หนังสือพิมพ์ The Telegraph ของอังกฤษ ตีพิมพ์บทความของ John McTernan อดีตเลขานุการการเมืองสมัยที่ Tony Blair เป็นนายกรัฐมนตรี และปัจจุบันเป็นคอลัมนิสต์ของหนังสือพิมพ์ โดยเขาระบุว่าการเข้ามาของอินเทอร์เน็ต ทำให้ห้องสมุดล้าสมัย และจะหมดไป (obsolete) ในไม่ช้า
McTernan อ้างอิงผลการสำรวจของสำนักข่าว BBC ที่ระบุว่ามีห้องสมุดกว่า 340 แห่งในอังกฤษที่ปิดตัวลง และคนกว่า 8 พันคนตกงานภายในรอบ 5 ปีที่ผ่านมา รวมไปถึงสถิติจาก Public Libraries News ที่ระบุว่าคนอังกฤษยืมหนังสือลดลงเหลือต่ำกว่า 1 ใน 5 คน ซึ่งสะท้อนให้เห็นว่าความนิยมในห้องสมุดนั้นลดลง เพราะมีบริการบนอินเทอร์เน็ตหลายอย่างเข้ามาแทนที่ ตัวอย่างเช่น Project Gutenberg ที่ทำให้หนังสือเก่าบางเล่มขึ้นมาอยู่ในรูปของอิเล็กทรอนิกส์ที่อ่านแบบออนไลน์ได้
เขาชี้ให้เห็นว่ายังมีคนอีกจำนวนมากที่เข้าไม่ถึงแหล่งข้อมูลเหล่านี้บนอินเทอร์เน็ต ซึ่งห้องสมุดจะต้องมีการปรับตัวให้เข้ากับสถานการณ์เหล่านี้ เช่น อาจจะต้องเปิดโอกาสให้กับเยาวชนเข้าถึงห้องสมุดได้ดีขึ้นผ่านโรงเรียนหรือสถานรับเลี้ยงเด็ก ถึงอย่างไรก็ตามแต่ เขาระบุว่าในท้ายที่สุดเราอาจจะไม่ต้องเสียดายกับการจากไปของห้องสมุดมากนัก เพราะในที่สุดมันก็จะหมดไป
ที่มา - The Telegraph
Comments
เชาระบุ => เขาระบุ
มากนัด => มากนัก
ที่จริงก็ใช่ แต่ไม่เสมอไป เพราะ
1. ข้อมูลหลายอย่างยังไม่มีในระบบอินเทอร์เน็ต2. ข้อมูลบนระบบอินเทอร์เน็ตยังไม่เหมาะสมสำหรับงานวิจัยทางวิชาการ (ยกเว็น Encyclopedia Britannica Online หรือแหล่งที่น่าเชื่อถือจริงๆ)
3. การเข้าถึงข้อมูลบนระบบอินเทอร์เน็ตยังไม่ทั่วถึงประชากรทุกคน ฯลฯ
ขอเพิ่มอีก
4. ถ้าไม่มีไฟฟ้า หรือคอมพิวเตอร์ หรืออินเทอร์เน็ต ก็ไม่สามารถเข้าถึงข้อมูลบนระบบอินเทอร์เน็ตได้
ดังนั้น ห้องสมุด/เอกสารหน้ากระดาษ ยังเป็นสิ่งที่สำคัญอยู่
งงข้อ2ครับ
ขอตอบตามความคิดเห็นของผมนะครับ
1. ข้อมูลที่ยังไม่มีนั้น ถ้าสามารถเข้าระบบได้ก็แก้ไขปัญหาข้อนี้ได้ หรือข้อมูลใดไม่สามารถนำเข้าระบบได้ ก็ต้องพิจารณาเป็นรายการไปว่าทำไมถึงไม่สามารถนำเข้าระบบได้ และสามารถแก้ไขให้นำเข้าระบบได้หรือไม่
2. แหล่งอ้างอิงที่น่าเชื่อถือต้องถูกรับรองตามหลักเกณฑ์ที่กำหนด เช่น ในประเทศไทย แหล่งข้อมูลวิชาการที่ใช้อ้างอิงควรเป็นแหล่งข้อมูลใน ประกาศ ก.พ.อ. เรื่อง หลักเกณฑ์การพิจารณาวารสารทางวิชาการ สำหรับการเผยแพร่ผลงานทางวิชาการ พ.ศ. ๒๕๕๖
3. และ 4. เป็นเรื่องระบบสาธาณูปโภค ซึ่งไม่ได้เป็นภารกิจหลักของห้องสมุด หรือห้องสมุดอาจจะสามารถจัดซื้อจัดสร้างได้ หากพิจารณาว่าเห็นควรว่าสิ่งนั้นจะช่วยสนับสนุนภารกิจหลักของห้องสมุดนั้น
ผมชอบนั่งอ่านหนังสือในห้องสมุด(ในวันว่างๆ)มากกว่านั่งอ่านในคอมหรือkindleที่บ้านนะ (มันเป็น feeling ที่บอกไม่ถูก)
กำลังจะมาเมนต์แบบนี้เลยครับ
ต่อไปความรู้อาจจะหาที่ไหนก็ได้ แต่บรรยากาศในห้องสมุดเป็นสิ่งที่หาไม่ได้จากที่ไหนจริงๆ
...สุดท้ายก็เป็นแค่การบ่นของรุ่นเก่า(แก่) อย่างเราสำหรับเด็กใน gen หน้าแหละนะ
เห็นด้วยครับ ยังไงก็ชอบบรรยากาศในห้องสมุดมากว่า ชอบกลิ่นหนังสือ แล้วก็ชอบรรณารักษ์
เข้าห้องสมุดทีไรเจอแต่หนังสือไอทีตกยุค บางที่หาหนังสือเกี่ยวกับไอทีแทบไม่ได้มีแต่นิยาย
ล่าสุดเข้าห้องสมุด ไปเจอแต่คนเล่นเน็ทเต็มห้องเลย
ห้องสมุดน่าจะปรับตัวว่ามีทั้งหนังสือ + Internet แยกกันนะครับ
ด้านหนังสือผมว่าเน้นเป็นพวกกลุ่มเกี่ยวกับงานศิลปะน่าจะดีกว่าเพราะเป็นประเภทหนังสือที่ต้องการแสงจริงในการอ่านหรือมอง
ส่วนด้าน Internet ก็เป็นพวกความรู้ที่ Search ได้
แต่ ebook มันก็ทำหลายอย่างที่หนังสือมันทำไม่ได้นะ
เหมือนรถรุ่นเก่าดู classic
แต่รุ่นใหม่ technology มันเหนือกว่าหลายด้าน และยังพัฒนาต่อไปได้อีก
ผมว่าห้องสมุดควรปรับตัว
เพิ่มร้านน้ำชากาแฟ เข้าไปบริการอินเทอร์เนต + ปลั๊กไฟ (ซึ่งอาจจะต้องคิดค่าบริการ)
เพิ่มรูปแบบที่นั่งให้หลากหลาย เช่น โซฟาหรือเบาะสมัยใหม่
และควรจะต้องได้รับการสนับสนุนโดยรัฐ เพื่อให้คงอยู่ต่อไปครับ
เวลาว่างเสาร์ อาทิตย์ถ้าจะหยิบอะไรขึ้นมาอ่าน ทำไมชอบหยิบ Tablet ขึ้นมาอ่านข่าว แทนที่จะหยิบนิยายที่ยังดองอยู่หลายเล่มมาอ่านก็ไม่รู้
ทั้ง ๆ ที่ใจก็อยากจะอ่านนิยายอ่ะนะ
ผมเคยเล่นเกมส์กับเพื่อนที่ห้องสมุด ม.อ.ว่า แน่จริงหาสมุดในห้องสมุดให้เจอ :D สดท้ายไม่เจอ
ผมกำลังอ่านหนังสือสอบ กพ.
ตอนแรกก็ไปหาโหลดในเน็ตมาอ่าน แสบตามาก และ มันจดShort Note ไม่สะดวกเอามากๆก็เลยว่าจะปริ้นออกมา แต่พอดูจำนวนหน้าแล้ว (352หน้า) เลยไม่ปริ้นดีกว่า
สุดท้ายไปเดินห้าง เจอหนังสืออ่านเตรียมสอบ กพ. 562 หน้า 140บาท เอามาเปิดดูคร่าวๆถือว่าใช้ได้ หยิบไปจ่ายเงินเลยครับ 555
ผมว่าฟิลลิ่งเวลาอ่านจากจอที่มีแสงยิงใส่ตาเรา มันต่างจาก แสงที่สะท้อนจากกระดาษใส่ตาเราพอสมควรเลยนะครับและอีกอย่าง หนังสือกระดาษมันเปิดไปๆมาๆง่าย และสะใจกว่า e-bookเยอะเลยครับ
ห้องสมุดต้องปรับตัวครับ
ประสบการณ์ตรงที่มหาลัยที่เรียนอยู่ที่เดนมาร์ก
ห้องสมุดห้าชั้น
เข้าไป ชั้นแรกเป็นพวก ยืมหนังสือ ยืมสื่อ ถ่ายเอกสาร จัดนิทรรศการ
ชั้นนึงเป็นโต๊ะคอมสามร้อยตัว ให้เด็กใช้ทำงาน(ล็อกอินเครื่องไหน ไฟล์ก็ตามไป)
ชั้นนึงเป็นส่วนประชุม และเสียงดัง ชั้นนี้มีโต๊ะประชุมในลานเปิดโล่งๆ มีห้องประชุมแยก เอาของกินเข้าไปได้ นั่งคุยกันทำงาน มีโซนเบาะถั่วให้นั่งเอนหลังคุยกัน มีโต๊ะแบบทางการ
ชั้นนึงเป็นโซนเงียบ มีคอมตั้งอยู่กระจายๆ โต๊ะแบบเดี่ยวๆ เอาไว้นั่งทำงาน มีปลั๊กไฟให้ ไม่ได้เน้นให้อ่านหนังสือ แต่เน้นพวกที่จะทำงานคนเดียว ไม่อยากโดนรบกวน
ชั้นสุดท้าย ใต้ดิน มีที่เก็บหนังสือครึ่งชั้น อีกครึ่งเป็นทีวี 62 นิ้วสองเครื่อง ทีวี 30 กว่านิ้วอีกสิบเครื่อง เอาไว้ดูหนัง กับมีเครื่องเกมส์ ทั้ง PS3-4 xBox ให้ยืมเล่ได้
อ่านแล้วอยากเรียนมาก นี้มันการพัฒนาคล้ายกูเกิลเลยเนี่ย เดนมาร์กรู้อย่างเดียวBang&Olusen
ง่ายๆ ก็จัดที่ ให้เข้าไปนั่งอ่านในบรรยากาศห้องสมุด
อยากอ่านอีบุ๊กก็โหลด app ของห้องสมุดนั้น แล้วเชื่อมต่อกับ network ของห้องสมุด เป็นแอป ที่สแกนหนังสือ
จากนั้นอยากอ่านเล่มไหน ถ้าไม่อยากค้นหาหนังสือมาอ่านในapp ก็เดินหาหนังสือจริงๆ จากนั้น ก็ใช้ app scan หนังสือโหลดมาอ่าน
หรือจะอ่านมันจริงๆไปเลยก็ได้
น่าจะเป็นแบบนี้ดู
ผมชอบหนังสือกระดาษ
ผมชอบความรู้สึกในการพลิกกระดาษไปมา
ผมชอบบรรยากาศห้องสมุด
สงสัยต้องเปลี่ยนห้องสมุดจากสถานที่ที่มีหนังสือเยอะๆ ให้อ่านเป็นสถานที่สำหรับอ่านหนังสือซึ่งจะอ่านหนังสือจากอีบุ๊คหรือหนังสือจริงก็แล้วแต่คนชอบ
หนังสือ เป็นวัสดุสิ่งของ (หรือเปล่า) ที่วิเศษที่สุดในโลก