ผู้ประกอบการทีวีดิจิตอล 5 ช่อง ได้แก่ GMM One, GMM Channel, PPTV, Thairath TV, Bright TV รวมกลุ่มยื่นฟ้องบอร์ด กสทช. และสำนักงาน กสทช. ต่อศาลปกครองกลาง ในประเด็นว่า กสทช. ดำเนินการเปลี่ยนผ่านระบบส่งสัญญาณทีวีดิจิตอลล่าช้า ทั้งเรื่องโครงข่าย คูปอง และการกำกับดูแล
กลุ่มผู้ประกอบการระบุว่า กสทช. ทำให้ผู้ประกอบการ "หลงเชื่อและเข้าร่วมประมูล" โดยหลงผิดในข้อมูลสำคัญ เช่น ประเด็นเรื่องสิทธิการเลือกช่องรายการ ทำให้ผู้เข้าประมูลจ่ายเงินประมูล "ในราคาที่สูงกว่าความเป็นจริง"
กลุ่มผู้ประกอบการขอให้ศาลปกครองสั่งให้ กสทช. ชดเชยค่าเสียหายแก่ทั้ง 5 บริษัทรวมเป็นเงิน 9,550 ล้านบาท พร้อมดอกเบี้ย 7.5% ต่อปี และออกมาตรการเยียวยาความเสียหายให้ผู้ประกอบการด้วย
ที่มา - ไทยรัฐ
Comments
/กลุ่มเพื่อนติ๋ม
/ผิด
"With the first link, the chain is forged. The first speech censured, the first thought forbidden, the first freedom denied, chains us all irrevocably."
"ในรปะเด็นว่า" -> "ในประเด็นว่า"
องค์กรนี้เค้า มีหน้าที่อะไรเป็นชิ้นเป็นอันเหรอครับ เท่าที่เห็นหลักๆเลยก็ "กิน หัว คิว" .......
จัดอีเวนท์ไงครับ ของถนัดเลย
ช่อง Bright TV เนี่ยพอเข้าใจว่าทำไมถึงฟ้อง เพราะว่าเรตติ้งไปได้ไม่เยอะเท่าไรนัก แต่ไอ้ช่องที่เหลีอเนี่ย ฟ้องเพื่ออะไร โดยเฉพาะ One HD กับ Thairath TV เนี่ย =="
Coder | Designer | Thinker | Blogger
ผู้ติดตามอย่างใกล้ชิด?
อืม.... น่าคิดนะเนี่ย
Get ready to work from now on.
ได้กำไร กับเสียผลประโยชน์ มันคนละเรื่องน่ะครับ
ประเด็นคืออย่างนี้ครับ
การที่สามารถขยายโครงข่ายได้ไวขึ้น + การแจกคูปองที่ทั่วถึง = โอกาสที่คนย้ายแพลตฟอร์มจากการดูทีวีอนาล็อกไปเป็นทีวีดิจิทัล มากขึ้น ซึ่งแน่นอนว่าส่งผลไปถึงรายได้ของผู้ประกอบการหน้าใหม่ที่มีโอกาสทำกำไรได้สูงขึ้น
ซึ่งความจริงแล้ว กสทช. ก็มีกฎ Must-carry ที่จะต้องให้ทุกแพลตฟอร์ม (ยกเว้นระบบทีวีอนาล็อกเดิม) ต้องออกอากาศโทรทัศน์แห่งชาติทั้ง 36 ช่อง (ไม่รวมช่องชุมชนที่จะออกอากาศเฉพาะแพลตฟอร์มทีวีดิจิทัลภาคพื้นดินเท่านั้น ส่วนใครทุนหนาหน่อยก็สามารถทำช่องบนจานดาวเทียมก็ได้ไม่ว่ากัน) และแน่นอนว่า กสทช. เองก็เอื้อประโยชน์ให้กับผู้ประกอบการหน้าใหม่แล้ว
แต่ประเด็นคือ ยังมีผู้ชมบางกลุ่มที่ยังคงอยู่ในระบบอนาล็อก และมีผู้ชมที่ปริมาณสูงถึง 30% และด้วยจำนวนนี้ทำให้ทางผู้ประกอบการหน้าใหม่ต้องการที่จะช่วงชิงส่วนแบ่งตรงนี้มา แต่ข่าวร้ายคือ ทาง กสทช. กลับนิ่งเฉย ไม่ค่อยโปรโมตอะไรพวกนี้สักเท่าไร การแลกคูปองสำหรับผู้ชมในระบบเดิมจึงไม่ค่อยกระเตื้องขึ้นสักเท่าไร ผลสุดท้าย เมื่อคนกลุ่มนี้ยังไม่ย้ายแพลตฟอร์ม ทางผู้ประกอบการรายใหม่ก็เข้าสู่การฟ้องร้องครับ
แน่นอนว่ากลุ่มที่มาฟ้องร้องส่วนใหญ่มักจะมีปัญหาเกี่ยวกับเรื่องรายได้และเรตติ้งอยู่พอสมควรแล้ว (โดยเฉพาะ Bright TV ที่เรตติ้งอยู่ลำดับท้าย ๆ ตาราง) แต่สิ่งที่ผมไม่ค่อยเข้าใจเลยคือ ช่องที่มีรายได้สูงอย่าง One HD และไทยรัฐทีวี (โดยเฉพาะเจ้าหลังที่ผมเพิ่งลองจับเวลาแล้วพบว่าเวลาโฆษณาเกินกว่าที่ กสทช. กำหนดไว้คือ 12 นาที แต่โฆษณาในชั่วโมงนั้นปาไป 19 นาทีกว่า ๆ ตอนไทยรัฐนิวส์โชว์) จะมาฟ้องทำไม
การเสียผลประโยชน์ก็เป็นส่วนหนึ่งในการเสียโอกาสทำกำไรนะครับ
Coder | Designer | Thinker | Blogger
"ช่องที่มีรายได้สูง.....จะมาฟ้องทำไม"
ก็เพื่อดึง 30% ที่เหลือมาไงครับ ยิ่งตัวเองมีเรตติ้งสูง ผมสมมติเล่นๆ ว่าคนดู 10% ของทีวีดิจิตอลทั้งหมด ถ้าเขาเพิ่มฐานคนดูให้มากขึ้น ตัวเองก็ได้กำไรมากขึ้น การ "เยียวยาความเสียหาย" ไม่ได้แปลว่าเรตติ้งสูง ได้กำไร = ไม่เสียหายนะครับ
ถ้าถามว่าทำไมต้องฟ้องเรียก"เงิน" จริงๆ ก็คงเพื่อกดดันให้กสทช. ขยับตัวเร็วขึ้น + ถ้าได้เงินชดเชยก็ดี
ตามคุณ Holy ว่ามาครับ
เมื่อให้คำมั่น ประกาศ ออกกฎ หรืออะไรก็แล้วแต่อย่างเป็นทางการแล้วครับว่าจะขยายฐานคนดูโดยการขยาย mux แจกคูปอง ฯลฯ ได้เท่านั้นเท่านี้
ฟากเอกชนก็ประเมินแล้วว่าการขยายฐานคนดูตามแผนจะทำให้มีคนดูเท่าไหร่
แต่พอทำไม่ได้ เอกชนก็มาฟ้องร้องได้ว่าการดำเนินงานล่าช้ากว่าที่กำหนดไว้ทำให้ตนเองเสียหาย
เพราะเมื่อประกาศออกมาอย่างเป็นทางการแล้วเอกชนก็เชื่อตามที่ประกาศได้ตามหลักความมั่นคงแห่งนิติฐานะ
A smooth sea never made a skillful sailor.
จริง ๆ ผมลืมประเด็นนึ้ไปนะครับ แล้วเพิ่งนึกได้ตอนมีประกาศเลื่อนการติดตั้งเสาทีวีอีก 38 จุด (ไหนจะมีเสาย่อยในที่ต่าง ๆ อีก)
อีกหนึ่งประเด็นคือเรื่องคูปอง จริง ๆ เท่าที่สังเกตดูเหมือนไม่ค่อยมีใครตื่นตัวสักเท่าไร (ส่วนนึงก็มาจากคนย้ายแพลตฟอร์มไปดูดาวเทียมเยอะขึ้น เลยคิดว่าไม่จำเป็น -- ซึ่งผมไม่ได้ดูดาวเทียมนานแล้ว ยกเว้นแค่ช่องลาวตอนช่วงเวลาที่รู้ ๆ กันอยู่ และเลือกที่จะติดกล่อง set-top box ในทุกที่ที่ผมพักอาศัย)
ส่วนกฎพวกนั้น มันก็ยิ่งสะท้อนความเป็นเสือกระดาษของ กสทช. ครับ เพราะว่าได้แค่ขู่ สุดท้ายก็ยอมพวกดาวเทียม, เคเบิล เพียงเพราะพวกเยอะกว่าและกลัวเสียงเงินเพิ่มไปมากกว่านี้ (ไม่งั้นคงไม่เห็นการโปรโมตเลขช่องเซินเจิ้นในแพลตฟอร์มดาวเทียมหรอกครับ)
ท้ายที่สุด การฟ้อง กสทช. มันมีเหตุผลก็จริง แต่บางทีแล้วผมรู้สึกว่ามันเกินไปหน่อยนะ ถ้าช่องเรตติ้งน้อย ๆ รายได้ต่ำ ๆ ไปร้องเรียน อันนี้ผมพอว่า แต่ช่องที่เหลือเนี่ยสิ รายได้สูง เรตติ้งสูง จะฟ้องไปเพื่อเอาเงินมาหมุนช่อง? อันนี้ผมไม่รู้นะ
Coder | Designer | Thinker | Blogger
ชาวบ้านธรรมดาเขาทำงานกันนะครับ มีเวลาไม่กี่ชั่วโมงดูทีวี มีแค่ 3 5 7 9 11 เหมือนเดิมก็พอแล้วครับ
คิดว่าชาวบ้านไม่ธรรมดาที่ไม่ต้องทำงาน มีเวลาหลายชั่วโมงดูทีวีนี่เค้าดูครบทุกช่องเหรอครับ???
ที่บ้านผมก็ชาวบ้านธรรมดาเนี่ยแหละครับ ทำงานเหมือนกัน แต่ทำไมทุกวันนี้ตอนช่วง 1 ทุ่มต้องเปลี่ยนช่องไปดูปริศนาฟ้าแลบที่ช่อง Workpoint Creative TV ทำไมตอนช่วง 2 ทุ่มเปลี่ยนช่องไปดูไทยรัฐนิวส์โชว์ ที่ไทยรัฐทีวี ทำไมตอนช่วง 2 ทุ่มครึ่งจูนกลับไปช่อง 3 และสลับไปดูทุบโต๊ะข่าวที่ช่อง Amarin TV
เวลาดูทีวีที่บ้านผมก็ไม่เยอะนะครับ ไม่กี่ชั่วโมงเหมือนกัน แต่ทำไมพอเวลามีช่องแค่ 3, 5, 7, 9, 11, TPBS ถึงรู้สึกไม่พอ แล้วที่ผ่านมา เรตติ้งช่อง 5, 9, 11, TPBS ตกต่ำลง (โดยเฉพาะช่อง 5) แล้วก็มีช่องใหม่ ๆ อย่าง Workpoint, 8, One HD, MONO29 มาแทรกแทนที่ได้ นั่นหมายความว่า ช่อง 3, 5, 7 9, 11, TPBS เพียงพอแล้ว?
need คนเราต่างกันนะครับ ฉะนั้นอย่าตัดสินทุกคนว่าต้องการเหมือนกัน
Coder | Designer | Thinker | Blogger
จริงอยู่ครับ ที่มองว่า มีแค่ 6 ช่องเดิมอาจจะพอ แต่เทคโนโลยีมันเดินหน้่าไปทุกวันครับ
ทีวีอนาล๊อค 1 ช่อง สามารถวางได้ 1 Mux ของทีวีดิจิตอลเลยครับ ขึ้นอยู่กับว่าจะจัดยังไงครับ
และ ทีวีอนาล๊อคเอง ปัจจุบันอุปกรณ์สำหรับดูแลบำรุงรักษา หลายๆเจ้าเลิกผลิตไปแล้วครับ
คือการเปลี่ยนผ่าน มันมีประโยชน์นะครับ แต่ กสทช. ทำงานบกพร่องจริง ก็ต้องว่ากันไปครับ
ขาดทุนกำไร ไงครับ ^ ^''
ผมว่าขาดทุนกำไรของช่อง One HD เนี่ยยังพอเข้าใจครับ แต่สำหรับไทยรัฐแล้ว... (อ่านทวีตด้านล่างแล้วกันครับ...)
Coder | Designer | Thinker | Blogger
ก็มองอยู่นะว่าค่าใบอนุญาตมันสูงปิ๊ดเลย แล้วมันก็มาในยุคที่ใครๆก็ดูดาวเทียมแล้ว ขนาดผมยังเลิกดูช่องอนาล็อคมานานแล้วมันจะไปรอดไหมนะ กสทช. ก็เล่นโชว์ฝีมือการดำเนินการได้ล่าช้าเทียบเท่าข้าราชการทั้งที่บอกว่าตัวเองเป็นองค์อิสระ(แต่ก็มีปัญหาจากการยื้อการประมูล และ ฯลฯ) ก็คงมาจากการที่ประมวล 3G แล้วโดนครหาว่าถูกเกิน แล้วพอมาถึงคราวนี้ก็จัดเต็มโดยไม่ได้เข้าใจสภาพตลาดมากนัก เอาไงต่อดีน้า~~~~
เห็นด้วยกับคำฟ้องกรณีเรียงช่องไม่เหมือนกันใน Must Carry ครับ
จริง ๆ กสทช. มีแผน ที่จะทำอยู่ครับ แต่โดนสั่งเลื่อนไปเนื่องจากมีผู้ประกอบการดาวเทียมไม่พอใจครับ
Coder | Designer | Thinker | Blogger
นั่นแหละครับ ดูเอาใจผู้ประกอบการดาวเทียมมาก ตั้งแต่ข่าวจะให้เอาคูปองไปแลกกล่องดาวเทียมได้ด้วยแล้ว
กรณีนี้ผมอยากให้บนดาวเทียม ย้ายช่องสาธารณะไปอยู่ช่อง 37+ แล้วเลื่อนช่องธุรกิจมาอยู่ 13-36 เหมือนบน DVB-T2 ที่อุตสาห์เสียตังค์ประมูลเลขช่องมาก ส่วนช่อง 1-12 ก็ให้เจ้าของ Platform เรียงช่องได้เองเหมือนเดิม วินวินทุกฝ่าย
ทางช่องสาธารณะไม่ได้เสียเงินประมูลกลับได้สิทธิ์อยู่ช่องต้น ๆ ผมเป็นช่องธุรกิจก็เคืองนะ (แต่มันก็เป็นเงื่อนไขก่อนประมูลอยู่แล้ว) ตอนนี้ก็เลยกลายเป็นว่าช่อง 4-9,11-12 เป็นช่องว่าง ๆ ไม่รู้เมื่อไหร่จะออกอากาศ
ผมชอบดูช่อง Digital TV ผ่านกล่อง Digital TV หรือ Tuner Digital TV มากกว่าดูผ่านดาวเทียม ภาพช่อง HD มันเป็น HD จริงๆ ไม่เหมือนดูผ่านดาวเทียมที่ไปเกี่ยวสัญญาณ HD มาแล้วมาปล่อยเป็น SD ให้เราชม อีกอย่างฝนตกภาพก็ไม่ล้ม
อยากดูแต่แถวบ้านมันไม่มีสัญญาณนาะท่าน รอไม่ไหวรายการดีๆ อยากดูเยอะแยะเลยตืดจานไปแล้ว ซึ่งบอกเลยผมคงไม่กลับไปดู Digital แน่นอน (แบบนี้ช่องที่ประมูลไปเสียตังฟรี)
ดูผ่านกล่องดาวเทียมที่รองรับ HD ก็ได้นะครับ ผมก็ดูอยู่ (กล่อง GMMZ HD Lite ราคา ฿1500)ซึ่งถ้าจะดูแบบ HD จะต้องกดเลขที่ไม่เหมือนปกติ (เช่น ช่อง 3 กดเลข 306 เป็น HD ถ้ากด 43 จะเป็น SD)
ประเด็นคือ ช่องดิจิทัลที่ดูผ่านเลขปกติมันไม่เป็น HD จนต้องทำช่องแยกเพื่อส่งสัญญาณแบบ HD เมื่อเทียบกับบนกล่องดิจิทัล กดเลขปกติ ก็ HD (แถมไม่ต้องหาช่องแยกที่เป็น HD มาออกอากาศอีกต่างหาก แถมไม่เจอปัญหา sunlight outage จากสัญญาณดาวเทียมอีก)
Coder | Designer | Thinker | Blogger
จริง ๆ แล้วเสาที่ใบหยกเค้าดึงสัญญาณจากดาวเทียมมาออกอากาศนะครับ
อันนี้ก็ควรจะต้องรวมตัวกันฟ้องแหละ จะค่ายไหนได้กำไร หรือขาดทุน เพราะมันเป็นปัจจัยสำคัญจริงๆ อะไรที่มันช้าจนเกินไปก็ควรเร่งให้มันเร็ว โดยเฉพาะ MUX ที่ขยายช้ากว่าแผน กสทช ก็ต้องไล่เบี้ยเอาจากพวกนั้นแทนคนทำ content ให้ด้วย เพราะมันกระทบต่อคนทำงานจริงๆ
อยากให้ชนะ จะได้เป็นกรณีตัวอย่างว่าหน่วยงานไหนที่ทำตามสัญญาไม่ได้ ก็ถูกตัดสินได้เหมือนเอกชนทำผิดสัญญา
เสียเวลาเรียงช่องเองตั้งนาน กลับมาอีกที ททบ.5 มาช่องแรกเลย ได้งายฟะ
ก็ควรฟ้องนะครับ เพราะ MUX แต่ละเจ้าขยายตัวแตกต่างกันครับ TV Pool กับ TPBS มี MUX ที่ขยายตัวเร็วตามเป้า กสทช. ก็ไม่มีปัญหาอะไรครับ แต่ถ้าเป็น อสมท. กองทัพบก หากขยายตัวไม่ทันก็ทำให้เกิดผลกระทบต่อบรรดาช่องที่ใช้ MUX ของแต่ละเจ้าด้วยครับ
ขอบคุณครับ สวัสดีครับ