Tags:
Node Thumbnail

ไมโครซอฟท์เปิดตัว Microsoft Math แอพสำหรับการเรียนรู้คณิตศาสตร์ที่ผนวกการเชื่อมต่อกับผู้อื่น (ผ่าน Microsoft Account) ลงไป โดยผู้เรียนสามารถศึกษาทฤษฎีต่างๆ ทำแบบทดสอบ และสามารถร่วมมือหรือแข่งขันกับผู้เรียนรายอื่นผ่านแอพได้

ไมโครซอฟท์ยังกล่าวว่า คุณครูยังสามารถใช้แอพนี้กระตุ้นนักเรียนและติดตามการเรียน เพื่อที่จะสามารถฟีดแบ็กได้เรื่องเฉพาะเจาะจงแก่นักเรียนได้

ดาวน์โหลดได้แล้วที่ Windows Phone Store ครับ

อนึ่ง บริการเบื้องหลังแอพนี้เคยมีชื่อว่า Nokia Mobile Mathematics ครับ

ที่มา: Windows Central

No Description

No Description

Get latest news from Blognone

Comments

By: dook
Windows Phone Ubuntu Windows
on 18 February 2015 - 06:22 #792137

ดีใจ

By: Frioniel
Windows Phone Windows
on 18 February 2015 - 07:08 #792142
Frioniel's picture

ติ่ง math และ WP อย่างผมนี่น้ำตาจะไหลเลยทีเดียว >_<

ปล. เจอบัคแฮะ ตอบข้อสองผิดได้ไงหว่าาา

No Description

By: magistertay
iPhone Android Symbian
on 18 February 2015 - 08:41 #792153 Reply to:792142
magistertay's picture

-346 ก็มากกว่า -364 อยู่แล้วนี่ครับ ยิ่งจำนวนลบตัวเลขมาก ค่ายิ่งติดลบยิ่งน้อยครับ">" มันถูกต้องที่สุดอยู่แล้วครับ ส่วน ">=" มันต้องมีเทียบในกรณีเท่ากับ ผมเลยคิดว่าน่าจะเป็นตรงนี้

By: Frioniel
Windows Phone Windows
on 18 February 2015 - 09:15 #792158 Reply to:792153
Frioniel's picture

ผมทราบเรื่อง -346 > -364 ครับ

แต่อันนี้คุณคิดเอาเองหรือมีหลักคณิตศาสตร์ข้อไหนอ้างอิงครับ ?

">" มันถูกต้องที่สุดอยู่แล้วครับ ส่วน ">=" มันต้องมีเทียบในกรณีเท่ากับ

เพราะนิยามทางคณิตศาสตร์ของ >= คือมากกว่า หรือ เท่ากับและจากนิยามของ หรือ ในทางคณิตศาสตร์ ซึ่งเป็นตัวดำเนินการเชิงตรรกะ แค่มีประพจน์เป็นจริงอันเดียวก็ถือว่าจริงแล้วครับ ไม่จำเป็นจะต้องมีเทียบกรณีเท่ากับ

ดังนั้น -346 >= -364 ตามหลักคณิตศาสตร์นั้นถูกต้องครับ ค่าความเป็นจริงของมันเท่ากับค่าความเป็นจริงของ -346 > -364 เลย

ถ้า -346 > -364 ถูก แล้ว -346 >= -364 ผิดได้ยังไงครับ ?

By: GoblinKing
Windows Phone Windows
on 18 February 2015 - 12:49 #792176 Reply to:792158
GoblinKing's picture

คิดมากไปหรือเปล่าฮะ เหมือนเวลาทำข้อสอบเขายังมีบอกเลยว่าให้ "เลือกข้อที่ถูกที่สุด" เพราะตัวเลือกบ้างข้อก็ถูก แต่มันมีคำตอบที่เคลียร์กว่าตัวเลือกนั้นไงครับ

Edit: ลองไล่ๆ อ่านดู โอ้โห กะลาผมเปิดเลย

By: p-joy on 18 February 2015 - 09:59 #792180 Reply to:792158

ผมว่าประโยค x > y หรือ x = y ไม่เป็นประพจน์นะครับ

By: Frioniel
Windows Phone Windows
on 18 February 2015 - 10:09 #792187 Reply to:792180
Frioniel's picture

x>y หรือ x=y ไม่เป็นประพจน์แต่ -346 > -364 หรือ -346 = -364 เป็นประพจน์ครับ

By: p-joy on 18 February 2015 - 10:25 #792192 Reply to:792187

มันเป็นประโยคคำถามหรือบอกเล่าครับ ในเมื่อ -346 มันมากกว่า -364 อยู่แล้วมันเป็น fact การมาบอกว่า -346 มากกว่า -364 "หรือ" -346 เท่ากับ -364 หรือในที่นี้ไม่น่าจะเป็นตัวดำเนินการได้นี่ครับ

เช่นเราพูดว่า ม้ามีสี่ขาหรือม้ามีสามขา ถ้าประโยคแบบนี้มีหรือเป็นตัวดำเนินการ คงยุ่งมาก

ปล. การคิดแบบนี้ดีแล้วครับ เรียน ป.เอก ได้ ในประพจน์ทางคณิตศาตร์ x > 0 กับ x >= 0 มีความแตกต่างกันมากอยู่

By: Frioniel
Windows Phone Windows
on 18 February 2015 - 10:31 #792198 Reply to:792192
Frioniel's picture

คำว่า หรือ ในนิยามของ >= เป็น logical operation ในทางคณิตศาสตร์ครับ

ผมไม่อยากพูดคำนี้เลย "กรุณากลับไปอ่านนิยามทางคณิตศาสตร์ก่อนออกมาตอบด้วยครับ"

คำว่า หรือ ทุกคำที่ปรากฎในคณิตศาสตร์ เป็น logical operation ทั้งหมดครับ ตั้งแต่คณิตศาสตร์ ป.1 ยัน ปริญญาเอก เพราะเค้าห้ามใช้คำกำกวม มีความหมายไม่ชัดเจนในนิยาม/ทฤษฎีทางคณิตศาสตร์ทุกชนิดครับ

By: p-joy on 18 February 2015 - 12:40 #792249 Reply to:792198

ในที่นี้มันไม่ใช่ครับ เพราะ -3 < -2 มันเป็น fact ทางคณิตศาสตร์

By: Frioniel
Windows Phone Windows
on 18 February 2015 - 12:58 #792255 Reply to:792249
Frioniel's picture

และเป็นประพจน์ด้วยครับ

fact ที่รับรู้กันว่าเป็นจริง(หรือเท็จ)โดย objective ก็คือประพจน์

fact ทางคณิตศาสตร์ก็คือประพจน์

เอามาจากไหนครับ fact ทางคณิตศาสตร์เป็นประพจน์ไม่ได้

1+3=5 ยังเป็นประพจน์เลยครับ

By: p-joy on 18 February 2015 - 13:08 #792256 Reply to:792255

นิยามของสัจพจน์ถ้าตรงนี้ไม่ชัดเจน ก็จะเกิดประเด็นว่า 2 = 2 หรือ 2 >= 2 หรือ 2 <= 2 กันแน่

By: Frioniel
Windows Phone Windows
on 18 February 2015 - 13:27 #792263 Reply to:792256
Frioniel's picture

มันเป็นประเด็นตรงไหนครับ ก็เพราะ 2 = 2 และ 2 >= 2 และ 2 <= 2 ด้วย

By: p-joy on 18 February 2015 - 15:17 #792307 Reply to:792263

ก็ตรง "หรือ" ไงครับ

By: Frioniel
Windows Phone Windows
on 18 February 2015 - 16:44 #792339 Reply to:792307
Frioniel's picture

อันนั้นมันเกิดจากการที่คุณเขียนกำกวมเองครับ แต่ในขณะเดียวกันคำว่า "หรือ" ที่อยู่ภายในประพจน์ 2>=2 กับ 2<=2 มีใครเข้าใจความหมายมันผิดบ้าง ? แล้วมันไม่ใช่ "หรือ" ในตรรกศาสตร์ตรงไหนครับ ?

-364>=-364 มันไม่ใช่ -364>-364 หรือ -364=-364 ตรงไหนครับ ?

ถ้าคุณต้องการจะสื่อว่า มันมีคำว่า "หรือ" ที่มีความหมายอื่นๆปรากฎขึ้นมาซึ่งไม่ได้มีความหมายแบบเดียวกับ "หรือ" ในทางคณิตศาสตร์

.......แล้วมันไปเกี่ยวอะไรด้วยกับของที่นิยามไปเรียบร้อยแล้วบนหลักคณิตศาสตร์ล่ะครับ ?

ถ้าคุณอยากจะ disproof ว่า "หรือ" ในนิยามของ >=, <= มันไม่ใช่ "หรือ" ในนิยามทางตรรกศาสตร์ แต่เป็น "หรือ" บนนิยามอื่นๆ ก็ลองพิสูจน์ข้อความข้างล่างนี่ให้ผมดูหน่อยครับ

กำหนดให้ a,b เป็นจำนวนจริง โดย กำหนดให้ "or" นิยามโดยใช้หลักตรรกศาสตร์

มี a,b คู่ไหนบ้างที่ (a>=b) เป็นจริง แต่ (a>b or a=b) เป็นเท็จ

พิสูจน์ให้ผมดูสิครับ

ปล. ตกลง -346 > -364 เป็นประพจน์นะครับ

By: p-joy on 18 February 2015 - 20:10 #792385 Reply to:792339

ไม่มีตรงไหนบอกนะครับว่า fact เป็นประพจน์ไม่ได้ แต่ fact ก็คือ fact ไม่ต้องพิสูจน์ แต่ที่ไม่ใช่ประพจน์เพราะมันเป็นเหมือนประโยคคำถามมากกว่า

คือถ้าเราบอกว่า 2 <= 3 แล้วพิสูจน์ โดยใช้ตรรกศาสตร์ที่ไม่คำนึงถึง fact ถ้างั้นเราก็สามารถพูดได้ว่า 2 เท่ากับ 2 หรือ 2 ไม่เท่ากับ 2 มันก็จริงเหมือนกัน

By: Frioniel
Windows Phone Windows
on 18 February 2015 - 21:25 #792405 Reply to:792385
Frioniel's picture

ไม่มีตรงไหนบอกนะครับว่า fact เป็นประพจน์ไม่ได้

ประเด็นคือ ตกลง a>=b มันไม่เท่ากับ a>b หรือ a=b ในทางคณิตศาสตร์เพราะอะไรครับ
ตอนแรกคุณพูดเองว่า x>y หรือ x=y ไม่ใช่ประพจน์ ต่อมาก็พูดอีกว่า -3 < -2 ก็ไม่ได้เพราะเป็น fact ทางคณิตศาสตร์นะครับ
ไม่ได้พูดถึงประโยคคำถามครับ โจทย์เป็นประโยคบอกเล่าที่ให้เติมคำในช่องว่าง

แต่ fact ก็คือ fact ไม่ต้องพิสูจน์

ขอโทษนะครับ fact ตั้งแต่ 1+1=2 หรือ 0<1 ยัน ดิฟ x^2 = 2x "ล้วนแต่พิสูจน์ได้ทั้งนั้นครับ" ตอนที่ผมเรียนนี่ sqrt(2) จะเป็นจำนวนอตรรกยะยังต้องแสดงให้ดูเลยครับ ไม่มี fact ใดในคณิตศาสตร์ที่ไม่ต้องพิสูจน์ (ยกเว้นสัจพจน์) ขนาดสัจนิรันดร์ยังพิสูจน์ได้เลยครับ

คือถ้าเราบอกว่า 2 <= 3 แล้วพิสูจน์ โดยใช้ตรรกศาสตร์ที่ไม่คำนึงถึง fact ถ้างั้นเราก็สามารถพูดได้ว่า 2 เท่ากับ 2 หรือ 2 ไม่เท่ากับ 2 มันก็จริงเหมือนกัน

การพิสูจน์ทุกชนิดในคณิตศาสตร์ล้วนคำนึงถึง fact ที่มีมาก่อนทั้งสิ้น
คุณจะพิสูจน์เรื่องการคูณ คุณก็ต้องคำนึงเถึง fact เรื่องการบวก
คุณจะพิสูจน์เรื่อง Ring ก็ต้องคำนึงถึง fact เรื่อง Group
ไม่มีการพิสูจน์ใดๆที่ไม่คำนึงถึง fact ที่มีมาก่อน
แต่คุณกำลังยกเอา fact ที่ไม่เกี่ยวข้องเข้ามาใช้ ในทีนี้ก็คือคำว่า "หรือ" ที่ไม่ใช่ในทางคณิตศาสตร์
ซึ่งมันไม่เกี่ยวเพราะเราพูดถึง "หรือ" ในทางคณิตศาสตร์อยู่ครับ

การพิสูจน์ข้อความที่มี >= เป็นเหตุ ก็ต้องแยกเป็น 2 case คือ case ของ > กับ case ของ = ซึ่งต้องถูกทั้งคู่ เราเรียกว่า proof by caseการพิสูจน์ข้อความที่มี >= เป็นผลที่ตามมา เราจะกำจัด > หรือ = ออกตัวนึง โดยเปลี่ยนเป็นนิเสธแล้วเอาไปไว้ฝั่งเหตุ เรียกว่า proof by elimination

ซึ่งเมื่อคำนึงถึงการสมมูลทางตรรกศาสตร์ (p or q) -> r สมมูลกับ (p -> r) and (q -> r)และ p -> (q or r) สมมูลกับ (p and not(r)) -> q

a>=b สมมูลกับ a>b or a=b โดยปริยายครับ

2 = 2 หรือ 2!=2 มันก็จริงนี่ครับ แล้วมันไม่จริงตรงไหนอะ ถ้ามันไม่จริงน่ะสิปัญหาใหญ่เลยเพราะมันขัดกับสัจนิรันดร์ข้อนึงเลย

By: johnny.sayasane
Contributor Windows Phone Symbian Windows
on 18 February 2015 - 10:03 #792181 Reply to:792158
johnny.sayasane's picture

ถูกแล้วละครับ เขาบอก Fill in the missing symbol ครับไม่ใช่ Fill in the missing symbol to make this statement to be TRUE ถ้าแบบนั้นจะถูกทั้งข้อแรกและข้อสองนะครับ แต่ถ้าคิดแบบคุณแล้วให้เลือกอันที่ถูกที่สุดก็ต้องเป็น > อยู่ดี เพราะ >= เท่ากับ if ((a > b) || (a == b) == true)statement นี้ทำการตรวจชุดแรกก่อนหรือเปล่าครับอันนี้ไม่แน่ใจ ถ้าชุดแรก TRUE ก็ TRUE เลย


ສະບາຍດີ :)

By: Frioniel
Windows Phone Windows
on 18 February 2015 - 10:54 #792194 Reply to:792181
Frioniel's picture

อ้าวงั้นผมตอบ -346 < -364 ก็ต้องถูกสิครับ
จะตอบ -346 = -364 ก็ต้องถูกด้วย
เพราะแค่เติมเฉยๆ ไม่ต้องให้ statement เป็นจริง มันก็คือจะเลือกอะไรก็ได้ทั้งนั้น

ส่วน Compound statement ในรูปของ OR หรือ Disjunctive Normal Form จะตรวจอันไหนก่อนอันไหนหลังไม่สำคัญครับ เพราะ OR มันมี Commutative Property สลับที่กันได้โดยไม่เสียความหมาย ถ้าคุณไม่ยอมรับ Commutative Property ก็แปลว่า 3+5 ไม่เท่ากับ 5+3 แล้วล่ะครับ

By: johnny.sayasane
Contributor Windows Phone Symbian Windows
on 18 February 2015 - 13:26 #792261 Reply to:792194
johnny.sayasane's picture

เอาที่คุณสบายใจเลยครับ -_-


ສະບາຍດີ :)

By: komsanw
iPhone Windows Phone Android Red Hat
on 18 February 2015 - 10:10 #792186 Reply to:792158
komsanw's picture

เป็นผมก็ตอบ -346 > -364
ผมว่าคุณให้นิยามทางคณิตศาสตร์ไม่ถูก
ผมอาจจะไม่รู้ลึกแบบที่จะอธิบายละเอียด แต่โดยคอมมอนแล้วมันต้องตอบแบบนี้ถูกแล้ว

ถ้าให้เลือกระหว่าง
1) -346 > -364
2) -346 > -364 หรือ -346 = -364

เขาก็ต้องเลือก 1) ที่ถูกที่สุด ไม่ใช่ถูกครึ่งๆกลางๆ

By: Frioniel
Windows Phone Windows
on 18 February 2015 - 10:57 #792202 Reply to:792186
Frioniel's picture

ถ้าคิดวาาผมใช้นิยามทางคณิตศาสตร์ไม่ถูกงั้นคุณลองใช้นิยามทางคณิตศาสตร์พิสูจน์ให้ผมดูหน่อยสิครับ

If a > b is True Then (a > b OR a=b) is False

ถ้าทำได้ค่อยมาพูดอีกทีว่าข้อ 2 ผิดครับ

เพราะที่ผมกล่าวมาเป็นนิยามทางคณิตศาสตร์ล้วนๆเลย

ทั้ง 1 และ 2 ถูกต้องเท่ากันครับ

ข้อ 2 ไม่ใช่การถูกครึ่งๆกลางๆ แต่มีค่าความเป็นจริงเท่ากันทุกประการกับข้อ 1

คุณตัดช้อยข้อสองทิ้ง เพียงเพราะข้อความมันยาวกว่า โดยไม่คิดจะอ่านความหมายของมันเลยหรือ ?????

พิสูจน์ให้ผมดูสิครับ

By: lew
Founder Jusci's WriterMEconomics Android
on 18 February 2015 - 15:07 #792304 Reply to:792186
lew's picture

คอมมอนของคุณไม่ใช่หลักการทางคณิตศาสตร์ครับ

และข้อสองก็ไม่ใช่การ "ถูกครึ่งๆ กลางๆ" แต่ถูกต้องโดยนิยามทางคณิตศาสตร์ของมันเอง


lewcpe.com , @wasonliw

By: -Rookies-
Contributor Android WindowsIn Love
on 18 February 2015 - 10:12 #792189 Reply to:792158

ผมก็คิดแบบคุณนะ คณิตศาสตร์มันตรงไปตรงมา ถูกก็คือถูกอ่ะ มันจะมีถูกกับถูกกว่าไม่ได้


เทคโนโลยีไม่ผิด คนใช้มันในทางที่ผิดนั่นแหละที่ผิด!?!

By: sakuraba
Windows Phone Windows
on 18 February 2015 - 22:33 #792429 Reply to:792158
sakuraba's picture

-346 > -364 คือ -346 มากกว่า -364 ถูกต้อง-1 > -2 คือ -1 มากกว่า -2 ถูกต้อง

-1 >= -2 คือ -1 มากกว่าหรือเท่ากับ -2 ผิด
-1 มากกว่า -2 อยู่แล้ว แต่ -1 ไม่เท่ากันกับ -2
-1 ต้องเท่ากับ -1 ได้เท่านั้น

By: johnny.sayasane
Contributor Windows Phone Symbian Windows
on 19 February 2015 - 09:48 #792515 Reply to:792429
johnny.sayasane's picture

-1 >= -2 ไม่ผิดครับ ถ้านำไปเขียนโปรแกรม(-1 >= -2) มันจะได้ค่า TRUE ครับเพราะมันเท่ากับ (-1 > -2) || (-1 == 2) ถ้าอย่างแรกถูก อย่างที่สองจะไม่ถูกคำนวน


ສະບາຍດີ :)

By: Frioniel
Windows Phone Windows
on 19 February 2015 - 11:26 #792540 Reply to:792429
Frioniel's picture

คุณ sakuraba จะอธิบายรูปนี้ว่ายังไงครับNo Description

By: p-joy on 16 October 2015 - 18:23 #853396 Reply to:792158

สมบัติไตรวิภาค, สมบัติที่กล่าวถึงการเท่ากันหรือไม่เท่ากัน เช่น ถ้า a และ b เป็นจำนวนจริงแล้ว a = b หรือ a < b หรือ a > b อย่างใดอย่างหนึ่งเท่านั้น

กว่าจะหาได้

By: revensoft
Windows Phone Windows
on 18 February 2015 - 11:31 #792223 Reply to:792142

ขอตอบในมุมคนเขียนโปรแกรมทั่วไป
A > B และ A >= B นั้นต่างก็ให้ผลลัพย์ -346 > -364 = -346 >= -364แต่ถ้าต้องเลือกว่าจะใช้ตัวไหนคงต้องขึ้นอยู่กับว่าเงื่อนไขนั้นผมต้องการผลลัพย์ที่ A = B ด้วยหรือไม่
ถ้าเป็นภาษาพูดของคนทั่วไปคงเป็น > เพราะคงไม่มีใครพูดว่าฉันเงิน 5 บาทมากกว่าหรือเท่ากับเธอซึ่งมีเงิน 3 บาท

ดังนี้ผมคิดว่าที่คำตอบ >= ผิดนั้นเพราะเป็นคำตอบที่ผิดไปจากความคาดหมายของผู้ถามในคำถามแบบปรนัยบังคับเลือกแบบนี้ ซึ่งจะบอกว่าเป็นบัคของโปรแกรมคงไม่ใช่ถ้าจะบอกว่าเป็นบัคคงเป็นบัคของคนแต่งโจทย์ที่คุณอยากจะให้เกิดการเปลี่ยนแปลงลอง feedback กลับไปดูครับ(ผมยังไม่เห็น forum ของ MS สำหรับโปรแกรมตัวนี้)

By: varavut
Contributor Windows Phone Android Blackberry
on 18 February 2015 - 11:43 #792229 Reply to:792223

กด report จากตัวแอพในหน้าที่มีปัญหาได้เลยครับ ระบบจะใส่เองว่าข้อไหน เราก็ใส่ว่าเราคิดเห็นอย่างไร

By: Frioniel
Windows Phone Windows
on 18 February 2015 - 12:12 #792244 Reply to:792223
Frioniel's picture

เพราะคงไม่มีใครพูดว่าฉันเงิน 5 บาทมากกว่าหรือเท่ากับเธอซึ่งมีเงิน 3 บาท

จริงๆแล้วมีครับ เราใช้คำอื่นที่มีความหมายเทียบเท่ามากกว่าหรือเท่ากับโดยไม่ค่อยสังเกตกัน

นั่นคือคำว่า "ไม่น้อยกว่า" ครับ

ฉันมีเงิน 5 บาทซึ่งไม่น้อยกว่าเธอที่มีเงินเพียง 3 บาท

ซึ่งเราก็รู้กันอยู่ คำว่าไม่น้อยกว่า ไมาได้แปลว่าต้องมากกว่าเพียงอย่างเดียว แต่รวมไปถึง เท่ากันด้วยครับเนื่องด้วยคุณสมบัติของจำนวนจริง จำนวนจริงใดๆสองจำนวนถ้าหากมันไม่เท่ากัน มันก็ต้องมากกว่า หรือน้อยกว่าอย่างใดอย่างหนึ่งเท่านั้น ทำให้ตัวดำเนินการไม่น้อยกว่า มีความหมายเทียบเท่ากับ มากกว่าหรือเท่ากับไปโดยปริยาย

ผมเห็นด้วยว่าถ้าโจทย์ต้องการให้ตอบแค่ > แสดงว่าคำถามผิด ไม่ก็ตัวเลือกผิดครับ ไว้ผมเล่นไปเยอะๆก่อนค่อยแจ้งทีเดียว ตอนนี้เจออีกบัคแล้ว โหลดมาเล่นแบบ offline ลองเล่น 20 level รวด กด back แล้ว crash ต้องเล่นใหม่หมดเลย ยังกะว่ามันไม่ยอมเซฟระหว่างเล่น

By: obnetarena
Windows Phone Windows
on 18 February 2015 - 11:48 #792231 Reply to:792142

ผมว่าไม่ใช่ Bug ครับโปรแกรมน่าจะทำงานถูกต้องตาม Requirement
แต่โจทย์ ที่มามันไม่เคลียร์ เพราะมันถูกทั้งสองข้อ ผมว่าน่าจะ feedback กลับไปแหละครับว่ามันไม่เคลียร์ มันควรจะถูกทั้งสองข้อ
เพราะ >= มันไม่ใช่เครื่องหมาย = ดังนั้น มากกว่าหรือเท่ากับ มันก็ควรจะถูกในกรณีนี้ด้วย

By: wichate
Android
on 18 February 2015 - 13:41 #792266 Reply to:792142

ผมว่ามันก็ต้องตอบข้อ 1 ได้ข้อเดียว ในเมื่อโจทย์บอกค่าตัวแปรมาแล้ว 2 ตัว มันจะ >,<,=,!= ก็ตอบไปเลยซิจะต้องมี OR เพื่อ?

By: Frioniel
Windows Phone Windows
on 18 February 2015 - 13:47 #792268 Reply to:792266
Frioniel's picture

แล้วจะตอบ OR มันผิดตรงไหนครับ ?ในเมื่อมันใส่มาในตัวเลือกด้วย แล้วมันก็ "ถูกเหมือนกัน" ตามหลักคณิตศาสตร์ มันก็ควรจะได้คะแนนด้วยกันทั้งคู่หากโจทย์ถามมาแบบนี้

By: wichate
Android
on 18 February 2015 - 13:56 #792274 Reply to:792268

มันก็จริงครับ โจทย์ไม่ควรใส่ตัวเลือก >= หรืออะไรที่เป็น OR มาให้(เพราะเขาให้ค่าตัวแปลมาครบแล้วคำตอบจึงมีได้อย่างเดียว) แต่เขาคงไม่รู้จะเอาอะไรมาออกเป็นตัวเลือก เพราะเครื่องหมายมันก็มีอยู่ไม่กี่ตัวเอง

By: paul_lin
iPhone Windows Phone Android Ubuntu
on 18 February 2015 - 14:03 #792281 Reply to:792142
paul_lin's picture

ผมว่า > ถูก และผมก็เห็นด้วยครับว่า >= ก็ถูกครับ ไม่ผิดตามนิยาม ข้อนี้ผมว่าถูกสองข้อ

ผมเดาว่า เนื่องจากข้อสอบเป็น multiple choices question แบบ one best answer แล้ว programmer ทำ program ให้มีถูกสองข้อไม่ได้

สมมติว่า ผมออกข้อสอบในกระดาษ ให้เด็กเขียนตอบ (ไม่มี choice ให้เลือก) ถ้ามีคนตอบ > หรือ >= ผมเป็นคนตรวจ ผมก็ให้ถูกครับ

แต่ถ้าผมเป็นคนเข้าสอบเอง ผมคงตอบ > ไม่ได้ตอบ >= เพราะผมมองว่า > มันเป็นคำตอบที่ ง่าย ไม่ซับซ้อน ไม่กำกวม

แล้วถ้าผมจะไม่ตอบ ทั้ง > หรือ >= ผมจะตอบ "เครื่องหมายไม่เท่ากับ" ซึ่งถ้าผมเป็นคนตรวจ เด็กตอบเครื่องหมายนี้มา ผมก็ให้ถูกครับ

ปล นี่คือเหตุผลที่ผมเกลียดข้อสอบ multiple choices

:D

By: Elysium
Contributor Windows Phone Symbian Windows
on 18 February 2015 - 14:29 #792291 Reply to:792281
Elysium's picture

ผมไม่ชอบข้อที่ถามว่า "จงเลือก...ที่ถูกที่สุด"

ความคิดแรกคือ ทั้งหมดถูก จากนั้นระบบเดาสุ่มจะเริ่มมีปัญหา แล้วจบลงด้วยการ "จิ้ม"


คนขี้ลืม | คนบ้าเกม | คนเหงาๆ

By: thanathornboss
Contributor Windows Phone Android Ubuntu
on 18 February 2015 - 07:03 #792143
thanathornboss's picture

Microsoft mathematics โปรแกรมคำนวณชั้นยอด..


I am Cortana.Nice to meet you.

By: aduly
Windows Phone Android Windows
on 18 February 2015 - 14:46 #792295

App เพิ่งเปิดตัวก็มี ดราม่าใน BN แล้ว

By: teerapon0009
Windows Phone Android Windows
on 18 February 2015 - 17:31 #792357 Reply to:792295
teerapon0009's picture

อย่างไว

By: pote2639
Contributor iPhone Windows Phone Windows
on 18 February 2015 - 21:29 #792406 Reply to:792295

เห็น topic คณิต ผมนี่ปวดหัวเลยครับ

By: A4
iPhone Android Red HatSUSE
on 18 February 2015 - 23:09 #792438
A4's picture

<3

By: exboy
iPhone Android Windows
on 18 February 2015 - 23:53 #792450
exboy's picture

ปวดหัวตอนอ่านคอมเมนต์นี่แหละ

แต่ก็ได้ความรู้

By: kamthorn
Contributor Android Ubuntu
on 19 February 2015 - 12:22 #792566

ในโปรแกรม เราจะเขียน x >= 2 อะไรแบบนี้ไม่แปลกเลย เพราะ x เป็นค่าใดๆแต่ในคณิตศาสตร์ 3 > 2 นี่เขียนแค่นี้พอละ จะไปเขียน 3 >= 2 ทำไมให้ยืดยาว ทั้ง 3 และ 2 เป็นค่าคงที่นะ ยังไงมันไม่มีทางเท่ากันอยู่แล้ว (คล้ายๆ เจอ 1/1 ก็ตัดเหลือ 1 ก็ได้ ทำให้เรียบง่ายขึ้น)

ฟิสิกส์ กับคณิตศาสตร์ ยึดความ "เรียบง่าย" เป็นหลักครับ


--

By: Frioniel
Windows Phone Windows
on 19 February 2015 - 12:45 #792579 Reply to:792566
Frioniel's picture

คณิตศาสตร์ยึดนิยามและการให้เหตุผลเป็นหลักต่างหากครับ เคยเจอวิธีพิสูจน์ 1+1=2 ยังยาวเกือบๆ 1 A4 เลย ถ้าคุณให้เหตุผลไม่ได้ นิยามไมาถูก คำตอบก็ไม่มีวันถูกครับ

ความเรียบง่ายมีไว้เพื่อให้คนอ่าน แต่นิยามและการให้เหตุผลต่างหากที่เป็นหลักของคณิตศาสตร์

มันเหมือนกับกรณี 1+1+1+1+1+1*0 ครับ คนที่ตอบว่า 0 ก็อ้าง ความเรียบง่าย ความเคยชิน พวกนี้เหมือนกัน ยอมละเลยหลักคณิตศาสตร์ไปว่า มันต้องทำคูณก่อน

3>=2 จะเขียน 3>2 เฉยๆก็ได้แต่ประเด็นคือมันมี 3>=2 ในตัวเลือกด้วย ซึ่งมันก็ถูกต้องตามหลักคณิตศาสตร์เหมือนกัน เพราะ >= มันถูกเชื่อมด้วยตัวดำเนิินการทางตรรกศาสตร์ "หรือ" นะครับ ทำให้ 3>=2 ถูกต้องตามหลักคณิตศาสตร์

ดังนั้นมันควรจะถูกทั้งสองข้อ หรือไม่อย่างนั้นคนออกโจทย์ต่างหากผิด แต่การจะมาหาเหตุผลด้านอื่นๆ (ที่ไม่ใช่คณิตศาสตร์) เช่นความเรียบง่าย ความเคยชิน การเอาไปใช้จริง มาอ้างเพื่อให้โจทย์ถูก แต่ละเลยการใช้เหตุผลออกไป มันไม่ใช่ครับ ไม่มีนักคณิตศาสตร์ที่ไหนเขาทำกัน

By: -Rookies-
Contributor Android WindowsIn Love
on 21 February 2015 - 21:38 #793433

ห๊ะ ดราม่ายังไม่จบ! แอบแปลกใจที่เห็นหลายคนไม่มองว่าข้อนั้นเฉลยผิด ทั้ง ๆ ที่ส่วนใหญ่น่าจะอยู่สายคอม น่าจะเคยเขียนโปรแกรมกันมา ไม่น่าจะเข้าใจยากขนาดนั้นนะ เอาง่าย ๆ ค่า boolean ที่ได้จากทั้งสองข้อนั่นมันได้ค่า True เหมือนกันเห็น ๆ


เทคโนโลยีไม่ผิด คนใช้มันในทางที่ผิดนั่นแหละที่ผิด!?!

By: menu_dot on 25 February 2015 - 11:38 #794357

ตอบแบบนักคณิต
x >= 1 จริงเมื่อ x = 1,3,4,5 จริงหมดทุกตัวใช่ไหมครับ
แต่ - 361 ไม่เท่ากับ -364 ใช่ไหมครับ ฉะนั่นคำว่า = มันเลยไม่จริง

แต่ -346 > -364 แบบนี้ถูก 100%

By: Frioniel
Windows Phone Windows
on 1 March 2015 - 19:15 #795497 Reply to:794357
Frioniel's picture

แค่ขึ้นต้นมาก็ผิดหลักคณิตศาสตร์แล้วครับ

x >= 1 จริงเมื่อ x = 1 เป็นจริง หรือ x > 1 เป็นจริง ครับ

ไม่ใช่ เมื่อ "x = 1,3,4,5 จริงหมดทุกตัว"

ดังนั้นขอแค่ x=1 เป็นจริง หรือ x>1 เป็นจริงอย่างใดอย่างหนึ่งก็ทำให้ x >= 1 เป็นจริงแล้ว(กลับไปอ่านนิยามใหม่ดีๆครับ ยิ่งอ้างว่าตอบแบบนักคณิต นี่ผมอ่านแล้ว Fail นะ)

-346 >= -364 จริง เพราะว่า -346 > -364 เป็นจริงครับ ในขณะที่ -346 = -364 ไม่จำเป็นต้องเป็นจริงก็ได้

ในขณะเดียวกันถ้าคำว่า -346 >= -364 ไม่จริง จะได้ว่า นิเสธของ -346 >= -364 เป็นจริงซึ่งนิเสธของ -346 >= -364 ก็คือ -346 < -364 นะครับ

By: p-joy on 16 October 2015 - 18:27 #853397 Reply to:795497

สมบัติไตรวิภาค, สมบัติที่กล่าวถึงการเท่ากันหรือไม่เท่ากัน เช่น ถ้า a และ b เป็นจำนวนจริงแล้ว a = b หรือ a < b หรือ a > b อย่างใดอย่างหนึ่งเท่านั้น