ไมโครซอฟท์ประกาศขยายเวลาซัพพอร์ตของระบบปฏิบัติการรุ่นเก่าคือ Windows Server 2012 และ 2012 R2 ออกไปจากเดิม โดยออกแพตช์ความปลอดภัยให้เพียงอย่างเดียว (Extended Security Updates) และหากรันบน Azure จะไม่ต้องจ่ายค่าซัพพอร์ตด้วย
ปกติแล้ว ไมโครซอฟท์จะออกแพตช์ความปลอดภัยให้ระบบปฏิบัติการที่หมดอายุไปแล้ว โดยต้องซื้อซัพพอร์ต Extended Security เพิ่ม ในราคาที่ค่อนข้างแพง เพื่อจูงใจให้คนอัพเกรดเวอร์ชันแทน
Windows 7 หมดระยะซัพพอร์ตไปตั้งแต่เดือนมกราคม 2020 แปลว่าไม่มีแพตช์รายเดือนมานานแล้ว
ล่าสุดไมโครซอฟท์ถอดความสามารถอีกอย่างของ Windows 7 (รวมถึง Windows Server 2008 และ 2008 R2 ที่หมดอายุพร้อมกัน) นั่นคือไม่สามารถติดตั้งไดรเวอร์ฮาร์ดแวร์อัตโนมัติผ่าน Windows Update ได้อีกแล้ว ด้วยเหตุผลว่าใบรับรอง SHA-1 Trusted Root Certificate Authority หมดอายุ และไมโครซอฟท์ตัดสินใจไม่ต่ออายุใบรับรองนี้ ทำให้การเชื่อมต่อระหว่างไคลเอนต์กับเซิร์ฟเวอร์เป็นไปได้ยากขึ้น
สำหรับลูกค้าที่ซื้อซัพพอร์ตแบบจ่ายเงิน Extended Security Updates (ESU) ยังสามารถอัพเดตไดรเวอร์ได้ผ่านวิธีอื่นคือ Windows Server Update Services (WSUS)
วันที่ 14 มกราคม 2020 เป็นวันหมดอายุซัพพอร์ตของทั้ง Windows 7 และ Windows Server 2008/2008 R2 ทางออกที่ไมโครซอฟท์มีให้ลูกค้า Windows Server 2008 คือซื้อ ซื้อบริการความปลอดภัย Extended Security Updates ได้อีก 3 ปี (แต่ราคาจะแพงขึ้นเรื่อยๆ) หรือย้ายขึ้นมาอยู่บนคลาวด์ Azure โดยยังได้แพตช์ฟรีตลอด 3 ปีเช่นกัน
ล่าสุด AWS ออกมาแก้ปัญหานี้ด้วยแนวทางที่ต่างออกไป (เพราะไม่ได้เป็นเจ้าของ Windows เหมือนไมโครซอฟท์) โดย AWS แนะนำให้ย้ายตัวระบบปฏิบัติการจาก Windows Server 2008/2008 R2 มาใช้ระบบปฏิบัติการที่ใหม่ขึ้นอย่าง Windows Server 2016 หรือ 2019 แทน
บทเรียนจากการใช้ Windows XP จนกระทั่งไมโครซอฟท์หยุดซัพพอร์ตคงเป็นบทเรียนสำคัญของการบริหารระบบไอที ว่าต้องมีการเตรียมพร้อมอัพเกรดตามรอบผู้ผลิตให้พร้อม แต่สำหรับผู้ใช้ Windows Server และ SQL Server ตอนนี้ไมโครซอฟท์ออกตัวเลือกใหม่ ให้ซื้อซํพพอร์ตเพิ่มได้ถึง 6 ปี
ไลเซนส์ Premium Assurance (PA) สำหรับ Windows Server และ SQL Server ตั้งแต่เวอรชั่น 2008 เป็นต้นมา จะขยายเวลาการซัพพอร์ตออกไปอีก 6 ปี เฉพาะช่องโหว่ความปลอดภัยระดับสำคัญและระดับวิกฤติ ทำให้ซอฟต์แวร์โดยรวมสามารถใช้งานโดยมีซัพพอร์ตได้ถึง 16 ปี เป็นการซัพพอร์ตเต็มรูปแบบ 5 ปี ซัพพอร์ตแบบขยาย 5 ปี (ไม่มีฟีเจอร์ใหม่) และการซัพพอร์ต PA อีก 6 ปี
เดือนที่แล้ว ไมโครซอฟท์ออกมาประกาศข่าวสำคัญว่า ซีพียู Skylake จะรองรับ Windows 7/8 อีกแค่ 18 เดือน จากนั้นจะต้องอัพเกรดไปใช้ Windows 10 สถานเดียว และซีพียูรุ่นหน้าของอินเทลคือ Kaby Lake จะใช้ได้เฉพาะกับ Windows 10 เท่านั้น
ประกาศนี้ส่งผลให้เกิดคำถามว่าแล้วผู้ใช้ Windows Server จะต้องปฏิบัติตามนโยบายเดียวกันหรือไม่ คำตอบออกมาแล้วคือ Windows Server ที่ยังอยู่ในระยะซัพพอร์ต (2008, 2008 R2, 2012, 2012 R2) จะไม่ได้รับผลกระทบใดๆ และยังสามารถใช้งานบน Skylake ได้ตามปกติ
ไมโครซอฟท์ปล่อยอัพเดตด้านความปลอดภัย KB2993651 มาแทน KB2982791 ที่ถูกระบุว่าทำให้ เครื่องแครชและขึ้นข้อความแจ้งข้อผิดพลาด 0x50 แล้ว บริษัทแนะนำว่าใครที่ติดตั้ง KB2982791 แล้วไม่เจอปัญหาก็ควรติดตั้ง KB2993651 และแนะนำให้ถอดการติดตั้ง KB2982791 ก่อน ถึงแม้จะไม่จำเป็นก็ตาม
ก่อนหน้านี้คนของไมโครซอฟท์เผยว่า จากการเก็บข้อมูลที่เครื่องผู้ใช้ส่งกลับมาให้ไมโครซอฟท์แบบไม่ระบุตัวตน (telemetry data) พบว่ามีเครื่องเพียงร้อยละ 0.01 เท่านั้นที่ประสบกับสามปัญหา ซึ่งรวมถึงเครื่องแครชและขึ้นข้อความแจ้งข้อผิดพลาด 0x50 (ดูรายละเอียดจาก ข่าวเก่า )
ตามปกติแล้ว ผลิตภัณฑ์ของไมโครซอฟท์มีระยะเวลาสนับสนุนหลังขาย 2 ช่วงคือ ช่วง mainstream support(ออกแพตช์แก้บั๊ก, ความปลอดภัย, ฟีเจอร์ใหม่) กินเวลาประมาณ 5 ปีหลังออกรุ่นจริง จากนั้นจะเปลี่ยนเป็น ช่วง extended support(ออกแพตช์ความปลอดภัยอย่างเดียว)
กรณีของ Windows XP ที่หมดอายุไปเมื่อเดือนเมษายน 2014 และ Windows Server 2003 ที่จะหมดอายุเดือนกรกฎาคม 2015 ถือเป็นการสิ้นสุดระยะ extended support
ล่าสุดไมโครซอฟท์ออกมาเตือนว่า Windows 7 ทุกรุ่นย่อย (รวม SP1), Windows Server 2008/2008 R2, Exchange Server 2010 จะหมดระยะ mainstream support และเข้าสู่ระยะ extended support ในวันที่ 13 มกราคม 2015
ไมโครซอฟท์ออกมาเตือนว่าค้นพบ ช่องโหว่ด้านความปลอดภัยสำคัญ ที่กระทบกับ
- Windows Vista, Windows Server 2008
- Office 2003, Office 2007, Office 2010
- Lync 2010, Lync 2013
ต้นเหตุของปัญหาคือบั๊กในระบบกราฟิกของไมโครซอฟท์ (ที่รู้จักกันในชื่อ graphics device interface หรือ GDI) ทำให้แฮ็กเกอร์สามารถรันโค้ดผ่านช่องโหว่นี้ได้
เบื้องต้นไมโครซอฟท์ออกแพตช์ป้องกันปัญหาเป็นการชั่วคราวแล้ว (ผ่าน Enhanced Mitigation Experience Toolkit , ไม่ได้แก้บั๊กแต่บล็อคไม่ให้ช่องโหว่ทำงาน) และจะออกแพตช์ถาวรตามมาในภายหลัง
ไมโครซอฟท์ประกาศยืดอายุขัยของการสนับสนุน Windows Server 2008 (รุ่นแรกที่ไม่ใช่ R2) ไปอีก 18 เดือน จากเดิมที่เตรียมสิ้นอายุขัยในเดือนกรกฎาคม 2013 ก็ขยายเป็นเดือนมกราคม 2015 แทน
การขยายอายุครั้งนี้ทำให้ Windows Server 2008 จะหมดระยะสนับสนุนพร้อมกับ Windows Server 2008 R2 ในเดือนมกราคม 2015 เท่ากัน (แปลว่าหลังจากนั้นก็จงย้ายไปใช้ Windows Server 2012 เสียโดยดี)
ระยะเวลาสนับสนุนในที่นี้คือ mainstream support หรือการสนับสนุนแบบปกติ แถมฟรีมากับตัวระบบปฏิบัติการ แต่ถ้าเลยระยะนี้ไปจะเรียก extended support ซึ่งฟรีเฉพาะแพตช์ด้านความปลอดภัย แต่อย่างอื่นต้องเสียเงินเพิ่มเอง ระยะ extended support ของระบบปฏิบัติการทั้งสองตัวจะสิ้นสุดพร้อมกันในเดือนมกราคม 2020 ครับ
ท่ามกลางฝุ่นตลบเรื่องข่าวลือของ Windows 7 ว่าจะสิ้นสุดกระบวนการพัฒนาตั้งแต่วันที่ 19 มิ.ย. ที่ผ่านมา (จาก Wzor.net ผ่าน UX Evangelist ) และโครงการอัพเกรดจาก Windows Vista เป็น Windows 7 ที่น่าจะเริ่มในวันที่ 26 มิ.ย. (ดูข่าวได้จาก Engadget.net ) นี้ ล่าสุด Wzor.net ก็ได้ออกมาให้ข้อมูลถึงโรดแมปช่วงสุดท้ายของ Windows 7 และ Windows Server 2008 R2 โดยได้ระบุว่าไมโครซอฟท์จะทำการ "sign-off" รุ่น RTM ในวันที่ 13 ก.ค. ที่จะถึงนี้
- Read more about [ข่าวลือ] Windows 7 พัฒนาเสร็จวันที่ 13 ก.ค.?
- 10 comments
- Log in or register to post comments
หลังจาก ไมโครซอฟท์ได้ปล่อย Windows Vista SP2 และ Windows Server 2008 SP2 ไปพร้อมกับ Windows 7 RC, Windows Server 2008 R2 RC ผ่านสมาชิกของ MSDN, TechNet และ Microsoft Connect ไปแล้ว ไมโครซอฟท์ก็ได้ปล่อยให้กับผู้ใช้งานทั่วไปผ่านทาง Microsoft Download Center แล้วเมื่อเที่ยงคืนของวันที่ 26 พ.ค. ตามเวลา Pacific Time
สำหรับลิงก์ดาวน์โหลดไฟล์แบ่งตามสถาปัตยกรรมของคอมพิวเตอร์มีดังนี้:
ไม่ได้ตาฝาดครับ ไมโครซอฟท์กำลังเริ่มจัดทำ Windows Vista SP3 (และ Windows Server 2008 SP3) กันแล้ว! ตอนแรกที่ผมเห็นก็นึกว่าเรื่องล้อเล่นเหมือนกัน แต่พอเข้าไปยัง Microsoft Help and Support (หรือภาษาไทยว่า "การช่วยเหลือและสนับสนุน") ตาม ลิงก์นี้ แล้วก็ปรากฏหน้าคำขอฮอตฟิกซ์ ของการแก้ไขปัญหาหัวข้อ " Event Viewer crashes when you open a large event log file and sort log entries by one column on a Windows Vista-based or Windows Server 2008-based computer " ดังแสดงในรูปที่ 1 (คลิกที่หัวข้อข่าวเพื่อดูรายละเอียด)
- Read more about ไมโครซอฟท์เริ่ม Windows Vista SP3 แล้ว!
- 11 comments
- Log in or register to post comments