ไอเดียเรื่องการขนส่งแบบใหม่ Hyperloop ถูกเสนอขึ้นครั้งแรกโดย Elon Musk ซีอีโอของ Tesla และ SpaceX เป็นการใช้ "pod" บรรจุอยู่ในท่อความดันต่ำ สามารถเดินทางได้ที่ความเร็วราว 1,220 กม./ชม. หรือเกือบเท่าความเร็วของเสียง ปัจจุบัน SpaceX กำลังจัดการแข่งขันเพื่อหาทีมที่จะทำให้ไอเดียนี้เป็นจริงขึ้นมาได้ ( ข่าวเก่า )
ล่าสุด China Aerospace Science and Industry Corporation หรือ CASIC ที่ดำเนินการเกี่ยวกับอวกาศให้รัฐบาลจีนได้ประกาศเริ่มวิจัยเทคโนโลยีการขนส่งคล้ายๆ กันนี้ โดยเรียกว่า "รถไฟบิน" หรือ "flying train" ที่คุยไว้ว่าความเร็วสูงสุดสามารถแตะระดับ 4,000 กม./ชม. หรือกว่าสามเท่าของความเร็วเสียง ซึ่ง CASIC ระบุว่าจะวิ่งในท่อความดันต่ำเหมือนกันแต่จะใช้ระบบแม่เหล็กยกตัวรถขึ้นจากราง (Maglev) ไม่ใช่ยกด้วยลมเหมือนที่ Elon Musk เคยเสนอไว้
CASIC เคลมว่าระบบท่อความดันต่ำของตนจะเป็นแบบแรกของโลกที่ออกแบบมาสำหรับการวิ่งที่ความเร็วเสียง และเป้าหมายแรกของบริษัทคือการทำให้ตัวรถวิ่งถึงความเร็ว 1,000 กม./ชม.
ปัจจุบัน CASIC มีสิทธิบัตรเกี่ยวกับด้านนี้อยู่กว่า 200 ใบ จึงอาจทำให้การวิจัยในตอนแรกเป็นไปด้วยความรวดเร็ว และสุดท้ายบริษัทก็มีแผนจะสร้าง "รถไฟบิน" นี้ไปยังประเทศบน เส้นทางสายไหมศตวรรษที่ 21 หรือ One Belt, One Road ด้วย แต่ยังไม่มีกำหนดการอะไรออกมา
ที่มา - Quartz
ภาพร่างคอนเซ็ปต์ Hyperloop โดย Tesla
Comments
เอาหวะมีคู่แข่งละ ใครจะชนะหละงานนี้
อ่านแล้ว ผมนึกถึงเครื่องคิดเลขแฮะ ประหลาดดี
ถ้าทำได้จริง พวกสายการบินคงจะเจ๊งไปอีกเยอะเลย
จะโหดไปไหน อเมริกาทำ Hyperloop ญี่ปุ่นทำ Maglev ส่วนจีนจับรวมแม่มเลย
เอะ แต่ตอนที่ Hyperloop One ทดสอบบนท่อยาว 1 ไมล์เขาก็ใช้ระบบ Maglev เหมือนกันนะ
ก็นั่นน่ะสิครับ
ผมว่าต้องดูวิธีการใช้งานในชีวิตจริงด้วยครับ หลังจากเครื่องบินที่เร็วกว่ารถไฟมารถไฟก็ไม่ได้หายสาบสูญไปหมด ถ้าจะเอาความเร็วสูงสุดขนาด 4000 กม./ชั่วโมงก็ต้องเป็นเส้นทางที่ยาวมากเกินจุดนึงถึงจะเกิดประโยชน์ แล้วก็แบกน้ำหนักมาก ๆ ก็ไม่ได้เพราะต้อง "บิน" เพราะฉะนั้นผมคิดว่าก็คงจะเอามาสู้กับเครื่องบินเป็นหลัก ทีนี้ท่าไม้ตายของเครื่องบินคือไปไหนก็ได้เปลี่ยนเส้นทางได้ทันที ผมว่าจุดสองจุดบนโลกที่ห่างกันมากและมีคนเดินทางไปมามาก ๆ ตลอดเวลาคงมีแค่ไม่กี่จุดบนโลก
จุดขายดั้งเดิมของ hyperloop ที่อาจจะสำคัญมากกว่าความเร็วสูงสุดคือวางรางได้ง่ายเกือบทุกที่และราคาถูก
ร่างกายคนเราจะรับความเร็วแบบนี้ได้โดยไม่รู้สึกอะไรใข่มั้ยครับ ผมล่ะเสียว
โลกเราเข้าถึงการเดินทางระดับเหนือเสียงมาเป็นทศวรรษแล้วครับ อย่างเครื่องบินโดยสารคองคอร์ดเองก็สร้างขึ้นมาใช้บินรับส่งผู้โดยสารตั้งแต่สมัยปี 1969 มาแล้วด้วยซ้ำจนตอนนี้เลิกใช้ไปแล้ว คองคอร์ดนี่ก็ความเร็วสูงสุด 2,180 กิโลเมตรต่อชั่วโมง อย่างพวกกระสวยอวกาศเองมันใช้ความเร็วที่ 27,870 กิโลเมตรต่อชั่วโมงด้วยซ้ำ มนุษย์อยู่ได้สบายมาก ต่อให้ความเร็วแค่ไหนนั่นไม่ได้มีผลต่อร่างกายของเราครับ
แต่อัตราเร่ง (acceleration--การเปลี่ยนแปลงความเร็วต่อหน่วยเวลา) เนี่ยแหละที่จะทำให้ร่างกายคนรับไหวหรือไม่ไหว ที่เราได้ยินกันบ่อยๆ คือแรง G หรือ Gravity นั่นแหละครับเพราะเรากำหนดหน่วยอัตราเร่งเทียบกับแรงโน้มถ่วงของโลก ถ้าอยู่ดีๆ ร่างกายเราอยู่ในยานพาหนะที่เร่งความเร็วจาก 0 เป็น 1000 km/h ภายใน 1 วินาทีเลยร่างกายเราไม่มีทางรับไหวหรอกครับ ยานพาหนะที่เร็วๆ เช่นรถไฟความเร็วสูงหรือเครื่องบินก็ค่อยๆ เร่งความเร็วจนไปถึงความเร็วสูงสุดกันท้งนั้นครับ
ขอบคุณครับผม
แบบนี้ที่น่ากลัวก็คืออุบัติเหตุที่จะทำให้เจ้ารถไฟนี่เปลี่ยนจากความเร็ว 4000 Km/h ให้เหลือ 0 Km/h ในทันทีสินะครับ
+1
ความเร็วสูง แต่คนที่โดยสารจะรอดเหรอครับ ถ้าสามารถยกเลิกแรงเฉื่อยของคนในรถได้ก็แล้วไป คนน่าจะโดยสารได้ไม่มากเพราะมีอาการเมาแน่ๆ
คงสุดที่ความเร็วใกล้ๆเสียงเนี่ยหล่ะถ้าเร็วกว่าเสียง คนใช้บริการต้องอืดจริงๆไม่อย่างงั้นมีสลบคารถแน่ตอนฝ่ากำแพงเสียง
สุดท้ายเอาไปขนของที่ไม่มีชีวิตน่าจะเวิคนะ
จะยกตัวอย่างจรวจหรือ Space Shuttle ก็กลัวยกตัวอย่างเฉพาะเหล่าคนอึดร่างกายแข่งแรง ตัวอย่างง่ายๆ คือ เครื่องบิน Concorde ที่ใช้โดยสารทั่วไป ยังขนสิ่งมีชีวิตได้เลยนะครับ
ขนผักไงครับ 555
ที่นั่งดูเล็กๆ ไปนะเนี่ย