การเปิดตัว HTC 10 เมื่อวานนี้ มีความสับสนในรายละเอียดรุ่นกันเล็กน้อย เมื่อเรือธงปีนี้ของ HTC ถูกแบ่งออกเป็นสองรุ่นย่อย คือรุ่นปกติ และรุ่น Lifestyle ซึ่งเป็นการตัดสเปคเครื่องลงมา จึงทำให้เกิดคำถามว่าแล้วรุ่นนี้จะทำตลาดในประเทศใดบ้าง
ล่าสุดเว็บไซต์ Android Police ได้ทำการสำรวจไปตามหน้าเว็บของ HTC ทั่วโลกแบบไม่ครบทุกประเทศ และพบว่า HTC 10 Lifestyle เน้นทำตลาดในประเทศกลุ่มที่อยู่ระหว่างการพัฒนาแทบทั้งสิ้น ไม่ว่าจะเป็น จีน อินเดีย อินโดนีเซีย ศรีลังกา บังกลาเทศ และพม่า (และประเทศไทยตามที่คุณ Be1Con ได้รายงานเพิ่ม) แต่สำหรับประเทศอื่นๆ เช่น สหรัฐอเมริกา สหราชอาณาจักร สิงคโปร์ ฮ่องกง แคนาดา ออสเตรเลีย ตุรกี ยุโรป ตะวันออกกลาง และละตินอเมริกา มีเพียงข้อมูลของรุ่นหลัก (Snapdragon 820) ที่ปรากฎอยู่บนเว็บไซต์เท่านั้น
ทั้งนี้ AnTuTu Benchmark ได้เผยรายละเอียดการทดสอบของรุ่น Lifestyle (Snapdragon 652) ออกมาเป็นการเพิ่มเติม โดยพบว่าความสามารถในการประมวลผลเป็นรอง Snapdragon 810 ไปเพียงเล็กน้อย แต่กลับทำงานได้ดีกว่า Snapdragon 808 ในขณะที่งานด้านกราฟิกกลับแย่กว่าพอสมควรครับ
ที่มา - Android Police
Comments
ฮ่ะ ! นี่ตกลงเราเป็นประเทศกำลังพัฒนาหรือนี่ ?!?
เป็นมาตั้งแต่หลังสงครามโลกละฮะ
เปล่าครับ เราเป็นประเทศหยุดพัฒนาแล้ว
May the Force Close be with you. || @nuttyi
+2559
Yes, it is!
Get ready to work from now on.
คุ้นๆ มันเปลี่ยนจากคำว่าด้อยพัฒนามาเปล่าไม่แน่ใจ ฮ่าๆ
Be1Con => Be1con...
Coder | Designer | Thinker | Blogger
น่าสงสารเค้านะครับ
ขอดูราคา อยากได้ครับ
ขอราคาแบบประเทศกำลังพัฒนาด้วยนะ
มันน่าเจ็บใจตรงเวียดนามได้ 820 นี่สิ
hTC 10 litestyle แต่ราคาไม่liteเอาจริงๆSnapdragon 652 น่าจะรีแบรนด์ใหม่อีกสักหนเป็น 80X นะครับ ไม่ก็เปิดไลน์ 700ไปเลยเพราะชื่อมันก็ยังอยู่ใกล้ 615/616อยู่ดีถึงจะรีแบรนด์มาแล้ว
ราคาเท่าไหร่ครับที่ว่าไม่ lite
ดูจาก helio X10 ในราคา 24.9KบนM9+ก็ขนลุกแล้วครับประวัติการเปิดราคาของhTCค่อนข้างแรงมากอยู่แล้ว ถ้าhTC 10 lifestyleเปิดราคาราว15xxx-17xxxผมคนนึงละครับที่กำเงินไปซื้อ
มันตัดกันที่ GPU ป่าวครับว่าเป็นรุ่น 6xx หรือ 8xx
ใช่ครับ แต่เห็นเลขรุ่นชิปแล้วมันค่อนข้างมีผลต่อการตัดสินใจของลูกค้าอยู่นะครับ ตอนแรกผมยังไม่เห็นผลทดสอบของตัว 652 ยังคิดเลยว่ามันไม่ได้ดีกว่า 615 มากขนาดนี้ ถึงจะรีแบรนด์ถีบตัวเลขขึ้นมาจาก 62xก็เถอะ
เขาก็ทำตามแผนการตลาดของเขาน่ะนะ ประเทศเรากำลังซื้อน้อยก็ต้องว่ากันไป
That is the way things are.
ประเทศไทยกำลังซื้อ ไม่น้อยเลยนะครับ จำนวนประชากรในไทย ที่มีกำลังซื้อเยอะกว่าประชากรของประเทศ ประเทศหนึ่งทั้งประเทศรวมกันเสียอีก
ผู้ผลิตมือถือใหญ่สองรายทราบดีครับ สนอง need คนไทยอัด stock รุ่น top เยอะกว่ารุ่นรองเยอะมาก
เห็นว่าตอนนี้ฝ่ายขายกำลังส่งเรื่องเกี่ยวกับรุ่นที่ขายในไทยไปให้ทาง HTC ประเทศไทยพิจารณาอยู่นะฮะ ต้องรอลุ้นอีกที เพราะดราม่าตอนนี้ร้อนแรงมาก และ feedback เกี่ยวกับเรื่องนี้ในไทยค่อนข้างรุนแรงเอาเรื่องเหมือนกัน
แต่ถ้าหากขายทั้ง 2 รุ่นก็ถือว่าดีนะครับ
Coder | Designer | Thinker | Blogger
สาธุๆ ครับ ถ้ามานี่ซื้อเลยจริงๆนะปล.ขอบคุณที่คอยอัพเดทครับ
ถ้ามองตามข้อมูลจริง ไม่ใช่เอาแต่ดูถูกประเทศตัวเอง จริงๆแล้วประเทศไทยก้าวพ้นจาก status "ประเทศกำลังพัฒนา" มาพักใหญ่ๆ แล้วนะครับ ตอนนี้ไทยถูกจัดอยู่ในกลุ่ม NICs (newly industrialized country) หรือประเทศอุตสาหกรรมใหม่ ร่วมกับประเทศอย่างจีน บราซิล มาเลเซีย ตุรกี เป็นต้น (ประเทศพัฒนาแล้วอย่างสิงคโปร์ ไต้หวัน เกาหลีใต้ ฮ่องกง ก็เคยอยู่ในสถานะ NICs ช่วงยุคสมัย 1970-1980 มาก่อน) นิยาม NICs คือเป็นประเทศที่ยังไม่ถึงขั้น "พัฒนาแล้ว" แต่ก็มีสภาพที่ดีกว่าประเทศกำลังพัฒนา และมีการพัฒนาเศรษฐกิจอย่างต่อเนื่อง
เข้าใจครับว่าปัญหาบ้านเมืองของเราน่ะมีเยอะ ทำให้หลายคนอาจจะมองว่าด้อยพัฒนาหรือเปล่า แต่ตลอดเวลาที่ผ่านมาบ้านเมืองเราก็พัฒนามาตลอดนะถ้าดูจากหลายตัวชี้วัดที่ผ่านมา เศรษฐกิจก็เติบโตทุกปี รากฐานทางเศรษฐกิจของเราก็แข็งแกร่ง ถ้าบอกว่าบ้านเราด้อยพัฒนาหรือกำลังพัฒนาทั่วๆ ไปมันก็ดูใจร้ายไปหน่อย
กลับมาที่ HTC ตัวนี้ ถ้าแยกตลาดกันถึงขนาดนี้ มันก็เหมือนจัดกลุ่มประเทศกลายๆ แล้วครับ มันเป็นดาบสองคมนะ ข้อดีคือจะได้มีผลิตภัณฑ์ที่เหมาะสมกับตลาดประเทศนั้นๆ จริง แต่ข้อเสียมันอาจจะทำให้คนซื้อรู้สึกว่าประเทศตัวเองถูกจัดระดับ อาจจะถึงขั้นเรียกว่าเหยียดได้เลย
อย่างจะเอารุ่นไหนเข้าไทยนี่ต้องคิดให้เยอะมากๆ เพราะมันเล่นกับความรู้สึกของคนเลย ดาบแรกคือคนไทยรสนิยมสูง นิยมใช้รุ่นท็อปตั้งแต่มือถือยันรถยนต์ หรือบางคนก็คาดหวังสเป็คสูงไว้ใช้ยาวๆ แต่พอมาเจอรุ่นด้อยกว่า ก็ทำให้ผิดหวังไปหนึ่งละ ดาบสองคือ มันเกิดความรู้สึกว่า ทำไมทาง HTC เลือกขายรุ่นด้อยกว่าให้ไทย ทาง HTC มองไทยอย่างไร? แล้วทำไมทีไปขายกับประเทศนั่นนี่ (เช่นเวียดนาม) ยังได้รุ่นดีกว่า? ถ้าไม่จัดการกับความรู้สึกของคนตรงนี้ให้ดี อาจถึงคราว HTC พับเสื่อออกจากไทยไปจริงๆ ก็ได้
ทางปลอดภัยคือ เอาเข้ามาทั้งสองรุ่นนั่นล่ะ ผู้ใชัจะเป็นคนเลือกเองว่าเค้าต้องการรุ่นอะไร หรือไม่ถ้าต้องเอาเข้ามาแค่รุ่นเดียว ก็เอารุ่นท๊อปเข้ามาซะ มันเป็นภาพลักษณ์ของแบรนด์ด้วย แล้วตลาดกลางก็ค่อยเอารุ่นอื่นๆ เข้ามาแทน
ไม่ก็เอารุ่นรองนี่แหละเข้ามาแล้วทำให้ราคาถูกมากๆ แบบหมื่นต้นๆ โดยอ้างว่า HTC หันไปเน้นตลาดกลางแทนและเน้นที่ราคา แบบนี้ก็คงไม่มีใครบ่นหรอกครับ ที่จะบ่นกันมากก็คือเอาตัวล่าวเข้ามา แต่ราคาเท่ารุ่นท๊อปยี่ห้ออื่นนี่แหละ มันดูถูกกันไปหน่อย
ผมคิดว่ารอดูราคาก่อนวิจารณ์ดีไหมครับ เขาอาจจะปรับตำแหน่งของแบรนด์ไปสู้กับแบรนด์จีน
oxygen2.me , panithi's blo g
Device: HP Zbook, iPad Pro, iPhone 15PM, iPhone 16+, Nothing Phone 1
ประเทศไทย ความจริงหลุดกำลังพัฒนาไปหลายปีแล้ว แต่ยังคงคำว่า กำลังพัฒนา เพื่อสิทธิพิเศษทางภาษี การค้า และสิทธิพิเศษต่างๆ ที่ต่างประเทศ ยื่นให้ประเทศกำลังพัฒนาเท่านั้น เช่น กำแพงภาษี เป็นต้น ถามว่า ทำไมเราต้องการสถานะแบบนี้ ลองนึกภาพตามนะ เขามีกำแพงภาษี เพื่อกันประเทศเทพ ส่งสินค้าดีราคาถูกไปถล่มประเทศเขาทำให้ประเทศนำเข้าสู้ไม่ได้ แต่เขาให้ประเทศกำลังพัฒนา เนื่องจากไม่คิดว่า ประเทศพวกนี้จะเทพอะไรมาก ประเทศผู้นำเข้ายังต่อสู้ได้
แต่สถานะเราตอนนี้ หลายอุตสาหกรรมมันเทพเกินไปแล้ว เช่นอุตสาหกรรมเกษตร หลายๆเจ้าติด TOP 20 ของโลก แต่แอบสถานะประเทศฉันกำลังพัฒนานะ ขอ Tax Tariff = 0% ฉลาดไหม
ถามว่าเราเอาคำว่าประเทศกำลังพัฒนาออกได้อะไร = ความโก้ แต่สิทธิพิเศษ ที่เราได้ๆมันจะหายไป ดีดลูกคิดแล้วได้ไม่คุ้มเสีย
เชื่อไหมครับ ผู้ผลิตหลายรายสำรวจผู้บริโภคประเทศไทย แล้ว พบว่ากลุ่มที่มีกำลังซื้อ มีรสนิยม และอำนาจการซื้อ ไม่มีความแตกต่างจาก นิวยอร์ก ลอนดอน โตเกียว ปารีส แม้แต่น้อย หลายรายเงิบ คิดว่าคนไทยไม่มีปัญญาซื้อ เลยเอาแต่ของลด Spec มาขาย เพราะคิดว่า เอาไปแค่นี้แหละพอแล้ว แต่ขายไม่ออก แต่อีกหลายๆเจ้า เขาเอารุ่น TOP ราคาแพงมาลง คนต่อคิวยาวซื้อ รองเท้าโคตรแพง ต่อคิวซื้อ มือถือจะออกไปจองซื้อล้วงหน้าและอะไรหลายๆอย่าง ถ้านับกันจริงๆ เหมือนเรามองประชากรจากประเทศหนึ่งที่เราคิดว่าเขาไม่มีปัญญาจะซื้อ เพราะระบอบการปกครองเขาแบบนั้น และฝังหัวกันมาแต่ถ้ามองดูตอนนี้ เศรษฐีเขาเต็มเมือง กำลังซื้อมหาศาล มีแต่คนแห่เข้าไปคงรู้นะครับผมหมายถึงประเทศอะไร
ตอนนี้คนไทยเองระดับการครองชีพดีระดับหนึ่งแล้ว ลองดูใกล้ๆตัว ของแบบราคาถูกเข้าว่า คุณภาพต๊ะติ้งโหน่งเริ่มขายไม่ออกแล้ว ห้าง modern trade มันสะท้อนครับ ของราตาถูกๆห่วยๆ เริ่มไม่มีขายแล้วของยิ่งมีคุณภาพมากขึั้น (เยอะ) จนเพื่อนบ้านเราต้องเข้ามาซื้อของเพราะบอกว่าคุณภาพดี เราเองอาศัยกินอยู่ตามปกติ มันไม่รู้สึกตัวหรอกครับ
เราเองไม่รู้สึกตัวหรอกครับว่าคุณภาพชีวิตในประเทศไทย มันเลยคำว่า Third World ไปไกลแล้ว ภาพเด็กใส่เสื้อมอมแมม วิ่งเท้าเปล่า อดอยาก ลูกรังทั้งประเทศบ้านโทรมๆ เปื้อนฝุ่น นี่คือภาพที่ฝรั้งเขาคิดว่าไทยเป็น แต่พอลงสุวรรณภูมิเข้า กทม. มีอึ้งไปหลายรายแล้ว ว่า ไหนบ้านคุณเป็น Development country ไง แล้วทำไมบ้านคุณมีรถไฟฟ้า บ้านคุณมีร้าน chain เมืองนอกมาเปิดเต็มไปหมด ระบบสาธารณสุชเราดีจนต่างชาติบินมาใช้บริการ บ้านคุณมี 3G 4G โทรศัพทนี่เพิ่งเปิดตัว Week ที่แล้วทำไมเห็นคนไทยมีใช้เต็มไปหมด
HTC ถ้าคิดว่าจะเอามือถือ แบบลด spec มาขายในไทย เนื่องจากอยู่ในประเทศกำลังพัฒนา ผมว่าตัว HTC เองนะแหละที่กำลังพัฒนา ในเมื่อคู่แข่งคุณจัดเต็ม เอาเครื่องเรือธงมาขายในประเทศแบบโครมๆ แล้วคนก็ดันแย่งกันซื้อจนของขาด
ถ้าคิดว่าจะดูถูกคนไทยขนาดนี้ มือถือดีๆ ยี่ห้ออื่นก็มีขาย spec แรงและดีกว่า ไปซื้อยี่ห้ออื่นดีไหมครับ
ภาพทั้งหมดที่คุณพูดถึงประเทศไทย มันคือภาพของกรุงเทพมหานครในฐานะเมืองหลวงที่เป็นกระเป๋าเงินของประเทศนะครับ มันไม่ได้ขยายออกไปยังพื้นที่อื่นๆ หรือพูดให้ชัดไปเลย คือไม่ได้ขยายไปถึงชนชั้นล่างเลยแม้แต่น้อย ในแง่นี้มันคือภาพแบบชนชั้นนำและชนชั้นกลางเป็นศูนย์กลาง (elites and middle-class centrism) สิ่งที่ควรตระหนักคือประเทศนี้ยังมีประชากรจำนวนมาก ที่ไม่สามารถเข้าถึงทรัพยากรได้อย่างเท่าเทียมกันนะครับ
นอกจากนั้นแล้ว การที่คุณบอกว่าประเทศไทยพ้นจาก Developing Countries ไปแล้ว มันมี criteria ในการประเมินนะครับ จะคิดเองไม่ได้เด็ดขาดว่าเราพ้นจากประเทศกำลังพัฒนาไปนานแล้ว
ท้ายที่สุด แนวคิดเรื่องโลกที่สาม (Third World) ในปัจจุบันมันแทบจะ irrelevant ไปแล้ว เพราะแนวคิดการแบ่งแยกโลกเป็นแบบต่างๆ มันมาในยุคของสงครามเย็น ซึ่งเราผ่านจุดนั้นมานานแล้ว อันนี้ด้วยความเคารพนะครับ
I'm ordinary man; who desires nothing more than just an ordinary chance to live exactly what he likes and do precisely what he wants.
ขอร่วมอภิปรายด้วยนะครับ
ตรงนี้ผมอาจเถียงในแง่วิชาการไม่ได้ เพราะไม่ข้อมูลสถิติและข้อมูลเชิงลึกมารองรับ และไม่แน่ใจว่ามีหน่วยงานใดศึกษาข้อมูลพวกนี้อย่างจริงจังหรือไม่
ผมเป็นคนที่เดินทางบ่อยครับ สำหรับในไทยแล้วผมไปมาแล้วเกือบ 60 จังหวัดทุกภาคของประเทศไทย (ทุกสนามบินในไทยยกเว้นสนามบินปาย ผมใช้บริการมาหมดแล้ว) และใช้เวลาอยู่ในตัวจังหวัดอย่างน้อยที่สุดก็ 2 วันละ ได้เห็นสภาพการพัฒนาในต่างจังหวัด "ด้วยตาของตัวเอง" แถมผมชอบเข้าไปดูการพัฒนาต่างๆ ของต่างจังหวัดในเมืองไทยผ่านเว็บ skyscrapercity.com ก็ทำให้ผมเห็นภาพต่างๆ ในมุมกว้างและอัพเดตขึ้นมาก
เกริ่นมายืดยาว กำลังจะบอกว่าวลีที่ว่า "ประเทศไทยพัฒนาแต่ในกรุงเทพฯ ไม่ได้ขยายตัวออกไปยังพื้นที่อื่นๆ" มันน่าจะเป็นวลีที่ล้าสมัยไปแล้วครับ ไม่น่าจะเป็นจริงแล้วอย่างน้อยก็ในช่วง 5 ปีที่ผ่านมานี้
ความเป็นจริงคือ กรุงเทพอิ่มตัวกับการพัฒนาไปซักพักใหญ่แล้วครับ เมื่อก่อนเราพัฒนากันแต่กรุงเทพจริง แต่ตอนนี้เรามาถึงจุดที่ไม่รู้จะสร้างความเติบโตยังไงให้กรุงเทพแล้ว ผลคือตอนนี้การพัฒนาต่างๆ ถูกทุ่มไปให้ต่างจังหวัดเยอะมากครับ ไม่ว่าจะเป็นหัวเมืองใหญ่ อันนี้แน่นอนอยู่แล้ว เชียงใหม่ ขอนแก่น อุดร เปลี่ยนไปเยอะมาก แต่จังหวัดเล็กๆ ก็มีการพัฒนาด้วยเช่นกัน มีธุรกิจต่างๆ มีห้างร้านเข้าไปสู่ตัวจังหวัดเป็นจำนวนมาก แม้มันจะสะท้อนแค่ภาพการพัฒนาอสังหาริมทรัพย์ แต่มันก็ทำให้เห็นว่าการพัฒนามันลงไปถึงจังหวัดน้อยใหญ่ในไทยแล้ว และต้องมีกำลังซื้อในท้องถิ่นแล้ว ผู้ประกอบการถึงกล้าเปิดตลาดใหม่ๆ
ตอนนี้หลายๆ จังหวัดในประเทศไทย หน้าตาเปลี่ยนไปมาก มีความคึกคักขึ้นมาก ซึ่งมันจะเป็นไปไม่ได้เลยถ้าประชากรในจังหวัดยังยากจน เพราะมีกำลังซื้อนี่แหละมันเลยมีการพัฒนาลงไปถึงตรงนั้น พูดแล้วมันไม่เห็นภาพครับ ของแบบนี้ต้องไปดูด้วยตาตัวเอง เอาง่ายๆ ก็จังหวัดบุรีรัมย์นี่ล่ะ จากเดิมที่เป็นจังหวัดที่ไม่มีอะไรเป็นจุดขายเลย ตอนนี้เป็นไง มันดูเปลี่ยนไปมาก
อย่าไปติดภาพต่างจังหวัดว่ามันดูทุรกันดาร คือแน่นอนมันไม่สามารถทำให้ทั้งประเทศดูเจริญไดั แม้แต่ในอเมริกาก็เถอะ ที่กว้างขนาดนั้น แต่ในส่วนของตัวจังหวัด ตัวอำเภอที่เปรียบเสมือนเป็นจุดศูนย์กลางของย่านนั้น ให้มาดูตรงนี้ดีกว่าครับว่าเจริญแค่ไหนแล้ว ที่แน่ๆ ตอนนี้ไม่ได้เจริญแค่กรุงเทพแน่ๆ ครับ
ขอยกตัวอย่างกระแสเที่ยวญี่ปุ่นของคนไทยตอนนี้ (ซึ่งต้องใช้งบประมาณระดับนึง) อย่าคิดว่ามีแค่คนเมืองหลวงที่มีเงินไปกันนะครับ ปรากฏการณ์ตอนนี้คือ สังคมตามหมู่บ้านในต่างจังหวัด เค้าแข่งกันพาครอบครัวไปเที่ยวญี่ปุ่นกันแล้วครับ กลับมาก็เอารูปมาอวด ครอบครัวอื่นก็ไม่ยอมน้อยหน้า แห่พากันไปอย่างนี้อีกเป็นวงจร (เป็นค่านิยมของคนภาคหนึ่งที่หลายคนทราบดี กับเรื่อง "ไม่ยอมน้อยหน้าคนในหมู่บ้าน" ที่เขียนไว้ตรงนี้เพื่อให้เห็นว่า ปรากฏการณ์แบบนี้มันเกิดขึ้นแล้วจริงๆ) แบบนี้เป็นไปไม่ได้แล้วครับที่ว่าชาวบ้านในระดับอำเภอเล็กๆ จะยากจน แต่มีเงินพาครอบครัวไปเที่ยวญี่ปุ่นได้แล้วด้วยซ้ำ ชนชั้นกลางในประเทศไทยมีสัดส่วนเพิ่มขึ้นมากแล้วครับ จากการศึกษา และเศรษฐกิจที่เติบโตขึ้น
จะสังเกตว่าตอนนี้แรงงานต่างด้าวในกรุงเทพมีเยอะมากๆ ตอนนี้เข้ามาสู่ภาคบริการแล้วด้วยซ้ำ บางคนบอกว่าคนไทยเลือกงาน แต่ผมกลับมองว่าเดิมทีแรงงานเหล่านี้เคยเป็นของคนต่างจังหวัดระดับรอบนอก แต่ถ้าตอนนี้มันขาดแคลนจนต้องใช้แรงงานต่างด้าวแล้ว แปลว่ามันหมดยุคที่คนต่างจังหวัดรอบนอกจะมาหางานระดับแรงงานในกรุงเทพแล้วใช่มั้ยครับ (ไม่นับพวกวิชาชีพชั้นสูงนะ อันนี้หลายคนก็อยากเข้ามาเติบโตใน กทม. เป็นเรื่องปกติ) แปลว่าเศรษฐกิจในจังหวัดเค้ามันก็ดีในระดับที่ไม่ต้องจากถิ่นมาเข้ากรุงเทพแล้ว เด็กๆ สมัยนี้ก็มีมหาวิทยาลัยในจังหวัดตัวเองครบ ไม่ต้องเข้า กทม. หรือจังหวัดใหญ่ๆ เพื่อเรียนแล้ว จบแล้วก็ทำงานที่บ้านตัวเองเลย
จริงอยู่ คนจนก็ยังมีเยอะในสังคมไทย แต่ก็ค่อยๆ พัฒนากันต่อไป เดี๋ยวการพัฒนามันก็เข้าไปถึงเอง แต่ตอนนี้ผมว่า เราก้าวข้ามจากวลีที่ว่า "อะไรๆ ก็พัฒนาแต่กรุงเทพ" ไปแล้วครับ
ส่วนเรื่องไทยกับ Developing Countries นั้น เห็นด้วยครับว่าเราจะเอาความรู้สึกไม่ได้ ทุกอย่างมีเกณฑ์ มีตัวชี้วัดหมด ตรงนี้หาอ่านง่ายหน่อย จริงที่ว่าไทยเรายังห่างจากเกณฑ์ของประเทศพัฒนาแล้วอยู่พอสมควร แต่ก็ไม่ได้จัดอยู่ในกลุ่มประเทศกำลังพัฒนา (ที่มันหมายถึงประเทศทั่วๆ ไปที่การพัฒนายังห่างจากการเป็นประเทศพัฒนาแล้วอย่างลิบลับ) อย่างที่ว่าสถานะประเทศเราตอนนี้เป็น NIC แล้วครับ
ผมไมได้บอกว่าต่างจังหวัดของไทยไม่พัฒนาและธุรกันดารนะครับ (อย่างน้อยผมเชื่อว่าการมีเซเว่นที่เปิด 24x7 ทั่วประเทศ มันเป็นสัญญาณของการพัฒนาแบบหนึ่งเมื่อเทียบกับเมืองที่ผมอยู่ในปัจจุบัน) แต่สิ่งที่ผมสงสัยกับความเห็นก่อนหน้าคือภาพที่ถูก project ออกมาในความเห็น มันเป็นความเห็นที่สะท้อนความเป็นกรุงเทพมหานครหรือความเป็นเมืองใหญ่สูงมาก (ลองอ่านภาพนั้นใหม่ดีๆ นะครับ) คำถามที่ผมสงสัยคือ "เป็นอย่างนั้นจริงเหรอ" อันนี้ขอให้เข้าใจตรงกันนะครับ เพราะผมเองก็รู้จักคนต่างจังหวัดไม่น้อย และหลายคนอยู่บ้านนอก แต่มีบ้านราคาหลังละร้อยล้าน แถมบินไปเที่ยวต่างประเทศได้เฉลี่ยสามเดือนต่อปี
ถามว่าทำไมผมมีปัญหากับภาพนั้น? คำตอบก็คือภาพนั้นมันคือการ equate (ทำให้เท่ากับ) ว่าประเทศไทย == กรุงเทพมหานคร ซึ่งมันไม่ใช่ในทุกกรณี และมันสะท้อนความเป็นชนชั้นนำและชนชั้นกลางสูงมาก การยอมรับความเป็นจริงแบบที่คุณว่าเป็นเรื่องที่ดีและถูกต้อง (ว่าอย่างน้อยประเทศนี้มันยังมีความเหลื่อมล้ำอยู่) แต่คำถามที่ต้องถามต่อคือ กลุ่มประชากรที่คุณว่า สะท้อนส่วนใหญ่ของประเทศไทยหรือไม่?
กลับมาที่ความเห็นคุณ ผมคิดว่าผมมีปัญหากับความเห็นของคุณตรงที่บอกว่า
คำถามคือ เอา criteria ตัวไหนวัด? เท่าที่อ่านคุณพยายามจะบอกว่าในทางเศรษฐกิจเราเป็นนะ คำถามคือ เป็นเช่นนั้นจริงหรือไม่? แน่นอนว่าการพัฒนาตั้งแต่ปี 1960 เป็นต้นมา ทำให้เรามีชนชั้นกลางมากขึ้น (อ่านประกอบใน History of Thailand ฉบับปี 2014 ของ Pongpaichit & Baker) แต่มันถึงขั้นเป็นสัดส่วนที่สำคัญในสังคมไทยถึงขนาดนั้น? อันนี้ผมคิดว่าผมอาจจะมีปัญหาในคำอธิบายนี้เล็กน้อยซึ่งแก้ได้ด้วยการกำหนด criteria และการสำรวจประชากร แต่ที่ผมจะถามไปไกลกว่านั้นคือ แม้ในเชิงทางเศรษฐกิจเราพัฒนาจริง แต่ในเชิงอำนาจและการเมืองในการจัดสรรทรัพยากร เราไปถึงตรงนั้นจริงหรือไม่? อันนี้ผมทิ้งคำถามล้วนๆ นะครับ ผมคงไม่มีคำตอบให้เพราะเรื่องนี้ยังเถียงกันไม่จบ
สิ่งที่ผมอยากถามมากกว่านั้นคือ แม้ต่างจังหวัดทุกวันนี้จะถูก urbanized (ทำให้เป็นเมือง) มากยิ่งขึ้น (และแน่นอนเราเห็นการเอา Patek Philippe หรือ Vacheron Constantin ไปขายที่ต่างจังหวัดจนชาชิน) แต่ในเชิงการจัดสรรทรัพยากร เรายังต้องให้ส่วนกลางกำหนดสัดส่วนมาให้ และมันไม่เคยพอ (ผมเคยมีตัวเลขอยู่แต่หาไม่เจอ ถ้าหาเจอจะเอามาแปะอีกครั้ง) การพัฒนาที่เห็น แม้จะเป็นการพัฒนาเชิงโครงสร้าง แต่ต้องไม่ลืมนะครับว่ากรุงเทพในฐานะศูนย์กลาง ดูดกลืนทำให้การพัฒนาที่ควรจะเป็นของจังหวัดอื่นๆ มันหายไปหรือช้าไปไม่รู้กี่นานนะครับ โครงสร้างแบบนี้เราเป็นมาตั้งแต่อย่างน้อยๆ ปลายคริสต์ศตวรรษที่ 19 นะครับ
เรื่องของการท่องเที่ยวที่คุณยกตัวอย่างญี่ปุ่นมา ผมไม่ปฏิเสธว่าเราอยู่ในยุคที่ใครๆ ก็บินได้ แต่ถ้าไม่มาด้วยนโยบายการเปิดเสรีทางการบิน เราจะเห็นปรากฎการณ์ไปญี่ปุ่นหรือฮ่องกงแบบทุกวันนี้ไหมครับ? ผมคิดว่าสิ่งเหล่านี้มันไม่ใช่ดัชนี้ชี้วัดว่าคนไทยเรา "รวยขึ้น" (wealth gain) แต่มันมาด้วยเงื่อนไขทางเศรษฐกิจและปัจจัยอื่นๆ ประกอบกันไปหมด
สำหรับผมความเห็นคุณแม้จะมีคุณค่าในเชิงประจักษ์ (empirically valuable) แต่ผมเองก็มีข้อสงสัยอยู่หลายส่วน (คุณอาจจะบอกว่ามันเป็นเชิงวิชาการ ผมก็น้อมรับ) และผมไม่แปลกใจที่ความเห็นของคุณจะไม่ต่างจากคนในสังคมอเมริกาที่พยายามมองทุกอย่างในแง่บวก และมองว่าสังคมอเมริกานั้นมีแต่ชนชั้นกลาง โดยลืมปัจจัยอะไรหลายๆ อย่างออกไป ที่กล่าวเช่นนี้เพราะแนวทางการพัฒนาของอเมริกานั้นมีบทบาทในประเทศไทยตั้งแต่สมัยที่จอมพลสฤษดิ์ ธนะรัชต์ และแนวคิดนี้ก็ยังคงมีอำนาจที่ส่งผลมาจนถึงปัจจุบัน (อย่างน้อยก็ในเรื่องของการพัฒนาเส้นทาง ที่ใช้รถเป็นหลักมากกว่ารถไฟ)
อันสุดท้ายที่ผมอยากเรียน และจริงๆ ไม่ได้อยากตอบตั้งแต่ตอนแรก แต่ควรตอบก็คือ สถานะการเป็น NIC นั้นไม่ได้ระบุว่าประเทศเราเป็นกลุ่มไหนของประเทศพัฒนาต่างๆ เพราะท้ายที่สุดประเทศไทยเรายังคงเป็นประเทศกำลังพัฒนาครับ ความหมายที่คุณให้กับ Developing Countries นี่แทบจะเป็นความหมายของ "ประเทศด้อยพัฒนา" นะครับ แถมเกณฑ์ของ NIC ก็ไม่นิ่งอีกเช่นกันนะครับ (Political Factor เป็นหนึ่งในปัจจัยสำคัญในการชี้วัดว่าจะเป็น NIC หรือไม่)
ทั้งหมดนี้ด้วยความเคารพล้วนๆ นะครับ และผมไม่คาดหวังในคำตอบด้วย เพราะหลายประเด็นยังเป็นประเด็นที่ตอบได้ยากมากอยู่
I'm ordinary man; who desires nothing more than just an ordinary chance to live exactly what he likes and do precisely what he wants.
+1 เห็นด้วยกับคุณ illusion ครับ
คือตรุกี ละตินอเมริกา เจริญแล้ว???โถ่ htc
จริงๆ อยากให้มาทั้ง 2 รุ่นครับ เป็นทางเลือกสำหรับผู้ซื้อแต่สถานการณ์ ความมั่นคงในประเทศไทยก็ไม่ใช่ว่าจะดี เศรษฐกิจก็ไม่ได้เติบโต ต่างประเทศกลับมองว่าอาจจะไม่กล้าเข้ามาลงทุนในไทยก็อาจจะเป็นได้ ผมไม่มองว่า htc คิดผิดที่นำ Snapdragon 652 มาไทย ถึงแม้นำ Snapdragon 820 มา ยอดขายในไทยก็ไม่ใช่ว่าจะสูงขึ้นได้ ไม่ใช่แค่ htc แต่แบรนด์อื่นๆก็ไม่มาทำตลาดที่ไทย อย่าง xiaomi เองก็มองข้ามประเทศไทย LG ก็จะปิดการตลาดในไทย ส่วน Samsung ก็นำรุ่นที่ได้ท็อปที่สุดมา ก็ไ้ด้เพียง CPU exynos มาใช้ในบ้านเรา และมีอีกหลายแบรนด์เช่นกันที่อยู่ได้เพราะตลาดกลาง คือ Huawei asus Lenovo
ส่วนรุ่นท็อปของแอนดรอยนี่คนไทยไม่มีสิทธิ์กันเลยหรอ แบบเรือธงจริงๆ (แต่Sony มานะ)ต้องติดตามกันต่อไปสำหรับปี 2016 สุดท้ายได้ใช้เพราะเครื่องหิ้วเครื่องนอก
สำหรับ windows phone ไม่ต้องพูดเลยครับ เป็นเพียงกลุ่มเล็กๆมากที่ใช้ในไทย
ลูกค้ารายใหญ่ก็คงเป็นทางด้าน apple สำหรับรุ่นท็อปนะครับที่พูดถึง
สุดท้ายก็อยากให้ htc Thailand นำ htc 10 เข้ามาด้วย ไม่ใช่เอาแต่รุ่น htc 10 lifestyle เอามา 2 รุ่นเลยครับ
ถ้าเหตุผลคือการวางตลาด
ผมกลับคิดว่า hTC ควรจะเลิกลงทุนในตลาดไทยเสียด้วยซ้ำครับ ส่งรุ่นไหนมาก็ขายไม่ออก
จะประเมินว่าตลาดเราเป็นกลุ่ม tier ต่ำลงมาและส่งผลิตภัณฑ์จำกัดรุ่นมา คนที่มีกำลังซื้อก็คงจะไม่เหลียวแล เพราะยังไงพวกเขาก็มีทางเลือกอีกมากมาย ส่วนคนที่กำลังซื้อน้อยเขาก็จะมี house brand ต่างๆ หรือซื้อเครื่องผ่านการขายของผู้ให้บริการสัญญาณโทรศัพท์ เป็นทางหลักที่เขาจะเลือก
การทำการตลาดครึ่งๆ กลางๆ แบบนี้จะมีแต่ผลเสียครับ