สำนักงานพัฒนารัฐบาลดิจิทัล (องค์การมหาชน) Digital Government Development Agency (Public Organization)
ตั้งแต่วันนี้ สำนักงานรัฐบาลอิเล็กทรอนิกส์ (องค์การมหาชน)เปลี่ยนเป็น สำนักงานพัฒนารัฐบาลดิจิทัล (องค์การมหาชน) (ใช้ชื่อย่อ "สพร.")และเปลี่ยนชื่อภาษาอังกฤษเป็น "Digital Government Development Agency (Public Organization)" (ย่อว่า "DGA")ตาม พระราชกฤษฎีกาจัดตั้งสํานักงานพัฒนารัฐบาลดิจิทัล (องค์การมหาชน) พ.ศ. 2561
ในวันที่ 27 มีนาคม พ.ศ.2560 ราชกิจจานุเบกษาประกาศระเบียบกรมสรรพากร ว่าด้วยการจัดทำ ส่งมอบ และเก็บรักษาใบกำกับภาษีอิเล็กทรอนิกส์ ผ่านระบบ E-Tax Invoice by Email พ.ศ. 2560 โดยระเบียบดังกล่าวกำหนดให้มีผลตั้งแต่วันที่ 1 มีนาคม พ.ศ.2560
Blognone เสนอข่าวสารผลงานของ EGA หรือ สำนักงานรัฐบาลอิเล็กทรอนิกส์ (สรอ.) มาเรื่อยๆ และเคยมีโอกาสสัมภาษณ์ ดร.ศักดิ์ เสกขุนทด ผู้อำนวยการ EGA ในหลากหลายประเด็น โดยเฉพาะเรื่องรัฐบาลอิเล็กทรอนิกส์ที่ EGA พยายามทำอยู่ขณะนี้
เมื่ออาทิตย์ก่อนทาง EGA จัดงานพบปะสื่อออนไลน์ บล็อกเกอร์ สตาร์ทอัพบางราย มีประเด็นพูดคุยเกี่ยวกับบริการอิเล็กทรอนิกส์และผลประโยชน์ที่ประชาชนจะได้รับ ทาง Blognone เห็นว่าน่าสนใจและมีประโยชน์ จึงเก็บประเด็นมาฝาก
ถ้าพูดถึงหน่วยงานรัฐด้านไอซีทีที่มีบทบาทเด่นในช่วงหลังๆ หนึ่งในนั้นย่อมมี สำนักงานรัฐบาลอิเล็กทรอนิกส์องค์การมหาชนในสังกัดกระทรวงไอซีที หรือที่รู้จักกันในชื่อย่อว่า สรอ. หรือ EGA
คนทั่วไปมักรู้ว่า สำนักงานรัฐบาลอิเล็กทรอนิกส์ มีบทบาทหน้าที่ช่วยผลักดันให้หน่วยงานภาครัฐของไทยมีบริการผ่านระบบอิเล็กทรอนิกส์ที่ดีขึ้น และอาจเคยได้ยินผลงานบางอย่างของ EGA กันมาบ้าง (บริการล่าสุดคือ GovChannel และ G-Chat ) แต่ในรายละเอียดแล้ว อาจไม่รู้ว่า EGA มีภารกิจครอบคลุมแค่ไหนอย่างไร ตกลงแล้วเมืองไทยมีความหวังแค่ไหนกับรัฐบาลอิเล็กทรอนิกส์
เมื่อวันที่ 19 เมษายนที่ผ่านมา รัฐบาลไทยเปิดตัวเว็บไซต์ภาษีไปไหน หนึ่งในโครงการ GovChannel ให้บริการประชาชนผ่านระบบออนไลน์ ในงานเดียวกันยังพูดถึง ระบบติดต่อสื่อสารแบบออนไลน์สำหรับหน่วยงานภาครัฐ หรือ G-Chatด้วย
ล่าสุดวันที่ 22 เมษายน พลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี ขยายความเรื่องแอพ G-Chat ในรายการ "คืนความสุขให้คนในชาติ" โดยบอกว่า G-Chat มีลักษณะเหมือน LINE มีห้องสนทนาทั้งส่วนตัว สนทนาเป็นกลุ่ม ประชุมทางไกล วิดีโอคอลล์ แชร์พิกัด แต่มีระบบรักษาความปลอดภัยของข้อมูล ออกแบบมาเพื่อให้หน่วยงานรัฐประชุมกันเอง คุยงานข้ามกระทรวงได้ โดยมีสำนักงานรัฐบาลอิเล็กทรอนิกส์ (EGA) เป็นผู้จัดทำขึ้น
ม.ล.ปนัดดา ดิศกุล รัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี มอบนโยบาย ขอให้การประชาสัมพันธ์ของส่วนราชการปรับปรุงตัวเองครั้งใหญ่ กำหนดยุทธศาสตร์การประชาสัมพันธ์ให้ประชาชนยอมรับ
ในมิติที่เกี่ยวกับสื่อออนไลน์ นโยบายของ ม.ล.ปนัดดา ระบุให้ "จัดทำและปรับปรุงแผนงานประชาสัมพันธ์ พัฒนาระบบข้อมูลบนเว็บไซต์ เฟซบุ๊ก หรืออื่นๆ ให้มีการประชาสัมพันธ์ให้มีความทันสมัยและอยู่บนบรรทัดฐานของความเป็นจริง" ส่วนนโยบายข้ออื่นอ่านกันเองตามต้นทางครับ
สำนักงานรัฐบาลอิเล็กทรอนิกส์ (องค์การมหาชน) หรือ EGA ออกมาตรฐานแอปพลิเคชั่นภาครัฐสำหรับโทรศัพท์มือถือ หรือ Government Mobile Application Standard Version 1.0
มาตรฐานนี้กำหนดภาพกว้างของการพัฒนาแอปพลิเคชั่น เช่น ต้องระบุข้อตกลงการใช้งาน, รักษาความปลอดภัยให้กับผู้ใช้, บังคับเข้ารหัสในกรณีเป็นข้อมูลที่มีความสำคัญ เช่น ข้อมูลบัญชีธนาคาร
สำนักงานรัฐบาลอิเล็กทรอนิกส์ (องค์กรมหาชน) ร่วมกับ สำนักงานพัฒนาอุตสาหกรรม กระทรวงการเศรษฐกิจ ไต้หวัน จัดกิจกรรมการพัฒนาต้นแบบแอปพลิเคชั่น หรือ Open Data Hackathonในวันที่ 3-4 ตุลาคม 2558 ณ Ma:D Club for Change เอกมัยซอย 4
ขอเชิญนักพัฒนาแอปพลิเคชั่นที่สนใจปัญหาด้าน สุขภาพ ภัยพิบัติ และการจราจรในเมือง และการใช้ Open Data บน data.go.th หรือ online data จากหน่วยงานภาครัฐอื่น ๆ ในการแก้ปัญหาเข้าร่วมแข่งขัน ( หมดเขตรับสมัคร 29 กันยายน 2558)
สำนักงานรัฐบาลอิเล็กทรอนิกส์ (EGA) ประกาศเตรียมจัดตั้งสถาบันการเรียนรู้เทคโนโลยีไอทีสำหรับเจ้าหน้าที่ของหน่วยงานภาครัฐ รวมถึงจะเปิด TED Talk ในฝั่งภาครัฐด้วย
ดร.ศักดิ์ เสกขุนทด ผู้อำนวยการของสำนักงานฯ ระบุว่า การเปิดสถาบันการเรียนรู้ในครั้งนี้ เพราะเนื่องจากต้องการให้เจ้าหน้าที่รัฐมีความเข้าใจในเทคโนโลยีมากยิ่งขึ้น โดยในช่วงแรกจะเปิดสอนเนื้อหาเกี่ยวกับ IPv6 และจะขยายเนื้อหาไปในส่วนอื่นๆ เช่น Big Data, Internet of Things เป็นต้น
นอกจากนี้ยังระบุว่า เตรียมที่จะจัด TED Talk ในรูปแบบของภาครัฐ เพื่อทำให้เจ้าหน้าที่รัฐเกิดความตื่นตัวในการนำเอาเทคโนโลยีใหม่ๆ มาปรับใช้กับการทำงานด้วย
ที่มา - อีเมลข่าวประชาสัมพันธ์
Press Release 31/8/58
เราอาจจะเคยเห็นแอพในโทรศัพท์ต่างๆ ที่เป็นฝั่งของโรงพยาบาลเอกชนมาหลายแห่งแล้ว แต่ตอนนี้โรงพยาบาลของรัฐก็เริ่มปรับตัวและมีแอพกับเขาบ้างเหมือนกันครับ
โรงพยาบาลรามาธิบดี ร่วมกับสำนักงานรัฐบาลอิเล็กทรอนิกส์ (องค์การมหาชน) เปิดตัวแอพบนโทรศัพท์มือถือ (มีทั้งของ iOS และ Android) ชื่อว่า Rama Appointment แอพดังกล่าวจะเป็นตัวกลางให้ผู้ป่วยของโรงพยาบาลรามาธิบดีทั้งหมด สามารถลงทะเบียนเพื่อดูนัดหมายของตัวเองได้ว่ามีนัดอยู่กับแผนกใดบ้าง และเมื่อใด รวมทั้งยังขอเลื่อนนัดผ่านทางแอพได้ด้วย ข้อมูลของโรงพยาบาลจะเชื่อมต่อกับระบบฐานข้อมูลทะเบียนราษฎร์ของกรมการปกครองโดยใช้เลขบัตรประจำตัวประชาชน ชื่อ นามสกุล และชื่อบิดามารดาในการยืนยันตัว
เนื่องด้วยผมมีโอกาสได้ไปเข้าชมงาน eGov Day 2015 ที่จัดขึ้นที่ลาน Eden ศูนย์การค้าเซ็นทรัลเวิลด์ เมื่อวันที่ 26 เม.ย. โดยเฉพาะบูธโครงการ Smart Citizen Info ตามคำเชิญชวนของโปรแกรมเมอร์ที่ผมรู้จักท่านนึงซึ่งมีส่วนร่วมโดยตรงกับโครงการนี้ แม้ว่าจะโดนชวนตั้งแต่ปีที่แล้ว (เกือบลืมไปแล้ว) แต่ด้วยความสงสัยที่มีต่อบัตรประชาชนแบบสมาร์ทการ์ดว่าตกลงมันมีประโยชน์อย่างไรจะได้ใช้งานจริงได้เมื่อไหร่ จึงได้เดินทางไปหาคำตอบที่ผมเองเชื่อว่าหลายๆ คนก็คงอยากทราบเช่นกัน
เพิ่มเติมจากที่คณะกรรมการเตรียมการด้านดิจิทัลฯ ประกาศแผนจัดตั้งศูนย์ข้อมูลแห่งชาติ ในงานสัมมนาที่จัดขึ้นโดยสำนักงานรัฐบาลอิเล็กทรอนิกส์ (สรอ.) ว่าด้วยการปูแผนงานเพื่อรับกับการก้าวไปสู่รัฐบาลดิจิทัลยังมีรายละเอียดเพิ่มเติมที่น่าสนใจอีกดังนี้
เริ่มต้นด้วยเรื่องการขยายการเข้าถึงอินเทอร์เน็ต ได้มีการจัดตั้งบรอดแบนด์แห่งชาติสำหรับติดตั้งเครือข่ายใยแก้วนำแสงให้เข้าถึงได้จากทุกพื้นที่ทั้งสถานประกอบการ หรือพื้นที่พักอาศัยของประชาชน โดยไม่ต้องออกกฎหมายมารองรับ ซึ่งคาดการณ์ว่าจะแล้วเสร็จภายในปี 2560 นี้
ในการประชุมคณะกรรมการเตรียมการด้านดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม เมื่อวันที่ 18 มีนาคม 2558 (งานเดียวกับข่าว เห็นชอบ กสทช. เดินหน้าประมูล 4G ) คณะกรรมการฯ ยังมีมติให้หน่วยงานราชการไทยไม่สามารถของบซื้อ-ทำศูนย์ข้อมูล (data center) เฉพาะหน่วยงานของตัวเองได้อีกต่อไป แต่ต้องเปลี่ยนมาใช้ "ศูนย์ข้อมูลแห่งชาติ" แทน ตามแผนการบูรณาการศูนย์ข้อมูลภาครัฐ (Data Center Consolidation) เพื่อลดความซ้ำซ้อนของงบประมาณ
ศูนย์ข้อมูลแห่งชาติจะเปิดให้เอกชนเข้ามาประมูลโครงการในเร็วๆ นี้ โดยโครงการจะต้องดำเนินการเสร็จภายใน 12 เดือน ตอนนี้สำนักงานรัฐบาลอิเล็กทรอนิกส์ (EGA) กำลังศึกษารายละเอียด
สำนักงานรัฐบาลอิเล็กทรอนิกส์ (องค์การมหาชน) หรือ EGA ได้จัดโครงการแข่งขันประกวดผลงานการพัฒนา Mobile Application ภาครัฐ (MEGA 2014) (Mobile e-Government Award 2014) ขึ้นเพื่อส่งเสริมและสนับสนุนให้นักพัฒนา Mobile Application ในภาครัฐ ภาคเอกชน และภาคการศึกษา เกิดความตื่นตัวในการผลิตและพัฒนาผลงานที่มีคุณภาพ ให้สอดคล้องกับความต้องการของภาครัฐและภาคประชาชน ในการใช้งานบริการรัฐบาลอิเล็กทรอนิกส์ ตลอดจนเป็นการยกระดับการใช้งานบริการภาครัฐผ่านโมบายแอพพลิเคชั่นอันจะสอดคล้องกับแผนยุทธศาสตร์ในการสร้างและส่งเสริมบริการรัฐบาลอิเล็กทรอนิกส์ของประเทศไทย
สำนักงานรัฐบาลอิเล็กทรอนิกส์ (องค์การมหาชน) หรือ EGA จัด"โครงการแข่งขันประกวดผลงานการพัฒนา Mobile Application ภาครัฐ" หรือ Mobile e-Government Award 2014 (MEGA 2014) เน้นการพัฒนาแอพที่เชื่อมต่อกับบริการของหน่วยงานภาครัฐเพื่อบริการประชาชน
ผู้สมัครแบ่งออกเป็น 2 ระดับคือ นักพัฒนาอิสระ/นักศึกษา และผู้ประกอบการซอฟต์แวร์ไทย (จดเป็นนิติบุคคล) และแบ่งประเภทของแอพออกเป็น 13 หมวดหมู่ (รายชื่อท้ายข่าว) ผู้ชนะในแต่ละหมวดจะได้เงินรางวัล 50,000 บาท รางวัลรองลงมา 30,000-10,000-5,000 บาท ทุกรางวัลจะได้สิทธิเข้าคอร์สอบรมผู้ประกอบการของ สวทช. ด้วย
ขั้นตอนการสมัครจะแบ่งเป็นช่วงคือ
สำนักงานรัฐบาลอิเล็กทรอนิกส์ (สรอ.) เปิดข้อมูลความคืบหน้าของโครงการระบบกลุ่มเมฆสำหรับภาครัฐ (G-Cloud) ที่เปิดให้บริการเมื่อปี 2555 ว่าในปัจจุบันมีหน่วยงานราชการให้ความสนใจอย่างมาก และกำลังเติบโตอย่างต่อเนื่อง พร้อมเผยแผนการขยายโครงการระลอกต่อไปแล้ว
สรอ. อธิบายว่าการมาของระบบ G-Cloud เปลี่ยนวิธีการใช้งานระบบไอทีของหน่วยงานราชการ จากเดิมที่ใช้วิธีการจัดซื้อจัดจ้าง เป็นการนำระบบไอทีของหน่วยงาน มารันบน G-Cloud แทน ซึ่งในปัจจุบันยังเป็นข้อมูลบนเว็บไซต์ การแบ็กอัพข้อมูล และมีแผนจะขยายไปยังการใช้งานกับฐานข้อมูลทั่วไป จนถึงการนำระบบการบริการงานบางส่วนมาไว้บน G-Cloud ตามลำดับ
วันนี้บริษัทไฟเบอร์ออปติกส์ TE Connectivity จัดงานสัมมนาที่เซ็นทรัลลาดพร้าว หนึ่งในแขกของเวทีสัมมนามี ดร.ศักดิ์ เสกขุนทด ผู้อำนวยการ สำนักงานรัฐบาลอิเล็กทรอนิกส์ (EGA) ซึ่งเปรียบเสมือนหน่วยงาน CIO ของรัฐบาลไทย ดร.ศักดิ์ ได้ให้ข้อมูลเรื่องเซิร์ฟเวอร์ของหน่วยงานภาครัฐไทยดังนี้ครับ
ปกติแล้วข่าวไอทีจากฝั่งภาครัฐไทยมักมีแต่ข่าวลบๆ พอมีข่าวด้านบวกก็ขอมานำเสนอหน่อยนะครับ
เดิมทีข้อมูลสารสนเทศของหน่วยงานรัฐไทยมักเก็บกันกระจัดกระจาย ต่างคนต่างเก็บ ไม่เชื่อมโยงกัน การประสานงานทำได้ยุ่งยาก แต่ช่วงหลังเราก็เริ่มเห็นการประสานงานระหว่างหน่วยงานรัฐกันมากขึ้น
ความเคลื่อนไหวล่าสุดในเรื่องนี้คือ สำนักงานรัฐบาลอิเล็กทรอนิกส์ (องค์การมหาชน) หรือ EGA ในฐานะองค์กร CIO ของภาครัฐไทย เข้าไปเป็นตัวกลางประสานงานให้กรมการปกครองและกรมปศุสัตว์ (ซึ่งอยู่คนละกระทรวงกัน) เชื่อมฐานข้อมูลสองฐานเข้าด้วยกัน
กระทรวงไอซีทีร่วมมือกับสำนักงานรัฐบาลอิเล็กทรอนิกส์ (องค์การมหาชน) หรือ สรอ., สำนักงานส่งเสริมอุตสาหกรรมซอฟต์แวร์แห่งชาติ (องค์การมหาชน) และเขตอุตสาหกรรมซอฟต์แวร์ประเทศไทย ทำระบบ Government Software as a Service (G-SaaS)บริการซอฟต์แวร์ออนไลน์ภาครัฐ เป็นซอฟต์แวร์พื้นฐานจำนวน 11 โปรแกรมให้หน่วยงานภาครัฐใช้งาน
ซอฟต์แวร์ออนไลน์ภาครัฐที่ให้บริการบริการจะมี 11 กลุ่ม โดย 3 กลุ่มแรกสามารถให้บริการได้ทันทีคือ
สรอ. เซ็นสัญญาร่วมกับกรมการปกครอง เก็บข้อมูลประชาชนขึ้นระบบคอมพิวเตอร์กลุ่มเมฆ เชื่อมโยงบริการภาครัฐ
จากที่รัฐบาลชุดนายกยิ่งลักษณ์ ชินวัตรได้แถลงนโยบายต่อรัฐสภาไปเมื่อวันที่ 23 สิงหาคม 2554 หนึ่งในนั้นมีนโยบายการบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดี ซึ่งมีแผนจะยกระดับสมรรถนะของส่วนราชการ และหน่วยงานของรัฐให้มีความยืดหยุ่นมากขึ้น พร้อมปรับปรุงบริการระบบบริการประชาชน เพื่อปูทางสู่การเป็นรัฐบาลอิเล็กทรอนิกส์ (อ่านรายละเอียดได้จากข้อที่ 8.1.4 จาก สำนักงานเลขาธิการคณะรัฐมนตรี หรือดาวน์โหลดได้ ที่นี่ )