ในงาน Intel Developer Forum 2012 ที่ปักกิ่ง มีคนตาดีไปเจอโน้ตบุ๊ก Chromebook จากซัมซุงที่ใช้ซีพียู Sandy Bridge (Core i รุ่นปัจจุบัน) ตั้งโชว์อยู่ที่บูตของกูเกิลภายในงานด้วย
ข่าวนี้ช่วยยืนยันข่าว หรือว่าฮาร์ดแวร์ Chrome OS รุ่นหน้าจะใช้ Ivy Bridge? ได้เป็นอย่างดี (เพียงแต่ยังเป็นแค่ Sandy Bridge ไม่ใช่ Ivy Bridge)
โน้ตบุ๊กตัวนี้ยังหน้าตาเหมือน Chromebook ของซัมซุงรุ่นเดิม สิ่งที่เปลี่ยนคือซีพียู และการบูตเครื่องที่เร็วขึ้นกว่าเดิมมาก (ดูวิดีโอประกอบ) ซึ่งเป็นผลมาจากโครงการ Coreboot ที่กูเกิลไปร่วมพัฒนาด้วยนั่นเอง
อินเทลออกซีพียูใหม่แบบเงียบๆ 7 รุ่น โดยแบ่งเป็น Core i5 จำนวน 3 รุ่นและ Celeron อีก 4 รุ่น
ทั้งหมดยังเป็นซีพียูตระกูล Sandy Bridge (2nd gen ของตระกูล Core) โดยซีพียูชุดนี้จะต่างจากรุ่นที่มีในตลาดเล็กน้อยตรงที่ตัด GPU ในตัวซีพียูออกไป
ผู้อ่าน Blognone คงรู้จักเทคโนโลยี Splashtop หรือระบบปฏิบัติการลินุกซ์แบบฝังตัวที่รวมเอาความสามารถพื้นฐานอย่างเบราว์เซอร์เข้ามา แล้วพรีโหลดมาใน BIOS เพื่อให้บูตเครื่องเข้าอินเทอร์เน็ตได้เร็วๆ
ที่ผ่านมามีผู้ผลิตฮาร์ดแวร์หลายค่ายนำ Splashtop มาใส่ในโน้ตบุ๊กของตัวเอง เป็นทางเลือกไปจากการบูตเข้าวินโดวส์ตามปกติ แต่ล่าสุดบริษัท Splashtop ได้พันธมิตรใหม่รายสำคัญ นั่นคือ "อินเทล"
อินเทลประกาศว่าจะฝัง Splashtop ลงในเมนบอร์ดของซีพียูสาย Sandy Bridge รุ่นที่จะขายในปีหน้า (เริ่มกุมภาพันธ์ 2012) ด้วยเหตุผลว่า Splashtop จะช่วยให้พีซีกลายเป็นศูนย์กลางของอุปกรณ์พกพาอื่นๆ และช่วยให้การส่งข้อมูล ภาพยนต์ เพลง รูปภาพ จากพีซีไปยังมือถือหรือทีวีทำได้ง่ายขึ้น
อินเทลวางขาย Sandy Bridge-E ซีพียูรุ่นปรับปรุงจาก Sandy Bridge เดิม ( ข่าวเก่อนหน้านี้ )
- Read more about Sandy Bridge-E มาแล้ว
- 27 comments
- Log in or register to post comments
Texas Advanced Computing Center (TACC) เปิดเผยแผนจัดซื้อซูเปอร์คอมพิวเตอร์พลังเพตาฟลอปในนามว่า Stampede ด้วยงบสนับสนุนจากมูลนิธิวิทยาศาสตร์แห่งชาติอเมริกาถึง 27.5 ล้านเหรียญ โดยเดลล์ได้รับหน้าที่อันยิ่งใหญ่ในการสร้างซูเปอร์คอมพิวเตอร์ระบบนี้ให้พร้อมใช้งานในเดือนมกราคม ค.ศ. 2013 ทั้งนี้ Stampede จะเปิดให้บริการประมวลผลแอพพลิเคชันที่ต้องการพลังประมวลผลสมรรถนะสูงหรือต้องประมวลผลข้อมูลขนาดใหญ่ อาทิเช่น ชีวสารสนเทศ ธรณีศาสตร์ และดาราศาสตร์ เป็นต้น
ช่วงหลังอินเทลหันมาใช้ระบบออกรุ่นซีพียูใหม่ปีละครั้ง (ตาม ยุทธศาสตร์ Tick Tock Model ) โดยตอนนี้เราอยู่ในช่วง Tock (Sandy Bridge) และรอเข้าสู่รอบ Tick (Ivy Bridge)
แต่ยุทธศาสตร์นี้ก็ไม่ได้แปลว่าอินเทลจะไม่อัพเกรดซีพียูระหว่างรอบเสียเลย ซึ่งอินเทลเองก็ประกาศไว้ตั้งแต่เดือนเมษายนแล้วว่า เราจะได้เห็น Sandy Bridge-E ซึ่งเป็นการอัพเกรดระหว่างรอบ (mid-cycle) ช่วงไตรมาสที่สี่ของปี (ตัว E ย่อมาจาก Enthusiast หมายถึงกลุ่มที่เน้น overclock)
เราเห็นข่าวการอัพเกรดความสามารถของซีพียูผ่านทางซอฟต์แวร์ (เพื่อเปิดใช้งานฟีเจอร์บางอย่างที่อาจจะปิดไว้ตั้งแต่โรงงาน) อยู่เรื่อยๆ รอบนี้อินเทลใจดี ออกซอฟต์แวร์อัพเกรด เพิ่มความถี่ให้กับซีพียูสาย Sandy Bridge จำนวน 3 รุ่น ได้แก่
- Core i3-2312M (อัพแล้วเทียบเท่า Core i3-2393M)
- Core i3-2102 (อัพแล้วเทียบเท่า Core i3-2153)
- Pentium G622 (อัพแล้วเทียบเท่า Pentium G693)
ประสิทธิภาพที่ได้จะดีขึ้นประมาณ 10-20% ขึ้นกับชนิดการทดสอบ ใครที่โชคดีมีซีพียูตัวใดตัวหนึ่งไว้ในครอบครอง ก็เข้าไปดูรายละเอียดกันได้ตามลิงก์
ที่มา - Intel Upgrade Service
วันนี้ที่งาน Computex อินเทลได้ประกาศเปิดตัวเทคโนโลยีที่เกี่ยวกับการ Sleep ของคอมพิวเตอร์ใหม่ "Smart Connect" และ "Rapid Start"
Smart Connect จะเป็นระบบที่คอยตรวจสอบเว็บแอพต่าง ๆ ในขณะที่คอมพิวเตอร์อยู่ในโหมด Sleep ซึ่งนั่นก็หมายความว่าใครที่มีแอพอย่าง E-mail Client, Twitter หรือ Facebook เปิดทิ้งไว้ก่อนเข้าโหมด Sleep เมื่อเปิดคอมกลับมาอีกทีทุกอย่างจะถูกอัพเดตพร้อมให้เราใช้งานได้ทันที
แม้จะยังไม่เปิดตัวอย่างเป็นทางการ แต่เว็บไซต์ของ Lenovo ได้อัพโหลดเอกสารระบุสเปกของ ThinkPad X220 โน้ตบุ๊กรุ่นใหม่ในสาย X แล้ว ( หลังจากเปิดตัวสาย T/L/W ไปก่อนแล้ว ) จุดขายของมันคือซีพียูตระกูล Sandy Bridge และอายุแบตที่ใช้งานได้สูงสุด 23 ชม.
บอดี้ของเครื่องจะเหมือนกับ X201 ที่ออกมาช่วงต้นปี 2010 แต่ปรับขนาดจอจาก 12.1" มาเป็น 12.5" พร้อมความละเอียดที่เพิ่มมาเป็น 1366x768 จอมีให้เลือกสองรุ่นคือรุ่นปกติ กับรุ่น Premium HD ที่เป็นจอ IPS
หลังจากที่มีข่าวลือว่า MacBook Pro มีแนวโน้มออกรุ่นใหม่ภายในเดือนมีนาคม ได้เพียงไม่นาน ก็มีข่าวว่า ชิปเซ็ท Cougar Point ของแพลตฟอร์ม Sandy Bridge มีปัญหาที่ส่วนควบคุม SATA จึงทำให้หลายคนกังวลว่ากำหนดการปรับรุ่น MacBook Pro จะต้องถูกเลื่อนไปอีกนานเท่าไร ล่าสุดมีข่าวลือข่าวหนึ่งออกมาว่าปัญหาชิปเซ็ท Cougar Point นั้นไม่ใช่เรื่องใหญ่ และจะทำให้กำหนดการปรับรุ่น MacBook Pro ถูกเลื่อนออกไปเพียงเล็กน้อยเท่านั้น นอกจากนี้ยังมีอีกข่าวหนึ่งกล่าวว่าการปรับรุ่นนั้นอาจเร็วถึงวันที่ 1 มี.ค. นี้
จากปัญหาเรื่อง SATA ของชิปเซ็ต Sandy Bridge คราวก่อน ที่ทำให้อินเทลสูญเสียรายได้ไปเป็นจำนวนมาก ในวันนี้ อินเทลประกาศว่า พร้อมทยอยส่งคืนชิปรุ่นแรกที่ได้รับการแก้ไขแล้ว ในวันวาเลนไทน์ที่ 14 กุมภาพันธ์นี้
โดยพินของชิปเซ็ตตัวใหม่นี้ยังสามารถใช้งานร่วมกับชิปตัวก่อนที่ได้รับการแก้ปัญหาได้
ชิปเซ็ตดังกล่าวได้มีการเปลี่ยนแปลงดังนี้ คือ
- Read more about อินเทลพร้อมส่งคืนชิปที่มีปัญหาในวันวาเลนไทน์นี้
- 11 comments
- Log in or register to post comments
หลังจากอินเทลเป็นข่าวใหญ่ครึกโครมว่า ชิปเซ็ต Sandy Bridge มีปัญหา จนต้องเรียกกลับทั้งหมด สถานการณ์ล่าสุดตอนนี้คืออินเทลกลับมาส่งมอบชิปเซ็ตให้กับ OEM แล้ว โดยรอบนี้จะยังเป็นชิปเซ็ต Intel 6 Series ซึ่งไม่ได้รับผลกระทบจากบั๊กที่เป็นข่าว
อินเทลให้เหตุผลว่าการกลับมาส่งมอบสินค้าเร็วกว่าที่คาดไว้ เป็นเพราะ OEM บางรายร้องขอมา ส่วนชิปเซ็ตส่วนที่มีบั๊กจะเริ่มสายการผลิตใหม่ช่วงกลางเดือนกุมภาพันธ์นี้ เร็วกว่าเดิมที่ประกาศว่าจะเริ่มผลิตช่วงปลายเดือน
ส่วนผู้ผลิตพีซีก็มีมาตรการรับมือกับลูกค้าที่ได้รับผลกระทบจากบั๊กในชิปเซ็ต ส่วนมากไปในทางเดียวกันคือเพิ่มสิทธิให้ลูกค้าที่ซื้อเครื่องไปแล้ว สามารถมารับการซ่อมหรือเปลี่ยนชิ้นส่วนได้ในภายหลัง
อินเทลแถลงข่าวว่าชิปเซ็ต Cougar Point ซึ่งเป็นชิปเซ็ตสำหรับแพลตฟอร์ม Sandy Bridge มีปัญหาในส่วนควบคุม SATA ทำให้ความเร็วตกลงเมื่อใช้งานไประยะเวลาหนึ่ง และบริษัทได้ตัดสินใจเรียกชิปเซ็ตทั้งหมดกลับบริษัทแล้ว โดยชิปทดแทนจะเริ่มส่งมอบในปลายเดือนกุมภาพันธ์ และกำลังผลิตจะกลับมาเป็นปรกติในเดือนเมษายน