ข่าวเก่าหน่อย แต่มีความน่าสนใจครับ
ในทางวิชาการสังคมศาสตร์ การแบ่งแยกชนชั้นทางสังคมอาจจะยังเป็นที่ถกเถียงกันมาอย่างยาวนาน แต่ล่าสุดอาจจะไม่ใช่ปัญหาที่ยากอีกต่อไปเมื่อ Facebook ได้รับอนุมัติจดทะเบียนสิทธิบัตรฉบับใหม่เมื่อต้นเดือนที่ผ่านมา เพื่อคุ้มครองอัลกอริทึมตัวใหม่ของบริษัท ที่ใช้สำหรับแบ่งแยกชนชั้นและฐานะทางเศรษฐกิจและสังคม (Socioeconomic group classification)
อัลกอริทึมดังกล่าวจำแนกชนชั้นของผู้ใช้ออกเป็น 3 กลุ่มหลัก คือ ชนชั้นแรงงาน (working class หรือที่นิยมแปลกันคือ กรรมาชีพ), ชนชั้นกลาง (middle class) และชนชั้นสูง (upper class) จากนั้นจะใช้ข้อมูลต่างๆ ที่อยู่บน Facebook และอุปกรณ์ที่ใช้เข้าถึง รวมถึงความถี่ในการใช้ ประวัติในการท่องเที่ยว มาสร้างโมเดลแล้วจำแนกผู้ใช้เหล่านี้ให้อยู่ในระดับต่างๆ (ที่น่าสนใจคือการระบุว่า ชนชั้นแรงงานมีอุปกรณ์เข้าถึง Facebook 0-1 ชิ้น, ชนชั้นกลาง 2-5 ชิ้น, ชนชั้นสูงตั้งแต่ 6 ขึ้นไป)
เป้าหมายของอัลกอริทึมนี้ คือการทำให้บุคคลที่สาม (third parties) ที่ต้องการโฆษณาบน Facebook สามารถยิงโฆษณาได้ตรงเป้าหมายกับกลุ่ม ฐานะ และช่วงชั้นทางสังคมของผู้ใช้ โดยยังไม่มีการระบุว่าเริ่มใช้อัลกอริทึมตามสิทธิบัตรนี้หรือยัง
ชนชั้นกรรมาชีพจงรวมตัวกัน
ที่มา - USPTO ( 1 , 2 ) ผ่าน Engadget , The Matter
ภาพจากสิทธิบัตร Facebook
Comments
นึกถึงการนำไปไช้ในทางที่ดีได้มากมาย
เวลามีคนเข้ามาแอดจะได้รู้ว่าเป็นคนชนชั้นใหน
จะไปแอดไครจะได้รู้ว่าชนชั้นอะไร เลือกได้อย่างถูกต้อง
เวลาขายของจะได้รู้ว่าควรปฏิบัติยังไงกันคนแต่ละชนชั้น
เวลาซื้อโฆสนาจะได้ทำไว้แต่ละชนชั้น
ถึงว่าทำไมชอบบังคับ Login ข้อมูลของเราทุกครั้งพัฒนาเรื่องดีๆอยู่นี่เอง
เป็นการเยียดชนิดหนึ่งที่ไม่พูดออกมาตรงๆ
เยียด / เหยียด ยังไงครับ ?
ที่ไหนๆ เอกชน หรือรัฐ ก็มีการแบ่งกลุ่มประชากร ตามเงื่อนไข ที่ตั้งเองหมดแหละยกตัวอย่าง เอกชน บริษัทผลิตรถยนต์ ก็จำแนกลูกค้า ตามเพศ อาชีพ อายุ เชื้อชาติรายได้ ภูมิลำเนา บลาๆๆๆ
มันคือ segmentation ครับ ไม่ใช่เหยียด
อคติทำให้คนรับเหตุผลด้านเดียว
แบ่ง segmentation เพื่อให้ลดต้นทุนในการโฆษณา ถือว่าเป็นประโยชน์ จะได้ไม่โฆษณามั่วซ่ว แบบโฆษณารถเบนซ์ให้กับแม้ค้าในตลาด เปลืองงบเปล่าๆ
การแบ่งกลุ่มลูกค้า สำคัญมากนะครับในเชิงธุรกิจ
ผมก็ไม่ได้มองว่า บัตรสวัสดิการแห่งรัฐ เป็นการเหยียดนะ
บริษัทไหนไม่มีแบ่งชนชั้นลูกค้าบ้าง ใครจ่ายหนักก็รับสิทธิดูแลดีเป็นธรรมดา
+1
วรรณะออนไลน์ ดีนะไม่มีFBกะเค้า ไม่ถูกคัดกรองด้วย
ดูแล้วสงสัยว่า 350 Household Data นี่จำแนกยังไง
ก็ตำแหน่งงาน กับ บริษัทใน profile แล้วก็ crosscheck กับ Glassdoor ได้ออกมาเป็นเงินเดือนมั้งครับ
คนเท่ากัน... แต่เงินในกระเป๋าไม่เท่ากัน ... สินะ
กลุ่มนักรีวิวสาย IT นี่ ชนชั้นสูงกันทุกคนเลยนะเนี่ย ส่วนเศรษฐีที่ใช้มือถือเครื่องเดียว ก็เป็นชนชั้นแรงงานไป แปลกดีครับ 55555
มันก็แค่ส่วนหนึ่งครับ มันจะดูความถี่การโพส เวลาการใช้งาน โอกาสการท่องเที่ยว บลาๆ ลองอ่านเนื้อหาอีกสักรอบ น่าจะเข้าใจมากขึ้นครับ