เรารู้กันดีว่าเทคโนโลยีวิทยาการสมัยใหม่ทั้งปัญญาประดิษฐ์และหุ่นยนต์มีส่วนช่วยในการวินิจฉัยอาการเจ็บป่วยรวมทั้งการรักษาต่างๆ มากแค่ไหน ในส่วนของการใช้หุ่นยนต์นั้นก็อาศัยประสิทธิภาพการเคลื่อนที่อย่างแม่นยำ เที่ยงตรง เข้ามาช่วยเสริมการปฏิบัติงานหัตถการต่างๆ มากมาย โดยเฉพาะงานศัลยกรรมที่ละเอียดอ่อน แต่ยังไม่เคยมีการใช้หุ่นยนต์ช่วยในการผ่าตัดบริเวณกระดูกสันหลังมาก่อน จนกระทั่งเมื่อปีที่แล้ว
ทีมแพทย์แห่ง Penn (หมายถึง University of Pennsylvania) ได้ประกาศข่าว เรื่องการผ่าตัดให้กับผู้ป่วยรายหนึ่งซึ่งมีชื่อว่า Noah Pernikoff โดยใช้หุ่นยนต์แขนกล da Vinci มาช่วยในการผ่าตัดเอาเนื้องอกออกจากกระดูกสันหลังได้สำเร็จ
โรงพยาบาลศิริราชแถลงข่าวความสำเร็จการผ่าตัดปลูกถ่าย 3 อวัยวะให้ผู้ป่วยในคราวเดียวได้สำเร็จเป็นรายแรกของเอเชีย โดยผู้ป่วยได้รับหัวใจ, ตับ และไตใหม่ ถือเป็นรายที่ 15 ของโลกที่ได้รับการผ่าตัดปลูกถ่ายอวัยวะใหม่เช่นนี้สำเร็จ
ผู้ป่วยรายดังกล่าวเป็นชายวัย 26 ปี ชื่อนายรชานนท์ มีอาการป่วยด้วยโรคไตตั้งแต่อายุ 8 ขวบ แม้จะพยายามควบคุมอาการด้วยยาจนอาการทรงตัวได้ระยะหนึ่ง แต่ภายหลังก็เกิดไตวายระยะร้ายแรงจนต้องรักษาด้วยการฟอกเลือดอยู่เสมอ ต่อมาผู้ป่วยรายนี้ถูกตรวจพบว่ามีภาวะหัวใจล้มเหลวเนื่องจากกล้ามเนื้อหัวใจอ่อนแรง ซึ่งส่งผลกระทบจนเกิดภาวะตับแข็งตามมาด้วย
ดร.แอนดริว ลี (Andrew Lee) และทีมศัลยแพทย์จากมหาวิทยาลัยจอห์น ฮอปกินส์ (Johns Hopkins University) รัฐแมรีแลนด์ สหรัฐอเมริกา ได้ทำการผ่าตัดองคชาติและถุงอัณฑะแก่ทหารผู้ที่ได้รับบาดเจ็บจากการก่อการร้ายในประเทศอัฟกานิสถาน โดยทีมศัลยแพทย์ได้นำองคชาติ ถุงอัณฑะ และผนังช่องท้องบางส่วนของผู้บริจาคที่ได้แสดงความจำนงในการบริจาคอวัยวะหลังจากตนได้เสียชีวิตไปแล้ว โดยมีเป้าหมายเพื่อให้ผู้ป่วยได้ฟื้นสมรรถภาพทางเพศกลับมาดังเดิม ซึ่งเป็นไปไม่ได้ในการสร้างองคชาติขึ้นมาใหม่
ในช่วงสิบปีหลังมีความพยายามในการเอาหุ่นยนต์มาช่วยศัลยแพทย์ในการผ่าตัดมากขึ้น (ในเมืองไทยเองก็มีหลายแห่ง) หุ่นยนต์เหล่านี้ได้ผลดีในการผ่าตัดบางชนิด เช่น มะเร็งต่อมลูกหมาก แต่ความหวังในการเอาหุ่นยนต์ราคาแพงมาช่วยในการผ่าตัดตลอดเวลานั้นอาจจะเริ่มต้องมาคิดกันใหม่ เมื่องานวิจัยล่าสุดพบว่ามันอาจจะไม่ได้ช่วยทุกเรื่อง
แพทย์จากมหาวิทยาลัย Indiana ใช้เครื่องพิมพ์สามมิติสร้างกรามล่างให้ผู้ป่วยรายนึ่งที่ต้องสูญเสียกรามจากการรักษามะเร็งตรงลิ้น ซึ่งเบากว่า และเหมือนของจริงกว่าอวัยวะปลอมที่ทำด้วยดิน
Shirley Anderson ผู้ป่วยและผู้รอดชีวิตจากโรคมะเร็งตรงลิ้น แต่ผลจากการรักษาทำให้เขาต้องสูญเสียพื้นที่กรามล่างทั้งหมด เขาต้องใช้หน้ากากปิดปากตลอดเวลา Dr. Travis Bellicchi และทีมสังกัดมหาวิทยาลัย Indiana จึงใช้เครื่องพิมพ์สามมิติสร้างกรามออกมา โดยใช้เบ้าหล่อจากใบหน้าของผู้ป่วย สิ่งที่ได้จากเครื่องพิมพ์ที่นอกจากจะเบากว่าแล้ว ผู้ป่วยยังหายใจสะดวก และดูเป็นธรรมชาติกว่าอวัยวะปลอมแบบดั้งเดิม
ที่มา - Engadget
เมื่อไม่นานมานี้มีข่าว แพทย์สหรัฐฯทดลองให้หุ่นยนต์เย็บแผลผ่าตัดได้ด้วยตนเอง ไม่ต้องมีมนุษย์ช่วย แม้เป็นการทดลองเย็บแผลผ่าตัดในสัตว์ แต่ผลออกมาดีเกินคาด แผลมีความเรียบร้อยเทียบเท่ากับหมอมืออาชีพทำ ล่าสุดนักวิจัยจากสถาบันการแพทย์ในวอชิงตันระบุว่า สิ่งนี้จะให้ผลลัพธ์ที่ดีกว่าเดิมต่อคนไข้
หุ่นยนต์ที่ว่านี้มีชื่อว่า Star รูปร่างเป็นแขนที่ยื่นออกมาพร้อมอุปกรณ์ติดตั้งแยก เช่น หน้าจอแสดงการผ่าตัด เครื่องมือผ่าตัด เซนเซอร์ ซึ่งแพทย์ทดลองให้ Star เย็บเนื้อเยื่อสองแผ่นของหมูให้ติดกัน โดยไม่ต้องมีแพทย์ช่วย ผลงานออกมาเทียบเท่าได้กับหมอผ่าตัดมืออาชีพมาทำเอง อย่างไรก็ตามการนำหุ่นยนต์มาแทนที่แพทย์ผ่าตัดในคนจริงๆยังต้องศึกษาอีกมาก
Keith Lillemoe หัวหน้าผ่าตัดที่โรงพยาบาลในแมสซาชูเซต ผู้ไม่ได้มีส่วนเกียวข้องกับงานวิจัยบอกกับผู้สื่อข่าวว่าไม่มีความกังวลว่าหุ่นยนต์จะมาแทนที่แพทย์ เพราะมีกรตัดสินใจในช่วงเวลาผ่าตัดอีกหลายอย่างที่หุ่นยนต์ทำแทนไม่ได้
ที่มา - The Washington Post
- Read more about นักวิจัยชี้ อนาคต หุ่นยนต์จะทำการผ่าตัดเองได้
- 2 comments
- Log in or register to post comments
การใช้หุ่นยนต์ในการผ่าตัดไม่ใช่เรื่องใหม่ โรงพยาบาลหลายแห่งในอังกฤษและสหรัฐฯใช้หุ่นยนต์ผู้ช่วยเพื่อให้การผ่าตัดมีประสิทธิภาพมากขึ้นมาแล้ว แต่คราวนี้คณะแพทย์จากศูนย์การแพทย์เด็กแห่งชาติ ในกรุงวอชิงตัน ของสหรัฐฯ ทดลองให้หุ่นยนต์ Star ปฏิบัติการเย็บแผลผ่าตัดตรงลำไส้หมูด้วยตนเองโดยไม่มีมนุษย์ช่วย เป้าหมายคือ ลบความผิดพลาดที่เกิดจากมือมนุษย์ที่เกิดขึ้นในการผ่าตัดและลดอัตราการเสียชีวิตลงได้
3 ปีก่อน อาจเป็นครั้งแรกสำหรับหลายคนที่ได้ เห็นเครื่องพิมพ์ 3 มิติในรูปร่างของปากกาที่ชื่อว่า 3Doodler มันสามารถพิมพ์พลาสติกออกมาเป็นเส้นได้ ซึ่งแม้ว่าความแม่นยำและความประณีตอาจไม่เท่าเครื่องพิมพ์ 3 มิติทั่วไป แต่จุดเด่นของมันคือผู้ใช้สามารถลากเส้นเพื่อ "พิมพ์" ชิ้นงานได้อย่างอิสระทันใจไม่ต้องรอทำแบบขึ้นในโปรแกรมแล้วป้อนสู่เครื่องพิมพ์ มาตอนนี้เราได้เห็นเครื่องพิมพ์คล้ายกันในชื่อ BioPenหากแต่มีสิ่งที่ต่างออกไปคือมันใช้เพื่อ "พิมพ์" ไฮโดรเจลที่มีส่วนประกอบของสเต็มเซลล์และมันใช้เพื่องานทางการแพทย์
ทีมศัลยแพทย์จาก UC San Diego Medical Center รายงานผลสำเร็จของการผ่าตัดไส้ติ่ง โดยนำไส้ติ่งที่ผ่าตัดได้ออกมาทางปากเป็นครั้งแรก เมื่อวันที่ 12 มีนาคม 2551 ที่ผ่านมา โดยการผ่าตัดนี้เป็นส่วนหนึ่งของแนวทางการผ่าตัดที่เรียกว่า Minimally Invasive Surgery คือเป็นแนวทางการผ่าตัดแบบสร้างความเสียหายให้แก่ร่างกายของคนไข้ให้น้อยที่สุด โดยใช้วิธี Natural Orifice Translumenal Endoscopic Surgery (NOTES) ซึ่งใช้แนวคิดของการส่องกล้องเข้าไปในช่องทางเปิดของร่างกายที่มีอยู่แล้วตามธรรมชาติ (Natural Orifice) มีวัตถุประสงค์เพื่อลดขนาดแผลผ่าตัด จำนวนแผลผ่าตัด ลดความเจ็บปวด และลดระยะเวลาการฟื้นตัว การวิธีการผ่าตัดทำโดยการสอดเครื่องมือผ่าตัดผ่านเข้าไปทางปาก และเปิดแผลขนาดเล็กที่กระเพาะอาหาร เพื่อให้สามารถเข้าไปผ่า
- Read more about การผ่าตัดไส้ติ่งแบบใหม่:เอาออกทางปาก
- 9 comments
- Log in or register to post comments