ก่อนอื่นต้องทำความเข้าใจก่อนว่า DNG เป็นรูปแบบไฟล์มาตรฐานเปิดของ Adobe ที่ใช้ในการทำงานร่วมกันของไฟล์ RAW จากกล้อง ซึ่งเหมาะกับการทำงานร่วมกับซอฟต์แวร์ในค่าย Adobe เอง โดยถ้าเราอยากอ่านไฟล์นี้ต้องไป โหลด codec จาก Adobe มาติดตั้ง หรือใช้ซอฟต์แวร์ของ Adobe ที่ติดตั้ง Camera RAW อยู่ภายในจึงเปิดไฟล์ DNG ได้
จากตัวอย่างในการอ่าน metadata ผมใช้ Adobe Brige CC ในการเปิด metadata ไฟล์ DNG และ JPG
ถามว่าไฟล์ DNG ใช่ไฟล์ RAW หรือไม่ ตอบว่าเกือบใช่ เพราะเป็นการแปลงไฟล์ RAW จากกล้องมาเป็นไฟล์มาตรฐานเปิดที่ซอฟต์แวร์ในตลาดช่างภาพสามารถอ่านได้โดยทั่วไป ซึ่งคือ DNG โดยไฟล์ DNG ที่ Nokia ปล่อยออกมานั้นเป็นไฟล์จากกล้องของมือถือ Nokia Lumia 1020 โดยจาก metadata ถูกแปลงจากโปรแกรม Nokia RAW-to-DNG converter v01.00.06 อีกทีเพื่อให้ได้ไฟล์ DNG ออกมา ซึ่งคาดว่าตัวโปรแกรมดังกล่าวเป็นโปรแกรมพื้นฐานหรือเป็นขั้นตอนเฉพาะของแอพที่ Nokia เขียนขึ้นเฉพาะและติดตั้งลงใน Windows Phone ของ Nokia เองเพื่อเพิ่มความสะดวก แต่ทั้งนี้การแปลงมาเป็นไฟล์ DNG นั้น คุณภาพและข้อมูลยังคงสมบูรณ์ใช้งานได้ครบถ้วน (เป็นการแปลงแบบ lossless) แต่แน่นอนว่าการตั้งค่าที่กล้องจะไม่มีผลกับไฟล์ DNG โดยเมื่อเราเปิดไฟล์นั้นต้องเป็นคนปรับแต่งอีกครั้งเหมือนเราเป็นแอพที่เปิดไฟล์เหล่านั้นมาปรับแต่ง ฉะนั้น ถ้าเรานำไฟล์ DNG ไปเปิดในโปรแกรมต่างยี่ห้อกัน ก็จะอ่านค่าไม่เหมือนกัน แม้จะมีการบันทึกและปรับแก้ โทน สี และความคมชัดจะไม่เท่ากันเลย แต่สามารถปรับแต่งให้ทุกอย่างเหมือนกันได้ผ่านการปรับแต่งอย่างละเอียดโดยผู้ใช้งานเองอีกครั้ง
ซึ่งเจ้าไฟล์ DNG ของ Nokia Lumia 1020 นั้นมีขนาด 41.66MB ทุกรูป ไฟล์มี resolution ที่ 7,728 x 4,352 pixel หรือ 33.6MP โดยให้ bit depth ที่ 10 bit และ color mode แบบ RGB และสำหรับไฟล์ JPG ที่ให้ดาวน์โหลดคู่กันนั้น มี bit depth ที่ 8 bit แปลงมาจาก Adobe Photoshop Lightroom 5.0 (Windows) อีกที ไม่ใช่ไฟล์จากแอพในตัว Nokia Lumia 1020 โดยตรงแต่อย่างใด
เรามาดูกันสักหน่อยว่าได้ไฟล์ DNG มาแล้วมันดีกว่า JPG ในแง่การปรับแต่งยังไง โดยผมจะเปิด DNG ด้วย Camera RAW บน Photoshop CC แล้วแปลงกลับมาเป็น JPG ไม่ปรับแต่งใดๆ เพื่อเทียบกันในเรื่องของการปรับตั้งค่า exposure ว่าเมื่อปรับสว่างในระดับ 0.5EV, 1.0EV, 1.5EV และ 2.0EV ไฟล์แบบ DNG นั้นจะดีกว่า JPG แค่ไหน (วัดการเก็บข้อมูลส่วนมืด)
ไฟล์ JPG และ DNG เพิ่ม exposure ด้วยการปรับที่ Camera Raw 8.2 และบันทึกเป็น JPG ผ่าน Photoshop CC
* ไฟล์ทุกไฟล์ด้านล่างสามารถดาวน์โหลดไฟล์ต้นฉบับได้จากการกดที่รูปภาพจะเป็นการเข้าไปโหลดไฟล์ใหญ่สุด
JPG (Nokia) 0 EV (Photoshop CC)
DNG (Nokia) 0 EV (Photoshop CC)
JPG (Nokia) +0.5 EV (Photoshop CC)
DNG (Nokia) +0.5 EV (Photoshop CC)
JPG (Nokia) +1.0 EV (Photoshop CC)
DNG (Nokia) 1.0 EV (Photoshop CC)
JPG (Nokia) +1.5 EV (Photoshop CC)
DNG (Nokia) 1.5 EV (Photoshop CC)
JPG (Nokia) +2.0 EV (Photoshop CC)
DNG (Nokia) 2.0 EV (Photoshop CC)
จากการไล่ exposure จะเห็นรายละเอียดชัดเจนว่าการใช้ไฟล์ DNG ในจาก Nokia Lumia 1020 มาปรับแต่งในค่าสูงๆ (หรือต่ำ) จะยังคงคุณภาพของตัวรูปไว้ได้เยอะกว่า จะเห็นว่าเมื่อเราดึง exposure ขึ้นมาให้สว่าง จะเห็นชัดเจนว่าข้อมูลของ DNG มีการแสดงผลรายละเอียดมากกว่า JPG (รวมไปถึงกด exposure ให้ต่ำลงเพื่อให้ภาพมืดลง) เพราะฉะนั้น เราสามารถนำภาพที่ได้จาก exposure ที่แตกต่างกันไปทำภาพแบบ HDR ที่มีคุณภาพของภาพที่มากกว่า JPG ได้อย่างสวยงาม
หมายเหตุ จอภาพที่ดูภาพไล่ด้านบนที่แสดงการไล่ exposure ต้องได้รับการ calibrate จอภาพมาอย่างถูกต้อง เพื่อให้แสดงสี ความสว่างและการไล่โทน อย่างถูกต้อง จะเห็นความแตกต่างอย่างชัดเจนมากขึ้น
ของแถมในเรื่องของการปรับสมดุลแสงสีขาว (white balance) ซึ่งการปรับแต่งตัวสมดุลแสงสีขาวนั้นไฟล์ JPG จะปรับแต่งและเปลี่ยนแปลงได้ยากกว่าและในบางครั้งจะไม่สามารถคงสีบางสีได้จนทำให้สีกลืนไปทั้งภาพ ผิดกับ DNG ที่สามารถปรับแต่งได้หลากหลาย และควบคุมได้มากกว่า โดยเราสามารถควบคุมอุณหภูมิของสีได้เป็นระดับเคลวิน
การปรับแต่งสมดุลแสงสีขาว (white balance) ทำในโปรแกรม Adobe Photoshop Lightroom 4 (Windows)
ไฟล์ JPG
ไฟล์ DNG
จะเห็นว่าไฟล์ DNG ที่ได้จาก Lumia 1020 สามารถนำมาใช้งานและปรับแต่งได้มากกว่าในภายหลัง แน่นอนว่าทั้งหมดเป็นเพียงแค่ส่วนหนึ่งของข้อดีของ DNG ไฟล์ที่ได้จากกล้องถ่ายรูปที่ปรกติแล้วมักจะมีอยู่ในกล้องระดับกลาง-สูง ในตลาดกล้องถ่ายรูป แต่ในตอนนี้สิ่งเหล่านี้มีมาใน Nokia Lumia 1020 แล้ว ซึ่งเหมาะสมกับคนที่ต้องการปรับแต่งรูปแบบสุดๆ ในภายหลังอีกครั้งหลังจากถ่ายมาแล้ว
บันทึกการแก้ไขที่ 1, 31/10/2556 - 21:10 น.
- แก้ไขชื่อรุ่นให้ตรงตาม metadata
- แก้ไขไฟล์ภาพ JPG ให้ปรับ exposure ด้วย Camera RAW แทนใช้ Photoshop CC โดยตรง เพื่อควบคุมตัวแปรทดสอบ
Comments
ขอเสริมนะครับ- ไม่ค่อยมั่นใจ แต่เคลวินไม่น่าจะต้องใช้ร่วมกับคำว่าองศาหรือเปล่าครับ เพราะปกติหน่วยของเคลวินคือเคลวินเฉยๆ ไม่ใช่องศาเคลวิน
ixohoxi's
แก้ไขแหละครับ
ภาพแรกแสดงเรื่องการใช้และ panel ที่เรียกครั
ส่วนอื่นๆ แก้ไขแล้วครับ
ไม่ใช่ครับ ภาพแรกหมายถึงภาพนี้ครับ ... เนื่องจากบอกชื่อโปรแกรมไปในย่อหน้าที่สองแล้ว ผมว่าภาพดังกล่าวไม่จำเป็นครับ หากจะพูดถังเลขรุ่นของ Adobe Brige CC ก็ระบุที่ย่อหน้าสองไปเลยครับ
ภาพแมวดูธรรมชาติมาก
อยากให้หลายๆ คนสังเกตที่รายละเอียดในที่มืดที่กระจกหน้าต่างทางและพื้นที่ในบ้านตรงด้านบนของรูปด้วยครับ
ที่ +2 EV ไฟล์ JPG ยังค่อนข้างมืดอยู่และไม่สามารถดึงรายละเอียดกลับมาได้มากนัก (เชื่อว่าถ้าขยาย 100% คงเห็นน้อยส์มากมาย) ในขณะที่ไฟล์ RAW/DNG นั้นสว่างกว่าและได้รายละเอียดในที่มืดกลับมาค่อนข้างมาก
ixohoxi's
ศัพท์เฉพาะเกี่ยวกับวงการภาพถ่ายเยอะมาก ผมอ่านไม่รู้เรื่องเลย T_T
แนะนำให้เอา keyword ต่างๆ ไปค้นดูครับ ถ้าขยายความเยอะๆ ผมกลัวว่าจะมันจะอ่านแล้วงงกว่าเดิม
ถึงเวลาต้องซื้อแล้วสินะ คิคิ
ที่จริงอยากให้ลองเปรียบเทียบกับไฟล์ที่เป็น Lossless (อย่าง PNG) ด้วย แต่กล้องที่รองรับอาจจะไม่มีเลยมั้ง ? (ผมไม่เคยเห็นน่ะครัีบ)
PNG มือถือมันบันทึกออกมาตรงๆ ไม่ได้ซิครับ
แต่เมื่อมีคนถาม ผมก็เลยลองเมื่อกี้ ไฟล์ DNG ที่บันทึกเป็น PNG แบบไม่ Compressed ขนาดไฟล์ 96.2MB ใหญ่กว่า DNG อีก ><"
PNG มันอีกเรื่องนึงเลยอะครับ ผมไม่แม่นพอจะอธิบาย แต่มันไม่ใช่การเก็บแสงแบบไม่ compress แบบ raw ไม่ควรเอามาปนกันให้งง
การบันทึก PNG มันเลือกที่จะ Compressed และ Uncompressed ได้ครับ เผื่อคนไปลองบันทึกแล้วได้ไม่เท่ากันจะงงหนักกว่าเดิมไง ผมเลยต้องบอกก่อนว่าผมบันทึกจาก DNG มา PNG ผม Uncompressed มันมา
เอาใหม่ lossless ไม่เท่ากับ raw คนละเรื่องกันครับ
จริงๆความรู้ด้าน graphic ผมน้อยมากเลยนะ แต่ผมคิดว่า มัน lossless ถ้าเทียบกับ uncompressed file อย่าง tiff หนะครับ
ผมถามใหม่ครับแปลงจาก DNG เป็น PNG แบบ uncompressed แล้วโปรแกรมทั่วไปเปิดได้ไหมครับ แล้วย้อนกลับไปที่โปรแกรม ที่ทำานกับ file raw ได้ ความสามารถยังอยู่ครบถ้วนไหมครับ ?
ขอธิบายใหม่เพื่อให้เข้าใจครบ
อย่างแรกคือ RAW ของ Nokia Lumia 1520 จริงๆ ยังไม่มีปล่อยมา และมันบันทึกเป็น DNG จากมือถือเลย (ผ่าน converter) คิดว่าคงไม่มีแน่ๆ
ต่อมา DNG เป็น lossless ของไฟล์ข้อมูลที่แปลงจาก RAW ของเซ็นเซฮร์ที่กล้องโดยตรง มีข้อมูลภาพอยู่ภายในทุกอย่างที่เก็บมาได้ แต่ไม่ใช่ไฟล์รูปภาพ มันเป็นไฟล์ที่มีข้อมูลอื่นๆ อีกเยอะแยะภายใน แถมภายในมีไฟล์ JPG สำหรับ preview ด้วย เราสามารถแกะมันออกมาได้โดยไม่ต้องแปลงผ่านโปรแกรมใดๆ (หาโปรแกรมแงะ DNG เอา JPG ออกมา ก็น่าจะเห็นภาพ)
คำว่า lossless คือไม่เสียคุณภาพของข้อมูลไปซึ่งข้อมูลที่ว่าคืออะไร แล้วแต่ชนิดไฟล์ ถ้าไฟล์ DNG คือทุกๆ ข้อมูลที่ต้องมี ต้องอยู่ครบ แต่ถ้าเป็นไฟล์รูปภาพ PNG จะหมายถึงข้อมูลรูปภาพเท่านั้นที่อยู่ครบ (จากต้นฉบับ)
การแปลงจาก DNG มาเป็นไฟล์รูปภาพเช่น JPG หรือ PNG ก็แล้วแต่ต้องการ การแปลงไฟล์มาเป็นไฟล์รูปภาพ ข้อมูลบางอย่างของ DNG ที่ไม่จำเป็นถูกนำออกไปให้เหลือแต่ข้อมูลภาพตามมาตรฐานของประเภทรูปภาพเท่านั้น และไฟล์ภาพที่บันทึกจะเป็น lossless หรือ lossy ก็แล้วแต่ประเภทไฟล์
การ uncompressed และ compressed เป็นแค่การบีบอัดข้อมูลเฉยๆ ให้ประหยัดพื้นที่ ไฟล์แบบ compressed เวลาโหลดข้อมูลเข้าโปรแกรมตกแต่งภาพจะถูกแตกไฟล์ออกมาเป็น uncompressed เพื่อแก้ไขแล้วบันทึกกลับเข้าไป compressed เช่นเดิม เพื่อประหยัดพื้นที่ (ไฟล์รูปภาพ และไฟล์ข้อมูลหลายๆ ตัวมีความสามารถแบบนี้ แต่ขึ้นอยู่กับตัวโปรแกรมที่จะเปิดรองรับแบบ compressed หรือไม่) ยกตัวอย่างเช่น NEF ที่เป็น compressed RAW ของ Nikon ตอนเป็นไฟล์ที่บันทึกเสร็จจะมีขนาดไฟล์ประมาณ 10-12MB (กล้อง 10MP) เมื่อเปิด้วย Capture NX ไฟล์จะถูก uncompressed อยู่ใน Temp ของ Capture NX ที่มีขนาดประมาณ 50MB เมื่อบันทุกกลับจะเหลือเท่าเดิม หรือใหญ่กว่านิดหน่อย
PNG uncompressed โปรแกรมดูภาพทั่วไปเท่าที่ทราบจะเปิดได้ทุกตัวครับ (โปรแกรมที่รองรับการเปิด PNG ได้อยู่แล้ว) แต่ส่วนการปรับแต่งของ PNG ไม่เท่ากับ DNG ครับ และการทำงานกับไฟล์จะเทียบเท่า JPG เท่านั้น (จากคำอธิบายด้านบน)
แต่จะบอกว่าทั้งหลายทั้งปวง ผมทักคุณ mr_tawan หนะครับ
อ่อ โอเคครับ เห็น reply ผมมาเลยสับสน -/|-
ผมอาจจะเข้าใจ มารยาท แถวนี้ผิด แหะๆ คือผมคิดว่า ถ้า reply แล้วก็ควร reply ต่อลงมากันเป็นทอดๆ เสียอีก
แต่ตอนนี้ ผมมีประเด็นจะทักคุณละ จริงๆ จะทักตั้งแต่แรก (เริ่มสับสนกับการ reply แล้วแฮะ)
คือ DNG มันก็คือ RAW หนะแหละครับ ทำไมถึงจะบอกว่ามันเกือบใช่
มันคือ raw ที่ adobe พยายามผลักดันให้เป็น raw กลาง แต่ไม่ประสบความสำเร็จเท่าที่ควร
เอาง่ายๆ ผมมี raw ที่มาจากกล้องของผมอยู่แล้ว จะไปทะลึ่งแปลงเป็น dng ทำไม (ละไว้ไม่ใช่สาระ ยกมาประกอบเฉยๆ)
บริษัทกล้องทั้งหลาย เค้าก็ไม่เลือกจะให้ adobe ผูกขาด file หรอกในเมื่อเขามี raw ของใครของมัน ทีนี้ ถ้า nokia จะถ่ายให้เป็น dng ก็คือ ไม่ต้องพัฒนา raw ของตัวเองใช้มาตรฐาน ของ adobe ซะ อาจจะใช้ฟรี หรืออาจจะ เป็นการสนับสนุนจาก adobe เพื่อสนับสนุน dng ก็ได้
แต่มันคือ raw ครับ ไม่ใช่ "เกือบใช่"
หมายถึงที่ว่ายังไม่มี file raw ของ nokia ปล่อยออกมา ผมก็ว่า ถ้ามาแบบ dng แล้วมันก็ใช่แล้วอะครับ ไม่น่าจะมี format อื่นอีก ไม่ make sense
จริงๆ ที่ผมใช้คำว่า "เกือบใช่" เพราะในมุมมองผม มันไม่เหมือนกันทั้งหมด ผมยกตัวอย่างง่ายๆ กล้อง Nikon ที่ถ่ายเป็น NEF ที่ปรับแต่ง Picture Profile ไว้ ถ้าผมเอาไปเปิดกับ RAW Convertor ของค่าย อย่าง ViewNX หรือ Capture NX ค่าต่างๆ ที่ตั้งไว้ใน Picture Profile จะอ่านและได้ความสามารถมาครบ (ที่ตั้งไว้) โดยแทบจะเหมือนกับที่เห็นหลังกล้อง แต่ถ้าแปลงไป DNG ค่าต่างๆ ของ Picture Profile ที่ตั้งไว้จะไม่ถูกอ่านออกมาบันทึกใหม่ หรือถูกตัดทิ้งออกไป (เพราะเป็นข้อมูลที่มีสิทธิ์บัตรในการขอใช้งาน หรือบันทึกต่อ) นั้นทำให้เราไม่ได้ใช้ความสามารถบางอย่างของตัวกล้องได้โดยตรงครับ แม้ข้อมูลจะเซ็นเซอร์จะตัวเดียวกันเลย นั้นเป็นสาเหตุว่าทำไมช่างภาพมืออาชีพจึงใช้ซอฟต์แวร์ของค่ายในการปรับแต่ง RAW ไฟล์ก่อนทำการแปลงเป็น TIFF และเป็น JPG ครับ
อ่าาาาา ควรจะต้อง reply ตรงนี้สินะกว่าจะเข้าใจ
ผมว่าเราละไว้ดีไหม เรื่องช่างภาพมืออาชีพ ใช้ software ของค่ายในการปรับแต่ง raw ซึ่งผมไม่เห็นด้วยของแบบนี้มีทั้ง 2 แบบ ถ้าถกเถียงกันเรื่องนี้มันจะ subjective เกินไป
แต่เอาหลักการเข้าว่า การที่ค่า profile ถูก deliver ไปยัง first party application ไม่น่าจะเกี่ยวกับ การเป็น raw เลยนะครับ ไม่ต้องแปลงเป็น dng ก็ได้ ถ้าเอา file raw ของค่ายไหนก็ตามไปเปิดกับ 3rd party application ค่า profile มันก็ไม่ได้ติดมาทั้งนั้น มันเป็นส่วนเสริม ไม่ใช่ส่วนที่ระบุ ว่ามันเป็น file raw หรือไม่ใช่
ความเป็น file raw หรือไม่ คือการไม่ได้ convert รวบค่าแสง คือยังสามารถทำงานกับ รายละเอียดของแสง จนถึงอุณหภูมิแสง ได้อย่างยืดหยุ่นและครบถ้วน
คือการที่เราจะได้ใช้ profile ที่กล้องตั้งมาให้ เอาจริงๆ (ส่วนตัวผมไม่สนนะ ถ้าจะเอาแบบนั้นผมก็ตั้งให้ถ่ายออกมาเป็น jpg ไปเลย จะเอา raw ทำไมกัน) แม้ไม่เก่งแต่ถ้าจะใช้ raw ผมชอบ from scratch มากกว่า
ยกตัวอย่างแบบคล้ายๆ ไม่ได้เหมือนซะทีเดียวย้อนกลับไปหายุค film พวกเครื่องอัดภาพสมัยก่อน มันก็จะมี profile ของ ฟิลม์ ยี่ห้อตัวเองเป็น preset ไว้ (เอาจริงๆ ถ้าคนอัดตั้งใจทำงานก็จะต้องแก้เพิ่มแหละ เหมือน การจัดการ file raw) ถ้าเราอัดข้ามยี่ห้อ มันก็ไม่ได้ทำให้ฟิลม์ม้วนนั้นๆ มันไม่ใช่ฟิลม์หรือว่าเกือบจะเป็นฟิลม์ เพียงแต่มันก็จะไม่มี preset ของ film ยี่ห้ออื่น หรือว่าเกือบจะเป็น ฟิลม์ แต่ช่างอัดก็จะต้องทำงานมากขึ้น (แต่ raw สมัยนี้เปิดข้ามยี่ห้อ applicationไม่ได้) หรือว่าเราเอา film ไปอัดกับเครื่องอัดแบบ manual ก็ตาม
ที่จริงผมเข้าใจแหละว่า PNG/JPG เป็นไฟล์ "ปลายทาง" ในขณะที่ RAW เป็นไฟล์ต้นฉบับ
ไฟล์ RAW จะมีการเก็บข้อมูลภาพแบบที่ได้จาก Sensor ตรง ๆ และข้อมูล Metadata เกี่ยวกับการ Setting ค่าต่าง ๆ ของตัวกล้อง ทำให้เราสามารถปรับแต่ง Setting บางอย่างหลังจากที่มีการบันทึกได้ (อย่างพวก White Balance) (ไอ้ที่ไม่ได้ก็พวกค่ารูรับแสง ความเร็วชัทเตอร์ อะไรเทือก ๆ นี้)
ไฟล์ JPEG/PNG จริง ๆ ก็ปรับได้ แต่มันจะต่างกันตรงที่การปรับแต่งนั้นเป็นการแก้ไขข้อมูลภาพ มากกว่าจะเป็นการปรับ Setting ของภาพ จะเรียกว่า destructive modification ก็คงได้มั้ง ?
ดังนั้นการเอา PNG/JPG มาเทียบกับ RAW ในแง่หนึ่งมันก็คือการเอานกแก้วไปเทียบกับนกขุนทอง แต่ถ้าเรามองกันแค่ความสามารถในการหัดพูดมันก็พอจะเปรียบเทียบกันได้ ไฟล์ที่ว่ามาทั้งหมดก็เป็นไฟล์ภาพเหมือนกัน ถ้าจะดูกันที่คุณภาพสุดท้ายอย่างเดียวก็เทียบกันได้แบบนี้แหละครับ
ที่เอามาเทียบ PNG/JPG กับ RAW เพราะอยากให้เห็นว่าไฟล์ข้อมูลเหล่านี้มันแตกต่างกันอย่างไร และไฟล์แบบไหนได้อะไรออกมาบ้าง ปรกติเว็บถ่ายรูปมีฐานความรู้ตรงนี้อยู่แล้ว แต่เว็บไอที หรือคนที่ใช้งานกล้องมือถือส่วนใหญ่มักไม่ไดถ่ายทอดแนวความรู้เรื่อง RAW ไฟล์สักเท่าไหร่ กลัวต่อไปกล้องมือถือถ่ายรูปได้ RAW ไฟล์เยอะๆ แล้วจะได้ความรู้ผิดๆ ไป ;)
รีวิวขั้นเมพ
แฟนพันธุ์แท้สตีฟจ็อบส์ | MacThai.com
แค่จะมาบอกว่า น้องเหมียวน่าร้ากกก
ผมว่าตอนปรับ exposure เพื่อเปรียบเทียบกัน น่าจะทำในโปรแกรมเดียวกันนะครับ คือปรับใน camera raw ด้วยกันทั้ง 2 รูป หรือปรับใน photoshop ด้วยกันทั้ง 2 รูป น่าจะยุติธรรมกว่านะครับ
รักนะคะคนดีของฉัน
ถ้าแค่ปรับ exposure เพื่อดูการเก็บข้อมูลทั้งสองไฟล์ว่ามีคามแตกต่างกันอย่างไร จะมีค่าเท่ากันครับ
ผมอ่านจบก็เลยไปลองดูครับ ผมว่าปรับ exposure ใน photoshop กับใน cameraraw มันได้ผลไม่เท่ากันนะครับลองดูไฟล์ที่ผมทดสอบนะครับ ไฟล์ Original แปลงมาจากไฟล์ DNG ของโนเกียด้วย cameraraw ครับ
https://www.dropbox.com/sc/r14yu64eda9lv6c/54ngCCcah5
รักนะคะคนดีของฉัน
โอเค เดี่ยวปรับชุดทดสอบให้คืนนี้ครับ
stop มันเป็นค่าที่มีความคลาดเคลื่อนกันมาตั้งแต่ สมัยฟิลม์แล้วครับ เลนแต่ละยี่ห้อ จริงๆต่อให้ยี่ห้อเดียวกันมันก็ไม่เป๊ะครับ
จริงๆ พยายามสื่อเรื่องการเก็บข้อมูลว่าถ้าใช้ไฟล์ RAW จะเก็บข้อมูลนำมาใช้งานได้มากกว่าเฉยๆ ซึ่งแน่นอนตรงนั้นพอเข้าใจได้ครับ
ไม่เคยรู้มาก่อนเลย ได้ความรู้ใหม่เพียบ ขอบคุณทุกคน ^^
อันนี้ในข่าวก่อน มันเป็นไฟล์ DNG ของ Lumia 1020 ไม่ใช่หรอครับ
ขอบคุณสำหรับบทความครับ
ผมว่าจะทักอยู่ว่าทำไม Lumia 1520 มันความละเอียดขนาดนั้น
ผมกำลังงงว่ามันมีไฟล์นึงระบุ 1520 เดี่ยวขอเช็คอีกทีครับ
ถ้ามันปรับได้ขนาดนี้ ทำไมเราไม่ทำภาพ HDR จากไฟล์ RAW ภาพเดียวด้วยโทรศัพท์เลยล่ะครับ? หรือว่าแรมไม่พอ?
การทำ HDR มีแบบ 3 stop หรือ 5 stop ซึ่งแค่แบบ 3 stop แล้วมาทำ tone mapping ผมก็ว่าแรมเครื่องและ CPU ก็น่าจะช้าอืดแล้วครับ
ไม่นิยมเพราะ noise ในภาพมันจะเป็นจุดเดิมครับ เวลาดึงให้ over(+) มันจะเอา noise ให้มากขึ้นแต่พอเป็นภาพเดิม noise มันจะซ้ำกับภาพต้นฉบับ(0) ภาพที่ได้จะมี noise มากกว่าถ่าย 3 ครั้งแล้วเอามารวมที่จะเป็นการ random noise ไปในตัว
ใช่ครับ อยากได้คุณภาพที่ดีต้องทำ Exposure Bracketing แล้วเอามาทำ HDR ซึ่งใน Lumia มีความสามารถนี้ครับ แต่คงสะหัสมาก เพราะช้า และถ้าจะให้ดีต้องมีขาตั้งกล้อง T_T
เรื่องขาตั้งกล้อง เอาภาพมาปรับให้ตรงกัน ตัดขอบ แล้วก็ปรับภาพอีกทีนี่ก็พอจะใช้มือจับได้แล้วนะครับ (กลัวช้าไม่พอ)
บันทึกการแก้ไขที่ 1, 31/10/2556 - 21:10 น.
- แก้ไขชื่อรุ่นเป็น Nokia Lumia 1020 ให้ตรงตาม metadata
- แก้ไขไฟล์ภาพ JPG ให้ปรับ exposure ด้วย Camera RAW แทนใช้ Photoshop CC โดยตรง เพื่อควบคุมตัวแปรทดสอบ
มุมมอง Developer อะไรที่เบา&คุณภาพดีพอรับได้ เอาอันนั้น จบ!!
เอาละ ที่นี้ รู้ว่า nokia มีของดี ที่ ถ่ายภาพออกมาเป็นไฟล์ raw สามารถเอามาปรับแต่งใช้งานในภายหลังได้สะดวก
ทีนี้ ขึ้นอยู่กับควม คุณภาพของไฟล์ จะพอสู้กล้องจริงๆ อย่าง mirrorless ได้หรือเปล่า
เหมือนจะ จะท้ารบข้ามไปถึงกล้องถ่ายภาพซะแล้วนะ nokia
ปล. ผมไม่ทราบว่า s4 zoom ถ่ายภาพเป็น raw ได้หรือเปล่าถ้าไฟล์ raw ในมือถือ มันบูมขึ้นมา ผมว่า โซนี่ น่าจะต้องรีบขยับ แล้วน่าจะมีภาษีดีที่สุดนะ
จริงๆการเซฟภาพเป็น DNG ควรจะเป็น feature ที่ง่ายสุดๆไปเลยนะครับ
เซฟข้อมูลดิบๆจาก sensor ไม่ต้องมาเสียเวลาพัฒนา algorithms แต่งภาพอะไรสักอย่าง
แต่ทำไมตอนนี้ถึงมีแค่ Xiaomi MI3 กับ Nokia เท่านั้นนะที่ทำออกมา
ที่มันง่ายไม่ได้เพราะ มันเปลืองพื้นที่ครับ เค้าเลย พยามให้ผลออกมาเป้นไฟล์สำเร็จรูปอย่าง jpg มากกว่า
แต่ การทำเป็น raw ออกมา เพื่อดึงดูด ลูกค้า กลุ่มที่เน้นการถ่ายรูปที่จริงจังมากกว่า
ไม่ได้ครับไม่ว่าจะเป็น กล้องโทรศัพท์ หรือว่ากล้อง compact ที่ใช้ระบบ android ยังไม่มีตัวไหนถ่าย raw ได้ครับ
ขอบคุณคับ
เดาไม่ออกว่า แนวโน้มต่อไป ยี่ห้ออื่นๆ จะมาเล่นกับ raw ด้วยหรือเปล่า
raw เนี่ยจะเพิ่มความสามารถให้กับ instagram หรือว่า camera 360 อย่างมหาศาลเลย
เคยพยายามคุยกับเพื่อนว่า ถ้าเราลอง แงะกัน แล้วดึง raw ออกจากกล้องมือถือกัน (เพราะว่าตรงๆ เอาออกมาไม่ได้) ทุกคนหัวเราะเยาะใส่
เป็นไงหละ หมดโอกาศทำเงินละ
คุณภาพคงสู้ Mirrorless ไม่ได้ ขนาดเซนเซอร์ที่ต่างกันสร้างความแตกต่างของคุณภาพภาพอย่างใหญ่หลวงครับ
แต่ Compact ถ้าเป็นรุ่นเล็กๆนี่พอสูสีได้ครับ
นอกเรื่อง Nokia แต่เรื่องถ่ายภาพ
Nexus 4 อยากถ่ายได้ File RAW มั่ง มี app ไหนแนะนำมั้ยครับอยากถ่ายแล้วปรับ Mode Manual ทั้งหมดใช้ App ไหน work ครับ
ไม่ได้ครับ android ไม่ยอม ถ้าอยากได้ raw ต้องแงะกลับไป ก่อนที่จะโดนแปลงเป็น jpg ถ้าเป็น jpg แล้วมันไม่สามารถแปลงกลับเป็น raw ได้หรอกครับ