ประเด็นเรื่องความปลอดภัยของระบบอีเมล ถือเป็นประเด็นถกเถียงสำคัญในการเลือกตั้งประธานาธิบดีสหรัฐอเมริกาปีนี้ เพราะ Hillary Clinton ตัวแทนจากพรรคเดโมแครต เคยมีกรณีตั้งเซิร์ฟเวอร์อีเมลเอง ในช่วงที่ดำรงตำแหน่งรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ ทำให้ถูกวิจารณ์หนักว่านำข้อมูลสำคัญของภาครัฐไปไว้ในที่ไม่ปลอดภัยเพียงพอ
ล่าสุดฝั่งของ Donald Trump ที่นำประเด็นนี้มาโจมตี Clinton ก็โดนผู้เชี่ยวชาญด้านความปลอดภัย Kevin Beaumont ออกมาแฉว่าระบบอีเมลของเว็บไซต์ TrumpOrg.com ใช้ระบบปฏิบัติการ Windows Server 2003 ที่หมดระยะซัพพอร์ตไปนานแล้ว ถือเป็นระบบซอฟต์แวร์ที่ไม่ปลอดภัยเช่น มิหนำซ้ำตัวเซิร์ฟเวอร์ยังไม่ติดตั้งแพตช์อีกด้วย
Google Compute Engine รองรับระบบปฏิบัติการ Windows Server มาตั้งแต่ปลายปีที่แล้ว วันนี้กูเกิลประกาศสถานะ general availability (GA) โดยมีให้เลือกทั้ง Windows Server 2008 R2 และ 2012 R2
กูเกิลเลือกประกาศข่าวนี้ ในวันที่ Windows Server 2003 หมดอายุซัพพอร์ต เพื่อกระตุ้นให้องค์กรที่อยากย้ายระบบจาก Windows Server 2003 หันมาอัพเกรดเป็น 2008/2012 ที่รันบน Compute Engine แทน เพื่อจะได้ไม่ต้องลงทุนกับค่าฮาร์ดแวร์เซิร์ฟเวอร์ใหม่ และจ่ายเงินแค่เท่าที่ใช้งาน
ระบบปฏิบัติการเซิร์ฟเวอร์ Windows Server 2003 จะหมดระยะการซัพพอร์ตในสัปดาห์หน้า (14 ก.ค. 2015) โดยไมโครซอฟท์ออกมาประกาศว่าจะออกแพตช์ความปลอดภัยตัวสุดท้ายในวันที่ 14 ก.ค. เช่นกัน
จากนั้นไมโครซอฟท์จะไม่ออกแพตช์ใดๆ ให้กับ Windows Server 2003 อีก แต่องค์กรที่ยังจำเป็นต้องใช้จริงๆ สามารถซื้อซัพพอร์ตพิเศษเพิ่มได้ในราคา 600 ดอลลาร์ต่อเครื่องในปีแรก (Windows XP คิด 200 ดอลลาร์ต่อเครื่อง) และราคาจะเพิ่มขึ้นทุกปี
ไมโครซอฟท์ออกมาส่งสัญญาณอีกรอบว่า Windows Server 2003 จะหมดระยะสนับสนุนในเดือนกรกฎาคม 2015 และเตือนให้องค์กรอัพเกรดไปใช้ระบบปฏิบัติการเวอร์ชันใหม่โดยด่วน
Takeshi Numoto ผู้บริหารของไมโครซอฟท์ให้ข้อมูลกับ The Register ว่าในปี 2014 ไมโครซอฟท์ออกแพตช์ความปลอดภัยรวมแล้ว 20 ตัวให้ Windows Server 2003 ซึ่งพ้นจากเดือนกรกฎาคม 2015 ไปแล้ว ไมโครซอฟท์จะไม่ออกแพตช์อีก ถ้าประเมินคร่าวๆ ว่าโอกาสค้นพบช่องโหว่ใหม่ๆ อยู่ที่ปีละ 20 จุด นั่นแปลว่าผู้ใช้ Windows Server 2003 จะตกอยู่ในความเสี่ยงอย่างมาก
การหมดอายุของ Windows XP ในเดือนเมษายนที่ผ่านมา สร้างผลกระทบต่อผู้ใช้ทั่วโลก แต่เราไม่ได้มีแค่ Windows XP เพียงรุ่นเดียวที่หมดอายุในช่วงนี้ เพราะ Windows Server 2003 R2 กำลังจะตามไปในวันที่ 15 กรกฎาคม 2015 หรืออีกประมาณ 1 ปีต่อจากนี้ ( ตารางอย่างละเอียดบนเว็บไซต์ไมโครซอฟท์ )
นักวิเคราะห์คาดว่าปัจจุบันมีคอมพิวเตอร์ประมาณ 10 ล้านเครื่องที่ยังรัน Windows Server 2003 และบริษัท AppZero ที่เชี่ยวชาญด้านการย้ายระบบไอทีก็เคยสำรวจพบว่าองค์กรขนาดใหญ่จำนวนมากยังใช้งาน Windows Server 2003 กันอยู่ และยังไม่มีแผนการชัดเจนว่าจะย้ายระบบอย่างไร