คณะทำงานของแคมเปญการเลือกตั้งประธานาธิบดีประจำปี 2020 ให้ Elizabeth Warren ประกาศโอเพ่นซอร์สเครื่องมือสำคัญที่ใช้ในการทำแคมเปญบางส่วนบน GitHub สำหรับให้ผู้ที่สนใจนำโค้ดไปศึกษาต่อ
ทีมเทคโนโลยีของ Warren ระบุว่าหลังจากที่ได้เรียนรู้จากเทคโนโลยีโอเพ่นซอร์สจำนวนมาก ทีมงานก็ต้องการที่จะให้การสนับสนุนตอบแทนชุมชนด้วยการโอเพ่นซอร์สเครื่องมือบางอย่างที่ใช้ในเคมเปญของ Elizabeth Warren เพื่อให้ผู้ที่สนใจนำไปศึกษาหรือใช้งานต่อ
Elizabeth Warren ผู้สมัครรับเลือกตั้งเป็นประธานาธิบดีจากพรรคเดโมแครต ผู้มีโยบายลดอิทธิพลบริษัทไอทีขนาดใหญ่ ทดสอบเฟซบุ๊กด้วยการซื้อโฆษณาที่มีเนื้อหาว่า เฟซบุ๊ก สนับสนุนการกลับมาลงเลือกตั้งอีกครั้งของโดนัลด์ ทรัมป์ ซึ่งดำรงตำแหน่งประธานาธิบดีสหรัฐในตอนนี้ และยังแนบภาพที่ทรัมป์ และ มาร์ก ซักเคอร์เบิร์ก จับมือพบปะกันที่ทำเนียบขาวด้วย
เนื้อหาดังกล่าวไม่เป็นความจริง ซึ่ง Warren ก็รู้ในจุดนี้ แต่เธอกำลังทดสอบว่า เฟซบุ๊กจะมีท่าทีอย่างไรกับโฆษณาการเมืองที่มีข้อมูลปลอม
ในการเลือกตั้งประธานาธิบดีสหรัฐฯ 2020 หนึ่งในผู้สมัคร Elizabeth Warren มีนโยบายอย่างแรงกล้าที่จะลดอิทธิพลของบริษัทเทคโนโลยีขนาดใหญ่ ซึ่งเป็นผลสืบเนื่องมาจากช่วง 4-5 ปีที่ผ่านมา เทคโนโลยีส่งผลกระทบอย่างกว้างขวางที่เห็นได้ชัดที่สุดคือ ข้อมูลปลอมแพร่สะพัดในเฟซบุ๊กช่วงเลือกตั้งปี 2016 ส่งผลกระทบต่อการตัดสินใจโหวตเลือกตั้งประธานาธิบดี
ด้านเฟซบุ๊ก ก็ต้องชดใช้ความเสียหายอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ โดน FTC ปรับ 5,000 ล้านดอลลาร์ และยังถูกสอบสวนว่า ทางบริษัทได้ชี้นำนักลงทุนอย่างผิดๆ เรื่องการเก็บรักษาข้อมูลหรือไม่
ล่าสุด มีคลิปเสียงความยาว 2 ชั่วโมงของเฟซบุ๊ก เป็นคลิปเสียงพูดคุยกันภายในระหว่าง มาร์ก ซักเคอร์เบิร์กและพนักงาน พูดถึงประเด็นความกังวลต่างๆ ที่บริษัทต้องเจอ ทั้งรัฐบาลต่างๆ คู่แข่ง เสียงวิจารณ์ และหนึ่งในนั้นคือ Elizabeth Warren
เมื่อวานนี้ The Verge เปิดเผยเทปบันทึกการสนทนาความยาว 2 ชั่วโมงระหว่าง Mark Zuckerburg กับพนักงานเมื่อเดือนมิถุนายน มีเนื้อหาโจมตีความพยายามแบ่งแยกบริษัทตามกฎหมายป้องกันการผูกขาด โดยเฉพาะ Elizabeth Warren ผู้สมัครชิงตำแหน่งประธานาธิบดีของพรรคเดโมแครต มุมมองของ สกุลเงิน Libra ภาพลักษณ์ของบริษัทโดยเฉพาะการทำงานของพนักงานตรวจสอบเนื้อหาที่มีปัญหาความเครียดจน ฆ่าตัวตายกลางสำนักงานเมื่อไม่นานมานี้ และโจมตีศักยภาพของคู่แข่งโดยเฉพาะ Twitter และ TikTok
กลุ่มพนักงานกูเกิลจ่ายเงินหนุน Elizabeth Warren ผู้สมัคร ปธน. แม้มีนโยบายลดอิทธิพลบริษัทไอทีขนาดใหญ่
หนึ่งในผู้สมัครรับเลือกตั้งสหรัฐฯ ปี 2020 ที่มี นโยบายลดอิทธิพลบริษัทเทคโนโลยี คือ Elizabeth Warren วุฒิสมาชิกสหรัฐอเมริกาจากพรรคเดโมแครต เธอบอกว่า บริษัทไอทียักษ์ใหญ่อย่าง Google, Facebook, Amazon ควรถูกจับแยกเป็นบริษัทย่อยๆ
ล่าสุดมีสถิติน่าสนใจจากเว็บไซต์ Recode เผยว่า กลุ่มพนักงานบริษัทกูเกิลบริจาคเงินสนับสนุนแคมเปญของ Warren กันไม่น้อยเลย (ตัวเลขเงินนับเฉพาะสองไตรมาสแรกของปีนี้)
Elizabeth Warren ผู้สมัครประธานาธิบดีปี 2020 จากพรรคเดโมแครต ผู้ซึ่งมีความแข็งขันในนโยบาลลดอิทธิพลบริษัทไอที ล่าสุด เธอขึ้นป้ายบิลบอร์ดที่ตอกย้ำถึงนโยบายของเธอถึงถิ่นบริษัทเทคโนโลยีในซานฟรานซิสโกเลย
ป้ายบิลบอร์ดระบุว่า Break Up Big Tech เป็นป้ายเดี่ยวที่ดูไม่ได้โดดเด่นมาก และตั้งอยู่ในจุดที่ไม่ได้มีคนสัญจรไปมาเยอะ แต่สถานที่ตั้งนั้นเป็นจุดที่ไม่ไกลจากสถานี Caltrain มีบริษัทเทคโนโลยีทำงานอยู่มาก ไม่ว่าจะเป็น Lyft Dropbox และในบริเวณนั้นก็เป็นที่ตั้งของบริษัทใหญ่กูเกิล เฟซบุ๊กด้วย เรียกได้ว่าจุดที่ป้ายบิลบอร์ดตั้งอยู่ คนทำงานบริษัทเทคโนโลยีจะต้องเห็น
ต่อจากข่าว Elizabeth Warren ผู้สมัคร ปธน. ปี 2020 เปิดนโยบายลดอิทธิพล Google, Facebook, Amazon
ฝั่งของ Facebook ก็ออกมาตรการตอบโต้ Warren ทันที ด้วยการแบนโฆษณาของ Warren บน Facebook โดยให้เหตุผลว่าโฆษณาทำผิดนโยบายของ Facebook เนื่องจากนำโลโก้ของบริษัทมาใช้
อย่างไรก็ตาม พอเรื่องนี้กลายเป็นข่าว ทาง Facebook ระบุว่าจะนำโฆษณากลับคืนมา เพื่อส่งเสริมให้เกิดการถกเถียงกันในประเด็นนี้
ส่วน Elizabeth Warren ก็โพสต์แสดงความเห็นเรื่องนี้ผ่าน Twitter บอกว่านี่เป็นสิ่งยืนยันว่าทำไมเธอจึงมองว่า Facebook มีอิทธิพลมากเกินไป เพราะ Facebook สามารถปิดกั้นการถกเถียงเกี่ยวเชิงนโยบายเกี่ยวกับ Facebook ได้ด้วย
จากข่าว Elizabeth Warren ผู้สมัคร ปธน. ปี 2020 เปิดนโยบายลดอิทธิพล Google, Facebook, Amazon ด้วยการจับแยกบริษัท ก็เกิดคำถามตามมาว่าเป้าหมายของ Warren มีเพียง 3 บริษัทนี้เท่านั้นหรือ
Warren ให้สัมภาษณ์เพิ่มเติมกับเว็บไซต์ The Verge ว่าเธอยังต้องการจับแยกบริษัทแอปเปิลด้วย โดยเฉพาะประเด็นเรื่อง App Store ที่แอปเปิลเป็นเจ้าของสโตร์เอง และเข้ามาแข่งขันกับบริษัทอื่นๆ ในสโตร์ของตัวเองด้วย (ประเด็นเดียวกับที่ Amazon ขายสินค้าแบรนด์ Amazon Basics ในตลาดของตัวเองแข่งขับคู่ค้า)
เธอบอกว่าสุดท้ายแล้วแอปเปิลจะเลือกได้อย่างเดียวเท่านั้น ว่าจะเป็นผู้จัดการสโตร์ หรือจะเข้ามาแข่งขันในสโตร์ เพื่อความเป็นธรรมกับผู้เล่นรายอื่นในตลาด
Elizabeth Warren วุฒิสมาชิกสหรัฐอเมริกาจากพรรคเดโมแครต และผู้สมัครชิงตำแหน่งประธานาธิบดีในการเลือกตั้งปี 2020 ประกาศนโยบายว่าจะจับบริษัทไอทียักษ์ใหญ่อย่าง Google, Facebook, Amazon แยกเป็นบริษัทย่อยๆ เพื่อลดอิทธิพลของบริษัทเหล่านี้ลง เพื่อให้เกิดการแข่งขันมากขึ้น
Warren บอกว่าบริษัทไอทีเหล่านี้มีอิทธิพลสูงเกินไปแล้ว ทั้งต่อเศรษฐกิจ สังคม และประชาธิปไตย บริษัทเหล่านี้พยายามจำกัดการแข่งขันจากคู่แข่งที่เล็กกว่าด้วยการทุ่มตลาดหรือไล่ซื้อกิจการ, นำข้อมูลส่วนตัวของประชาชนไปใช้หากำไร ส่งผลกระทบต่อธุรกิจรายเล็กและการสร้างนวัตกรรมโดยภาพรวม