ศาลยุติธรรมยุโรปหรือ The Court of Justice of the European Union (CJEU) ชี้ เว็บไซต์ที่ฝังปุ่มโชว์จำนวนไลค์จากโซเชียลมีเดียไว้ ต้องขอความยินยอมจากผู้ใช้งานก่อน เพราะถือว่าเป็นการถ่ายข้อมูลไลค์จากที่หนึ่งไปยังหน่วยงานภายนอก
CJEU ทำหน้าที่ตีความกฎหมายและทำให้แน่ใจว่า กฎหมายมีการนำไปใช้ในทางเดียวกันทุกประเทศในสหภาพยุโรป
ปลั๊กอินยอดไลค์ในเว็บไซต์ถือเป็นอีกหนึ่งช่องทางในการโปรโมทเว็บไซต์ หรือสินค้าขอตัวเองว่าได้รับความนิยมขนาดไหนในโซเชียลมีเดีย แต่เรื่องมันเกิดขึ้นจากการที่ผู้บริโภคชาวเยอรมันฟ้องร้องเว็บไซต์ Fashion ID ผู้ค้าปลีกแฟชั่นออนไลน์ฐานการละเมิดกฎการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลผ่านการใช้ปุ่มปลั๊กอินยอดไลค์บนเว็บไซต์ โดยศาลชี้ว่ากรณีนี้ เป็นการรับผิดชอบร่วมกันระหว่างโซเชียลมีเดียและเว็บไซต์นั้นๆ
Jack Gilbert ที่ปรึกษาของเฟซบุ๊ก ระบุว่า ได้ทบทวนกระบวนการและกฎหมายอย่างระมัดระวัง และจะทำงานกับพาร์ทเนอร์ว่าจะทำอย่างไรให้ฟีเจอร์ทางโซเชียลใช้งานในเว็บไซต์ต่างๆ ได้โดยไม่กระทบต่อกฎหมาย
จากข้อมูลที่เฟซบุ๊กบอกรัฐบาลอังกฤษเมื่อปีที่แล้ว ระบุว่า ปลั๊กอินยอดไลค์จากเฟซบุ๊กปรากฏใน 8.4 ล้านเว็บไซต์ทั่วโลก ส่วนตัวปลั๊กอินปุ่มที่สามารถแชร์ลงโซเชียลมีเดียได้ ปรากฏอยู่ในเว็บไซต์ 931,000 เว็บ ซึ่งไม่รู้ว่าอนาคต เฟซบุ๊กรวมทั้งโซเชียลช่องทางอื่นจะมีมาตรการอย่างไร
ภาพจาก Shutterstock
ที่มา - Reuters , TechCrunch
Comments
จริงๆไม่ควรแสดงว่าใคร like บ้าง แสดงแค่ยอดพอ
จริงๆ แค่นั้นก็เพียงพอเเล้ว แล้วอยากให้ซ่อนด้วยว่าเราไปไลก์เพจอะไรไว้บ้าง จะดีมาก
เห็นด้วยครับ ควรจะเป็นแบบนี้นานแล้วตั้งแต่ตอนเปิด Facebook ด้วยซ้ำไป
ความล้มเหลว คือจุดเริ่มต้นสู่ความหายนะ มีผลกระทบมากกว่าแค่เสียเงิน เวลา อนาคต และทรัพยากรที่เสียไป - จงอย่าล้มเหลว