ปีนี้ผมได้รับทุนจาก Thainetizen และ SEAPA เพื่อมาร่วมงาน Internet Governance Forum ที่จัดโดยสหประชาชาติที่บาหลี อินโดนีเซีย ห้องแรกที่ผมเข้าในวันนี้คือ "Country Code Top Level Domain" หรือ ccTLD ชื่อโดเมน โดยให้หน่วยงานดูแลโดเมนของแต่ละประเทศมาแชร์ประสบการณ์กัน
ผมเข้าห้องนี้ไม่ทันแต่แรก แต่ได้เจอผู้พูดจาก PANDI ผู้ดูแลโดเมนของอินโดนีเซียคือ .id พบว่ามีประเด็นน่าสนใจหลายอย่าง
- อินโดนีเซียเก็บค่าโดเมนถูกมาก ทุกวันนี้เก็บประมาณ 5 ดอลลาร์ต่อปี
- ทาง PANDI พยายามสร้างความมั่นใจกับ .id ด้วยการตรวจสอบบัตรประชาชนของผู้จดทะเบียนทุกคน
- เพิ่งมีการสร้างโดเมนใหม่ desa.id โดเมนเพื่อโปรโมทสินค้าท้องถิ่น โดยแจกโดเมนเหล่านี้ให้กับอาสาสมัครที่ต้องการสร้างเว็บให้กับสินค้าท้องถิ่นฟรี ทุกวันนี้มีผู้ขอไปแล้ว 72,000 โดเมน
- ทางอินโดนีเซียพยายามสร้างโดเมน my.id เพื่อใช้ระบุตัวตนของทุกคนและให้บริการอีเมลไปพร้อมกัน คนที่จดจะได้รับ [ชื่อตัว].my.id และอีเมล [ชื่อตัว]@my.id
- PANDI มีโดเมนประเภทเดียวกันซ้ำบ้าง เช่น .co.id และ .biz.id แยกตามขนาดธุรกิจ, .ac.id และ .sch.id แยกมหาวิทยาลัยและโรงเรียนออกจากกัน, รวมถึง .web.id และ .my.id สำหรับการสร้างเว็บส่วนตัว
- จนตอนนี้ทางอินโดนีเซียยังไม่เปิดให้ชาวต่างชาติจดทะเบียน .id
-
ทุกวันนี้มีโดเมน .id อยู่แล้วประมาณสองถึงสามแสนโดเมน เป้าหมายของ PANDI คือจะให้มีถึงล้านโดเมน
ตัวแทนจาก CNNIC หน่วยงานจัดการโดเมนในจีน
-
เป้าหมายของ CNNIC ในการพัฒนาเนื้อหาท้องถิ่นคือการสร้างอินเทอร์เน็ตที่ไม่มีกำแพงภาษาให้กับผู้ใช้
- จีนมีผู้ใช้อินเทอร์เน็ตแล้ว 628 ล้านคน
- มีปัญหา phishing สูง และมีมาตรการจัดการมาตั้งแต่ปี 2009
- ทางจีนอยากทำชื่อโดเมนภาษาจีน และพยายามทำแล้วแต่พบปัญหามากมาย ปัญหาที่สำคัญที่สุดคือโดเมนเหล่านี้ใช้อีเมลไม่ได้ เพราะแทบไม่มีใครรองรับ
- ภาษาจีนเป็นภาษาที่ใช้มากที่สุดเป็นภาษาที่สองของอินเทอร์เน็ตตามรายงานของ UNESCO
- ปัญหาสำคัญของเว็บจีนคือชื่อโดเมนจำยากมาก ถ้าเขียนชื่อเป็นภาษาอังกฤษคนจะจำไม่ได้ว่าควรถอดเสียงอย่างไร ถ้าเขียนเป็นภาษาจีนคนจำนวนมากจะพิมพ์ไม่ได้
- จีนยังมีปัญหากับระบบ input อยู่ ระบบที่มีทุกวันนี้ยังไม่ดีพอ คนจำนวนมากไม่สามารถพิมพ์ได้ แม้จะเขียนได้
ตัวแทนจาก JPRS หน่วยงานจัดการโดเมนของญี่ปุ่น
- คนญี่ปุ่นมีปัญหากับการใช้อีเมลเป็นภาษาญี่ปุ่นมาโดยตลอด และค่อยๆ ใช้ภาษาญี่ปุ่นได้ใน เนื้อเมล, ช่อง subject, ชื่อใน To: และ From: แต่ยังติดอยู่ที่โดเมน
- เว็บไซต์ก็มีปัญหาเช่นเดียวกัน JPRS ระบุว่าผู้ใช้ควรสามารถใช้ภาษาท้องถิ่นได้
- โดเมนภาษาท้องถิ่นจะทำให้เรารู้ว่าควรเขียนอีเมลเป็นภาษาอะไร เช่น โดเมนภาษาญี่ปุ่นก็ควรเขียนอีเมลเป็นภาษาญี่ปุ่นไปหา
- การมีโดเมนภาษาท้องถิ่นจะทำให้ผู้ใช้คาดหวังได้ว่าเว็บนั้นๆ เป็นภาษาอะไรเช่นกัน เว็บค้นหาจะแสดงเนื้อหาท้องถิ่นได้ตรงกับผู้ที่ค้นหา
- คนญี่ปุ่นใช้ภาษาญี่ปุ่น 100% ในหนังสือพิมพ์และการชื่อสารอื่นๆ ยกเว้นเว็บ ที่ใช้ภาษาญี่ปุ่น 90%
- ญี่ปุ่นใช้ IDN หรือโดเมนภาษาท้องถิ่น ภายใต้ .jp มาแล้วตั้งแต่ปี 2001 ปริมาณการใช้ค่อนข้างนิ่ง เว็บส่วนมากยังคงใช้โดเมนระดับสองเป็นภาษาอังกฤษ
- JPRS พยายามทำให้ผู้ใช้มั่นใจ .jp ด้วยกระบวนการความปลอดภัย มีการร่วมมือกับหน่วยงานจำนวนหนึ่งเพื่อรับเรื่องโดเมนใช้ปล่อยมัลแวร์, รองรับ DNSSEC
ภาพในห้องนี้บางส่วนโพสไว้ใน Google+ ของผม ครับ
Comments
สี่หรือสองครับ ?
ประเทศไทยน่าจะมี domain .me.th บ้าง
Opensource - Hackintosh - Graphic Design - Scriptkiddie - Xenlism Project
.... แยกตามขนาดธุรกิจ, .ac.th และ .sch.id แยกมหาวิทยาลัยและโรงเรียนออกจากกัน
ควรจะเป็น .ac.id หรือเปล่าครับ?
my.id เจ๋งอะ >_<
ชื่อเจ๋งครับ :D
เมื่อก่อนจำได้ว่ามี khonthai.com นะ แต่ตอนนี้...
Blog | Twitter
ขอเสนอแนะนะครับ พาดหัว "โดเมนท้องถิ่น และเนื้อหา" น่าจะเป็น "โดเมน และเนื้อหาท้องถิ่น"
กำลังโอ้โห้กับ .id ของอินโดนีเซีย มาหยุดอารมณ์ตอนอ่านถึง "จนตอนนี้ทางอินโดนีเซียยังไม่เปิดให้ชาวต่างชาติจดทะเบียน .id" นี่ล่ะ =3=
ac.th และ .sch.id แยกมหาวิทยาลัยและโรงเรียนออกจากกัน, => น่าจะเป็น .ac.id
oxygen2.me , panithi's blo g
Device: HP Zbook, iPad Pro, iPhone 15PM, iPhone 16+, Nothing Phone 1
@ Virusfowl
I'm not a dev. not yet a user.