ข่าวนี้น่าจะเป็นตัวบ่งชี้ชั้นดีว่าทำไมบริษัทโฆษณาอย่างกูเกิล ถึงต้องทำระบบแผนที่และมีระบบปฏิบัติการมือถือของตัวเอง
ตามปกติของคนลงโฆษณายุคอินเทอร์เน็ต มักต้องการทราบว่าเม็ดเงินค่าโฆษณาที่ลงไปนั้นคืนกลับมาเป็นยอดขายสักเท่าไร (estimated total conversions) และลูกค้าที่เห็นโฆษณาใช้วิธีไหนในการเข้ามาซื้อสินค้าหรือบริการของเรา (ในวงการเรียก path of purchase) การเก็บสถิติว่าคนเห็นโฆษณาแล้วกดซื้อสินค้าออนไลน์อาจไม่ใช่เรื่องยาก แต่ในกรณีของการมาซื้อสินค้าที่หน้าร้าน อาจประเมินได้ยากว่าคนซื้อมาจากการเห็นโฆษณาบนหน้าเว็บหรือไม่
ล่าสุดกูเกิลประกาศแสดงข้อมูลให้คนลงโฆษณา AdWords ทราบว่าคนเห็นโฆษณาแล้วเดินทางมาที่ร้านเยอะน้อยแค่ไหน หลักการคือพิจารณาจาก Location History ของผู้ใช้ (ในกรณีเปิดใช้ฟีเจอร์นี้) แล้วดูความเชื่อมโยงว่าคนที่เห็นโฆษณานั้นเดินทางไปยังพิกัดของร้านมากน้อยแค่ไหน
กูเกิลสัญญาว่าไม่เก็บข้อมูลส่วนตัวของผู้ใช้ (ข้อมูลพิกัดจะถูก anonymized ไม่ให้เหลือข้อมูลที่ระบุตัวตนได้) และใช้การคำนวณสัดส่วนโดยประมาณ ไม่ใช่นับตามข้อมูลจริงของลูกค้าทั้งหมด
ที่มา - Inside AdWords
Comments
เอ่อ เริ่มกลัวจริงจังละรอบนี้
ผมว่ามันเริ่มจะเกินไปล่ะ ใช้ข้อมูลผู้บริโภคมาสร้างผลประโยชน์ ถ้าตอนนี้ผมเป็นคนอเมริกาผมจะรีบไปอ่าน tos/toa ของบริการเลย ไม่รู้ละเมิดเราไปแล้วหรือเขียนดักไว้แต่ลืมอ่านก่อนกดใช้ไป
มันไม่ง่ายเลยที่จะทำ GIF ให้มีขนาดน้อยกว่า 20kB
แต่ไปเดินห้าง ก็ไม่เท่ากับ ไปซื้อของนะครับ :P
วินโดวส์ชอปปิ๊งครับ :P
A smooth sea never made a skillful sailor.
เย้ย Nexus 5 มีรุ่นที่ใช้ปุ่ม Capasitive ด้วย! รึผมเพิ่งรู้ว่ามีสั่งให้ Navigation Bar ทะลุออกนอกจอได้!