NGINX ประกาศแปลงเป็นแพลตฟอร์มพัฒนาแอปพลิเคชั่นในตัวเอง โดยเปิดตัวโครงการโอเพนซอร์สใหม่ NGINX Unit เซิร์ฟเวอร์แอปพลิเคชั่นที่รองรับการดีพลอยแอปพลิเคชั่นใหม่หรือเซิร์ฟเวอร์ใหม่ผ่านทาง REST API
ตอนนี้ NGINX Unit รองรับภาษา PHP, Python, และ Go และเตรียมรองรับภาษาจาวาและ Node.JS ในอนาคต โดยตัว Unit เองเป็นเซิร์ฟเวอร์ที่ผู้ใช้ระบุพอร์ตสำหรับแอปพลิเคชั่น, โฟลเดอร์สำหรับรันแอปพลิเคชั่น, และจำนวน worker ก็สามารถรันแอปพลิเคชั่นขึ้นมาได้ทันที ในกรณีที่มีการอัพเดตตัวแอปพลิเคชั่นก็สั่งย้ายโฟลเดอร์ผ่าน REST API โดยคอนฟิกพื้นฐานตัวอย่างเช่น
{ "listeners": { "*:8300": { "application": "blogs" } }, "applications": { "blogs": { "type": "php", "workers": 20, "root": "/www/blogs/scripts", "index": "index.php" } } }
เป็นการคอนฟิกสำหรับรันแอปพลิเคชั่น PHP บนพอร์ต 8300
นอกจาก NGINX Unit ที่เป็นโอเพนซอร์สแล้ว ทาง NGINX ยังเปิดตัว NGINX Controller สำหรับการจัดการเซิร์ฟเวอร์ NGINX Plus (รุ่นเสียเงินของ NGINX) โดยระบุว่าสามารถจัดการเซิร์ฟเวอร์นับร้อยได้ง่ายขึ้น
ตัว NGINX Unit เปิดให้ดาวน์โหลดรุ่นเบต้าแล้ววันนี้ ส่วน NGINX Controller ต้องขอทดสอบใช้งานก่อนจะวางตลาดจริงปีหน้า
ที่มา - NGINX
Comments
มันต่างกับตัวเดิมยังไงเหรอครับ รบกวนขอคำชี้แนะหน่อย
ตัวเดิมผมใช้ nginx ทำ proxy อันนี้ผมรู้สึกคล้ายๆ IIS ของไมโครซอฟท์
มันคือการคืน "อำนาจ" การแก้ไขคอนฟิกเว็บเซิร์ฟเวอร์ให้โปรแกรมเมอร์ครับ
แทนที่เวลาจะย้ายเซิร์ฟเวอร์ หรืออัพเดตโค้ดขึ้น staging แล้ว ต้องไปบอกให้ admin ปรับคอนฟิกมาชี้ที่ใหม่ ก็ยิง json เข้าไปอัพเดตได้เลย
lewcpe.com , @wasonliw
ข้อดีของมันคือลดจำนวน devops เดฟหรอครับ
สงสัยว่า มองเป็นคู่แข่ง docker ได้ไหมครับ ยัง งงๆ ไม่เข้าใจ use case
“Life is like a journey, every experience matters.”