เพิ่มเติมจากที่คณะกรรมการเตรียมการด้านดิจิทัลฯ ประกาศแผนจัดตั้งศูนย์ข้อมูลแห่งชาติ ในงานสัมมนาที่จัดขึ้นโดยสำนักงานรัฐบาลอิเล็กทรอนิกส์ (สรอ.) ว่าด้วยการปูแผนงานเพื่อรับกับการก้าวไปสู่รัฐบาลดิจิทัลยังมีรายละเอียดเพิ่มเติมที่น่าสนใจอีกดังนี้
เริ่มต้นด้วยเรื่องการขยายการเข้าถึงอินเทอร์เน็ต ได้มีการจัดตั้งบรอดแบนด์แห่งชาติสำหรับติดตั้งเครือข่ายใยแก้วนำแสงให้เข้าถึงได้จากทุกพื้นที่ทั้งสถานประกอบการ หรือพื้นที่พักอาศัยของประชาชน โดยไม่ต้องออกกฎหมายมารองรับ ซึ่งคาดการณ์ว่าจะแล้วเสร็จภายในปี 2560 นี้
ส่วนต่อมาคือการยกระดับระบบบริการของภาครัฐให้มาใช้งานศูนย์ข้อมูลแห่งเดียว ด้วยแผนการสร้าง ศูนย์ข้อมูลแห่งชาติ ที่จะเปิดให้เอกชนเข้ามาประมูลลงทุน โดยคาดว่าจะแล้วเสร็จภายใน 12 เดือน
เพื่อผลักดันให้เจ้าหน้าที่ และประชาชนคุ้นเคยกับการให้บริการแบบใหม่ที่ทันสมัยขึ้น ทางภาครัฐได้เริ่มทดลองให้บริการประชาชน (Smart Services) ที่ช่วยลดการใช้งานเอกสาร โดยจะดึงข้อมูลจากฐานข้อมูลทะเบียนราษฎร์ ของกรมการปกครองแทน รวมถึงจะเริ่มจัดตั้งตู้บริการอเนกประสงค์ของรัฐฯ สำหรับให้ประชาชนได้ตรวจสอบข้อมูลด้วยตัวเอง แห่งแรกที่เซ็นทรัล ศาลายา และมีแผนจะขยายไปยังห้างสรรพสินค้าในเครือเซ็นทรัลอีก 12 แห่งในอนาคต
ด้านการตรวจคนเข้าเมืองจะเพิ่มความปลอดภัยให้มากขึ้นด้วยการเก็บข้อมูลทางชีวภาพ (ลายนิ้วมือ) ร่วมกับการเก็บข้อมูลแบบเดิมที่อิงจากพาสปอร์ตครับ
Comments
แผนงานที่ยิ่งใหญ่ มาพร้อมกับงบประมาณอันใหญ่ยิ่ง(อุดก้นถังดีๆนะครับ)
+1 อินเทอร์เน็ตสายธรรมดาจนป่านนี้ยังไม่ถึงบ้านผมเลย นี่จะเอาไฟเบอร์กันเลยทีเดียว นึกไม่ออกเลยว่าจะใช้งบมหาศาลขนาดไหน
เทคโนโลยีไม่ผิด คนใช้มันในทางที่ผิดนั่นแหละที่ผิด!?!
ถ้าต้องลงทุนเน็ตธรรมดาก่อน แล้วมาไฟเบอร์ทีหลังก็คงจะใช้งบเยอะกว่ามั้งครับ
เอาจริงถ้าเน็ตธรรมดายังไม่ทั่วถึง จะทำเพิ่มทั้งที ยังจะเอาของเดิมทำไม ก็เอาของใหม่เดินต่อไปซิครับ บ้านคุณอาจจะกระโดดไปเป็นไฟเบอร์โดยไม่รู้จักเน็ต ADSL เลยก็ได้
ทำไมผมนึกถึงกรณี "ถนนลูกรังยังไม่หมดจึงไม่ควรลงทุนกับรถไฟความเร็วสูง"
โห มาใส่กันใหญ่เลย ผมไม่ได้หมายถึงว่าให้ทำสายธรรมดาให้เสร็จก่อนแล้วค่อยทำไฟเบอร์นะครับ มันต่างกับกรณี"ทำถนนลูกรังให้หมดก่อน แล้วค่อยคิดถึงรถไฟความเร็วสูง" ลิบเลยครับ
ตรงกันข้ามผมเห็นด้วยว่าถนนลูกรังยังไม่หมดก็สามารถทำรถไฟความเร็วสูงได้ ถ้า "มันมีถนนครบทุกที่แล้ว (ถึงจะเป็นลูกรังก็เถอะ)" แต่ที่ผมบอกเนี่ย แค่ลูกรังมันยังไม่ถึงเลยครับ (โอเค ผมลืมบอกไปว่าโทรศัพท์สัญญาณก็ยังไม่ค่อยจะมี ขีดเดียวบ้าง ติด ๆ ดีบ ๆ บ้าง อันนี้ผมผิดเองขออภัยครับ) ผมว่าการคมนาคมที่ดีมันควรมี "สายหลัก" ที่เร็ว กว้างพอ และมี "สายรอง" ต่อจากสายหลัก แล้วค่อยมีสายย่อยต่อจากสายรองอีกที ตามระดับความหนาแน่นของประชากรไม่ใช่เหรอครับ?
แต่ข่าวนี้พูดถึงแต่สายไฟเบอร์ ผมก็แค่แย้งว่าเอ่อ บ้านผมเนี่ยสายธรรมดายังไม่ถึงเลยนะ จะเอาไฟเยอร์หมดเลยทุกครัวเรือนนี่เยอะไปมั้ย? เหมือนจะบอกว่าเอ้า ต่อไปเราจะเปลี่ยนถนนทุกเส้นให้หลายเป็นรถไฟความเร็วสูงหมดทั้งประเทศ มันใช่เหรอครับ?
ป.ล. บ้านผมไม่ได้บ้านนอกหลังเขาหรือกันดานน้ำไฟเข้าไม่ถึงนะครับ ห่างจากอ.เมืองไม่กี่กิโลเอง
เทคโนโลยีไม่ผิด คนใช้มันในทางที่ผิดนั่นแหละที่ผิด!?!
ไยแก้ว => ใยแก้ว
นำอสง => นำแสง
ข้อมูลมทะเบียน => ข้อมูลทะเบียน
เอนกประสงค์ => อเนกประสงค์
ถ้าเป็น Fiber แล้วจะได้ IPv6 หรือเป็น Dynamic IP เหมือนเดิม?
คาดว่า ISP จะไม่ยอมเปลี่ยนให้ลูกค้าถ้าไม่จ่ายเงินเพิ่ม ปรับกฏหมายบังคับให้จ่าย global IPv 6 ไปเลยก็ดีนะ หรือไม่ก็ให้ผู้ใช้เลือกได้ฟรี
รายละเอียดยังไงเหรอครับลากสายผ่านทุกหมู่บ้านเหมือนไฟฟ้าแล้วก็มีมิเตอร์ประจำบ้านเหมือนไฟฟ้าแบบนี้เหรอ
คงแค่ว่าเน็ต ADSL ขอได้ทุกคน ทุกที่ ไม่ว่าจะไกลแค่ไหน และเป็นไฟเบอร์ทุกบ้าน ไม่ใช่สายทองแดงด้วย อะไรแบบนั้นครับ
การใช้เน็ตของรัฐนั้นมีความเสี่ยงสูง ผู้ใช้งานควรศึกษาก่อนการการใช้งาน
The Dream hacker..
แผนนี้ ผลักตัวรัฐเอง หรือผลักเอกชนครับ เพราะมันไม่ง่ายเลยที่จะทำได้ โดยเฉพาะเข้าถึงทุกบ้านในปี 2560
ขนาดใน กทม เองจะให้ลากสาย fttx เข้าซอยยังรอหลายเดือน
จะว่าไปนี่มาเร็วกกว่ารถไฟฟ้าอีกนะเนี่ย
เข้ามาอ่านแผนด้านหลังยิ่งใหญ่กว่าให้มีเน็ตทุกบ้านอีกนะเนี่ย
ที่จะให้ภาครัฐเปลี่ยนจากกระดาษเป็นไฟล์ดิจิตอลทั้งหมด
ณ ปีพุทธศักราช 2560, เทคโนโลยี wifi มันแย่มากเลยหรอครับ! หรือกลัวถังเงินมันไม่มีรอยรั่ว.
มันเกี่ยวอะไรกับไวไฟแย่เหรอครับ ไวไฟมันก็ต่อมาจากเน็ทสายอีกที
ส่วนตัวผมว่าไม่ได้หมายถึงลากสายมาให้หน้ารั้วบ้านหรอกครับ แต่หมายถึงว่าถ้าบ้านไหนอยากต่อก็สามารถต่อลากไปที่ถนนหน้าหมู่บ้านเลยเป็นต้น เพราะสายหลักลากผ่านหน้าหมู่บ้านแล้ว
ส่วนจะไฟเบอร์เข้าในบ้านหรือเปล่าก็สุดแท้แต่เจ้าของบ้านแล้วมั้งคร้บ
เรื่องฐานข้อมูลผมว่าถ้าทำได้จริงๆ คงดีสำหรับปชช. ถ้ารวมศูนย์จริงๆ ดึงข้อมูลง่ายมากทั้งโรงพยาบาลหรือตำรวจหรือเวลาติดต่อราชการ จะได้ไม่ต้องหอบเอกสารทุกอย่างไปถือแค่บัตรประชาชนใบเดียวก็พอ
ไฟเบอร์นะครับไม่ใช้สายไฟจั๊มเอาๆ แต่ลัจุดมันก็มีจุดเชื่อมที่จำกัดนะครับ ใครอยากใช้ก็ลากเข้าบ้านแค่ค่าติดตั้งก็อาจถึง5พันหรือมากกว่านั้นได้นะครับถ้าทำแบบนั้นก็จะเหมือนกับโทรศัพท์ตอนนี้ขอเบอร์ใหม่ต้องเป็นผู้มีตัง ถ้าไม่มีตังก็บอกเบอร์เต็มไป
ตกลงมันเกียวอะไรกับไวไฟแย่?
สายไฟมันก็ไม่ได้จัมพ์ได้ไม่จำกัดนะครับ มันก็ตามขนาดสายว่าโหลดเท่าไรไม่ต่างจากเน็ทนั่นแหละ
ส่วนถ้ากลัวไฟเบอร์แพง เชื่อว่าเขาคงไม่มีการห้ามติดเน็ทธรรมดาหรอกครับ
อะไรที่ง่ายๆ มันก็ไม่มีคุณค่า มันต้องทำเรื่องยากๆให้สำเร็จถึงจะมีค่าได้แต่หวังว่าจะได้เป็นเน็ตที่แรงจริงๆ ในราคาที่คนไทยซื้อได้ ไม่ใช่แค่ผักชีโรยหน้าแล้วบอกว่านี่ไงมีแล้วนะ
แค่ 2 ปี วางไฟเบอร์เข้าถึงทุกบ้านคงยากที่จะเป็นไปได้แต่ถ้าทำระบบ ให้อินเตอร์เน็ตวิ่งผ่านสายไฟฟ้าในบ้านได้ น่าจะเป็นไปได้มากว่า
คอนโดนี่อดเลย
ไม่อดหรอก คอนโดผม AIS Fibre มาถึงคอนโดแค่ตอนต่อเข้าห้องใช้วิธีแปลงเป็น VDSL ก่อน
ขอเรื่องเดียว ศูนย์ข้อมูลเดียว อย่าเรียกข้อมูลซ้ำซ้อน จะได้ลดบุคลากรภาครัฐลงไปได้ด้วย ทุกวันนี้ทำงานซ้ำซ้อนกันมาก
A smooth sea never made a skillful sailor.
มีครั้งนึงไปต่อใบขับขี่ เขาบอกดึงชื่อตามทะเบียนราษฐ์ ทะเบียนบ้านเปลี่ยนนะครับ แต่ชื่อภาษาอังกฤษไม่เปลี่ยน
ดีนะครับ ถ้าจะให้ดีเพิ่มระบบสุขภาพ งาน ประกันสังคม ภาษี ประวัติอาชญากรรม พาสปอร์ต ที่ดิน ทุกอย่างเข้าไปไว้ที่เดียวเลย แล้วก็อนุญาตให้แต่ละหน่วยงานเรียกดู เพิ่มข้อมูลได้เฉพาะที่เกี่ยวกับหน่วยงานของตัวเอง
A smooth sea never made a skillful sailor.
ทำได้จริงก็ดีครับ ดีกว่าเอาข้าวไปเก็บไว้ให้มันเน่าเล่น
เหอะ
เพราะขายให้จีนได้ ทำให้ข้าวบางส่วนหายเน่าแล้วครับ สาธุ
ฝันให้ไกล ไปให้ถึง
ใครจะวิจารย์ลบๆยังไงแต่ผมว่าเขาต้องศึกษามาก่อนพอสมควรก่อนจะออกแรงผลักออกแรงอนุมัติแล้ว ถ้าทำได้จริงก็คงดีครับ เทคโนโลยี ADSL ตอนนี้มันตันแล้ว รัฐลากไฟเบอร์เองเลยอาจจะช่วยลดเงินลงทุนของเอกชน เพิ่มอัตราการเข้าถึงได้เร็วกว่า ว่าแต่จะกินกันเยอะหรือเปล่านี่โครงการนี้
เปลี่ยนรัฐบาลก็เลิกเขื่อผมสิ
ตกลงมันดีหรือไม่ดีกันแน่ครับเนี่ย? ดูเหมือนมีแต่คนบอกว่าไม่ดี
ถ้าทำได้มันดีครับ แต่ความเป็นไปได้น้อยมากที่จะสำเร็จ ถ้าตรรกะเดียวกับ ตลก.รธน ก็ประมาณไฟฟ้ายังไม่ครบทุกบ้านเลย
งบประมาณที่จ่ายมันสูงมาก ต้นทุนจริงๆนะครับ ยังไม่รวมค่าดำเนินการในระบบใต้โต๊ะอีก
โครงข่ายพื้นฐานอิเตอร์เน็ตจำเป็นครับ แต่ระดับไฟเบอร์ฯ มันจำเป็นไหม
เอาแค่ลากสายมันต้องใช้คอม ต่างจังหวัดคนมีมือถือมากกว่าคอมไปเล่นทาง wifi ยังเกิดผลมากกว่าถ้าจะทำจริงๆ นะ
ใยแก้วนำแสงไปถึงทุกบ้าน เห็นด้วยอย่างยิ่งครับ ถ้าจะให้ดีและสนับสนุนให้มีการพัฒนาเทคโนโลยี่ในประเทศจริงๆ ควรจะเป็นความเร็วสูงๆๆๆๆ เช่น 1 Gbps เข้าถึงทุกบ้านด้วยครับ โดยไม่จำกัดความเร็วการส่งข้อมูลภายในประเทศ แต่อาจจะจำกัดความเร็วเฉพาะข้อมูลออกนอกประเทศครับ
ผมนึกสภาพ 1gbps ISP หงายท้องเลยครับ คุณจะทำยังไงให้เครือข่ายใช้ระดับ 1gbps พร้อมกันเอาแค่ใช่คนละ 500 mbps ครับ คูณจำนวนคนไปแล้ว backbone ต้องเชื่อมด้วยความเร็วขนาดไหนถึงจะพอ
อันดับแรก ทำให้ไฟฟ้าเข้าถึงทุกหมู่บ้านก่อนครับ
คิดว่าที่ความเห็นเป็นไปในทางลบจำนวนมาก เพราะประวัติที่ผ่านมาของรัฐไทยเองนั่นแหละครับ
ว่าง่ายๆคือคน"ไม่เชื่อน้ำยาของรัฐ" ไม่เกี่ยวกับรัฐบาลไหน ยุคไหนเลยนะ แต่มันคือภาพที่เห็นของรัฐไทยเราเลย
เพราะประเทศไทยเราไม่ได้มีแต่กรุงเทพ หรือเมืองใหญ่ หรือเมืองจังหวัดเล็กๆก็ตามที
ประเทศเรา มียังความแตกต่างกันทั้งภูมิศาสตร์ สังคม เศรษฐกิจสูงมาก
คือในประเทศเดียวกัน เรามีทั้งชีวิตของหนุ่มออฟฟิศ จบนอก อยู่คอนโดใจกลางกรุง เข้าฟิตเนสหลังเลิกงาน ไปเที่ยวญี่ปุ่นวันหยุดยาว
มีทั้งคนที่อยู่ตามป่า อยู่ตามดอยห่างไกล ต้องปั่นไฟใช้เอง น้ำประปาไม่ต้องพูดถึง คอมพิวเตอร์ไม่ต้องพูดถึง ถนนเข้าหมู่บ้านยังไม่มี
ดังนั้น อะไรที่เที่ยวประกาศว่าจะทำให้เหมือนกันทั้งประเทศ ในสถาณกาณ์แบบนี้ มันดูไร้สาระมาก เพราะคนต่างพื้นที่ก็มีความต้องการบางอย่างแตกต่างกัน แตกต่างกันมากๆด้วย ไม่ใช่แตกต่างกันแค่จำนวนเงินในกระเป๋า อย่าว่าแต่ใยแก้วนำแสงไปถึงทุกบ้านเลย แค่ไฟฟ้า ประปา โทรศัพท์ ก็ยังไปไม่ถึงทุกบ้าน ถ้าถึงมันก็ดีแต่มันดูไม่ยืนอยู่บนความเป้นจริง
อย่างกฏหมายเรื่องบังคับให้ผู้ให้บริการ 3G นั่นปะไร บอกว่าต้องมีสัญญาณครอบคลุมทั้งประเทศ ซึ่งทั้งประเทศมันก็หมายถึงตามป่าเขาลำเนาไพร ไปจนถึงในทะเล กลางอ่าวไทยนู่น กลายเป็นข้อบังคับเท่ๆสวยหรู ที่ไม่มีใครปฏิบัติได้
อย่างน้อย 3G ที่ประมูลกันก็มีกำหนดชัดเจนนะครับ ว่าภายใน 4 ปีครอบคลุม 80% ของประเทศ แม้ความเป็นจริง 80% ถือว่ายากแล้ว ยังดูพอมี "ความหวัง" บ้าง
แต่ในข่าวนี้เจอข้อกำหนดคลุมเครือ "ให้เข้าถึงได้จากทุกพื้นที่ทั้งสถานประกอบการ หรือพื้นที่พักอาศัยของประชาชน" (โดยไม่ต้องออกกฎหมายมารองรับ) เข้าไป โอ ผมกุมขมับยิ่งกว่าอีก
ที่ว่าเสร็จภายใน 2560 นี่หมายถึงเฉพาะตัว 'แผนงาน'รึเปล่าครับ แผนงานเสร็จแล้วค่อยเริ่มดำเนินการ
ใยแก้วนำแสงทุกพื้นที อาจจะลากผ่านหน้าบ้านคุณแล้วปล่อย wifi ไว้ตรงนั้นแหละ แล้ววางตัวรับไว้ในบ้านอีกที ถ้าแค่ระยะเสาร์ไฟหน้าบ้านแล้ววางตัวรับไว้ในบ้านไม่ต้องลากสายอาจจะพอทำได้
มายุคนี้ fiber optic ราคาถูกกว่าสายทองแดง
ผมว่าถ้ามีตัวกระจายไร้สายอยู่ในชุมชนแล้วสามารถติดตัวรับเพื่อรับสัญญาณได้ก็น่าจะขยายออกไปได้กว้างและไวขึ้นนะฮะ ถ้ามัวแต่ลากสายขึ้นเสารองรับให้ทั่วถึง ดูแล้วท่าจะยาก
ผมขอเสนอ AOptix ครับ
ขอค้านครับจากใจคนกำลังจะใช้ super wifi แต่ดันมีรังคาตึกบังไป 30 ซม. #ร้องไห้หนักมาก
ผมขอเสนอให้ต่อเติมบ้านให้สูงขึ้นอีกชั้นนึงครับ
3G/4G ความเร็วต่ำ ใช้ได้ฟรีทั่วประเทศก็ไม่เลวนะ ไม่ต้องเสียเงินลากสายด้วย
ขอถนนราดยาง/ไฟฟ้าไปถึงทุกบ้านก่อนได้ไหม จะได้ขับรถไปติดตั้ง/มีไฟใช้ internet ได้
มันก็เหมือนขอให้ถนนลูกรังหมดก่อนจะสร้างรถไฟความเร็วสูงนั่นแหละ แหม่ อย่าเล้ย
มันไม่เหมือนนะครับอ่านวรรคหลังดีๆรถไฟความเร็วสูงมันไม่ต้องมีถนนอยู่ก่อนก็สร้างได้นะครับ
ผมก็สงสัย ทำไมท่านผู้แข็งแกร่งไม่ตอบไปแบบนี้ว่าแต่จะสร้างรถไฟนี่มันเกี่ยวกับ รธน.ตรงไหน
เห็นด้วยครับ แต่ควรจะทำตั้งนานแล้ว จำนวนผู้ใช้เน็ทในไทยโตช้าเมื่อเทียบกับฟิลิปิน เวียดนาม
https://www.google.com/publicdata/explore?ds=d5bncppjof8f9_&met_y=it_net_user_p2&idim=country:THA:VNM:PHL&hl=en&dl=en
ว่าแต่บริษัทไหนหนอจะได้เงินก้อนนี้ไปทำ ในใจผมคิดว่าน่าจะเป็นบริษัทนั้นแน่ ๆ ฮ่า ๆ (ไม่กล้าพูด)
จำนวนผู้ใช้เน็ตไม่ได้มีปัจจัยมาว่าค้องเป็น fiber นี่ครับ
Russia is just nazi who accuse the others for being nazi.someone once said : ผมก็ด่าของผมอยู่นะ :)
ทำไมไม่ใช้ WIMAX หายไปนานเลย
เหล่าผู้บริการทยอยเปลี่ยนไปใช้ LTE แทนครับ
ปัจุบันนี้โครงข่าย fiber backbone ก็ครอบคุมทุกจังหวัดแล้วแต่เป็นของเอกชนหลายๆเจ้า ถ้าจะทำ fiber to home ก็เป็นไปได้ผมคิดว่าน่าจะทำเป็นลักษณะการตั้ง Node ที่เป็น DWDM>SDH>switch แล้วแตกเป็น FTTX,VDSL บลาๆ ตามหมู่บ้าน คอนโด ตามหัวเมืองใหญ่เพื่อนำร่องก่อน มันเกิดขึ้นได้ถ้ารัฐบาลและเอกชนร่วมมือกัน ถ้าทำได้ตลาด Bandwidth ประเทศไทยจะโตขึ้นมากๆๆ