การใช้งาน Big Data เป็นแนวทางหนึ่งในการปรับองค์กรให้เข้าสู่ยุคดิจิตอล การวิเคราะห์ข้อมูลที่องค์กรเคยได้รับสามารถช่วยปรับแนวทางการทำงาน การให้บริการลูกค้าได้อย่างเหมาะสม ไปจนถึงการสร้างบริการและธุรกิจใหม่ๆ เช่นร้านค้าปลีกสามารถจัดสินค้าให้เหมาะสมกับพฤติกรรมการซื้อของลูกค้า บริการที่เห็นประโยชน์ในหลังเช่นแอปเรียกรถรับส่ง ที่สามารถใช้ Big Data เพื่อคาดการณ์ว่าช่วงเวลาใดจะมีผู้โดยสารจากที่ใดไปยังที่ใดบ้าง ทำให้ชักจูงให้คนขับรถเข้าไปรับผู้โดยสารในเขตที่มีโอกาสถูกเรียกสูง ผู้โดยสารเองได้รับบริการที่ดีขึ้น
ทั้งนี้การสร้างและพัฒนาระบบ Big Data นั้นยังต้องคำนึงถึงองค์ประกอบหลายประการ ดร.วิโรจน์ จิรพัฒนกุล หรือดร.ต้า อดีต Data Scientist ของเฟซบุ๊ก ( บทสัมภาษณ์ ) แนะนำถึงสิ่งที่ต้องคำนึงถึงในการวางระบบ Big Data สักระบบขึ้นมาว่ามี 4 อย่าง ได้แก่
- การเก็บข้อมูลต้องดูจากฝ่ายธุรกิจนำ ไม่ใช่ว่าระบบมีข้อมูลอะไรก็ทำตามเดิมโดยไม่มีการเปลี่ยนแปลง
- โครงสร้างพื้นฐานโดยรวมต้องพร้อม ข้อมูลสามารถเข้าถึงได้ สามารถประมวลผลมาใช้งานได้
- มีวิศวกรข้อมูล (Data Engineer) ที่สามารถหาทางนำข้อมูลมาประมวลผลตามการออกแบบของ Data Scientist ได้อย่างเหมาะสม
- มีการใช้งานอย่างพอดี เราอาจจะพบว่าองค์กรบางองค์กรสร้างระบบ Big Data ขึ้นมาแต่กลับไม่ได้นำไปใช้ช่วยตัดสินใจใดๆ หรือบางองค์กรอาจจะเชื่อข้อมูลและใช้ตัดสินใจทั้งหมดโดยไม่ทันคำนึงถึงข้อจำกัดในการใช้ข้อมูลประกอบการตัดสินใจ
โครงการ Data Cafe Thailand
ดร.วิโรจน์ จิรพัฒนกุลยังได้กล่าวถึงโครงการหนึ่งที่พยายามทำให้เกิดการใช้ Big Data มาพัฒนาธุรกิจ สร้างโอกาสใหม่ๆ คือ Data Cafe Thailand ที่บริษัท เอ็ม เอฟ อี ซี จำกัด (มหาชน) หรือ MFEC ร่วมกับคณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย สร้าง Data Scientist Community ผลิตบุคคลากรที่มีความรู้ความสามารถในการวิเคราะห์และจัดการข้อมูลไปพร้อมๆ กับการหาโอกาสใหม่ๆ จากธุรกิจเดิม เพื่อสร้างความได้เปรียบในเชิงการแข่งขันทางธุรกิจ อีกทั้งยังจะเป็นตัวเชื่อมระหว่างองค์กรที่มีข้อมูลแต่อาจจะไม่ได้ใช้ในการพัฒนากับเหล่า Data Scientist ที่มีไอเดียว่าสามารถนำข้อมูลใดมาพัฒนาบริการหรือแม้แต่สร้างบริการใหม่ๆ ได้อย่างไรบ้าง
โครงการ Data Cafe Thailand เกิดขึ้นจากการที่ MFEC มองเห็นโอกาสประกอบกับประสบการณ์ที่เคยได้ร่วมพัฒนาระบบ Big Data และระบบการวิเคราะห์ข้อมูลแบบอื่นในหลายอุตสาหกรรม ทั้งด้านการเงินธนาคาร, ภาครัฐ, หรือภาคการผลิตโรงงานต่างๆ โดย MFEC มีบริการกลุ่ม Digital Information Services (DIS) ที่มีประสบการณ์ให้คำปรึกษางานด้านการจัดการข้อมูลครบวงจร ตั้งแต่การออกแบบโครงสร้างพื้นฐานให้เพียงพอและตรงต่อความต้องการ การจัดเก็บข้อมูลจากแหล่งต่างๆ เพื่อเป็นฐานสำหรับการวิเคราะห์ข้อมูลต่อไป ไปจนถึงการออกแบบระบบวิเคราะห์ข้อมูลที่เป็นประโยชน์ต่อการตัดสินใจของผู้บริหารโดยตรง
MFEC เชื่อว่าการสร้างระบบ Big Data ขึ้นมาต้องคำนึงตั้งแต่หลักการทั่วไปของ Big Data และลงรายละเอียดไปจนถึงตัวบุคลากรที่จะอิมพลีเมนต์ ซอฟต์แวร์และฮาร์ดแวร์ที่ใช้งานในโครงการ
คุณลักษณะของระบบ Big Data ที่เราพูดกันบ่อยๆ จึงมักประกอบไปด้วยลักษณะ 3 ประการ คือ
- Volume:ข้อมูลไม่ได้เก็บแบบสุ่มเก็บเพียงอย่างเดียว แต่เก็บข้อมูลเท่าที่จะหาได้ ไม่ว่าจะเป็นข้อมูลในสายการผลิตที่เก็บข้อมูลทั้งหมดตลอดเวลา, ข้อมูลลูกค้าที่อาจจะเก็บรายการสั่งซื้อย้อนหลังเป็นเวลานานๆ, หรือข้อมูลสภาพแวดล้อมอากาศในแต่ละวัน
- Velocity:ข้อมูลถูกเก็บและประมวลผลอย่างต่อเนื่องตามเวลาจริง (real time) สามารถรายงานถึงความเปลี่ยนแปลงได้ในเวลาอันสั้น
- Variety:ข้อมูลมีความหลากหลายสูง ทั้งรูปแบบข้อมูลที่เก็บมาได้, ประเภทของข้อมูลที่อาจจะมีทั้งข้อความ, ภาพ, เสียง, และข้อมูลอื่นๆ
ด้วยปริมาณข้อมูลที่ต้องจัดเก็บมหาศาล และด้านการประมวลผลที่ต้องอาศัยการเรียกข้อมูลขึ้นมาประมวลผลอย่างรวดเร็ว ระบบสตอเรจจึงเป็นส่วนสำคัญที่ทำให้ Big Data เกิดขึ้นมาได้ สตอเรจเหล่านี้ต้องมีพื้นที่เพียงพอสำหรับการจัดเก็บข้อมูล, สามารถขยายระบบตามความเติบโตของธุรกิจ, และต้องมีประสิทธิภาพการทำงานที่สูงพอจะรองรับข้อมูลที่เข้ามาและการอ่านข้อมูลออกไปประมวลผลได้
สำหรับฮาร์ดแวร์และซอฟต์แวร์ MFEC เป็นพาร์ตเนอร์กับบริษัทระดับโลกอย่าง IBM ที่มีเทคโนโลยีระดับสูงรองรับข้อมูลแทบไม่มีขีดจำกัด สามารถขยายความสามารถไปตามการเติบโตของข้อมูลได้ในระบบที่หลากหลายรูปแบบ
IBM Spectrum Scale และ Elastic Storage Server สำหรับงาน Big Data
ไอบีเอ็มมี IBM Spectrum Scale หนึ่งใน Software-defined Storage ที่จัดสรรการใช้งานสตอเรจให้เข้ากับข้อมูลประเภทต่างๆ ได้โดยอัตโนมัติ สามารถปรับให้เข้าถึงข้อมูลบนสตอเรจและเซิร์ฟเวอร์หลายๆ ชุดพร้อมกันทำให้ประสิทธิภาพการอ่านเขียนเพิ่มเป็นทวีคูณทั้งยังมาพร้อมกับฟีเจอร์ในการการสำรองข้อมูลในสตอเรจ การ Replicate ข้อมูล และการเข้ารหัสสำหรับข้อมูลที่ต้องการความปลอดภัยสูง
โดยไอบีเอ็มมี IBM Elastic Storage Server โซลูชัน เป็นสตอเรจเซิฟเวอร์ทีออกแบบมาเพื่อทำให้ซอฟท์แวร์ Spectrum Scale สามารถทำงานด้วยประสิทธิภาพสูงสุด ภายใต้ Cognitive Systems ที่ใช้สถาปัตยกรรรมPOWER8 พร้อมทั้งถูกปรับแต่งมาโดยเฉพาะสำหรับการบริหารจัดการข้อมูลปริมาณมหาศาลทำงานพร้อมกันได้ถึง 96 Thread และมี Cache ใหญ่กว่าเครื่องเซิฟเวอร์x86 ถึง3 เท่า
IBM Elastic Storage Server ติดตั้งได้รวดเร็วและมีประสิทธิภาพสูงสุด เนื่องจากได้ปรับแต่งซอฟท์แวร์มาให้พร้อมใช้งานสามารถติดตั้งและเชื่อมต่อกับเครือข่ายของลูกค้าได้ทันที
นอกจากนี้ MFEC ยังได้จัดงานสัมมนา Big Data สุด exclusive ภายใต้ชื่อ The Ultimate Big Data Roadmap to Your Business Transformation ในวันที่ 8 สิงหาคม 2017 ที่โรงแรม The Okura Prestige Bangkok โดยงานนี้จะพลิกมุมคิดเรื่องการทำ Big Data ของท่านจากเดิมที่ทั้งยาก ทั้งยุ่งและมีความยืดเยื้อ ให้กลายเป็นเรื่องง่ายด้วยเทคโนโลยีการจัดการข้อมูลอัจฉริยะ พร้อมฟังมุมมองและประสบการณ์จริงกับ 5 ผู้เชี่ยวชาญที่พร้อมจะมาเผยเคล็ดลับสู่ความสำเร็จให้กับธุรกิจ
หากท่านสนใจสร้างหรือพัฒนาระบบ Big Data สามารถ ติดต่อ MFEC เพื่อขอคำปรึกษาเบื้องต้นสำหรับงาน Big Data หรือประเมินความต้องการของหน่วยงานท่านได้ฟรี เพียง กรอกแบบฟอร์มนี้ แล้วรอการติดต่อจากตัวแทนของ MFEC
Hiring! บริษัทที่น่าสนใจ