Tags:
Topics: 
Node Thumbnail

จากเหตุการณ์ Tarad.com โดนยึดเซิร์ฟเวอร์ ก่อให้เกิดความตื่นตัวในหมู่ผู้ดูแล/เจ้าของเซิร์ฟเวอร์ค่อนข้างมาก ผมเชื่อว่าคนอ่านของเราก็มีกลุ่มโฮสติ้งหรือผู้ให้บริการทางไอทีอยู่เยอะ และต้องมีคำถามเกิดขึ้นแน่ๆ ว่าเมื่อใดตำรวจถึงสามารถยึดเซิร์ฟเวอร์ของเราได้

ประชาไทมีสกู๊ปเรื่องนี้ ยกเฉพาะท่อนสำคัญมาให้อ่านเรียกน้ำย่อย เวอร์ชันเต็มก็ตามไปอ่านกันเอง

อย่างไรก็ดี แม้สังคมไทยยังคลางแคลงใจกับวิธีการ “ยึดและอายัด” เครื่องเซิร์ฟเวอร์ แต่เร็วๆ นี้กำลังจะมีกฎกระทรวงฉบับใหม่ออกมาประกาศใช้ คือกฎกระทรวงว่าด้วยการยึดหรืออายัดระบบคอมพิวเตอร์ พ.ศ.... ซึ่งเป็นกฎหมายลูกของพระราชบัญญัติการกระทำความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ พ.ศ. 2550

Tags:
Topics: 
Node Thumbnail

Michael Rossberg ผู้พัฒนาโปรแกรม KisMAC โปรแกรมดักข้อมูลเครือข่ายไร้สาย สำหรับระบบปฎิบัติการ Mac OS X ประกาศหยุดพัฒนาโครงการ พร้อมทั้งปิดเว็บไซต์ในทันที โดยให้เหตุผลว่า ประเทศเยอรมนีที่ตนอาศัยอยู่นั้น ได้ผ่านกฎหมายฉบับใหม่ ที่อาจจะทำให้สิ่งที่เขาพัฒนาขึ้นนั้น กลายเป็นสิ่งผิดกฎหมาย และอาจจะทำให้ตนเองต้องโทษก็เป็นได้

ยังไม่มีข้อมูลว่าหลังจากนี้ จะมีการย้ายไปพัฒนาโครงการนี้ ภายใต้โดเมน และเซิร์ฟเวอร์ที่ตั้งอยู่ในประเทศอื่น อย่างเช่น สหรัฐอเมริกา หรือประเทศในกลุ่มยุโรป อย่างผู้คนในชุมชนออนไลน์อย่างเช่น Slatdot แนะแนวทางไว้หรือไม่

Tags:
Topics: 
Node Thumbnail

หลังจากพรบ. ความผิดคอมฯ มีผลบังคับใช้ และเกิด คดีแรก ไปแล้ว

ตอนนี้เว็บไซต์ ตลาดดอทคอม ผู้ให้บริการฝากขายสินค้า และบริการเว็บสำเร็จรูปสำหรับร้านค้าออนไลน์ ก็โดนบุกยึดเครื่องเซิร์ฟเวอร์ไปเรียบร้อยแล้ว เนื่องจากมีสินค้าที่ผิดลิขสิทธิ์ และพวกแบรนเนมปลอมจำนวนมาก

อย่างไรก็ตาม สำหรับการเข้ายึดเครื่องครั้งนี้ ใช้หมายศาลจากศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศกลาง เนื่องจากใช้ความผิดของ พรบ. ลิขสิทธิ์ และ พรบ. เครื่องหมายการค้า จึงไม่ค่อยแน่ใจว่าเกี่ยวกับ พรบ. ความผิดคอมฯ หรือเปล่า

ว่าแต่... ผมจะโดนมั่งมั๊ยเนี่ย T T

Tags:
Topics: 
Node Thumbnail

ที่ประชุมคณะรัฐมนตรีเห็นชอบกฎกระทรวงว่าด้วยการยึดหรืออายัดระบบคอมพิวเตอร์ ของกระทรวงไอซีที และเตรียมประกาศในราชกิจจานุเบกษา

กฎกระทรวงนี้เป็นกฎหมายประกอบ พ.ร.บ. ความผิดทางคอมพิวเตอร์ พ.ศ. 2550 ซึ่ง พ.ร.บ. ฉบับนี้จะมีกฎหมายประกอบ 3 ฉบับ

  • หลักเกณฑ์การเก็บรักษาข้อมูลจราจรทางคอมพิวเตอร์ของผู้ให้บริการ
  • หลักเกณฑ์เกี่ยวกับคุณสมบัติของพนักงานเจ้าหน้าที่ตาม พ.ร.บ.
  • กฎกระทรวงว่าด้วยการยึดหรืออายัดระบบคอมพิวเตอร์

ผมยังไม่เห็นร่างกฎกระทรวงเรื่องยึด/อายัด ขอยกใจความสำคัญมาจากประชาไทเช่นเคย

Tags:
Topics: 
Node Thumbnail

จากข่าวคราวก่อนเรื่อง ร่างประกาศกระทรวงไอซีที (เสริม พ.ร.บ. ความผิดทางคอมพิวเตอร์) ให้เก็บเลขประชาชน 13 หลัก และกระทรวงได้จัด งานสัมมนาเกี่ยวกับ พ.ร.บ. เมื่อวันที่ 13 กรกฎาคม (ศุกร์ที่ผ่านมา)

ผมได้ข้อมูลจากผู้ที่ได้ไปร่วมงานสัมมนาว่า ตอนนี้ในร่างฉบับล่าสุดได้เลิกบังคับให้ผู้บริการประเภทเนื้อหา (เว็บไซต์ต่างๆ) เก็บเลขประชาชน 13 หลักแล้ว

Tags:
Topics: 
Node Thumbnail

ผมเชื่อว่าหลายๆ คนที่ตามข่าวพระราชบัญญัติว่าด้วยการกระทำความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ พ.ศ. 2550 ซึ่ง Blognone ได้นำเสนอมาโดยตลอด คงมีเรื่องอยากถามคนของกระทรวงไอซีทีให้หายคาใจกันเยอะอยู่ ตอนนี้โอกาสมาแล้วครับ

กระทรวงไอซีทีเค้าจะจัด สัมมนาเรื่อง "การบังคับใช้กฏหมาย : พระราชบัญญัติว่าด้วยการกระทำความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ พ.ศ. 2550" เพื่อสร้างความรู้ ความเข้าใจ และความพร้อมของประชาชนในกรุงเทพ โดยครั้งแรกจะจัดที่กรุงเทพ วันศุกร์ที่ 13 กรกฎาคม 2550 เวลา 08.00 น. - 14.00 น. ที่โรงแรมปรินซ์พาเลช เขตป้อมปราบศัตรูพ่าย

Tags:
Topics: 
Node Thumbnail

จากเรื่อง สมาคม eCommerce เรียกประชุมด่วนเรื่อง พ.ร.บ. ผมก็ไปประชุมกับเค้าด้วย และคิดว่ามีหลายคนคงอยากรู้รายละเอียด เลยขอยกข่าวจากประชาไท (ซึ่งไปด้วยกัน) มาให้อ่าน

ทั้งนี้ ตามกฎหมาย พ.ร.บ. การกระทำความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์นั้น จะต้องใช้ควบคู่ไปกับ ‘ประกาศและหรือกฎกระทรวง’ ซึ่งเป็นกฎหมายเสริมที่ให้รายละเอียดลึกกว่ากฎหมายแม่ เช่น ประกาศ/กฎ กระทรวงว่าด้วยที่มาของเจ้าหน้าที่รัฐ ที่จะมีอำนาจดำเนินการภายใต้กฎหมายนี้ ซึ่งต้องมีความเชี่ยวชาญและความเข้าใจสังคม วัฒนธรรม และกระบวนการต่างๆ ที่เกิดขึ้นในโลกไซเบอร์

Tags:
Topics: 
Node Thumbnail

พ.ร.บ. ความผิดคอมประกาศในราชกิจจานุเบกษาแล้ว ( ข่าวเก่า ) และมีผลบังคับใช้วันที่ 18 กรกฎาคมนี้ ในส่วนของการเก็บข้อมูลจราจรคอมพิวเตอร์ (traffic data) จะอยู่ใน ประกาศหลักเกณฑ์การเก็บรักษาข้อมูลทางจราจรทางคอมพิวเตอร์ของผู้ให้บริการ พ.ศ. 2550ซึ่งถือเป็นกฎหมายเสริมออกโดยกระทรวงไอซีที

ปัญหามีอยู่ว่า ร่างประกาศฉบับล่าสุด (4 ก.ค.) ระบุว่า "ผู้ให้บริการ" จำพวกเว็บไซต์ท่า (รวมเว็บบอร์ด เว็บบล็อก) จะต้องเก็บข้อมูลระบุตัวบุคคลของผู้ใช้ ซึ่งมีหลายอย่างตั้งแต่ username, email และที่สำคัญ เลขประจำตัวประชาชน ด้วย

Tags:
Topics: 
Node Thumbnail

สถานะล่าสุดของพระราชบัญญัติว่าด้วยการกระทำความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ พ.ศ. ๒๕๕๐ คือผ่านการลงพระปรมาภิไธย และประกาศใช้ในราชกิจจานุเบกษาเรียบร้อยแล้ว

เนื้อหาของ พ.ร.บ. จะเหมือนกับฉบับที่ผ่านสภานิติบัญญัติแห่งชาติ ( ข่าวเก่า ) และมีผลบังคับใช้ใน 30 วัน (นับจากวันที่ 10 มิถุนายน 2550) อย่างไรก็ตามยังต้องมีกฎหมายประกอบ พ.ร.บ. นี้ในส่วนของชนิดข้อมูล traffic log ที่ต้องเก็บ และวิธีการแต่งตั้งเจ้าพนักงาน ซึ่งจะอยู่ในรูปของกฎกระทรวง ICT

กฎกระทรวงฉบับร่างสามารถอ่านได้จาก เอกสารชี้แจง พรบ.ว่าด้วยการกระทำผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ ต่อ สนช. ของทาง NECTEC

Tags:
Topics: 
Node Thumbnail

เมืองนอกมีข่าวคนแอบใช้ Wi-Fi ฟรีโดนจับอยู่เรื่อยๆ บ้านเราเพิ่งมีกฎหมายเรื่องนี้ เลยเอามาลงให้อ่านกัน

ผู้ต้องหารายนี้ชื่อ Sam Peterson อยู่ในรัฐมิชิแกน เขาพบว่าคาเฟ่ชื่อ Union Street Cafe เปิด Wi-Fi ให้ใช้ฟรีโดยไม่ได้ป้องกันอะไรไว้ เขาเลยขับรถมาจอดหน้าร้านแล้วต่อ Wi-Fi อ่านอีเมลทุกวัน จนคุณตำรวจสงสัยว่าหมอนี่มาทำอะไรกันแน่เลยเดินไปถาม ซึ่ง Peterson ก็ให้ความร่วมมือเป็นอย่างดีบอกว่าเขากำลังทำอะไร

โทษสูงสุดตามกฎหมายของการแอบใช้ Wi-Fi คนอื่น (เพราะ Peterson ไม่ได้เป็นลูกค้าของคาเฟ่) คือจำคุก 5 ปีและปรับอีก 10,000 ดอลลาร์ แต่ Peterson ก็โดนแค่ทำงานรับใช้สังคมและปรับอีกเล็กน้อย เนื่องจากเป็นความผิดครั้งแรก และเขาเองก็ไม่รู้ตัวว่ากำลังทำผิดกฎหมายอยู่

Tags:
Topics: 
Node Thumbnail

ประชาไท - เมื่อวันที่ 9 พ.ค. ที่ผ่านมา ที่ประชุมสภานิติบัญญัติแห่งชาติ (สนช.) พิจารณา ร่างพ.ร.บ.ว่าด้วยการกระทำความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ พ.ศ.

Tags:
Topics: 
Node Thumbnail

เนื่องจากคดีด้านสิทธิบัตรซับซ้อนและมีเยอะมากขึ้นเรื่อยๆ สภาผู้แทนราษฎรสหรัฐอเมริกาจึงได้ผ่านกฎหมายที่เตรียมความพร้อมให้กับผู้พิพากษาในการตัดสินคดีเกี่ยวกับสิทธิบัตร

(ถ้าผมแปลผิดก็แก้ด้วยนะครับ) ใจความสำคัญของกฎหมายก็คือการเลือกตัวผู้พิพากษาแบบสุ่มสำหรับคดีทางด้านสิทธิบัตร เพื่อให้ผู้พิพากษาทุกคนมีโอกาสได้ตัดสินคดีแบบนี้โดยเท่าเทียมกัน ประสบการณ์ไม่ไปกองอยู่กับผู้พิพากษาที่เชี่ยวชาญบางกลุ่ม โครงการนี้มีเวลา 10 ปีพร้อมกับงบอุดหนุนการอบรมอีกจำนวนหนึ่ง

BSA ได้ออกมาแสดงการชื่นชมกฎหมายนี้ โดยบอกว่าจะช่วยสนับสนุนทางด้านทรัพยากรและเครื่องมือสำหรับคดีแบบนี้มากที่สุดเท่าที่จะทำได้

Tags:
Topics: 
Node Thumbnail

Biolawcom.de มีบทความแนะนำกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับการหมิ่นประมาทไว้ค่อนข้างครบถ้วน บทความนี้ผมขอแนะนำให้บล็อกเกอร์ทุกท่านได้อ่านครับ เพราะใครจะรู้วันดีคืนดีเราอาจะมีคดีฟ้องบล็อกเกอร์ในเมืองไทย (หรือมีไปแล้ว?)

Tags:
Topics: 
Node Thumbnail

นางแบบสาว Daniela Cicarelli ได้ยื่นฟ้อง YouTube ที่ทำการเผยแพร่คลิปวีดีโอฉาวระหว่างเธอและแฟนหนุ่มจนเมื่อวานนี้ศาลเมื่อ เซา เปาโลได้ประกาศคำตัดสินมีการบล็อก YouTube จากระบบ DNS ทั้งประเทศบราซิล โดยคำสั่งดังกล่าวมีขึ้นหลังทาง YouTube ได้พยายามลบคลิปดังกล่าวออกจากเว็บของตนแล้ว แต่ปรากฏว่ามีผู้ใช้จำนวนมากพยายามส่งคลิปดังกล่าวกลับเข้าไปในเว็บเรื่อยๆ จนสุดท้ายศาลต้องออกคำสั่งให้บล็อกเว็บดังกล่าวทั้งประเทศ

ทาง YouTube ระบุว่าบริษัทพยายามทำตามกฏหมายของแต่ละประเทศอย่างดีที่สุด โดยทุกวันนี้มีการอัพโหลดวีดีโอขึ้น YouTube กว่า 65,000 เรื่องต่อวันขณะเดียวกันก็มีระบบการตรวจสอบเนื้อหาที่ไม่เหมาะสมตลอดเวลา

Tags:
Topics: 
Node Thumbnail

เมื่อวานผมไปงานเสวนา “ร่วมวิพากษ์ร่าง พรบ. ว่าด้วยการกระทำความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ พ.ศ. ....” พบว่าการบรรยายช่วงเช้าของ อ. ทวีศักดิ์ กออนันตกูล (รองประธานคณะกรรรมาธิการวิสามัญพิจารณาร่างพระราชบัญญัติว่าด้วยการกระทำความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ พ.ศ. .... คนที่ 2) มีประโยชน์มาก เลยขอ อ. ทวีศักดิ์นำมาเผยแพร่ที่นี่ด้วย

Tags:
Topics: 

สมาคมเว็บมาสเตอร์ฝากมาประชาสัมพันธ์ แต่ยังไม่มีเว็บรายละเอียดของงาน ผมก็อปข้อมูลที่จำเป็นมาแปะให้ก่อนละกันครับ ตลกมากที่สมาคมเว็บมาสเตอร์ไม่มีเว็บ

การเสวนารับฟังความคิดเห็น หัวข้อ “ร่วมวิพากษ์ร่าง พรบ. ว่าด้วยการกระทำความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ พ.ศ. ....”วันพฤหัสบดี ที่ 21 ธันวาคม 2549 เวลา 8.30-16.30 น. โรงแรมดิเอมเมอรัล รัชดา กรุงเทพฯ

อัพเดต: เว็บมาแล้ว

รายชื่อผู้ร่วมวิพากษ์

Tags:
Topics: 
Node Thumbnail

บ้านเราคนติดตามข่าวมือถือกันเยอะ คงได้เห็นรูปของ Samsung Blackjack กันมาับ้าง ดูแล้วคงนึกถึงเครื่อง BlackBerry กันไม่ต้องสงสัย

งานนี้ฝั่ง RIM ผู้ผลิต BlackBerry ก็ยอมไม่ได้ครับ ต้องออกมาแสดงท่าทีว่าทางซัมซุงกำัลังละเมิดสินค้าของตนอยู่ แต่ไม่รู้ด้วยเหตุผลอะไร ข้อหาที่ทาง RIM ฟ้องนั้นกลับเป็นข้อหาเครื่องหมายทางการค้า ที่ว่ืา Blackjack นั้นไปพ้องกับ BlackBerry

เรื่องนี้อาจจะเป็นเพราะรูปร่างหน้าตาที่คล้ายๆ กันนี้อาจจะไม่สามารถเอาไปฟ้องได้ เพราะโทรศัพท์มือถือหน้าตาคล้ายๆ กันก็น่าจะมีวางขายมาก่อน BlackBerry กันบ้าง ทาง RIM เลยเอาเรื่องของเครื่องหมายการค้่ามาใช้แทน

Tags:
Topics: 
Node Thumbnail

จากคดีเด็กมัธยมอายุ 18 ปีไล่ยิงเพื่อนนักเรียนเลียนแบบเกม Counter Strike เมื่อเดือนที่แล้ว ทำให้ทางรัฐบาลเยอรมนีเตรียมออกกฎหมายควบคุมความรุนแรงของเกม โดยไม่สนใจว่าจะเป็นผู้สร้าง, ผู้ขาย หรือผู้เล่น ถ้ามีส่วนร่วมกับเกมที่ “cruel or otherwise inhumane acts of violence against humans or humanlike creatures.”มีโทษถึงจำคุก 1 ปีเลยทีเดียว

กฎหมายนี้ผลักดันโดยรัฐมนตรีมหาดไทย Gunther Beckstein และจะเข้าสภาในปีหน้า ข่าวนี้ส่งผลกระทบต่อวงการเกมในเยอรมนี ซึ่งเป็นตลาดใหญ่อันดับสามของโลกแบบเต็มๆ เยอรมนีมีทีมนักเล่นเกมติดอันดับโลกจำนวนมาก และส่วนใหญ่ได้สปอนเซอร์จากบริษัทเกม ถ้ากฎหมายนี้ผ่านจริง เกม FPS เกือบทั้งหมดคงไม่รอด

Tags:
Topics: 
Node Thumbnail

ด้วยลักษณะสังคมไซเบอร์ทุกวันนี้ ถ้าคุณเขียนเรื่องอะไรที่น่าสนใจขึ้นมาสักเรื่อง ข่าวของคุณจะถูกส่งต่อ เขียนวิจารณ์ วิเคราะห์ ตลอดจนก๊อปปี้ไปลงบล็อกอื่นๆ อย่างรวดเร็ว ปัญหาคือข้อมูลที่คุณนำมาอาจจะผิดพลาด หรือยิ่งแย่กว่านั้นคือมันทำให้ผู้อื่นได้รับความเสียหาย

กรณีเช่นนี้เกิดขึ้นจริงในแคลิฟอร์เนียเมื่อ Dr. Stephen Barrett ยื่นฟ้อง Ilena Rosenthal ในฐานนี้โพสข้อความหมิ่นประมาทลงใน newsgroup โดยข้อความที่โพสต์นั้นเป็นข้อความที่นำมาจากที่อื่น หลังจากฟ้องกับครบทุกศาล เมื่อวานนี้ศาลฏีกาก็มีคำตัดสินออกมาแล้วว่าในกรณีนี้จำเลยไม่มีความผิด ที่ผิดคือคนโพสต์คนแรกต่างหาก

Tags:
Topics: 

พอดีวันนี้มีข่าวเกี่ยวกับการจับผิดบ้านในสหรัฐอเมริกา เนื่องจากตำรวจได้ให้ข้อมูลของไอพีที่แจกภาพอนาจารเด็กแก่ทางไอเอสพี เพื่อขอข้อมูลของผู้ใช้ไอพีนั้นในเวลาที่ระบุ ความผิดพลาดเกิดขึ้นเมื่อทางไอเอสพีส่งข้อมูลใ้ห้กับตำรวจผิดพลาดจนทำให้มีการบุกค้นบ้านผิดหลัง

ประเด็นอย่างนี้เป็นเรื่องน่ากังวลอยู่ไม่น้อย เมื่อไอพีที่เคยเป็นเพียงข้อมูลทางเทคนิคเพื่อให้การส่งข้อมูลเกิดขึ้นได้ กำลังจะกลายเป็นการระบุตัวบุคคลทางกฏหมาย แต่ทางไอเอสพีนั้นเป็นเพียงบริษัทเอกชนที่ดำเนินการค้า เราจะสามารถเชื่อถือข้อมูลของทางไอเอสพีได้เพียงไร และการใช้ข้อมูลเช่นนี้ควรมีผลในทางกฏหมายแค่ไหน

ใน Blognone ผู้อ่านทั้งหมดเป็นผู้ใช้ไอพีแน่นอน ผมจึงขอถามทุกท่านว่่ามีความเห็นต่อประเด็นเช่นนี้กันอย่างไรบ้างครับ

Tags:
Topics: 

นิตรสาร fortune รายงานว่า นักเคลื่อนไหวทางการเมืองใน ประเทศแทนซาเนีย ใช้ วิกิ ช่วยร่างรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ แนวคิดคือให้ประชาชนได้มีส่วนร่วมสร้างเอกสารที่มีอำนาจเพื่อบีบให้ผู้มีอำนาจทางการเมืองต้องตอบสนอง

บางทีประเทศไทยเราก็น่าจะเอาวิกิมาใช้ในการเคลื่อนไหวทางการเมืองบ้างเนอะ

อ่านบทความเต็มได้ ที่นี่

Tags:
Node Thumbnail

ปัญหาประเทศเค้าแต่เอาจริงก็ใกล้ตัวเราเหมือนกัน โดยเฉพาะยุคการบล็อคเว็บครองเมืองอย่างปัจจุบัน

ตอนนี้สภาผู้แทนสหรัฐต้องพิจารณากฎหมายที่เรียกว่า Net neutrality คำว่า neutrality ในนี้ไม่ได้หมายถึงฝ่ายซ้ายฝ่ายขวา แต่หมายความว่าผู้ใช้อินเทอร์เน็ตมีสิทธิ์เข้าถึงอินเทอร์เน็ตอย่างเท่าเทียมกันหรือเปล่า

ฝ่ายแรกคือพรรครีพับลิกัน ที่สนับสนุนโดยบริษัทโทรคมนาคมอย่าง AT&T และ Verizon ต้องการให้บริษัทควบคุมความเร็วในการเข้าถึงอินเทอร์เน็ตได้ เช่น ให้ความสำคัญกับผู้ใช้ VoIP มากกว่าผู้ใช้เว็บ เป็นต้น

Tags:
Node Thumbnail

การปะทะคารมระหว่างไมโครซอฟท์และแมทซานชูเซทยังไม่จบ เมื่อนายเอริค คริส ออกมาให้สัมภา์ษย์กับสำนักข่าว CRN ว่าประเด็นที่ทำให้รัฐแมทซานชูเซทต้องบังคับใช้โอเพนดอกซ์คิวเมนต์ เป็นเรื่องของสิืทธิบัตรที่ไมโครซอฟท์ถืออยู่ใน MS XML แม้ว่าฟอร์แมตนี้จะมีคุณสมบัติครบถ้วนตามความต้องการของรัฐก็ตามที

เรื่องของสิทธิบัตรกลายเป็นประเด็นที่เข้ามาทิ่มแทงไมโครซอฟท์เอง โดยก่อนหน้านี้สตีฟ บอลเมอร์เคยระบุว่าลินิกซ์นั้นละเมิดสิทธิบัตรกว่า 228 ใบ เป็นการโจมตีทับถมที่ลินิกซ์ถูกโจมตีจาก SCO

Pages