เมื่อ 3 วันก่อน ศาลยุติธรรมของ EU ได้ตัดสินให้ Google ทำการลบผลการค้นหาตามคำร้องขอจากผู้ใช้ หากผลการค้นหานั้นเป็นลิงก์ที่นำไปสู่แหล่งข้อมูลซึ่งละเมิดสิทธิ์ส่วนบุคคลของผู้ใดก็ตาม เพราะประชาชน "มีสิทธิ์ที่จะถูกลืม" (right to be forgotten) โดยคำตัดสินนี้มีผลครอบคลุมการทำงานของผู้ให้บริการค้นหาข้อมูลรายอื่นนอกเหนือจาก Google ด้วยเช่นกัน
คำสั่งดังกล่าวระบุให้ Google ลบลิงก์จากหน้าผลการค้นหา (เมื่อมีการค้นหาด้วยคำสำคัญเป็นชื่อบุคคลใดก็ตาม) ตามคำร้องขอจากผู้ใช้ โดยลิงก์ที่ว่าอาจเป็นลิงก์ที่นำไปสู่หน้าข้อมูลส่วนบุคคลซึ่งมีเรื่องราวในอดีตปรากฎอยู่ ทั้งนี้คำสั่งได้กำหนดให้ Google เพียงแต่ลบลิงก์ไปยังหน้าข้อมูลนั้นออกเท่านั้น กล่าวคือเว็บที่มีเนื้อหาส่วนบุคคลดังกล่าวจะยังคงอยู่บนอินเทอร์เน็ต เพียงแต่ไม่มีลิงก์ไปปรากฏในหน้าแสดงผลการค้นหาของ Google
และไม่นานหลังมีคำตัดสินออกมา ก็มีคำร้องขออย่างน้อยจากบุคคล 3 ราย ส่งไปยัง Google ให้ลบลิงก์ที่พาไปยังหน้าเว็บอันมีเนื้อหาเกี่ยวกับข้อมูลส่วนตัวของพวกเขาออกไป โดยรายแรกเป็นแพทย์ที่ต้องการให้ Google ลบลิงก์ที่นำไปสู่หน้าเว็บที่ผู้ป่วยรายหนึ่งได้ให้ความเห็นวิจารณ์ในเชิงลบเกี่ยวกับการทำงานของเขา ส่วนรายที่ 2 เป็นอดีตนักการเมืองที่ต้องการให้ Google ลบลิงก์ที่พาไปสู่เว็บซึ่งมีข้อมูลเกี่ยวกับการทำงานของเขาในสมัยที่ยังมีตำแหน่งทางการเมือง ส่วนรายที่ 3 เป็นอดีตผู้ต้องหาฐานมีสื่อลามกอนาจารเกี่ยวกับเด็กที่ต้องการให้ Google ลบลิงก์ที่นำไปสู่หน้าเว็บซึ่งมีเรื่องราวในอดีตอันนี้ของเขาออกเสีย
แน่นอนว่า Google ไม่เห็นด้วยกับคำตัดสินของ EU โดยยกตัวอย่างว่าการลบผลการค้นหาตามคำร้องของผู้ใช้นั้น แม้นจะดูเหมือนการพิทักษ์ "สิทธิ์ที่จะถูกลืม" ของผู้ร้องขอ แต่นั่นก็ดูจะเป็นการละเมิด "สิทธิ์ที่จะรับรู้" ของผู้อื่น โดยยกตัวอย่างเช่น ในวันข้างหน้าเราคงไม่สามารถค้นหาข้อมูลประวัติย้อนหลังเกี่ยวกับผู้ที่มาสมัครงานกับเราได้จากอินเทอร์เน็ตอีกต่อไป นอกจากนั้น Google ยังมองว่านี่คือการทำลาย "ความเป็นกลางทางอินเทอร์เน็ต" อีกด้วย เพราะ Google จะถูกขอให้เลือกลบลิงก์ไปยังบางเว็บตามคำร้องขอเท่านั้น (ประเด็นการถอดลิงก์สู่เว็บใดเว็บหนึ่งออกจากหน้าแสดงผลการค้นหาข้อมูลของ Google เคยถูกโจมตีในเรื่องการกีดกันการเข้าถึงสินค้าและบริการมาแล้ว)
อย่างไรก็ตาม ในเมื่อ EU มีคำสั่งออกมาแล้ว Google ก็รับปากว่าจะดำเนินการตามแนวทางดังกล่าว โดยขอเวลาในการดำเนินการ ซึ่งอาจต้องกินเวลาหลายสัปดาห์ โดย Google ให้เหตุผลว่าการปฏิบัติตามคำสั่งนี้เป็นเรื่องซับซ้อน เพราะต้องมีการวิเคราะห์ข้อมูลของลิงก์ปลายทางว่าเกี่ยวพันกับข้อมูลส่วนบุคคลของผู้ร้องขอให้ลบลิงก์หรือไม่ ซึ่งแน่นอนว่าการทำงานกับเว็บที่เป็นภาษาอื่นที่ไม่ใช่ภาษาอังกฤษก็ย่อมต้องใช้เวลาในการพิจารณาและพัฒนาอัลกอริทึมเพื่อใช้งานด้วย
ความเห็นคัดค้านคำตัดสินของ EU นั้นมีมาจากหลายฝ่าย ตัวอย่างหนึ่งในนั้นคือ Jimmy Wales ผู้ก่อตั้ง Wikipedia โดยเขาให้ความเห็นเกี่ยวกับเรื่องนี้ว่านี่คือ "หนึ่งในระเบียบที่ทำการกวาดล้างปิดกั้นข้อมูลทางอินเทอร์เน็ตอย่างหนักที่สุดเท่าที่เคยเห็นมา"
Comments
แบบนี้เว็บข่าวไม่เจ๊งกันหมดหรอครับ
สมมุติวันนี้คุณสุเทพ สนธิ อภิสิทธิ์ ทักษิณ อยากถูกลืมบ้างจะทำยังไง
Second paragraph
"ทั้งนี้คำสั่งได้กำหนดให้ Google เพียงแต่ลบลิงก์ไปยังหน้าข้อมูลนั้นออกเท่านั้น กล่าวคือเว็บที่มีเนื้อหาส่วนบุคคลดังกล่าวจะยังคงอยู่บนอินเทอร์เน็ต เพียงแต่ไม่มีลิงก์ไปปรากฏในหน้าแสดงผลการค้นหาของ Google"
ก็ถ้ามันหายไปจากผลการค้นหาก็แทบไม่ต่างอะไรกับงมเข็มในมหาเครือข่ายเลยครับ ใครมันจะไปรู้ได้ว่าสิ่งที่เราอยากเห็น อยากอ่านและเราไม่รู้ว่าต้องหามันจากที่ไหน เราควรต้องพิมพ์ลิ้งค์ว่าอะไรถึงจะเจอ
ควรเอา NSA ไปปะทะ EU
สามคนนี่ กูเกิลจัดหามารึเปล่าครับ - -" เอามาเป็นตัวอย่างได้ดีมาก
ถ้าคดีจบโดยศาลยกเลิกคำสั่งนี้ ต้องดูว่าผลการค้นหาสามคนนี้หายไปด้วยรึเปล่า :p
ถ้าเป็นเรื่องดีๆ ไม่มีใครอยากลบหรอกครับ
แต่เรื่องไม่ดี มันก็อีกเรื่อง
samsung ใหญ่แค่ใหน ?https://youtu.be/6Afpey7Eldo
มันอาจจะดีสำหรับฝั่งนึง แล้วแย่สำหรับอีกฝั่งครับ เช่น ประวัติศาสตร์ระหว่างประเทศ
ถ้าขี้ใจน้อยกันทั้งคู่มีหวังลบเหี้ยนไม่เหลือหลอ
อยากรู้ว่าเกี่ยวกับเว็บที่พูดถึงบุคคลด้วยหรือเปล่า สมมติว่ามีคนอยากจะรู้ว่าคนๆ หนึ่งถูกคนในโลกออนไลน์ดราม่าขนาดไหนเลยไปค้นใน google แต่ google จะขึ้นข้อความบอกว่า คนๆ นี้มีสิทธิ์จะถูกลืมหรือเปล่า ?
เฮียแกยกตัวอย่างได้เข้าทางจริงๆ น่าค้านคำตัดสินมากๆ OTL
อืมมม ด้วยเหตุผลที่ google ให้ มันก็น่าคิดนะ
"อย่างไรก็ตาม ในเมื่อ EU มีคำสั่งออกมาแล้ว Google ก็รับปากว่าจะดำเนินการตามแนวทางดังกล่าว"
แสดงว่าศาลตัดสินให้ google แพ้สินะ
อย่าลืมฉัน
อย่าลิ้งค์ฉัน
อย่าหาฉัน
อย่ามาเสียว (SEO) กับฉัน
ผมเห็นด้วยนะครับ ที่ควรจะลบออก ถ้ามีการร้องขอ อย่างผมเนี่ยประกาศขายบ้านไป ขายไป 3 ปีกว่า ทุกวันนี้ค้นหายังเจออยู่เลย ทั้งๆที่เราลบออกไปจากระบบเว็บไซด์ฝากขายบ้านแล้วนะ แถมยังมีคนโทรมาอีก -*- ลบๆไปบ้างก็ดีนะอย่างน้อยถ้ามันนานไปก็ไม่น่าจะอยู่
Texion Business Solutions
โอ นี่ก็ถือเป็นกรณีที่น่าสนใจนะครับ
ช่างไฟสมัครเล่น (- -")
ถ้าลบจากเว็บไปแล้วจริงๆ สักพักในกูเกิลก็จะลบตามด้วยครับ
ถ้ายังไม่ลบตามสามารถแจ้งลบได้ ในนี้ ครับ
แต่เคสคุณผมว่าเจ้าของเว็บแอบปล่อย google เข้ามาอ่านได้อันที่ลบแล้วเพราะจะปั่น seo มากกว่า
ถ้า Google เป็นองค์กรไม่แสวงหาผลกำไร ผมจะเชียร์เหตุผลของแกเต็มที่เลยครับ (อย่างน้อยๆขอประมาณ wikipedia)
แต่ด้วยการที่ Google เป็นองค์กรแสวงหาผลกำไร ผมเห็นด้วยกับเหตุผลของผู้ร้องครับ
งั้นหาทาง Bing แทนก็ได้
ช่างไฟสมัครเล่น (- -")
แต่เรื่องกรณีแพทย์มันก็น่าคิดนะ ถ้าเกิดผมจะไปรักษากับเค้าแต่ไม่มีความเห็นในแง่ลบมาบ้างมีแต่แง่ดีหมด แบบนี้คนอื่นก็ถูกปิดกั้นความจริงสิ ถ้าหากรักษาดีจริงๆความเห็นในแง่ลบกับแง่ดีมันต้องปะปนกันไปให้วิเคราะห์ได้ด้วย ไม่ใช่ว่าจะมีแต่ร้ายอย่างเดียว
ผมเห็นด้วยนะ เพราะว่าทุกๆคนน่าจะมีสิทธิ์ปกป้องข้อมูลตัวเอง และเค้าก็ไม่ได้ตัดสินให้ลบข้อูลนี่ครับ เค้าให้ search ไม่เจอเฉยๆ แต่ถ้าเข้าตรงไปยังเวบนั้นๆ ข้อมูลนั้นๆ ก็จะยังมีอยู่นะครับ ไม่น่าจะถือว่าเป็นการปิดกั้น "สิทธิ์ที่จะรับรู้" เพราะยังรับรู้จากแหล่งข้อมูลได้อยู่ดี
ผมว่ากรณีตัวอย่างที่ยกมานั้น google ก็ไม่มีสิทธิ์ไปตัดสินว่าควรจะถูกลืมหรือให้คงอยุ่ต่อไป หรือตัดสินว่าเป็นสิ่งต้องเปิดเผยเพื่อผลประโยชน์คนอื่นหรือไม่ควรเปิดเผย เพราะ google ก็ไม่รู้ความจริง รวมถึง EU ด้วยเช่นกัน แต่ EU เค้าตัดสินจากที่ว่าถ้าเจ้าตัวไม่อยากให้ search เจอข้อมูลที่เป็นส่วนตัวก็ควรจะให้ทำได้ ไม่ได้ขึ้นอยู่กับว่าดีหรือไม่ดี เพราะตัวข้อมูลหรือเนื้อหาจริงๆไม่ได้ถูกลบไปไหน
ไม่งั้นถ้าเกิดเหตุการณ์ที่คุณไม่ได้ผิดอะไรแต่โดยถูกกระทำจนเป็นข่าวและคุณรู้สึกไม่ดีกับข่าวนั้น คุณก็จะไปข่าวตลอดไป และมันจะอยู่กับคุณไปตลอดดด
google ไม่ได้ตัดสินอะไรนี่ครับ แต่คนอ่านข้อมูลต่างหากจะเป็นคนตัดสิน การตัดลิงค์ในแง่ลบของทั้งสามตัวอย่างไปจะทำให้คนค้นหาข้อมูลเจอแต่เรื่องดีๆของเขา มันก็ไม่ต่างอะไรกับโฆษณาชวนเชื่อเลยล่ะซิ
มันคือการปิดกัน "สิทธิที่จะรับรู้" อย่างชัดเจนครับ เพราะ google เป็นช่องทางใหญ่ช่องทางหนึ่งในการรับรู้ข่าวสารในโลกปัจจุบัน การปิดกั้นไม่ให้สามารถเข้าถึงข้อมูลได้จาก google ทำให้มีคนเข้าถึงข้อมูลดังกล่าวได้น้อยลงแน่ๆต่อให้เนื้อหาเวปจริงๆมันจะยังอยู่ก็เถอะ มันก็ไม่ต่างกับเวลามีคดีความอะไรสำคัญๆแล้วทีวีไม่เสนอข่าวเลย "คดี" ที่ว่ามันก็ยังอยู่ แต่คนทั่วไปพลาดโอกาสที่จะรับรู้มันเพราะทีวีไม่เสนอข่าว
มันก็มีสองแง่ครับ
ถึงเวบจะยังอยู่ แต่ผมก็คงไม่รู้ เพราะค้นหาแล้วไม่เจอ? เราจะรู้ได้อย่างไรว่าต้องเข้าเวบไหน
ใน the verge มีพูดถึงนักการเมืองที่ร้องเรื่องนี้ เพราะ search google แล้วเจอเรื่องเกี่ยวกับการทำอนาจารเด็กด้วยล่ะ
ยกประเด็นเรื่องที่บุคคลสาธารณะไม่ควรจะลบประวัติตัวเองได้
จริงๆให้ลบ link ออก แต่ content ก็ยังอยู่นี่นา
ปัญหาคือ คุณจะรู้ได้ยังไงว่าเนื้อหานั้นอยู่ที่เว็บไหน ลิงค์ไหน
สงสัยว่ามันจะออกมาเป็นรูปแบบไหนกัน?
ก. ใส่ชื่อ นามสกุลของผม ลงใน google แล้วเจอหน้าบอกว่า คุณไม่สามารถค้นหาด้วยคำนี้ได้
ข. ทุกหน้าเว็บที่มีชื่อผมจะไม่อยู่ในระบบของกูเกิลอีกต่อไป เช่น เสริชว่า "พอลล่า กิ๊ก" ก็จะเจอแต่ข่าวที่ไม่มีชื่อผมในเว็บ (สมมติ)
May the Force Close be with you. || @nuttyi
นาธานจะส่งคำร้องไหม ขอให้ EU เจอคนอย่างนาธานเยอะๆนะครับ
Russia is just nazi who accuse the others for being nazi.someone once said : ผมก็ด่าของผมอยู่นะ :)