จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยเปิดตัวบริการ ChulaGENIE ผู้ช่วยแบบ LLM สำหรับบุคลากรและนิสิตรวมกว่า 50,000 คน โดยภายในเป็นการซื้อ Gemini Pro และ Gemini Flash แบบ API ผ่านทางบริการ Vertex AI บน Google Cloud มาเปิดให้ภายในใช้งาน
บริการนี้เตรียมเปิดตัวเป็นเฟส โดยช่วงแรกมกราคม 2025 จะเปิดให้เฉพาะคณาจารย์และบุคลากรก่อน จากนนั้นจึงเปิดให้นิสิตทุกคนใช้งานในเดือนมีนาคม ช่วงแรกจะใช้ Gemini 1.5 Flash และ Gemini 1.5 Pro โดยมีแผนจะเพิ่มตัวเลือก Claude และ Llama ต่อไป
หน้าจอ ChulaGENIE ที่เปิดเผยออกมานั้นเหมือนกับโครงการ OpenWebUI ที่เป็นโครงการโอเพนซอร์สที่ได้รับความนิยมสูง ภายในมีการสร้างตัวช่วยเฉพาะเรื่อง เช่น ผู้ช่วยงานวิจัย, ผู้ช่วยการศึกษา, และผู้ช่วยด้านการบริหารและธุรการ
การมาถึงของเทคโนโลยี 5G ไม่ได้มีเพียงแค่เรื่องของความเร็วการใช้งานอินเทอร์เน็ตบนโทรศัพท์มือถืออย่างเดียว แต่ยังเป็นใบเบิกทางที่เปิดโอกาสทางธุรกิจใหม่ๆ ได้อีกมากมาย อย่างไรก็ตามในแง่การใช้งานจริงของธุรกิจ ประโยชน์ของ 5G ยังต้องได้รับการพัฒนาและต่อยอดอย่างต่อเนื่อง เพื่อยกระดับอุตสาหกรรม
ดังนั้นทาง AIS จึงร่วมกับภาคการศึกษาอย่างคณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เผยโฉม AIS 5G PLAY GROUND และ AIS 5G GARAGE ที่นับว่าเป็น Sandbox เป็นแห่งแรกในพื้นที่การศึกษา ให้เป็นพื้นที่การทดลอง วิจัยและเรียนรู้ และพัฒนา use case บนเครือข่ายจริงสำหรับนิสิตและอาจารย์
เมื่อกลางเดือนที่ผ่านมา NVIDIA เพิ่ง ประกาศจีพียู Ampere พร้อมเซิร์ฟเวอร์ DGX A100 ที่พลังประมวลผลในเครื่องเดียวสูงถึง 5 petaflops วันนี้ทาง NVIDIA ก็ประกาศว่าทาง จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยจะเป็นหน่วยงานแรกในประเทศไทยที่ได้ใช้เซิร์ฟเวอร์นี้
หน่วยงานที่ติดตั้งเซิร์ฟเวอร์นี้คือ Chulalongkorn University Technology Center (UTC) โดยศาสตราจารย์ยิ่งยศ อวิหิงสานนท์ ระบุว่าทาง UTC หาเซิร์ฟเวอร์ประมวลผลด้านกราฟิกเพื่อฝึกโมเดลปัญญาประดิษฐ์สำหรับภาพความละเอียดสูง โดยมีเงื่อนไขด้านการซ่อมบำรุงที่ต้องง่าย
การติดตั้งเซิร์ฟเวอร์ครั้งนี้เป็นความร่วมมือกับทาง NVIDIA AI Technology Centre ที่มีเครือข่ายกับมหาวิทยาลัยทั่วโลก
ผล การแข่งขันโปรแกรมมิ่งชิงแชมป์โลก ACM-ICPC 2016 ที่ จ.ภูเก็ต วันนี้ ผู้ชนะคือทีมจาก St. Petersburg State University จากประเทศรัสเซีย โดยสามารถทำโจทย์ได้ 11 ข้อจากทั้งหมด 13 ข้อ
อันดับสองคือ Shanghai Jiao Tong University ของจีน ทำได้ 11 ข้อเท่ากัน แต่ได้อันดับสองเพราะใช้เวลารวมในการแก้โจทย์นานกว่า
ส่วนทีมของประเทศไทย มีทีมของจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย สามารถคว้ารางวัลแรกของการแข่งขันคือแก้โจทย์ข้อแรกสำเร็จ ในเวลาเพียง 11 นาทีหลังจากเริ่มแข่งขัน เลยได้รางวัล First to Solution เป็นชื่อเสียงของประเทศไทยด้วย
บริการ Google Apps ในประเทศไทยพยายามอย่างมากที่จะบุกตลาดการศึกษา แบบเดียวกับที่ไมโครซอฟท์พยายามเพิ่มเทคโนโลยีของตัวเองเข้าไปในหลักสูตร ก่อนหน้านี้ มหาวิทยาลัยขอนแก่น ได้เปลี่ยนไปใช้งาน Google Apps for Education เป็นที่แรกด้วยจำนวนคนถึงหกหมื่นคน ตอนนี้สถานศึกษาแห่งที่สองที่กูเกิลประกาศเป็นทางการคือคณะพาณิชยศาสตร์และการบัญชี จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
นอกจากจะเริ่มใช้ Google Apps ในคณะแล้ว ทางคณะยังสร้างบัญชี Google+ เป็น + CBS Chula มาพร้อมกัน
ที่มา - + Google Thailand