Wikipedia ถอดบทความทั้งหน้าที่มีชื่อว่า Bicholim Conflict (ตอนนี้อยู่ใน สถานะ Deleted แล้ว) หลังจากที่บทความนี้อยู่ใน Wikipedia และหลอกผู้คนมาได้ถึง 5 ปี
บทความนี้กล่าวถึงสงครามของโปรตุเกสกับอินเดีย ซึ่งไม่เคยเกิดขึ้นจริง ซ้ำร้ายไปกว่านั้นบทความจำนวนกว่า 4,500 คำ และมีการอ้างอิงแหล่งที่มาสวยหรู (เป็นหนังสือที่ไม่มีอยู่จริง) นี้ยังเคยได้รับการโหวตให้เป็นบทความในระดับดีของ Wikipedia อีกด้วย
ดังนั้นจงระวังหากคุณจะใช้ Wikipedia เป็นที่มาของข้อมูล! คุณอาจจะกำลังสร้างประวัติศาสตร์ของสงครามทั้งๆ ที่มันไม่เคยเกิดขึ้นมาเลยแม้แต่นิดก็ได้
หลังจาก ข่าวลือเกี่ยวกับ Sony Nexus X เมื่อประมาณสัปดาห์ก่อน วันนี้เจ้าของเรื่องทั้งหมดได้ออกมาเปิดเผยรายละเอียดทั้งหมดเกี่ยวกับ Sony Nexus X ผ่านทาง Tumblr ชื่อ Anatomy of a Hoax ตั้งแต่เหตุผลทำไมเขาจึงตัดสินใจทำเช่นนั้น เขาเริ่มต้นอย่างไร ข่าวเกี่ยวกับ Nexus X แพร่กระจายรวดเร็วเพียงใด การออกแบบตัวเครื่องทำอย่างไร รวมไปจนถึงกระบวนการเรนเดอร์นั้นทำอย่างไร เรื่องราวทั้งหมดน่าสนใจมาก แต่เนื่องจากรายละเอียดมีมาก (แนะนำให้อ่านที่มา) จึงขอสรุปเป็นประเด็น ๆ ไว้ด้านใน
ท้ายสุดเจ้าตัวสรุปว่าเขาอยากทราบพฤติกรรมของสื่อต่าง ๆ ในการเลือกเชื่อหรือไม่เชื่อข่าวลือหนึ่ง ๆ และสำคัญยิ่งไปกว่านั้นคือต้องการให้ Sony และ Google รับรู้ว่ามีคนต้องการให้ Sony ผลิต Nexus อยู่จำนวนมากแค่ไหน
เมื่อวานนี้มีการปล่อยข่าวตามเครือข่ายสังคมว่าซัมซุงได้จ่ายค่าปรับ หลังจากแพ้คดีที่แอปเปิลฟ้องเรียกค่าเสียหาย คิดเป็นมูลค่า 1 พันล้านดอลลาร์ โดยใช้วิธีนำรถบรรทุก 30 คันขนเหรียญเงิน 5 เซนต์มูลค่ารวม 1 พันล้านดอลลาร์นี้ไปเทที่หน้าสำนักงานใหญ่แอปเปิล ซึ่งได้รับการตรวจสอบอย่างรวดเร็วว่าข่าวนี้เป็นข่าวลวงที่สร้างขึ้นมาครับ แต่ถ้าใครยังปักใจเชื่อว่าซัมซุงทำแบบนี้จริงๆ อยู่ นี่คือรายละเอียดเพิ่มเติมครับ
ในช่วงสัปดาห์ที่ผ่านมาเว็บข่าวหลายแห่งได้เผยแพร่ภาพ "น็อต" iPhone ซึ่งเชื่อว่าเป็นชิ้นส่วนหลุดอีกชิ้นหนึ่งของ iPhone รุ่นใหม่ ซึ่งก็มีการวิพากษ์วิจารณ์กันอย่างมาก เนื่องจากหัวน็อตนั้นมีลักษณะที่ไม่สมมาตรและแปลกจนไม่มีอุปกรณ์ใดในตอนนี้ที่จะไขน็อตรูปร่างประหลาดนี้ได้ ซึ่งข่าวลือก็เชื่อกันไปถึงขั้นว่าน็อตตัวนี้อาจเป็นมาตรฐานใหม่ของอุปกรณ์ชิ้นต่อๆ ไปของแอปเปิลเลยก็เป็นได้
Hoax Slayer เว็บไซต์ด้านข่าวสารของ Hoax ได้แจ้งเตือนไปยังผู้ใช้งาน Facebook เกี่ยวกับ Hoax ตัวใหม่ที่กำลังแพร่ระบาดอยู่ในตอนนี้ โดยมีลักษณะการอ้างอิงไปยังเว็บไซต์ชื่อดังโดยมีหัวข้อข่าวว่า 'Facebook บังคับให้ใส่หมายเลขประกันสังคมเพื่อเข้าสู่ระบบ'
ซึ่งข้อเท็จจริงในเรื่องนี้คือ ทาง Facebook ไม่ได้ต้องการข้อมูลหมายเลขประกันสังคมแต่อย่างใด หลายครั้งที่ผู้ใช้งานกดแชร์ข้อมูลโดยความไม่รู้ ซึ่งอาจก่อให้เกิดความตื่นตระหนกและความวุ่นวายในสังคมออนไลน์นั้นๆ ได้
หลังจากมีผู้ตั้งข้อสังเกตว่างานวิจัยที่บอกว่า ผู้ใช้ IE มีไอคิวต่ำกว่าผู้ใช้เบราเซอร์อื่น นั้นน่าจะ เป็นข่าวลวง ล่าสุดทาง AptiQuant ต้นเรื่องทั้งหมดได้ออกมายอมรับแล้วว่าเรื่องทั้งหมดเป็นเรื่องแต่งขึ้น
- Read more about AptiQuant ยอมรับแล้วว่างานวิจัย IE เป็นเรื่องโกหก
- 62 comments
- Log in or register to post comments
หลังจากข่าวอันร้อนระอุที่ออกมาเมื่อวันก่อนที่บอกว่า มีผลสำรวจว่าผู้ใช้ไออีนั้นมีไอคิวเฉลี่ยต่ำกว่าผู้ใช้บราวเซอร์ยี่ห้ออื่น ได้ถูกถ่ายทอดสู่สาธารณะชน ทางผู้สื่อข่าวหลายรายก็ได้ทำการตรวจสอบข้อมูลอื่นๆ ประกอบ จนพบหลักฐานบางอย่างที่ทำให้เชื่อได้ว่าผลสำรวจดังกล่าวเป็นเพียงข่าวลวงหรือ Hoax เท่านั้น
บริษัทที่ปรึกษาด้านจิตวิทยาของแคนาดา AptiQuant ได้รายงานผลการวิจัยว่าด้วยความสัมพันธ์ของระดับเชาวน์ปัญญา (ไอคิว) กับเว็บเบราเซอร์ที่ใช้ โดยใช้กลุ่มตัวอย่างมากกว่าหนึ่งแสนคนทำแบบทดสอบวัดไอคิว จากนั้นก็เก็บผลคะแนนที่ได้กับเว็บเบราเซอร์ที่บุคคลนั้นใช้ พบผลลัพธ์ที่น่าสนใจดังนี้
ในภาพรวมแล้ว
ผลการสำรวจพบว่าผู้ใช้ Internet Explorer มีระดับไอคิวอยู่ราว 80-90 ขณะที่กลุ่มผู้ใช้ Firefox, Chrome และ Safari มีไอคิวอยู่ในช่วง 100-110 ยิ่งไปกว่านั้นถ้าเป็นผู้ใช้งาน Chrome Frame, Camino หรือ Opera จะมีระดับไอคิวสูงมากกว่า 120 กันเลย