สัปดาห์นี้ กูเกิลจัดงานสัมมนา Ara's Developers Conference ทำให้มีข้อมูลเพิ่มเติมของ Project Ara มือถือประกอบร่างได้เพิ่มออกมาครับ
อย่างแรกเลยคือกำหนดวางขายของ Project Ara (ถ้าไม่เลื่อน) คือเดือนมกราคม 2015 โดย ตัวโครงพร้อมหน้าจอจะตั้งราคาที่ 50 ดอลลาร์ ตัวชิ้นส่วนโครงนี้จะถูกเรียกว่า "gray phone"
ระหว่างนี้ ทีมงาน Ara จะต้องทำงานร่วมกับพาร์ทเนอร์ทั้งภาคการศึกษาและวงการ 3D printer เพื่อให้การผลิตโทรศัพท์ Ara ทำได้ง่ายมากขึ้น อย่างไรก็ตาม ปัญหาเฉพาะหน้าคือระบบปฏิบัติการ Android ยังไม่รองรับไดรเวอร์ชิปควบคุมส่วนประกอบของ Ara ซึ่งตามแผนแล้วไดรเวอร์จะเสร็จในเดือนธันวาคมนี้
ทีมงาน Ara ตอบคำถามเรื่องความทนทานของตัวเครื่องว่าโครงจะอยู่ได้นาน 5-6 ปี ส่วนการสื่อสารระหว่างโมดูลจะใช้มาตรฐาน UniPro
ที่มา - CNET
Comments
นึกว่าโปรเจคนี้จะหายไปพร้อมกับ Moto เสียอีก
ผมว่าเหลวนะ ดู samsung หรือเจ้าอื่นว่าเอาด้วยมั้ย ผมว่าไม่มีใครเอา เพราะขายเครื่องใหม่กำไรเยอะกว่า
ขายของ 1 ชิ้นกำไร 100 บาทกับขายของ 10 ชิ้นกำไรชิ้นละ 10 บาท
กำไรเท่ากันนะ
samsung ใหญ่แค่ใหน ?https://youtu.be/6Afpey7Eldo
อาจจะไม่เท่าก้ได้ครับ เพราะ พอเปลี่ยนแค่บางส่วน เงินที่ใช้ในการเปลี่ยนน้อยลงอาจทำให้คนใช้ ตัดสินใจเปลี่ยนง่ายขึ้นและเร็วขึ้น
ต้นทุนการจัดการไม่เท่ากันนะครับ
ใช่ครับ ต้นทุนดำเนินการบางอย่างมันเป็นแบบ x ต่อชิ้น
samsung htc sony อาจไม่เอาเพราะขายเครื่องได้อยู่แล้ว
แต่เจ้าที่ยังเปิดตลาดไม่ได้อาจจะเอานะครับ
แล้วก็แต่ละชิ้นส่วนอาจไม่ได้มาจากบริษัทโทรศัพท์จริง ๆ
แต่จะกลายเป็นว่า
- module cpu จาก snapdragon
- module camera จาก canon
เหมือนที่ pc มี intel amd nvidia ที่ขายชิ้นส่วน
แล้วก็มี lenovo dell hp ที่ขายเป็นชุด
+1
เจ้าใหญ่เค้าก็ผลิตของเค้าอยู่แล้ว
แต่ผู้ผลิตเจ้าเล็กๆล่ะ จากแต่ก่อน สมมติว่าผลิตโมดูลกล้องมาตัวนึง ต้องไปดีลกับเจ้าใหญ่ให้เค้าใส่ไปในมือถืออีก
แต่ถ้ามี ARA โผล่มาก็ขายตรงได้เลย
เห็นด้วยครับต่อไปอาจจะได้เห็น module camera ของ canon และ nikon ก็เป็นไปได้
Nikon รุ่นดี ๆ ก็ใช้ sensor ของโซนี่หมดครับ เหลือ canon ไม่รู้จะเอาด้วยรึเปล่า
A smooth sea never made a skillful sailor.
จริงๆ Nikon ผลิต Sensor ได้อยู่นะ แค่สู้ Sensor ที่ซื้อมาจาก Toshiba กับ Sony ไม่ได้แล้ว
Nikon เคยใช้ Sensor ผลิตเองบน D3, D3s, D700 (ไม่มีขายแล้ว)รุ่นล่างมากๆอย่าง D3100, D3200 ที่ยังค้างอยู่ในตลาดก็ผลิตเอง
ส่วนรุ่นสูงขึ้นกว่านั้น หรือแม้แต่รุ่นล่าง generation ใหม่อย่าง D3300 ซื้อเขามาใช้หมดละครับ เพราะ D3200 โดนบ่นเยอะว่า Sensor คุณภาพแย่
ส่วนตัวผม ถ้าเดาว่าผู้ผลิต sensor ได้เองจะผลิตมาก่อน และราคาถูกกว่า
อาจจะได้เห็นโมดูลกล้องของSony, Toshiba, Canon, Aptina, Panasonic, Samsung, Nikon มาก่อน
(ส่วน Olympus, Leica, Pentax หรือแม้แต่ Fujifilm ที่ใช้ sensor แบบพิเศษก็ไม่ผลิต Sensor เองนะ)
อืม มีเหตุผลน่าคิด แบบว่ามือถือตืด leap motion หรือ โมดูลโปร้เจ๊คเตอร์ อืม เดี๋ยวเปิดตัวสักพักคงได้เห็นการตอบรับจากตลาด
ซัมซุง แอลจี เอชทีซี ไม่จำเป็นต้องเอาด้วยนี่ครับ
ผมก็ไม่เห็นว่าโซนี่ เดลล์ แอปเปิลจะลงมาเอาด้วยกับตลาดคอมฯ ประกอบ
คนที่ซื้อน่าจะสนแค่ความคุ้มค่ากับสเปคและใช้ไปยาว ๆ นะครับ ต้องรู้พอสมควรด้วย เพราะตามใจผู้ใช้แบบนี้มักจะเกิดปัญหาตามมาหลาย ๆ อย่างล่ะครับ / ท่าทางถ้ามันสำเร็จผมคงมีงานมากขึ้นล่ะครับ :3
อาจจะได้เห็นผู้ใช้ upgrade เป็นว่าเล่น เพิ่มนิดเปลี่ยนหน่อย ทีละนิดๆ ไม่กี่ร้อย แต่เปลี่ยนเรื่อยๆ รวมแล้วก็หลายหมื่นต่อปี
นึกถึงมือถือที่เอายางรัดไว้หลายๆ เส้น
จะดีมาก ถ้ามีแบบต่อส่วนภายนอกให้ด้วย เช่น คีย์บอร์ดข้าง
Get ready to work from now on.
น่าสนุกนะ แต่อยากรู้ว่าจะทำสมดุลระหว่าง พื้นที่จำกัด, รองรับ module ได้สารพัด, คล่องตัวสูง ได้อย่างไร
จะลองกลับไปใช้แอนดรอยด์อีกก็งานนี้ล่ะ
จะรอดรึ แต่ก่อนมี notebook แบบสั่งประกอบซึ่งที่สุดก็แพ้แบบประกอบสำเร็จจากโรงงาน
เร็วกว่าที่คิดมาก ที่วางขายนี่สำหรับ devloper แบบ google glass ใช่ไหม
ดูรูปชิ้นต้นแบบที่ Engadget ถ่ายมา คิดว่าถ้าได้รับการออกแบบเพิ่มเติมในรายละเอียดดีกว่านี้ ก็ดูน่าใช้อยู่นะ
http://www.engadget.com/gallery/project-ara-prototype/#!slide=2538301
ช่างไฟสมัครเล่น (- -")
มันจะช่วยลดปริมาณขยะอิเล็กทรอนิกส์ลงได้บ้างไหมครับ
น่าสนุกมากนะครับน่าสนใจ แต่ถ้าคนธรรมดาทั่วไปก็คงจะกลัวประกอบแล้วใช้ไม่ได้ กับไม่รู้จะเลือกยังไงถึงจะดี รวมถึงความสวยงามด้วย ที่อาจเป็นปัญหาได้ แต่ถ้าเป็นการทำในระบบประกอบสำเร็จก็อาจจะดีก็ได้เหมือนพวกคอมประกอบ ถ้าราคามันถูกกว่าแบบเซ็ตอะนะ
ก่อนหน้านี้มีข่าวเรื่องว่า Google สนใจเปิดหน้าร้าน Android Silver ซึ่งก็ไม่แน่ว่าอาจจะมีบริการรับประกอบเครื่อง Ara ด้วยนะครับ
ช่างไฟสมัครเล่น (- -")
งบ แปดพัน ช่วยจัดสเป็คให้หน่อยครับ //ฟิน