Tags:
Node Thumbnail

หนึ่งในผู้สมัครรับเลือกตั้งสหรัฐฯ ปี 2020 ที่มี นโยบายลดอิทธิพลบริษัทเทคโนโลยี คือ Elizabeth Warren วุฒิสมาชิกสหรัฐอเมริกาจากพรรคเดโมแครต เธอบอกว่า บริษัทไอทียักษ์ใหญ่อย่าง Google, Facebook, Amazon ควรถูกจับแยกเป็นบริษัทย่อยๆ

ล่าสุดมีสถิติน่าสนใจจากเว็บไซต์ Recode เผยว่า กลุ่มพนักงานบริษัทกูเกิลบริจาคเงินสนับสนุนแคมเปญของ Warren กันไม่น้อยเลย (ตัวเลขเงินนับเฉพาะสองไตรมาสแรกของปีนี้)

No Description

ภาพจาก Elizabeth Warren Facebook

สถิติเผยว่า มีกลุ่มพนักงานกูเกิลจำนวนหนึ่งบริจาคเงินจำนวน 87,000 เหรียญ ให้ Warren ส่งผลให้เธอเป็นผู้สมัครที่ได้รับเงินบริจาคจากพนักงานกูเกิลมากที่สุด รองลงมาคือ Pete Buttigieg จากพรรคเดโมแครตเช่นกันและเขายังเปิดเผยว่าตัวเองเป็น LGBT อีกด้วย โดยพนักงานกูเกิลบริจาคให้ Buttigieg เป็นจำนวน 73,300 เหรียญ

ผู้สมัครอันดับ 3 ที่ได้รับเงินบริจาคจากกลุ่มพนักงานกูเกิลคือ Bernie Sanders ซึ่งเคยพูดในบางโอกาสว่าบริษัทเทคโนโลยีมีอิทธิพลมากเกินไปเช่นกัน โดยได้รับเงิน 58,000 เหรียญ เขายังเคยกดดันให้ Amazon เพิ่มค่าแรงพนักงานขั้นต่ำชั่วโมงละ 15 เหรียญ

ส่วนฝั่งพรรครีพับลิกัน กลุ่มพนักงานกูเกิลบริจาคให้ โดนัลด์ ทรัมป์ สนับสนุนเขาเป็นประธานาธิบดีสมัยที่สองเป็นเงิน 5,600 เหรียญ

Recode ได้สัมภาษณ์พนักงานกูเกิลส่วนหนึ่งที่สนับสนุน Warren ระบุว่า นโยบายของเธอจะส่งผลดีต่อบริษัทในระยะยาว และกระตุ้นให้เกิดการแข่งขันในวงการเทคโนโลยีมากขึ้น

จากเหตุการณ์ที่ผ่านมา กลุ่มพนักงานกูเกิลมีความตื่นตัวสูงเรื่องการประท้วงบริษัทในเรื่องไม่ชอบมาพากลต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นกรณี Andy Rubin ผู้สร้างแอนดรอยด์ที่สร้างปรากฏการณ์ Google Walkout พนักงานออกมาประท้วงกันทั่วโลก หรือกรณีที่กูเกิลร่วมมือกับจีนสร้างเว็บเสิร์ชเซนเซอร์คำตามนโยบายรัฐบาลจีน

No Descriptionขอบคุณรูปภาพจาก vvkhxng

ที่มา - Recode

Get latest news from Blognone

Comments

By: terdsak.s on 31 July 2019 - 17:40 #1122165

เข็ดหลาบแล้วสินะ :3

By: Kojorn on 1 August 2019 - 08:48 #1122222

ผมไม่ค่อยเห็นด้วยในประเด็นที่ว่า การแตกเป็นบริษัทเล็กๆแล้ว "นโยบายของเธอจะส่งผลดีต่อบริษัทในระยะยาว และกระตุ้นให้เกิดการแข่งขันในวงการเทคโนโลยีมากขึ้น" นะครับ

เพราะว่าการวิจัยเทคโนโลยีใหม่ๆแต่ละเรื่องมันต้องใช้เงินมหาศาล แล้วบริษัทเล็กๆจะเอาทุนเยอะๆมาจากไหน ในทางกลับกันบริษัทใหญ่ๆสามารถที่จะโยกกำไรจากส่วนอื่นๆมาเป็นทุนวิจัยได้ง่ายกว่า ซึ่งน่าจะส่งผลดีต่อวงการเทคโนโลยีมากกว่าครับ

By: YF-01
Android Ubuntu
on 1 August 2019 - 11:55 #1122258 Reply to:1122222

บริษัทใหญ่ก็จะทำตัวกินรวบ ทำให้เกิดการแข่งขันกันเฉพาะรายใหญ่ๆอยู่ครับ

จริงๆมันก็ถูกท้้งสองทางแหละนะ เหมือนโมเดลไคเร็ตสึ/แชโบลที่เน้นให้รายใหญ่กินรวบเพื่อเร่งการพัฒนาแบบรวมศูนย์ กับโมเดลแบบอเมริกาที่เน้นให้เกิด startup เยอะๆเพื่อเน้นปริมาณไอเดีย จะบอกว่าแบบไหนผิดหรือถูกกว่ากันก็คงยาก

By: akira on 1 August 2019 - 12:06 #1122261 Reply to:1122222

มันมีวิธีการทางธุรกิจรองรับอยู่แล้วในกรณีที่ต้องกระจาย Company ให้เป็น BU เล็กๆ สามารถใช้โครงสร้างผู้ถือหุ้นในการจัดการเงินทุนได้ ซึ่งแนวโน้มปัจจุบันก็เป็นอย่างนี้อยู่แล้ว เพียงแต่การรวมกันเป็นบริษัทใหญ่ ข้อดีคือการมีอำนาจในการต่อรองกับคู่ค้า รวมถึงผู้ลงทุน และการครองตลาดแบบเบ็ดเสร็จ

By: myungz
In Love
on 1 August 2019 - 09:24 #1122223
myungz's picture

ดูแล้วน่าจะเข็ดจาก

โลกโซเชียลปั่นคะแนนได้CambridgeAnalytica