เมื่อวานนี้ กสทช. ได้จัดงาน กสทช. พบ Blogger และชาวเน็ต ร่วมกับ สถานีโทรทัศน์ไทยพีบีเอส เพื่อร่วมกันประชาสัมพันธ์ข้อมูลของโครงการทีวีดิจิทัลในประเทศไทยที่ได้ดำเนินการมาแล้วระยะหนึ่ง โดยไฮไลต์สำคัญภายในงานนี้ คือการเข้าเยี่ยมชมห้องส่งสัญญาณกลางของทางไทยพีบีเอส ณ โรงแรมใบหยกสกาย (อาคารใบหยก 2) ถนนราชปรารภ ซึ่งผู้ให้บริการสัญญาณทุกเจ้าต้องเชื่อมสัญญาณจากตัวรวมสัญญาณหรือ MUX เข้าห้องนี้ ก่อนนำขึ้นเสาส่งสัญญาณที่ชั้น 85 ของโรงแรมต่อไป
ภายในการเยี่ยมชม ผมได้รับเกียรติจากคุณแมว ธนกร สุขใส ผู้จัดการฝ่ายข้อมูลและวางแผนวิศวกรรม สถานีโทรทัศน์ไทยพีบีเอส องค์การกระจายเสียงและแพร่ภาพสาธารณะแห่งประเทศไทย เป็นผู้ให้ข้อมูลประกอบในครั้งนี้ครับ
คุณแมว ธนกร สุขใส ผู้ให้ข้อมูลในครั้งนี้
สถานที่ตั้งเสาส่งสัญญาณภายในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑลนั้น จะมีอยู่ทั้งหมดสองสถานี คือ ชั้น 84 และ 85 ของโรงแรมใบหยกสกาย โดยชั้น 84 (ชั้นดาดฟ้าพื้นหมุน) จะเป็นที่ตั้งของห้องควบคุมกลาง และห้องวางชุดอุปกรณ์รวมสัญญาณ (แต่ละผู้ให้บริการจะใช้ห้องแยกกัน) และชั้น 85 (ชั้นดาดฟ้าของอาคาร) จะเป็นที่ตั้งเสาสัญญาณขนาดใหญ่ความสูง 25 เมตร ซึ่งมีการลากท่อนำสัญญาณขึ้นมาจากห้องควบคุมกลาง และท่อหล่อเย็นขึ้นมาพร้อมกัน และอีกแห่งคือสถานีย่อยที่ย่านศาลาแดง เขตบางรัก ที่อยู่ในระหว่างการดำเนินการ
ภายในห้องควบคุมกลางของไทยพีบีเอสจะมีอุปกรณ์ที่เกี่ยวข้องอยู่หลายตัวซึ่งแบ่งออกได้ตามนี้ครับ
อุปกรณ์รวมสัญญาณ (Multiplexer)
เริ่มต้นที่ตัวแรกคือชุดรวมสัญญาณหรือ Multiplexer ซึ่งแต่ละผู้ให้บริการจะต้องติดตั้งไว้ทั้งหมดสองชุด คือชุดใช้งานจริงหนึ่งชุด และชุดสำรองหนึ่งชุดในกรณีที่ระบบหลักล่ม อุปกรณ์ตัวนี้จะทำหน้าที่รวบสัญญาณที่แต่ละช่องส่งเข้ามาแล้วมัดเป็นสัญญาณวิทยุเพื่อส่งต่อเข้าอุปกรณ์แยกสัญญาณหรือ Combiner
สัญญาณขาเข้า Multiplexer จะรับสัญญาณมาจากดาวเทียมไทยคมเป็นหลัก ซึ่งเจ้าของช่องต้องเข้ารหัสและนำมาให้ทางผู้ให้บริการทำการปลดล็อกและส่งสัญญาณเข้าระบบให้ แต่ในกรณีที่ดาวเทียมล่ม Multiplexer ก็จะมีคุณสมบัติในการสลับสัญญาณขาเข้าเป็นช่องทางอื่นได้ในเวลาไม่กี่วินาที ซึ่งช่องทางสำรองที่เตรียมไว้คือใช้สายไฟเบอร์ออพติคส่งตรงจากสถานี และใช้สัญญาณไมโครเวฟแทน
อุปกรณ์รับสัญญาณดาวเทียม อันนี้ไทยพีบีเอสประยุกต์ใช้ของเดิมที่มีอยู่แล้วและนำมาใช้งานต่อ
อุปกรณ์รับสัญญาณไมโครเวฟ
ตัว Multiplexer แต่ละชุด จะส่งสัญญาณขาออกที่กำลังไฟ 4 กิโลวัตต์ ซึ่งต่ำกว่าระบบแอนาล็อกถึง 10 เท่า คุณแมวระบุว่านอกจากช่วยลดการใช้กำลังคนแล้ว ตัว Multiplexer ยังช่วยลดการใช้พลังงาน แถมยังช่วยลดค่าไฟจากเดือนละ เจ็ดแสนกว่าบาท เหลือเพียงเดือนละ เจ็ดหมื่นกว่าบาท ได้ด้วย
ท้ายที่สุดคุณแมวเผยว่า ในขั้นตอนการวางระบบ ไทยพีบีเอสได้วางระบบเบื้องต้นเอาไว้และสามารถรองรับได้ทั้งหมด 8 Multiplexer ซึ่งในอนาคตถ้ามีจำนวนช่องที่เพิ่มมากขึ้น หรือช่องทั้งหมดพร้อมเปลี่ยนเป็น HD ทั้งหมด ก็สามารถติดตั้ง MUX เพิ่มเพื่อขยายขอบเขตออกไปได้อีกด้วย
อุปกรณ์แยกสัญญาณ (Combiner)
อุปกรณ์ชุดที่สองคืออุปกรณ์แยกสัญญาณขาเข้าจาก Multiplexer ซึ่งผู้ให้บริการทุกเจ้า ต้องโยงท่อสัญญาณเข้าอุปกรณ์ตัวนี้ทั้งหมด ก่อนนำสัญญาณขึ้นไปปล่อยบนเสาสัญญาณต่อไป
ท่อนำสัญญาณจาก Multiplexer จะเป็นท่อสีขาว (ลูกศรสีน้ำเงิน) ส่วนท่อสีทองแดง (ลูกศรสีแดง) คือท่อที่ส่งต่อไปยังอุปกรณ์ส่งสัญญาณเพื่อลำเลียงสัญญาณขึ้นไปยังเสาส่ง
ภายในท่อนำสัญญาณจะประกอบไปด้วยท่อทองแดงสำหรับลำเลียงสัญญาณ และแผ่นทองแดงภายในที่ใช้ในการเพิ่มความเข้มข้นของสัญญาณ ซึ่งเมื่อได้ความเข้มข้นที่ต้องการแล้วก็จะนำส่งเข้าเครื่องส่งสัญญาณเพื่อยิงสัญญาณขึ้นเสาส่งต่อไป
ที่หน้าเครื่องส่งสัญญาณ จะมีตัวเลขแจ้งกำลังการส่งสัญญาณ ซึ่งหลังจากผ่านขั้นตอนต่างๆ ทั้งหมดแล้ว ระบบจะส่งสัญญาณทั้งหมดที่ประมาณห้าหมื่น-หกหมื่นวัตต์ โดยแบ่งออกเป็นทั้งหมดสองขา คือขา Upper Half (แทนด้วยสีขาวในเสาสัญญาณ) และขา Lower Half (แทนด้วยสีแดงในเสาสัญญาณ)
ภายในห้องควบคุมกลาง เราจะเห็นท่อนำสัญญาณจากแต่ละ Multiplexer เข้าเครื่องนี้ และท่อนำสัญญาณสองท่อทางด้านขวาของรูป คือท่อที่ยิงขึ้นเสาสัญญาณหลักที่ชั้น 85
อุปกรณ์ตัดกระแสไฟฟ้าส่วนเกินจากธรรมชาติ (Surge Protector)
อุปกรณ์ตัวสุดท้ายในห้องนี้ก็คือ ตัวตัดกระแสไฟฟ้าส่วนเกิน เนื่องจากการขึ้นเสาสูงนั้นมีผลต่อการเป็นตัวนำไฟฟ้าและอาจจะสร้างความเสียหายให้กับอุปกรณ์และระบบทั้งหมดได้ ดังนั้นภายในห้องจึงต้องมีการติดตั้งอุปกรณ์นี้เอาไว้ โดยตั้งแต่เริ่มดำเนินการก็มีฟ้าผ่าลงมาแล้ว 19 ครั้ง และถ้าอุปกรณ์นี้แสดงสัญญาณเป็น Fault เมื่อไหร่ก็ต้องเปลี่ยนทันที เพราะอาจจะมีผลเสียตามมาในอนาคต
เสาส่งสัญญาณ
เสาส่งสัญญาณต้นนี้เป็นเสาส่งที่ทางไทยพีบีเอสใช้ของเดิมที่ติดตั้งอยู่แล้ว โดยเพิ่มตัวส่งสัญญาณภาคดิจิทัลเข้าไปทั้งหมด 48 ตัว ตามที่บอกไปว่าตัวเสาส่งสัญญาณ จะแบ่งออกเป็นทั้งหมดสองชุด คือขา Upper Half และขา Lower Half ทั้งสองขาจะแทนที่ด้วยสีที่ปรากฎทางด้านบนสุดของภาพ
ในกรณีที่ขาใดขาหนึ่งขัดข้อง อีกหนึ่งขาหนึ่งจะยังคงส่งสัญญาณได้ตามปกติ แต่พื้นที่การรับชมจะแคบเข้ามาเล็กน้อย อย่างไรก็ตาม การรับชมดิจิทัลทีวีจะไม่เหมือนระบบแอนาล็อกที่ถ้าระบบมีปัญหา ภาพที่ได้ก็จะมีปัญหาตามไปด้วย เพราะดิจิทัลทีวีมีเพียงแค่รับได้กับไม่ได้เท่านั้น
คุณแมวเล่าว่า เดิมที อสมท เสนอให้ใช้เสาสัญญาณขนาดเล็กวางล้อมรอบชั้นดาดฟ้าของอาคารใบหยก แต่สุดท้ายก็ไม่ได้นำมาใช้งานจริง เนื่องจากต้องวางระบบกันใหม่ทั้งหมด เสานี้จึงถูกใช้งานเพียงการทดสอบสัญญาณของ อสมท เท่านั้น ก่อนนำสัญญาณกลับมาใช้ร่วมกับ ไทยพีบีเอสในห้องส่งสัญญาณจริง
แผนสำรองกรณีเกิดเหตุไฟดับทั่วกรุงเทพมหานคร
ผมลองสอบถามกรณีเกิดเหตุฉุกเฉินร้ายแรงแบบเดียวกับที่ส่งผลต่อการให้บริการรถไฟฟ้า นั่นก็คือกรณีที่เกิดเหตุ Blackout ทั่วกรุงเทพมหานคร คุณแมวตอบคำถามนี้ว่า ไทยพีบีเอส ได้ใช้โครงสร้างพื้นฐานเดิมที่ได้วางเอาไว้สมัยที่ทำระบบแอนาล็อก ซึ่งแต่เดิมอาคารใบหยก 2 มีเครื่องปั่นกระแสไฟฟ้าสำรองไว้ให้ที่ชั้น 52 ของอาคาร ซึ่งเมื่อเกิดเหตุ เครื่องดังกล่าวก็จะทำงานทันที โดยตัวเครื่องสามารถเลี้ยงไฟให้ระบบอยู่ได้อย่างน้อย 3 วัน ซึ่งถ้าเกินจาก 3 วันก็ไม่ใช่ปัญหา เพราะระหว่างนั้นก็จะนำเชื้อเพลิงมาเติมให้ระบบอย่างสม่ำเสมอครับ
แผนงานในอนาคต
ในอนาคตทางไทยพีบีเอสอยู่ในระหว่างการประเมินความเสี่ยงที่จะเกิดขึ้นจากการขึ้น อาคารซุปเปอร์ทาวเวอร์ แอท แกรนด์พระราม 9 ความสูง 125 ชั้น เนื่องจากมีความสูงที่สูงกว่าเป็นหนึ่งเท่าของอาคารใบหยก 2 (อาคารใบหยก 2 สูง 309 เมตร ส่วนอาคารพระราม 9 สูง 615 เมตร) เลยทำให้พื้นที่ตั้งแต่โซนพระราม 9 เป็นต้นไป กลายเป็นพื้นที่เสี่ยงต่อการรับชม เพราะถึงแม้ว่าสัญญาณ OFDM ที่ระบบ DVB-T ใช้งานนั้นจะเป็นสัญญาณที่สามารถกระเด้งและกระจายไปตามอาคารได้ แต่กรณีที่มีอาคารสูงกว่าเสาส่งขึ้นนั้น ก็มีปัญหาต่อการรับชมเช่นกัน โดยเบื้องต้นทางไทยพีบีเอสได้เตรียมแผนสำรองเอาไว้สองแผน คือการตั้งสถานีย่อยในพื้นที่ หรือย้ายสถานีส่งหลักจากอาคารใบหยกเป็นอาคารพระราม 9 แทน ซึ่งทั้งหมดนี้ก็ต้องขึ้นอยู่กับความเห็นชอบของเจ้าของพื้นที่ด้วยนั่นเองครับ
Comments
ไปชุดเดียวกับผมเลยนี่หน่า :D
ดูแล้ว ThaiPBS เองก็น่าจะนับได้ว่าเป็นเจ้าภาพร่วมกับ กสทช. แถมทำงานได้เป็นอย่างดี (และดีกว่านี้หากไม่ช่องอื่นไม่เล่นแง่แต่แรก)
ขอให้ดิจิตอลทีวีเจิรญยิ่งๆ ขึ้นไปครับ ขอสนับสนุน
บล็อกส่วนตัวที่อัพเดตตามอารมณ์และความขยัน :P
เสาส่งสัญญาณให้อารมณ์เหมือนออปติมัสไพรม์ในภาค 2
คนขี้ลืม | คนบ้าเกม | คนเหงาๆ
ถ้าเกิดแผ่นดินไหวแบบจำพวกเกมที่แนวๆโลกล่มสลาย สัญญาณพวกนี้จะยังใช้ได้อยู่ไหม(ในกรณีที่ตัวเสาพังแล้วบางส่วน)ถ้ายังใช้ได้จะใช้ได้แค่ทีวีหรือแค่วิทยุ หรือได้ทั้ง 2 เลย?
ปล.สงสัยผมจะติดเกมไปหน่อยนะ
Mekokung's Story บล็อกส่วนตัวที่ย้ายไป Blogger แล้วนะ
ยังมีสถานีสำรองที่กรมทหารสื่อสารตรงสะพานแดง หรือถ้าเลวร้ายขนาดนั้นก็ยังมีรถออกอากาศฉุกเฉินครับ
บล็อกส่วนตัวที่อัพเดตตามอารมณ์และความขยัน :P
คล้ายๆนถของ CAT อันนั้นใช่ไหมครับ ? แล้วที่เป็ฯของกรมทหารนี้คือใช้สื่อสารทางวิทยุโดยเฉพาะเลยใช่ไหมครับ ?
Mekokung's Story บล็อกส่วนตัวที่ย้ายไป Blogger แล้วนะ
ไม่แน่ใจนะครับ แต่เท่าที่คุณแมว @EngineerThaiPBS บอก มันจะมีครบทุกองค์ประกอบเหมือนที่ใบหยกเลยแต่กำลังส่งจะน้อยกว่า ส่วนที่สะพานแดง แต่เดิมเป็นเสา VHF ของ ททบ.5 อยู่แล้วครับ
บล็อกส่วนตัวที่อัพเดตตามอารมณ์และความขยัน :P
ไม่ต้องรอว่าจะออกอากาศได้ไหม เอาแค่มีไฟฟ้ามาถึงคนดู หรือมีชีวิตอยู่จะดูก่อน :P
ผมได้ถามคำถามนี้ไปครับ ... คำตอบตามด้านบนแล้วครับ ... แต่ระบบที่ออกแบบจะสู้ทางญี่ปุ่นยังไม่ได้เพราะ Infrastructure ยังไม่ครบครับ ผมเองจำไม่ค่อยได้ในรายละเอียด แต่เค้าจะเปลี่ยนคลื่นการออกอากาศได้ด้วยครับผม (จำแนวทางไม่ได้เท่าไหร่)
ส่วนเมืองไทยใช้ส่วนอื่นที่ยังใช้งานได้ใกล้เคียงแทน หรือรถออกอากาศเคลื่อนที่ครับ
ขอบคุณครับ สวัสดีครับ
หาสัญญาณยากเหมือนอยู่ดาวนาเม็กอีกไม่เกินปีสองปี ทีวีดิจิตอลคงเจ๊งกันเป็นแถบ
บ้านผมมุกดาหารดูไพ้ไม่ถึง10ช่องเลย ถ้าไม่ดูดาวเทียมก็คงไม่ได้ครบหมด
ได้ MUX ไหนครับ?
ไม่ทราบครับดูผ่านกล่องก็ได้แค่สิบช่องเอง แต่ดูผ่านจานดาวเทียมได้ทุกช่อง
+๑
ผมนึกว่าสัญญาณหลักเป็นทางไฟเบอร์และสำรองทางดาวเทียมซะอีกอย่างนี้ latency มันก็สูงกว่าในกรณีปกติน่ะสิ
สื่อสารทางเดียว Latency คงไม่มีผลอะไรมากมั้งครับ
ยังไงก็มีฮ่ะ เช่นดูจาก Cable ก่ะ ดูจาก ดาวเทียมยังเร็วไม่เท่ากันเลยฮะ
มีผลอย่างมากเวลาดูรายการสดเช่นกีฬาครับ ช่องยิงขึ้นดาวเทียม แล้ว MUX สอยกลับลงมา จากนั้นต้องไปเสียเวลาในกระบวนการเข้ารหัสเพื่อยิงสัญญาณบนภาคพื้นดินอย่างต่างจังหวัดนี่ ดิจิทัลช้ากว่าอนาล็อคเกือบๆ 4 วินาทีได้เลยครับ
ผมไปงานนี้และทางผู้บริหารให้เหตุผลว่าการรับและยิงขึ้นดาวเทียมเสถียรกว่าในเชิงกายภาพกว่าเคบิลใบแก้วที่ลากๆ กันครับ โดยเหตุผลหนึ่งคือสายใยแก้วพวกนี้ขาดบ่อยและมักมีปัญหา เช่นเวลาเสาไฟฟ้าล้ม หรือรถชนเสาที่มีสายใยแก้วมักทำให้ขาดได้ง่ายๆ ครับ คือมันไม่เกิดบ่อย แต่ก็เกิดได้เรื่อยๆ เลยใช้จานใหญ่รับ-ยิงแทนดีกว่า ดีเลย์นิดหน่อยถือว่ารับได้ครับ
แล้วถ้าช่องทางคลื่นไมโครเวฟนั่นล่ะครับ?
ดาวเทียมยิงขึ้นฟ้า อย่างมากฝนตกอาจสัญญาณมีปัญหาได้บ้าง (จานใหญ่ๆ ก็ช่วยได้) ส่วนคลื่นไมโครเวฟมีปัญหาหากสัญญาณจะถูกรบกวนด้วยคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าจากธรรมชาติตอนฝนตก พายุเข้าหรือฟ้าผ่าได้ง่ายกว่า
พูกง่ายๆ ตัวไหนเสถียรมากสุดเอาตัวนั้นก่อน ตัวอื่นๆ ก็เอามาลบจุดด้อยของตัวหลักไปครับ
จากการสอบถามเพิ่มเติม การสลับระหว่างมีเดียทั้งสามแบบ คนรับชมใกล้เสาไม่รู้ถึงการสับเปลี่ยนมากเท่าปลายๆ
เสริมนิดนึงว่าระบบรันบน IP ทั้งหมดเลย ฉะนั้นมีการทำ load balance ระหว่าง source ทำให้สัญญาณที่ได้เกิดขาดช่วงได้น้อยมาก
ขอบคุณครับ
ขอบคุณครับ ในที่สุดก็หายสงสัยแฝ้วว่าทำไมไม่ใช้ไฟเบอร์ออพติกว่าแต่พอทราบไหมครับว่าต่างจังหวัดมีแบ็คอัพนอกจากดาวเทียมเหมือนกรุงเทพรึเปล่า เพราะก่อนหน้านี้ก็เคยเจอปัญหาอนาล็อคดับเป็นชั่วโมงเพราะสัญญาณดาวเทียมมาแล้ว
พอทราบไหมครับว่าช่อง ThaiPBS นี่ ช่องสัญญาณที่สอยจากดาวเทียมมาออกภาคพื้นดิน เค้าใช้ความถี่เดียวกับที่ให้คนทั่วไปดูเลยรึเปล่าครับ เช่นกล่อง GMMZ ช่อง 311
ในงานมีพูดถึงระบบ subtitle ไหมครับว่ามีช่องไหนจะใช้ในอนาคต อย่างช่อง ThaiPBS เคยทดสอบแล้วก็เงียบไป
ต่างจังหวัดมี Fiber Optic ครับ
บล็อกส่วนตัวที่อัพเดตตามอารมณ์และความขยัน :P
ต่างจังหวัดก็จะมีแนวๆ นี้เช่นกันครับ คงค่อยๆ ขยายทำไปเรื่อยๆ ส่วน subtitle อันนี้เห็นว่าแล้วแต่รายการว่ามีไหม แต่เห็นว่าจะพยายามให้มีทุกรายการ
เดี๋ยว Analog ก็ปิดแล้ว คงจะกลับมาดีเลย์เท่ากันเร็ว ๆ นี้ล่ะครับ
เวลาเชียร์กีฬา เราลุ้นตัวโก่งแล้วข้างบ้านเฮนี่มันรู้สึกแย่มากเลยนะครับ 5555
กำลังง้างจะยิง ข้างบ้านมันเฮอะไรของมัน ...
ก็ว่าทำไมช้ากว่าดาวเทียม...
ขอบคุณสำหรับบทความดี ๆ ครับ
บ้านอยู่ห่างจากตึกใบหยก 2 ไม่ถึง 7กม. (เส้นตรง) รับสัญญาณของ MUX2 ไม่ค่อยได้เลยครับ อ่อนมากขนาดใช้ตัวขยายสัญญาณยังขึ้นเตือนบ่อยๆว่าสัญญาณอ่อน และ MUX3 พอรับได้ปกติ แต่ก็อ่อนและหายบางครั้งเหมือนกัน ส่วน MUX ที่เหลือรับได้ปกติ
ผม 13 กม. รับได้ชัดแจ๋วนิ่งๆ เลยนะครับ - -"
แนะนำให้เปลี่ยนเสาครับ เพราะ กสทช. กำหนดให้ทุกสถานีฐานต้องมีค่า Effective Radiation Power 100kW ทั้งหมด ดังนั้นไม่ว่าจะใกล้หรือไกล ก็ต้องรับ Outdoor ได้เต็ม 100 ครับ แต่ Indoor ยังมีปัญหาบ้าง ซึ่งเรื่องนี้จะทยอยแก้ปัญหากันต่อไปครับ
ลองค่อยๆ ปรับทิศของเสาที่หันดูครับ ของผมลองหันหน้าเสาชี้ไปทางใบหยกแล้วสัญญาณดีขึ้นทันตาเห็นเลย
ผมใช้เสา samart d1a อะครับ อาจจะเพราะใน condo ด้วยครับ
อยู่ต่างจังหวัด สัญญาณก็ชัดดีจ้า
ขอบคุณสำหรับบทความนะ
ชอบบทความนี้เสริมว่า ถ้ามี diagram การเชื่อมต่อสัญญาณประกอบให้ด้วย คนนอกวงการจะจินตนาการตามได้ง่ายกว่านี้อีกมากครับ
อันนี้คือที่ผมทำไว้ใน Blog ผมนะครับ อาจไม่ละเอียดเท่าเนื้อหาด้านบน
บล็อกส่วนตัวที่อัพเดตตามอารมณ์และความขยัน :P
ใครมีข้อสงสัยอะไร แนะนำเพจนี้ครับ สำนักวิศวกรรมและเทคโนโลยีกระจายเสียงและโทรทัศน์ สำนักงาน กสทช.
ขอเสริมข้อมูลนะครับ
เรื่องเสาอากาศที่รับในบ้านไม่ได้ในเขตเมือง ทาง กสทช. แจ้งว่า เมื่อวางทุกเสาครบเสร็จสิ้นแล้ว
จะมีการสำรวจจุดอับอีกที เพื่อเสริมสัญญาณให้แน่นขึ้นครับ
และข้อมูลจากพี่แมว ThaiPBS แจ้งว่า Mux ของกรมประชาสัมพันธ์ จะพร้อมขึ้นมาให้บริการที่ตึกใบหยกช่วงปลายปีนี้ครับ
เพราะประมูลระบบได้แล้ว (Loxley)
แผนการยุติ Analog ของ ThaiPBS ปีนี้จะเริ่มที่เกาะสมุย กับ อำเภอไชยปราการ จังหวัดเชียงใหม่ก่อนครับ
สำหรับที่เกาะสมุย จะนำคลื่นไปใช้งานระบบทีวีดิจิทัล ส่วนที่ใชยปราการ เชียงใหม่ จะนำคลื่นให้ทาง ททบ.5 ใช้งานระบบทีวีดิจิทัลครับ
ส่วนที่อุบลที่มีแผนจะทำพร้อมกับทางสมุยและไชยปราการ ทาง TPBS แจ้งว่า ขอเลื่อนเล็กน้อย เนื่องจาก Analog เดิม ครอบคลุมประชากรประมาณ 5 แสนคน เลยต้องประชาสัมพันธ์ให้เคลียร์ก่อนจะปิดครับ คาดว่าจะปิดได้ตอนไตรมาสแรกของปี 59 ครับ