Qualcomm เปิดตัวเทคโนโลยีใหม่ MU-MIMO (multi-user, multiple input, and multiple output) ที่เป็น Wi-Fi มาตรฐาน 802.11ac และเป็นระบบที่พัฒนามากว่า 7 ปี โดยมีการปรับปรุงส่วนการรับ-ส่งข้อมูลไปยังกลุ่มผู้ใช้พร้อมกันหลายคนทำให้มีความเร็วมากเร็วขึ้น 3 เท่า ซึ่ง Qualcomm ได้นิยามเทคโนโลยีใหม่นี้ว่า "เหมือนกับเลนของถนนที่มีเท่าเดิม แทนที่จะขับรถกันไปคนละคัน ก็รวมกลุ่มกันไปคันเดียว เพื่อความเร็วที่มากขึ้นและลดความแออัดของช่องถนนด้วยนั่นเอง"
ทางด้าน Todd Antes รองประธานฝ่ายการจัดการผลิตภัณฑ์ของ Qualcomm ก็ได้บอกอีกว่า เมื่อเครือข่ายและผู้ใช้นำเอาเทคโนโลยี MU-MIMO ไปใช้งาน จะสามารถเพิ่มความเร็วได้ถึง 2-3 เท่า โดยไม่ต้องเพิ่มอุปกรณ์ใดๆ
Qualcomm จะขายชิปที่รองรับ MU-MIMO ให้กับผู้ผลิตเราท์เตอร์ไร้สาย, สมาร์ทโฟน, แท็บเล็ต หรือเครื่องใช้ไฟฟ้าที่ใช้ Wi-Fi โดยจะมีการสาธิตอย่างเป็นทางการในอีกไม่กี่เดือนข้างหน้าก่อนจะส่งมอบชิปให้ลูกค้าในไตรมาสแรกของปี 2015
ที่มา : Neowin
Comments
ฟังดูแปลกๆนะครับ "เมื่อเครือข่ายและผู้ใช้ Mu-Mimo จะสามารถเพิ่มความเร็วได้ถึง 2-3 เท่า โดยไม่ต้องเพิ่มอุปกรณ์ใดๆ" แปลว่า จำนวนอุปกรณ์เท่าเดิม แต่ให้เปลี้ยนมาใช้รุ่นที่รองรับชิบดังกล่าว?แต่เป็นแนวคิดที่น่าสนใจดีครับ รอดูการใช้งานจริง ถ้าต่างคนต่างใช้คนละประเภท.... (น่าจะเหมาะกับร้านเกมเวลาตีกิลด์นะเนี่ย?)
ผมเข้าใจว่า น่าจะเปลี่ยนที่ฝั่ง AccessPoint นะครับ เป็น WiFi มาตรฐาน 802.11ac
I am Cortana.Nice to meet you.
เหมือนกันช่องของถนน ?
ประมาณว่า เลนถนนครับ
I am Cortana.Nice to meet you.
ยังไม่แก้คำว่า WiFi ที่หัวข่าวครับ
แก้แล้วครับ
I am Cortana.Nice to meet you.
ตรง "เมื่อเครือข่ายและผู้ใช้ ใช้" ผมแยกเป็น ผู้ใช้ (User) และ ใช้ (Using) ครับ
I am Cortana.Nice to meet you.
ช่างไฟสมัครเล่น (- -")
เรียบร้อยครับ
I am Cortana.Nice to meet you.
มันก็เหมือนกับเมื่อก่อน เราใช้ Hub ในการกระจายสัญญาณในวง LAN แต่ด้วยคุณสมบัติของมันไม่สามารถทำงานได้หลาย พอร์ตในเวลาเดียวกันทำให้มันช้าดังนั้นจึงมีการพัฒนา สวิทช์ขึ้นมาเพื่อแก้ไขปัญหาการทำงานนี้ โดยแต่ละพอร์ตสามารถทำงานได้อย่างอริสระ
ไม่นึกว่า Wifi เองก็มีปัญหาเหมือนกับ Hub ที่ใช้ระบบสาย เหมือนกัน แต่เมื่อนำระบบการรับส่งข้อมูลแบบ MU-MIMO (Multi-User(ใช้ข้อมูลร่วมกันหลายคน), Multiple-Input(ใช้รับข้อมูลร่วมกันหลายคน), and Multiple-Output((และ)ใช้ส่งข้อมูลร่วมกันหลายคน) กับ Wifi บนมาตรฐาน 802.11ac ใหม่ จึงเปลี่ยนมาใช้วิธีการเป็นต้นว่า เช่น ไปทางเดียวกัน นั่งรถคันเดียวกัน ทำให้ช่องจราจร(บิตไวด์)มีขนาดเท่าเดิม แต่เพิ่มขนาดการบรรทุกให้มากขึ้น ไปทางเดียวกันขึ้นรถคันเดียวกัน ส่วนใครจะลงป้ายไหน(ช่องไหน)เมื่อผ่านป้ายนั้นก็(ลงได้เลย)ลดปัญหาค่าหน่วงเวลาของแต่ละช่องสัญญาณที่วิ่งไปทางเดียวกันได้ ซึ่งจะช่วยลดการติดขัดของช่องจราจร(ช่องสัญญาณ)
วิธีการก็อาจจะเป็นแบบว่า ถ้าในเครื่อข่ายเดียวกัน ดูหนังเรื่องใดเรื่องหนึ่งเหมือนกัน หรือมีข้อมูลการรับส่งเหมือนกันหรือในทิศทางเดียวกัน ก็ใช้วิธีการ บรรทุก (Bus) รับส่งไปพร้อมๆ กัน โดยแต่ข้อมูลจะถูกเข้ารหัสกำหนดไว้ เมื่อวิ่งผ่านช่องไหนที่เป็นจุดรับส่งของตน ก็จะถูกถีบออกจากรถไปยังจุดหมายปลายทางนั้น ๆ ตามป้ายสถานี(ช่องสัญญาณนั้นๆ) โดยอัตโนมัติ ตามที่ระบบ MU-MIMO ได้ออกแบบเอาไว้
วิธีการนี้เหมือนระบบบัส แบบ EIDE เปลี่ยนมาเป็นระบบบัสแบบ SATA (1,2,3,) แล้วไปเพิ่มย่านความถี่เอาอีกทีหนึ่ง
--อันนี้ผมเดาเอาอาจจะเป็นหรือไม่เป็นตามนี้ก็ได้ ถือว่าเป็นอีกความเห็นหนึ่ง
Wi-Fi มันต้องทำงานแบบ hub เพราะทุกเครื่องเหมือนต่อกันด้วยสายเส้นเดียวนั่นแหละครับ
จริงๆ ผมยังมองไม่ออกเลยว่ามันทำงานยังไง เล่นกับคลื่นหรือยังไง แต่ถ้าข้อมูลเดียวกันไปทางเดียวกันนี่ยากนะครับ นอกจากดูหนังเรื่องเดียวกันแล้วต้องเริ่มดูพร้อมกัน หยุดพร้อมกัน เวลาเดินพร้อมกันด้วย โอกาสที่แต่ละเครื่องจะเรียกข้อมูลเดียวกันในเวลาเดียวกันนี่ต่ำมากๆ แล้ว header ก็ต้องเป็นแบบ multicast หรือ broadcast ไปแทน
ในกรณีนี้ผมเข้าใจว่า
สมมติ PC1 ต้องการข้อมูล 0, PC2 ต้องการข้อมูล 1, PC3 ต้องการข้อมุล 2, PC4 ต้องการข้อมูล 3, สมมติว่าในเวลาเดียวกัน
ไม่มีระบบ MU-MIMOเร้าเตอร์ส่งสัญญาน WiFi ให้ PC1,2,3,4 ด้วยข้อมูล 0123 ต้องใช้เวลาในการส่งข้อมูลนี้เป็นเวลาสี่ครั้ง
มีระบบ MU-MIMOเร้าเตอร์ส่งสัญญาณ WiFi ให้ PC1,2,3,4 ด้วยข้อมูล 0123 โดยใช้เวลาในการส่งเพียงครั้งเดียว แต่ข้อมูล 0123 จะถูกเข้ารหัสไว้ว่าเป็นของ PC ไหนก่อนแล้วจึงส่งให้ตามที่ต้องการ
อืม ถ้าแบบนี้เร็วขึ้นแน่นอนครับ แต่นั้นแปลว่า client ก็ต้องมี chip ที่รองรับด้วยซิครับ เพราะรูปแบบการเข้ารหัสเปลี่ยนไปจาก wifii ปกติ
" เมื่อเครือข่ายและผู้ใช้นำเอาเทคโนโลยี MU-MIMO ไปใช้งาน จะสามารถเพิ่มความเร็วได้ถึง 2-3 เท่า โดยไม่ต้องเพิ่มอุปกรณ์ใดๆ"ตามนั้นเลยครับ user ก็ต้องเพิ่มตัวอุปกรณ์เอาไว้ ถอดแพ๊คเกจด้วย
กำแล้ว ac ที่ผมใช้อยู่ละตกรุ่งเลยแบบนี้