โดยทั่วไปแล้วการที่เราทำสำเนาไฟล์สื่อดิจิทัลเพื่อให้ผู้อื่นได้ใช้งานไฟล์ดังกล่าวหรืออัพโหลดไฟล์ที่ว่าสู่อินเทอร์เน็ตเพื่อให้คนอื่นดาวน์โหลดไปใช้งานนั้นถือเป็นการละเมิดลิขสิทธิ์ (แม้ว่าเราจะได้ไฟล์นั้นมาด้วยวิธีการถูกกฎหมายก็ตามที) ซึ่งตัวไฟล์ที่เป็นสำเนาก็จะถือเป็นไฟล์เถื่อนที่ผิดกฎหมาย
แต่แม้จะรู้ว่าเป็นเรื่องไม่ถูกต้อง หลายคนก็ยังเลือกที่จะหาและแบ่งปันไฟล์สื่อด้วยวิธีนี้ โดยยกเหตุผลว่าไฟล์แท้ถูกลิขสิทธิ์นั้นแพงเกินไป Apple จึงหาวิธีที่จะทำให้คนซื้อสิทธิ์ใช้งานสื่อเหล่านั้นได้โดยเฉพาะ ในราคาที่ถูกกว่าการซื้อไฟล์แบบธรรมดา และนำเอาแนวคิดของระบบที่ว่าไปจดสิทธิบัตรได้สำเร็จ
แนวคิดของ Apple คือ ผู้คนสามารถทำการแยกซื้อ "สิทธิ์การใช้งาน" ของไฟล์สื่อได้ ตัวอย่างเช่น หากเราทำสำเนาไฟล์ภาพยนตร์มาจากเครื่องคอมพิวเตอร์ของเพื่อน เราสามารถซื้อสิทธิ์การดูภาพยนตร์นั้นมาจากร้านค้าออนไลน์ได้ (โดยไม่ต้องดาวน์โหลดไฟล์ภาพยนตร์ขนาดใหญ่มาจากร้านค้า) ซึ่งจะทำให้ไฟล์ภาพยนตร์ที่เราได้มาโดยการทำสำเนานั้นกลายเป็นไฟล์ที่ถูกลิขสิทธิ์ทันที
จากตัวอย่างข้างต้น Apple มองว่าการที่เราซื้อเฉพาะสิทธิ์การใช้งานโดยไม่ต้องดาวน์โหลดไฟล์ภาพยนตร์มาจากร้านค้าออนไลน์นั้น เป็นการลดการใช้แบนด์วิดท์และทรัพยากรอื่นของระบบคอมพิวเตอร์ ซึ่งก็น่าจะทำให้ค่าใช้จ่ายของฝั่งร้านค้าออนไลน์ลดลง ทำให้การตั้งราคาสิทธิ์การใช้งานนั้นทำได้ถูกกว่าราคาเต็มของไฟล์ภาพยนตร์
Apple เล็งว่าด้วยแนวคิดของระบบตามสิทธิบัตรนี้จะทำให้ผู้ใช้ได้รับความสะดวกตรงที่ดาวน์โหลดไฟล์เพียงครั้งเดียวก็สามารถทำสำเนาให้ผู้อื่นได้เลยเพียงแค่ซื้อสิทธิ์การใช้งานมาเพิ่มเติมให้ครบกับจำนวนสำเนา ซึ่งจะประหยัดเวลากว่าการที่ต้องดาวน์โหลดไฟล์เดียวกันซ้ำๆ หลายครั้งสู่อุปกรณ์หลายเครื่อง ในขณะที่ข้อดีสำหรับฝั่งผู้ผลิตและจำหน่ายสื่อนั้นก็คือ ระบบนี้น่าจะจูงใจให้คนที่นิยมใช้ไฟล์เถื่อน หันมาสนใจซื้อสิทธิ์การใช้งานเพื่อให้ถูกต้องตามกฎหมายมากขึ้นซึ่งเท่ากับรายได้ที่เพิ่มขึ้นของผู้ผลิตและจัดจำหน่ายสื่อนั่นเอง
ที่มา - TorrenFreak , ข้อมูลสิทธิบัตรจาก FPO
Comments
จ่ายเงินยังไงเนี่ย?
เรื่องที่ทำให้เราเสียเงินคงจะสะดวกสบายแหละ
แค่นี้ก็จดสิทธิบัตรได้ ?
แต่ผมว่าเข้าท่าดีนะแบบนี้แต่ต้องมาดูกันตรงราคาว่าจะรับได้ไม
แบบนี้เข้าท่าดี แต่สิทธิบัตรคือ การป้องกันไม่ให้คนอื่นทำแบบนี้
แนวคิดของสิทธิบัตรคือให้คนคิดกันเยอะๆครับ และเพื่อเป็นรางวัลสำหรับคนคิดคือให้สิทธิ์ผูกขาดตามอายุสิทธิบัตรหลังจากนั้นจึงปล่อยฟรีครับ
ถ้าคิดมาแล้วใครๆก็ทำได้คงไม่มีใครคิดอะไรใหม่ๆให้เสียเวลาทีม R&D เล่นหรอกครับ รอก็อปปี้อย่างเดียวก็พอ
อย่างไรก็ตามแนวคิดที่จะจดต้องมีความน่าเชื่อถือระดับหนึ่งจึงจะผ่านไม่ใช่แค่บอกว่าชั้นคิดรถบินได้แล้วเดินไปจดแล้วจะผ่านครับ
แล้วนี่มันมีอะไรใหม่
Shareware ที่ก๊อปปี้ได้แล้วซื้อสิทธิ์ใช้ต่อทีหลัง ก็มีมานานแล้ว
Windows เถื่อนก็มี WGA
เกม Steam ที่ดาวน์โหลดมาแล้ว ย้ายไดรฟ์ที่ติดตั้ง แล้วสั่งเช็คไฟล์มันก็ใช้ต่อได้ ไม่ต้องดาวน์โหลดใหม่
หรือใหม่เพราะมันเป็นภาพยนตร์ แค่นั้น
มันเคยมีรึยังล่ะครับ เพลง ภาพยนตร์ ? ถ้ายังก็คงแค่นั้นล่ะครับ
ถ้าไม่ใหม่จดไม่ได้ครับ ถ้าอยากรู้ว่ามีอะไรใหม่ไปอ่านต้นทางเองครับ
ไฟล์ละเมิด และจะกีดกันตัวไฟล์นั้นอย่างไรให้ไม่สามารถดูหรือทำงานได้ เพื่อสร้างแรงจูงใจในการจ่ายเงินให้ถูกลิขสิทธ์
เหมือนกับลง Windows ที่โหลดบิตมา แล้ว Activate ด้วยคีย์แท้
เข้าใจผิดมาตลอดว่าของพวกนี้ (หนังเพลงด้วย) ที่ซื้อๆ กันคือซื้อสิทธิ์อย่างเดียวนะนี่ ไม่นึกว่ามีคอสต์ค่าไฟล์ด้วย
ถ้าไม่ต้องรับผิดชอบเรื่องดาร์วโหลดไปจนกว่าหนังจะเลิกขายหรือตัวแอปเปิลเจ๊งก็น่าจะลดค่าใช้จ่ายได้บางส่วนจริงๆ แต่อะไรคือแรงจูงใจให้จ่ายน่าสนใจเหมือนกัน
แหม่ มันก็ต้องมี cost ทางอ้อมสิครับ
ค่า bandwidth ที่เซอฟเวอร์
ระบบ load balancingเงินเดือน Network engineer
บลาๆๆ
สมมติคุณไปบ้านเพื่อนแล้ว เกิดติดใจ GOT ขึ้นมา แทนที่จะต้องกลับมาบ้านนั่งโหลดแต่ต้น ก็ก็อบไฟล์จากบ้านเพื่อนมาเลยไงครับ
แต่ถึงจะทำตามสิทธิบัตรกล่าวก็แทบไม่ได้ลดต้นทุนทางนั้นเลยนะครับ เพราะมันก็ยังมีอยู่ใช้กัน แต่ถ้ามองมันสะดวกก็โอเคนะครับ เพราะบางทีก็ใช้วิธีโหลดที่อื่นแล้วมาใส่คีย์เอา หรือไม่มีให้โฟลดก็ของปลอมแหละแต่มีคีย์แท้อยู่
ผมก็ไม่สามารถพูดได้เต็มปากเหมือนกันว่ามันจะลดได้มากน้อยแค่ไหน หรือ practical จริงๆหรือไม่ เพราะมันเป็นแค่ข้อสันนิษฐานของคนขอจดสิทธิบัตรว่าน่าจะลดปริมาณการถ่ายโอนข้อมูล ผมแค่อธิบายให้เมนต์ข้างบนฟังถึง cost เฉยๆครับ
Edit สงสัยต้องเปลี่ยนมาเปิดให้โหลดผ่านบิทแทน ฮะๆๆ
เรื่องราคาล่ะ ถูกกว่าซื้อปกติหรือเปล่า?
"แพงเกินไป" ไม่ได้เป็นข้ออ้างที่ทำให้ขโมยได้ #บ่น
ไปเดินๆ ช็อปปิ่ง เห็นกระเป๋าแบรนด์หรู อยากได้ แต่เนื่องจาก "แพงเกินไป" เลยขโมยแทน
ผมว่าอารมณ์ประมาณว่า ไปเห็นกระเป๋าแบรนด์หรู อยากได้ แต่เนื่องจาก "แพงเกินไป" เลยไปซื้อของ copy ที่ขายกันในราคาย่อมเยาว์มากกว่า :D
~ HudchewMan's Station & @HudchewMan ~
แต่กระเป๋า Copy มันไม่เหมือนของแท้ 100% เหมือนกับข้อมูลดิจิตอลอ่ะ
ข้ออ้างไม่ใช่วยทำให้สิ่งผิดกลายเป็นสิ่งถูก
น่าสนใจดีนะ ติดตามๆ
เชื่อว่าเดี๋ยวจะมีติ่งค่ายสายดำเข้ามาเหน็บ
อันนี้ความหมายพอๆกับต้มมาม่ารอเลยนะครับ
โพสทำนองนี้ เรียกว่าติ่งสายไหนละ สายดำหรือสายแดง
สายม่วงครับ
ขยายความให้ผมที ศัพท์เฉพาะจนผมตามไม่ทันแล้ว
สายขาวก็ซื้อแอพซื้อคอนเทนท์ผ่านแอพสโตร์หรืิกูเกิลเพลย์ไงครับ สายดำก็พวกชอบของเถื่อนโหลดบิต
ปล.ผมก็โหลดบิตแต่เฉพาะคอนเท้นที่ไม่มีขายในไทย
อ๋อ ผมนึกถึงสายคาดเอวไปแล้ว เพราะมีท่านนึงบอกมีสายแดงด้วย ฮ่าๆๆๆ พอๆกับที่แบ่ง Hacker เป็นหมวกดำ หมวกขาวนี่เอง
ขอบคุณสำหรับคำตอบครับ
โพสแบบนี้ผิดกฎที่นี่นะครับ ไม่เกี่ยวกับเนื้อข่าวหรือความเห็นอื่นและล่อดราม่า
อคติทำให้คนรับเหตุผลด้านเดียว
ผมอ่านห้วข่าวกับเนื้อข่าวเหมือนมันจะขัดกันตรงคำว่าไฟล์เถื่อนกับไฟล์ลิขสิทธิ์แฮะ
ซึ่งเท่ากับรายได้ที่เพิ่มขึ้ยของผู้ผลิตและจัดจำหน่ายสื่อนั่นเอง
ขึ้ย >>> ขึ้น
ผมแปลคำว่า "เพื่อน" ตามข่าวคือ seeder นะครับ
ถ้ากำจัด bit torrent ให้หมดไปเลยไม่ได้ ก็เอามาเป็นพวกซะเลย (เครื่องมือในการกระจายไฟล์สื่อ) แนวคิดแบบนี้ win-win นะ ผมว่า :-)
อย่างน้อยคงได้คนบางส่วนที่ยินดีจ่ายเงินสำหรับหนังที่ตัวเองโหลดมาดูจนจบแล้ว และรู้สึกชอบจริงๆ บ้างล่ะน่า
+1 อย่างน้อยก็เหมือนเตือนให้รู้ตัวว่าทุกสิ่งมีต้นทุนของมันนะ
+2
เพราะบางอย่าง เก่ามากๆ ไม่สามารถหาซื้อได้จากตัวแทนจำหน่ายทั่วไป หรือ หาเช่า หรือ import เข้ามาด้วย
+3 ใช่เลย แนวคิดนี้ถึงดีมาก
+1
ผมเดาว่าถ้ามีการรับรองสิทธิบัตรชิ้นนี้เสร็จเมื่อไหร่อุปกรณ์ของแอปเปิ้ลอาจจะสแกนเมมโมรี่ในเครื่องเราอยู่บ่อยๆเพื่อหาไฟล์มีลิขสิทธิ์แล้วมาเตือนเราให้ซื้อหรือจ่ายเงินอยู่บ่อยๆ อาจจะอารมณ์เหมือนตอนวินโดวเตือนว่าคุณกำลังมีความเสี่ยงจากการใช้วินโดวเถื่อน
ถ้าไม่ล็อคไฟล์ให้เปิดไม่ได้ คนซื้อก็ยังน้อยอยู่ดี ผมเชื่ออย่างนั้น
แค่ให้มีคนซื้อเพิ่มขึ้นก็พอครับ
เหมือน policy ที่ Microsoft เคยจะประกาศใช้กับ XBOX ตัวปัจจุบัน
ยืมแผ่นเพื่อนมาเล่น ต้อง activate ใหม่
โดนด่าซะเละเลย
แนวคิดในการหาเงินนี่เก่งมากเลยครับ