จบมาอยากทำธุรกิจตัวเองกันหมดเลย แบบ ไม่อยากเป็นลูกจ้าง เป็นเจ้านายมาตลอดชีวิตที่ผ่านมา (หมายถึงในบ้าน) ก็เลยยังอยากจะเป็นเจ้านายต่อ พอไปเป็นลูกน้องเขาก็อยู่ได้ไม่นาน 555 แถมมีกระแสเรื่อง Start Up มาหนุนอีก

ส่วนตัวผมอยากเข้าไปหนุนที่โรงเรียนมัธยม ไปสอนเด็กที่ดูจะไปได้ให้เขามาทางนี้เลยตั้งแต่ตอนนั้น แล้วถ้าเอาเข้าหลักสูตรที่ปั้นให้เด็กทำงานได้เลยแบบนี้ก็น่าสนใจดี

แต่ผมก็กลัวเจอเด็กแบบที่เจอในงาน GDG DevFest แฮะ เก่งกว่าผมอีก 555


  • 9tawan.net บล็อกส่วนตัวฮับ
By: hiddenmin
Android Ubuntu Windows
on 22 September 2013 - 15:58 #629843 Reply to:629653
hiddenmin's picture

+1 กับความคิิดทำเป็นคอร์สหลังเรียนจบ ทำได้เร็ว เป็นไปได้จริงมากที่สุด

By: neonicus
Android
on 22 September 2013 - 10:58 #629748

ต้องมีขั้นตอนคัดคนด้วยนะ
และที่สำคัญพอรับคนเข้าไปแล้วต้องจัดการคุมคุณภาพให้ดีอย่าได้เหมือนป.โทหลายๆม.ที่โดนคำสั่งกำหนดคนจบจนต้องปรับคะแนนสอบให้เกือบผ่านเป็นผ่านจนจบได้ตามกำหนด
บางที่ก็บวกคะแนนให้เลย

ปล. ป.โทในสาย com sci,it นี่แหละตัวดีนักเชียว

By: bow_der_kleine
Writer Android Ubuntu
on 22 September 2013 - 14:48 #629825 Reply to:629748
bow_der_kleine's picture

ผมมองว่า การคัดคนไม่จำเป็นมากครับ หากเอาโมเดลยุโรปคือ รับหมด แต่เกณฑ์การเรียนการวัดผลสูง ใครไม่ผ่านก็เอาออก

ปัญหาหนึ่งที่ผมเห็นในมหาวิทยาลัยไทยคือ ดันนักศึกษาให้ผ่านมากที่สุด เพราะเป็นห่วงนักศึกษา หรือไม่ก็เหตุผลการประเมิน สุดท้ายก็เลยกลายเป็นผลักภาระให้คนอื่น ๆ ไป

By: SpeedEX
Android WindowsIn Love
on 22 September 2013 - 16:17 #629846 Reply to:629825

นั่นแหละครับประเทศไทย ห่วงแต่ผลสัมฤทธิ์การศึกษา ตอนแรกนึกว่าจะมีแค่ระดับก่อนมหาลัยฯที่ห่วงกันแต่เรื่องพวกนี้ แต่เปล่าลเยครับ ผมอยู่ CS หลายๆคนเข้ามาเรียนเพราะเหตุผลที่ว่า "นึกว่าเข้ามาเล่นเกมส์, นึกว่าเข้ามาเขียนเว็บ(ถูกนิดนึง), นึกว่าเข้ามาหัดซ่อมคอม(ซื้อหนังสือเล่มเดียวก็ทำเป็นละมั้ง ไม่ต้องมาเรียนตั้ง 4 ปีหรอกนะ)"จริงๆผมเห็นด้วยแนวคิดที่ว่า ตัดเกรดโหดๆ สอบ+งานโหดๆ ให้คนที่เข้ามาแบบงงๆได้รู้ว่าเข้ามาผิดที่ จะได้ซิ่วออกไปหาที่ใหม่(โดยเสียเวลาแค่ 1 ปี) แต่เนื่องจากมีคนแบบที่กล่าวไปเยอะมาก อาจารย์เลยจำเป็นต้องปล่อยหรือมีคะแนนช่วยบ้าง บางทีก็ต้องติวข้อสอบกัน(ซึ่งบางที ผมว่าทักษะการอ่านหนังสือเป็นทักษะพื้นฐานทที่น.ศ.ควรทำได้นะครับ) เพราะโดนกดดันมาจากเบื้องบน ซึ่งทำให้คนที่เข้ามาแบบงงๆทั้งหลายได้จบไปแบบงงๆเช่นกัน พอไปทำงานจริงกทำไปแบบงงๆ แล้ว 4 ปีที่ผ่านมามันจะมีประโยชน์อะไรล่ะครับนั่น ?

นั่นแหละครับ ปัญหาหลักอยู่ที่บ้านเรายังชอบดูแค่ ผลสัมฤทธิ์การศึกษา กับพวกหน้าตาและชื่อเสียงของสถาบัน

By: AMp
In Love
on 22 September 2013 - 17:46 #629867 Reply to:629846

ถ้าจะเน้นโหดเพื่อที่จะให้รู้ตัวแล้วซิ่วไปสายอื่น ผมว่าเน้นงานแนะแนว ให้เขาได้ไปถูกที่ถูกทางตั้งแต่แรก จะดีกว่าครับ

By: jane
Android Ubuntu
on 22 September 2013 - 19:00 #629877
jane's picture

หน่วยงานราชการ ก็คงจะติดระเบียบต่างอีเช่นเคย

By: PaPaSEK
Contributor Android WindowsIn Love
on 22 September 2013 - 19:10 #629878 Reply to:629877
PaPaSEK's picture

"โดยตัดประเด็นเรื่องการรับรองหลักสูตรโดยภาครัฐออกทั้งหมด" คีย์มันอยู่ตรงนี้ครับ

By: Architec
Contributor Windows Phone Android Windows
on 22 September 2013 - 19:33 #629885 Reply to:629878

ถ้าเกิดว่าภาคเอกชนจะต้องมีส่วนร่วมในการร่างหลักสูตร มันจะล่อแหลมตรงที่แต่ละเจ้าพยายามยัดเยียดให้อยู่ในหลักสูตรนี่แหละครับ

By: bow_der_kleine
Writer Android Ubuntu
on 22 September 2013 - 19:48 #629889 Reply to:629885
bow_der_kleine's picture

ผมมองว่าไม่ได้เป็นเรื่องที่เลวร้ายนะครับ เพราะผลที่ได้จากระบบการศึกษา ยังไงก็ต้องเอาไปป้อนตลาดแรงงานที่เป็นเอกชน

อีกอย่างผมมองว่าเอกชนกับรัฐคือหน่วยเดียวกัน รัฐเข้มแข็งได้ ต้องมีเอกชนที่เข้มแข็งทำกำไรเสียภาษี เอกชนจะทำงานง่าย ก็เพราะรัฐวางโครงสร้างที่ดี

By: PaPaSEK
Contributor Android WindowsIn Love
on 22 September 2013 - 22:43 #629942 Reply to:629885
PaPaSEK's picture

เอามาจัดเป็นสายไปเลยครับ สาย Cisco สำหรับ network engineer สาย Microsoft สาย Oracle แยกสายเรียนเป็น specialist ไปแต่ละด้านเลย เจ้าไหนอยากมาป้อนหลักสูตรก็จ่ายเงินเลยครับ ออกทุนให้นักศึกษาอย่างเป็นระบบด้วย แล้วก็ต้องมีการหาตำแหน่งงานรองรับให้ด้วย

จะให้ดีกว่านั้นก็มีการชิงทุนดูงานศึกษางานต่างประเทศ หรือฝึกงานในองค์กร ฯลฯ

ข้อด้อยข้อเดียวที่ผมมองเห็นคือบริษัทใหญ่ๆ ในไทยส่วนมากก็สนใจแต่ใบปริญญาที่รับรองโดยกระทรวงศึกษานี่แหละครับ แล้วก็เป็นแบบที่บอกคือ เกรดสวย แต่คิดเองไม่ค่อยเป็น ต้องป้อนตลอดเวลา ป้อนจนจะเป็นสามีภรรยากันเลยก็มี

ผมมองว่าถ้าเป็นหลักสูตรที่สอนต่อจาก 4 ปีหลักได้ใบปริญญาก็ดี เหมือนเรียนหมอ 8 ปีอะไรแบบนั้น จะได้มีปริญญาเป็นประกัน ใครอยากเรียนต่อก็เรียน ใครไม่อยากก็ไม่ต้อง เรียนเสาร์-อาทิตย์ หรือตอนเย็นเหมือนปริญญาโทก็ได้ แต่หลักสูตรเน้นปฏิบัติ ไม่ได้เน้นวิชาการ (แต่วิชาการยังไงก็ต้องมี)

By: Architec
Contributor Windows Phone Android Windows
on 23 September 2013 - 01:00 #629984 Reply to:629942

แบบนี้ก็เข้าท่านะครับท่าน :)

เรื่องผัวเมีย programming เป็นช่องโหว่จริงๆครับ คนนึงเขียนไม่เป็นก็ใช้แฟนเขียนช่วยจนจบออกมาได้ แล้วที่ม.ผมก็เจอแบบนี้กันเยอะเลยครับ

By: jane
Android Ubuntu
on 23 September 2013 - 00:24 #629972 Reply to:629878
jane's picture

ปัญหาก็ตรงเงินเดือนนี่แหละครับ

อย่างผมทำงานอยู่ในหน่วยงานราชการ รับเงินเดือนจากสำนักงบมา

เห้อ ผมยังไม่จบ ป.ตรีเลย แบบว่าไม่ตั้งใจเรียน ทำแต่งานตั้งแต่เด็ก

By: GooEng
Contributor Windows Phone Android Ubuntu
on 1 October 2013 - 21:39 #635157 Reply to:629878
GooEng's picture

ถ้าทำหลักสูตรแบบ CP น่าจะชื่อ "หลักสูตรการเป็นเจ้าของ 7-Eleven" อันนี้ สกอ. ให้ผ่านแล้วครับ ไปทำเลียนแบบเลยแล้วเอามาขายมหาวิทยาลัย มหาวิทยาลัยใหญ่ๆ คงไม่ทำให้ ต้องราชภัฏครับ พร้อมทำทันที ขอแค่ให้ สกอ.รับรองหลักสูตรผ่านก่อนครับ


คำตอบของข้า คือ ประกาศิต

By: panuta
iPhone
on 22 September 2013 - 23:45 #629962

เป็นเรื่องน่าขันที่การเรียนรู้ทางสายไอทีน่าจะเป็นการเรียนรู้ที่สามารถปฏิบัติและทดลองได้ตลอดเวลา ตราบใดที่เราสามารถเข้าถึงเครื่องคอมพิวเตอร์ได้ แต่เรากำลังเจอปัญหาว่านักศึกษาที่จบมาไม่มีทักษะปฏิบัติมากพอ ผมเลยมองว่าเรื่องนี้เป็นปัญหาที่ความคิดของเด็ก สถาบันจะทำอะไรได้บ้างเพื่อปลูกฝังความคิดเช่นนี้?

ผมเห็นด้วยกับการสร้างสถาบันเทคโนโลยีที่เน้นการปฏิบัติ แต่สิ่งที่เราคาดหวังจากการปฏิบัตินั้นต้องไม่ใช่การ "รู้วิธีทำ" แต่ควรจะเป็น "รู้วิธีหาวิธีทำ" มากกว่า ใครที่อยู่ในวงการมานานก็รู้ว่าเทคโนโลยีมันเปลี่ยนเร็ว การสร้างคนที่ถนัดเทคโนโลยีอันใดอันหนึ่ง แต่ไม่มีพื้นฐานที่แข็งแรง เจอมรสุมเทคโนโลยีเข้าหน่อยก็ปลิวหายไป

เพื่อที่จะทำให้สถาบันแห่งนี้เป็นไปได้จริง การตัดประเด็นเรื่องการรับรองหลักสูตรโดยภาครัฐเป็นเรื่องที่ผมก็เห็นด้วย ในเมื่อสถาบันแห่งนี้เป็นสถาบันที่เน้นคุณค่าของการปฏิบัติ ตัวสถาบันเองก็ต้องสร้างคุณค่าของตัวเองขึ้นมาจากการปฏิบัติ ไม่ใช่ใบรับรอง

ผมเสนอว่าให้สถาบันแห่งนี้อยู่ควบคู่ไปกับระบบการศึกษาปกติน่าจะเป็นวิธีที่ทำได้ในเชิงปฏิบัติมากที่สุด คือไม่ต้องลาออกมาเรียน แต่เป็นหลักสูตรระยะยาว 1 ปีขึ้นไป เรียนมหาลัย (หรือมัธยม) ไปด้วย เข้าร่วมสถาบันนี้ไปด้วย ถ้าผลออกมาได้อย่างที่ตั้งใจกันไว้ เรียนจบมหาลัยก็พร้อมเป็นแรงงานสายไอทีที่มีคุณภาพได้พอดี

By: hisoft
Contributor Windows Phone Windows
on 23 September 2013 - 00:29 #629973 Reply to:629962
hisoft's picture

เป็นเรื่องน่าขันที่การเรียนรู้ทางสายไอทีน่าจะเป็นการเรียนรู้ที่สามารถปฏิบัติและทดลองได้ตลอดเวลา ตราบใดที่เราสามารถเข้าถึงเครื่องคอมพิวเตอร์ได้ แต่เรากำลังเจอปัญหาว่านักศึกษาที่จบมาไม่มีทักษะปฏิบัติมากพอ ผมเลยมองว่าเรื่องนี้เป็นปัญหาที่ความคิดของเด็ก สถาบันจะทำอะไรได้บ้างเพื่อปลูกฝังความคิดเช่นนี้?

สถาบันต้องกล้าที่จะให้เด็กที่ปฏิบัติไม่ได้ ทดลองไม่ทำ ได้ผลเป็นไม่ผ่านครับ ส่วนมากผมเจอแต่ปล่อยให้ผ่านๆ ไป โดยบอกว่าไม่อยากตัดอนาคตเด็ก

By: GooEng
Contributor Windows Phone Android Ubuntu
on 1 October 2013 - 21:49 #635160 Reply to:629962
GooEng's picture

คงถึงเวลาแล้วครับที่ต้องมี "ใบประกอบวิชาชีพ" แบบบัญชี,สาธารณสุข,ครู

สาขาอะไรก็ได้ที่อยากเข้าวงการเขียนโค้ด ทำระบบสารสนเทศ ต้องมาสอบ "ใบประกอบวิชาชีพ" เฉพาะด้านทั้ง Network, Software แยกส่วนกันไปเลย หากคนไหนเก่ง สอบได้ 2 ใบ ก็แล้วแต่เขา เพื่อกรองมาตรฐานของนักศึกษาคอมฯ ของแต่ละสถาบัน เกียรตินิยมของบางที่ อาจเป็นแค่ลูกกระจ็อกของที่ที่ใหญ่มาก


คำตอบของข้า คือ ประกาศิต

By: mr_tawan
Contributor iPhone Android Windows
on 23 September 2013 - 00:50 #629982
mr_tawan's picture

วันนี้ได้ถกโดยเรื่องนี้ใน bar camp สนุกดีครับ


  • 9tawan.net บล็อกส่วนตัวฮับ
By: bow_der_kleine
Writer Android Ubuntu
on 23 September 2013 - 02:39 #630001 Reply to:629982
bow_der_kleine's picture

พอจะเล่าให้ฟังได้ไหมครับ

By: mr_tawan
Contributor iPhone Android Windows
on 23 September 2013 - 02:45 #630004 Reply to:630001
mr_tawan's picture

รอท่าน @icez มาเล่าให้ฟังดีกว่าครับ :)


  • 9tawan.net บล็อกส่วนตัวฮับ
By: nathawat
iPhone Android
on 23 September 2013 - 10:42 #630063 Reply to:629982
nathawat's picture

อ๋อออ พี่คนที่อยู่ด้านซ้ายของห้องนี่เอง สวัสดีครับ ชอบ sesion นี้ มากจริงๆ ครับเมื่อวานสนุกดีครับ :)

By: bahamutkung
Contributor Android WindowsIn Love
on 23 September 2013 - 01:50 #629994
bahamutkung's picture

ไอเดียไม่มีแต่อยากเรียนครับ ในฐานะคนที่ไม่มีพื้นฐานด้านโปรแกรมแต่อยากเขียน app เป็น ใบ cert มันก็มีประโยชน์เวลาต้องยื่นอะนะ


"With the first link, the chain is forged. The first speech censured, the first thought forbidden, the first freedom denied, chains us all irrevocably."

By: kn on 23 September 2013 - 02:59 #630006

หากตัดประเด็นเรื่องการรับรองหลักสูตรโดยภาครัฐออกทั้งหมด เราก็ยังมีปัญหาหลักอีกปัญหาหนึ่งคือความเชื่อของคนไทยเรานั้น ไม่จะเป็นผู้ปกครองหรือเด็ก(เรียนดี (ซึ่งเป็นหัวเรือแห่งความสำเร็จของโครงการนี้ )) มักคาดหวังว่าจะต้องได้รับปริญาตรีเป็นอย่างน้อย จะให้เอาชีวิตมาความเสี่ยงกับโครงการอะไรก็ไม่รู้คงรับไม่ได้ นอกเสียจากว่าโครงการนี้มันจุดติดแล้ว ก็จะมีคนหลั่งไหลแย่งกันเข้ามาตามกระแส ตามสไตล์ไทยๆ เรา

แต่ถ้าผู้ร่วมก่อตั้งมีความเชื่ออย่างแน่วแน่ว่า สามารถเอาเด็กที่อยากจะจบแบบนี้จริงๆ (ไม่ใช่เด็กที่เหลือคัดสอบเข้าที่ไหนไม่ได้ก็มาลงโครงการนี้ ) มาร่วมโครงการได้ ก็ควรเริ่มต้นแบบระบบทวิภาคีที่วิทยาลัยเทคนิคในบ้านเรามีอยู่มากมาย สำเร็จบ้างไม่สำเร็จบ้างก็ต้องศึกษาวิจัยกันอีกที่ การเรียนแบบนี้(คาดว่าน่า)จะช่วยลดต้นทุนของผู้ก่อตั้งโครงการนี้อยู่บ้าง เพราะผู้เรียนจำเป็นที่จะต้องเรียนวิชาที่ผู้ก่อตั้งไม่ชำนาญ ทั้งในด้านสังคม คณิตศาสตร์ ภาษา ซึ่งตามวิทยาลัยเทคนิคก็มีพร้อมอยู่แล้ว

ถ้าจะให้ดีหน่อยก็คงต้องทำคล้ายๆ กับซิลิคอนแวลลีย์ ซึ่ง(ในความคิดผม)เป็นอุตสาหกรรมไอทีที่มีบริษัทไอทีอยู่มากมายและมีมหาวิทยลัยเป็นจุดศูนย์กลาง (งานวิจัยไอทีใหม่ๆ จึงเกิดที่นี้ ไม่จำเป็นต้องเฝ้ารอเทคโนโลยี่จากประเทศที่เจริญแล้ว แล้วเอามาทำต่อ ได้งานราคาถูกๆ และก็เป็นผลให้ได้ภาษีไปพัฒนาประเทศน้อย ) โดยเริ่มจากผู้ก่อตั้งต้องย้ายสำนักงานไปอยู่อยู่ใกล้ๆ (ซึ่งแน่นอนว่าต้องมีหลายๆบริษัทด้วย) กับมหาวิทยาลัย(ซึ่งตอนนี้ก็เห็นมหาวิทยาลัยดังๆ พยายามไปเปิดวิทยาเขตในต่างจังหวัดหรือปริมณฑลกันมากขึ้น เพราะถ้าไม่เริ่มต้นจากวิทยาเขตแต่จะเอากับมหาวิทยาลัยเลยคงยากอีกกับระบบราชการ ) เพื่อให้ผู้เรียนได้เรียนและทำงานในที่เดียวกัน

หากโครงการสามารถจัดตั้งได้จริง อยากให้เน้นการสร้างงานวิจัยเป็นของตนเองมากกว่า แต่ ณ.จุดเริ่มต้นทำตามฝรั่งให้ได้ก่อน แล้วค่อยคิดงานวิจัยกันเอง

:D

By: bow_der_kleine
Writer Android Ubuntu
on 23 September 2013 - 12:24 #630123 Reply to:630006
bow_der_kleine's picture

เรื่องคุณภาพนักศึกษา ผมกลับมองว่าคนเราสร้างได้ครับ และเป็นหน้าที่ของสถาบันการศึกษาที่ต้องสร้างคน

ที่ดินข้าง ม. ราคาสูงตั้งแต่ ม.ยังสร้างไม่เสร็จครับ

ประเด็นงานวิจัย ผมมองว่าเราไม่จำเป็นต้องเลือกอย่างใดอย่างหนึ่ง การพัฒนาอุตสาหกรรม การศึกษา การวิจัย มันต้องไปด้วยกัน และไปพร้อมกันครับ

By: SleeperMoNKeY
iPhone Android
on 23 September 2013 - 10:26 #630055

ที่ที่ผมเรียนจบมาก็ปฏิบัติค่อนข้างเยอะนะ มีโปรเจคให้ทำแทบทุกเทอมเลยครับ แต่เนื้อหาที่เรียนตอนนั้นรู้สึกว่ามันล้าสมัยไปนิดนึงไม่รู้ว่าตอนนี้เค้าปรับเปลี่ยนเนื้อหากันรึยังนะ แต่คิดว่าน่าจะเปลี่ยนไปบ้างแล้วแหละ

ผมเคยได้ยินมาว่ามีมหาวิทยาลัยบางแห่งเค้าตั้งบริษัทเล็กๆขึ้นมาสำหรับรับงานเพื่อให้นักศึกษาได้ลองทำงานจริงนะ
ผมคิดว่าแนวทางนี้น่าจะดี ถ้ามีลูกค้าเข้ามาเรื่อยๆแล้วเราแจกจ่ายงานไปให้เด็กๆลองทำดูตั้งแต่ปีสองปีสาม พอจบปีสี่ก็เก่งพอเลยแต่ว่าก็จะมีปัญหาตามมาอีกหลายๆอย่าง เช่น งานไม่ได้คุณภาพ ส่งงานไม่ทัน ติดบั๊กแล้วไม่มีคนแก้เพราะคนทำเรียนจบแล้ว
ถ้าจัดการตรงนี้ได้ก็น่าจะดีไม่น้อยเลย

By: bow_der_kleine
Writer Android Ubuntu
on 23 September 2013 - 12:26 #630127 Reply to:630055
bow_der_kleine's picture

ตัวเลขสี่ปี จริง ๆ สูงกว่าค่าเฉลี่ยระยะเวลาการทำงานของพนักงานในบริษัทนะครับ ประเด็นนี้ก็เป็นอีกสิ่งหนึ่งที่ทุกคนต้องเรียนรู้ร่วมกัน คือ การบริหารบุคคลากร และองค์ความรู้ ภายใต้เงื่อนไขการหมุนเวียนบุคคลากร

By: kulawat on 26 September 2013 - 07:35 #632062

พอดี่เพิ่งทำโพลว่า อะไรคือสิ่งที่คุณคิดว่า developer น่าจะเรียนรู้กันตั้งแต่สมัยเรียนมหาลัย?ที่ https://www.facebook.com/groups/agile66/

คำตอบน่าสนใจทีเดียวครับ

By: PaPaSEK
Contributor Android WindowsIn Love
on 26 September 2013 - 09:38 #632097 Reply to:632062
PaPaSEK's picture

การตั้งชื่อตัวแปรของ dev แต่ละท่านเป็นการทำ obfuscate ไปในตัวครับ

String s, b, fo, c;int j,k,f;

void abc(int i){}

เจอโค้ดแล้วเป็นลม คร่อก