โครงการ Crew Dragon ของ SpaceX มีแผนจะ ส่งนักบินอวกาศสองนายไปยังสถานีอวกาศนานาชาติ หรือ ISS ในวันที่ 27 พฤษภาคมนี้ หลังผ่านการ ทดสอบ ส่งแคปซูล Crew Dragon พร้อมหุ่นนักบินอวกาศไปยัง ISS เมื่อต้นปี 2019
ล่าสุด SpaceX ได้ปล่อยเกมจำลองการนำแคปซูล Crew Dragon เข้าเชื่อมต่อ (dock) กับ ISS โดยระบุว่าการควบคุมทั้งหมดเหมือนที่นักบินจะใช้จริงๆ
เมื่อเริ่มเกมมาเราจะอยู่ห่างจาก ISS ราว 200 เมตร และมุมของแคปซูลรวมถึงทิศทางต่างๆ จะหันมั่วๆ หน้าที่เราคือบังคับแคปซูลให้เข้าเชื่อมต่อกับ ISS ให้ได้โดยการจัดมุมก้ม, เงย, การหมุน และทิศทางให้ถูกต้อง
หากสนใจเข้าเล่นได้ที่ ISS Docking Simulator เล่นได้ทั้งในคอมพิวเตอร์และอุปกรณ์มือถือ หากเล่นในคอมสามารถบังคับด้วยปุ่ม W, A, S, D, Q, E และ Numpad ได้
นอกจากนี้เกมยังแทรกความกวนเข้ามา โดยสามารถปรับให้โลกแบนได้ด้วย
ที่มา - The Verge
Comments
กะว่าตรงแล้วก็ยังไม่ผ่าน
lewcpe.com , @wasonliw
เข้าเร็วไปเปล่าครับ ถ้าจับจุดได้นี่ง่ายเลย
Pitawat's Blog :: บล็อกผมเองครับ
เปิดเพลงหนัง Interstellar ประกอบการเล่น
KSP 2000+ ชม. นี่ฝึกวิธีควบคุมแปปเดียวฉลุย เห็นในบอร์ด KSP ทำ Speed run กันด้วยนะ ไม่รู้จะมีใครบ้าทำ Suicide Burn ใส่ ISS มั้ย
จากที่ Scot Manley ว่ามา เงื่อนไขการผ่านนี่เอาจริงยากกว่าของจริงหน่อยนึง เพราะตามเสป็คของจริงมันไม่ต้องแม่นขนาดนั้นก็ได้
Update สถิติตอนนี้ 27.5 วินาที ดูความเร็วแล้วเร็วกว่านี้ต้อง Suicide burn ม้วนเดียวจอดเท่านั้นละมั้ง
https://www.youtube.com/watch?v=Q8_PaV1B1T8
เปิดเพลง no time for caution ประกอบการเล่น
ลองเล่นในคอมนี่ง่ายเลย ตัวช่วยไรบอกครบหมด เล่นใน KSP อ่าโหลด mod มาดีกว่า dock เองให้ 555+ จริงๆ แค่ปล่อยจรวจก็ใช้ม็อตช่วยละ แค่สร้างจรวจให้พอดีๆ แรงเกินก็ปล่อยไม่ถึงอีกงงๆ
จากประสพการณ์ Mechjeb มันชอบกินเชื้อเพลิงเกินจำเป็นไปมาก ส่วนตัวใช้แค่ช่วยพล๊อต Node กับอ่านข้อมูลแค่นั้นเอง
จริงๆ ผมติดปัญหาแบบ บางทีมันเหมือนมัน Gravity Turn เร็วไปงี้ ยังไม่ทันพ้นความสูง 10 กิโล เลยงี้นะครับ จรวจจะวิ่งในชั้นบรรยากาศเยอะ เท่าที่จำความได้ ไม่ได้ค่อยได้เล่นนานละ
มีอีกแบบ เหมือนวิ่งผ่าน Max Q หรือเจอจรวจแรงไปไม่รู้ วิ่งๆ อยู่หัวหักความคุมไม่ได้เลย เลยงงๆ ต้องเบาเครื่องตลอด ผมเล่นเยอะสมัยที่ยังไม่มีเรื่องแรงต้านอากาศปล่อยจรวจง่าย พอ patch หลังๆ จากนั้นเล่นไม่ค่อยถูกเลย
Flight profile มันขึ้นกับจรวดล้วนๆมันใช้ข้ามกันไม่ค่อยได้ ปกติจะชอบให้ S1 TWR ต้นประมาณ 1.5 ปลายประมาณ 3-4 dV ประมาณ 3km/s แล้ว S2 ประมาณ 1 เรื่อง Max-Q จะใช้วิธีกึ่งๆ Loft trajectory เอาขึ้นเกือบตรงๆสัก 5 องศาไปให้ชั้นบรรยากาศบางพอก่อนค่อย Turn แต่เล่น JNSQ เสกล 2.7 ไม่แน่ใจวิธีนี้เวิร์คกับเสกลธรรมดามั้ย
โอเคครับ สงสัยต้องหัดบังคับด้วยมือบ้างสักหน่อย