Airbus บริษัทผู้ผลิตเครื่องบินของฝรั่งเศส และ Atos บริษัทด้านเทคโนโลยีของฝรั่งเศส ออกแถลงการณ์ยกเลิกแผนซื้อ-ขายส่วนธุรกิจที่เคยทำข้อตกลงก่อนหน้านี้ซึ่ง Airbus จะซื้อส่วนธุรกิจ BDS (Big Data and Security) ของ Atos
Airbus บอกว่าหลังจากพิจารณาอย่างระมัดระวังในด้านต่าง ๆ ของการซื้อส่วนธุรกิจ BDS จาก Atos แล้ว บริษัทได้ตัดสินใจยุติการเจรจาซื้อกิจการ ส่วน Atos บอกว่าได้รับการแจ้งจาก Airbus แล้ว ซึ่งบริษัทกำลังประเมินผลกระทบ และพิจารณาทางเลือกอื่นต่อไป
นักวิเคราะห์คาดว่าปัจจัยหนึ่งที่ทำให้ Airbus ตัดสินใจยกเลิกดีลนี้ เนื่องจากส่วนธุรกิจ BDS มีลูกค้าหลักคือหน่วยงานความมั่นคงของรัฐบาลฝรั่งเศส จึงทำให้ดีลนี้มีความเสี่ยงหลายอย่างสำหรับ Airbus เอง
ไทยคมประกาศเลือกใช้ดาวเทียม OneSat ของ Airbus Space Systems สำหรับดาวเทียมไทยคม 9 ที่จะให้บริการที่วงจรค้างฟ้าที่องศา 119.5 องศาตะวันออก โดยเตรียมส่งมอบปี 2027
OneSat เป้นดาวเทียมที่ Airbus พัฒนาร่วมกับ ESA และสหราชอาณาจักร โดยชูจุดขายตัวดาวเทียมเป็นโมดูลที่ปรับแต่งได้ และสามารถปรับเปลี่ยนการใช้งานผ่านการอัปเดตซอฟต์แวร์เพิ่มเติมหลังอยู่บนวงโคจรไปแล้ว โดยผ่านการทดสอบไปเมื่อปี 2022 ที่ผ่านมา สำหรับดาวเทียมของไทยคมจะเป็นดาวเทียม OneSat ดวงที่ 9 ก่อนหน้านี้ลูกค้าของ OneSat เช่น Inmarsat, Optus ของออสเตรเลีย, หรือ SKY Perfect ของญี่ปุ่น
Airbus เคยทำดาวเทียมสื่อสารมานาน ก่อนหน้านี้คือดาวเทียม Eurostar ที่เป็นดาวเทียมค้างฟ้าและ OneWeb ที่เป็นดาวเทียมวงโคจรต่ำ
- Read more about ไทยคมเลือกใช้ดาวเทียม Airbus OneSat สำหรับไทยคม 9
- 1 comment
- Log in or register to post comments
Aisbus ประกาศความสำเร็จในการทดสอบยานบิน Airbus Zephyr S ยานบินไร้คนขับที่สามารถบินในชั้นบรรยากาศได้นานถึง 18 วันต่อเนื่องโดยอาศัยพลังงานแสงอาทิตย์ โดยการทดสอบนี้ยาน Zephyr ติดตั้งกล้อง Optical Advanced Earth Observation system for Zephyr (OPAZ) ไปด้วย เพื่อทดสอบการสำรวจสภาพบนพื้นดิน
Jana Rosenmann หัวหน้าฝ่ายยานบินไร้คนขับของ Airbus ระบุว่า Airbus คาดหวังจะสร้างยานบินที่บินได้ต่อเนื่องระดับเดือน โดยมั่นใจว่าน่าจะบินได้นานถึง 3 เดือน และอาจจะถึง 6 เดือนในอนาคต
เราเห็นข่าวผู้ผลิตรถยนต์หลายราย ปรับโรงงานมาผลิตเครื่องช่วยหายใจ (เช่น Ford , GM )
ล่าสุด Airbus บริษัทผลิตเครื่องบินรายใหญ่ของยุโรป ก็ประกาศนำโรงงานของบริษัทที่สเปน มาผลิตโครงหน้ากากชนิดปกป้องทั้งใบหน้า (ตามภาพก็คือ face shield) ด้วยเครื่องพิมพ์ 3 มิติ โดยใช้เครื่องพิมพ์ 3 มิติจำนวน 20 ตัว ด้วยส่วนผสมวัตถุทางธรรมชาติ ที่เรียกว่า PLA (Polylactic-acid)
Airbus ต้องหยุดโรงงานในสเปนเกือบทั้งหมด แต่พนักงานก็ได้รับอนุญาตพิเศษให้เข้ามายังโรงงานแห่งนี้ เพื่อผลิตโครงหน้ากากให้บุคลากรทางการแพทย์
องค์การความปลอิดภัยการบินสหภาพยุโรป (EU Aviation Safety Agency - EASA) ออกประกาศเมื่อปี 2017 เตือนว่าเครื่อง Airbus A350 จำนวนหนึ่งมีปัญหาระบบสื่อสารขัดข้องหากเปิดระบบทิ้งไว้ต่อเนื่อง 149 ชั่วโมง อาจทำให้ระบบการบิน (avionics systems) บางส่วนหรือทั้งหมดหยุดทำงานได้ ทาง EASA จึงออกคำสั่งให้สายการบินต้องรีเซ็ตเครื่องก่อนครบกำหนดเสมอ
ประกาศเพิ่งเผยแพร่อีกครั้งหลังปรับปรุงใหม่ เนื่องจากทาง Airbus ออกแพตช์สำหรับปัญหานี้มาแล้ว คือ mod 112312 และ mod 112313 ทำให้เครื่องที่ออกใหม่หรือแพตช์แล้วไม่จำเป็นต้องทำตามประกาศนี้อีกต่อไป
ไมโครซอฟท์ประกาศความร่วมมือกับบริษัทเครื่องบิน Airbus นำโซลูชันแว่น HoloLens และเทคโนโลยี Mixed Reality (MR) ไปใช้ในอุตสาหกรรมการบิน
ตัวอย่างที่ Airbus นำมาโชว์คือ การใช้แว่น HoloLens 2 ไปใช้กับการซ่อมเครื่องบิน โดยวิศวกรจะเห็นข้อมูลของชิ้นส่วนต่างๆ ขณะซ่อมหรือออกแบบชิ้นส่วนเครื่องบินด้วย ผลคือ Airbus บอกว่ากระบวนการทดสอบชิ้นส่วนเครื่องบินจะเร็วขึ้นจากเดิมถึง 80% ในบางกรณี
Airbus บริษัทผู้ผลิตเครื่องบินรายใหญ่ได้ออกมาให้ข่าวความคืบหน้าของ Vahana โครงการพัฒนาอากาศยานไร้คนขับเพื่อการโดยสาร ซึ่งล่าสุดประสบความสำเร็จการทดลองบินจริงเป็นครั้งแรกแล้ว
Vahana เป็นอากาศยานแบบ VTOL (Vertical Take-off and Landing) นั่นคือขึ้นบินและลงจอดในแนวดิ่ง ตัวเครื่องมีความยาวประมาณ 6 เมตร กว้างประมาณ 5.7 เมตร ภายในมีที่นั่งรองรับผู้โดยสารได้ 4 คน มันถูกออกแบบมาเพื่อให้สามารถบินได้โดยอัตโนมัติไม่ต้องพึ่งนักบิน พิสัยการบิน 100 กิโลเมตร และจะทำความเร็วได้สูงสุด 120 กิโลเมตรต่อชั่วโมง
บริษัท Airbus, Delta Air Lines, OneWeb (ผู้ให้บริการดาวเทียม), Sprint และ Bharti Airtel (ผู้ให้บริการโทรคมนาคม) ได้ร่วมกันเปิดตัวกลุ่มพันธมิตร Seamless Air Alliance โดยมีวัตถุประสงค์ในการจัดตั้งคือเพื่อเป็นการปรับปรุงประสบการณ์เชื่อมต่ออินเทอร์เน็ตบนเครื่องบิน
เป้าหมายของ Seamless Air Alliance คือการลดค่าใช้จ่ายและอุปสรรคในการติดตั้งและให้บริการอินเทอร์เน็ตบนเครื่องบิน โดยการลดขั้นตอนกการติดตั้งและรับรองระบบ รวมถึงทำมาตรฐานเปิดสำหรับทุกคนให้ใช้งานร่วมกันได้ เพื่อให้ผู้โดยสารได้ใช้งานอินเทอร์เน็ตที่มีความเร็วสูงและ latency ต่ำ (ใครใช้อินเทอร์เน็ตบนเครื่องบินคงจะเข้าใจว่าระบบปัจจุบันมีค่าบริการค่อนข้างแพงและความเร็วไม่ได้สูงมาก)
Facebook ลงทุนวิจัยเรื่องการเชื่อมต่ออินเทอร์เน็ตแบบใหม่ๆ มาได้สักระยะ เช่น การใช้โดรน Aquila กระจายสัญญาณเน็ตจากที่สูง หรือที่เรียกว่า high altitude platform station (HAPS)
ล่าสุด Facebook ประกาศความร่วมมือกับบริษัทเครื่องบิน Airbus เพื่อพัฒนาเทคนิคการส่งสัญญาณสำหรับ HAPS ที่ก้าวหน้าขึ้นกว่าเดิม
ท่ามกลางกระแสของโดรนที่มีมากขึ้นเรื่อยๆ สิ่งที่ตามมาย่อมหนีไม่พ้นการถูกคุกคามความเป็นส่วนตัว (โดรนติดกล้อง) หรือแม้แต่การนำเอาโดรนไปใช้ขนส่งสิ่งของผิดกฎหมาย ด้วยเหตุนี้ Airbus บริษัทผลิตเครื่องบินยักษ์ใหญ่ของโลกได้ร่วมทุนกับ Dedrone สตาร์ทอัพจากแคลิฟอร์เนีย ในการผลิตระบบป้องกันและขัดขวางการทำงานของโดรน
ระบบนี้สามารถตรวจจับโดรนได้ไกลกว่า 10 กิโลเมตร ก่อนที่จะส่งสัญญาณรบกวนไปยังโดรน ไม่ให้รุกล้ำเข้ามาในพื้นที่ และเหลือทางเลือก 2 ทางให้กับโดรนคือแลนดิ้งหรือกลับไปยังต้นทาง
บริษัท Dedrone เป็นผู้ผลิตฮาร์ตแวร์ทั้งกล้อง ไมโครโฟน เรดาร์และสแกนเนอร์ ขณะที่ Airbus จะดูแลเรื่องโซลูชันและระบบรบกวนการสื่อสารของโดรน ทั้งนี้ยังไม่มีการเปิดเผยราคาของระบบนี้ออกมาแต่อย่างใดครับ