หลังจากที่ Linus Torvalds เปิดเผยว่าเปลี่ยนมาใช้ซีพียู Threadripper 3970X ของ AMD แทน Intel ครั้งแรกในรอบ 15 ปี ล่าสุดเจ้าตัวก็เปิดเผยสเปคทั้งหมดของคอมชุดใหม่แล้ว พร้อมเผยด้วยว่าซีพียูเก่าคือ i9-9900k (ที่เจ้าตัวรู้สึกว่า Threadripper คอมไพล์เคอร์เนลทดสอบเร็วกว่า 3 เท่า)
Linus บอกว่าเกณฑ์ในการเลือกซีพียูใหม่คือคุ้มค่าเงินที่สุด ซีพียูตอนแรกจะเลือก Ryzen 9 3950X แต่ก็รู้สึกว่าเป็นการอัพเกรดที่ไม่ต่างจากเดิมมาก ก่อนจะจบที่ Threadripper เพราะไหน ๆ ก็อัพเกรดแล้วก็เล่นใหญ่ไปเลย แม้จะกังวลเรื่องเสียง (จากระบบระบายความร้อน) แต่ก็ดูคุ้มค่ากว่า Xeon นอกจากนี้เขาบอกด้วยว่าไม่แคร์ GPU เท่าไหร่ เลยไม่ได้ซื้อแยก ดังนั้นก่อนหน้านี้ที่เลือก Intel ส่วนหนึ่งก็เพราะมี GPU ในตัวด้วย
ภาพจาก AMD
ส่วนบอร์ด Linus เลือก Gigabyte Aorus TRX40 Master ด้วยเหตุผลเรื่องการจัดการพลังงานและควบคุมพัดลม เหตุเพราะเจ้าตัวเคยเจอปัญหาเรื่องพลังงานบนพีซีมาก่อน เลยอยากได้อุปกรณ์ที่รองรับการโอเวอร์คล็อกได้ดี (แต่ไม่ได้โอเวอร์คล็อก)
ฮีทซิงก์เป็น Noctua NH-U14S พร้อมพัดลมเสริม NF-A15 ส่วนพัดลมที่เคสเป็น Noctua NF-A14 PWM, Premium Quiet Fan เพราะเงียบและประทับใจ Noctua อยู่แล้ว ส่วนคำถามว่าชอบเงียบ ๆ ทำไมไม่ใช้ชุดน้ำ Linus บอกว่ากังวลเรื่องความทนและไม่คิดว่าชุดน้ำปิดจะดีกว่าพัดลมเท่าไหร่ หรือถ้าเป็นระบบเปิดก็วุ่นวายอีก แถมกังวลเสียงจากปั๊มด้วย
เคสยังคงเน้นเรื่องความเงียบเช่นกัน เลยเป็น Be Quiet Dark Base 700 และสั่ง พัดลม Silent Wings 3 เพิ่มเพราะรู้สึกเคสดูดลมจากด้านหน้าได้น้อยกว่าลมที่ไหลออกด้านหลัง
ภาพจาก Shutterstock
สตอเรจเป็น Samsung EVO 970 1TB เขาบอกว่าเลิกมอง HDD จานหมุนมาน่าจะได้เกือบทศวรรษแล้ว และเลือก M.2 เพราะไม่ต้องวุ่นวายกับสายไฟ
แรมใช้ทั้งหมด 64GB เป็น 16GB x 4 สล็อต DDR4-2666 เขาบอกว่าตัวเลือกแรมเป็นอะไรที่เขาพอใจน้อยที่สุด เพราะเขาอยากได้แรม ECC แต่หาอันที่ราคาสมเหตุสมผลไม่ได้ ส่วนที่เลือกถึง 64GB แม้จะไม่ได้ใช้แรมเยอะ เพราะอยากใช้งานเต็ม 4 แชนแนล และแรมเดี๋ยวนี้ถูก
PSU เป็น Seasonic Focus GX-850 ซึ่ง Linus บอกว่านี่ไม่ใช่ตัวเลือกแรก แต่เพราะโควิดเลยหารุ่นที่อยากได้ยาก ส่วนวิธีการเลือกเขาดูแค่ว่าต้องใช้ไฟสูงสุดเท่าไหร่ ดูรุ่นที่ได้เรตติ้งดี ๆ ค่อยดูรีวิวและแบรนด์ที่น่าเชื่อถือ
สุดท้ายซอฟต์แวร์ลินุกซ์เจ้าตัวใช้ Fedora 32 ส่วนแล็บท็อปเป็น Dell XPS 13
ที่มา - ZDNet
Comments
Cpu มันใช้แรมได้ 2 แบบเลยเหรอ ecc/non ecc
ได้ครับhttps://en.wikichip.org/wiki/amd/ryzen_9/3950x#Memory_controller
แรมมันมีแปดแถว ไม่ยังขาดอีกสี่ช่องนินา
บอร์ดนี้ แรมแปดแถวนี่หว่า ใส่สี่คือข้างละสอง ก็ยังโหว่ อยู่ดี
อ่านต้นทางเค้าบอกว่า อยากให้เต็ม 4 Memory channels ครับ
I wanted to populate all four memory channels, and RAM is cheapนั่นจิ ไม่ใช่แปลว่า สี่สล๊อต
แก้ตามนั้นครับ
Linus: put a fan on a 280W PPT CPU and say it works.
Russia is just nazi who accuse the others for being nazi.someone once said : ผมก็ด่าของผมอยู่นะ :)
The other Linus: put open loop water cooler on a 105W CPU and complains about lack of RGBs.
ว่าแต่ heatsink หายไปไหน เพราะ Noctua NF-A14 PWM 140mm Case Fan มันมีแค่พัดลมครับ
ยังไม่นับเรื่อง Water cooling เครื่องคิดเลขอีกนะ...
Coder | Designer | Thinker | Blogger
Linus นั้นค่อนข้างเล่นตลกกับ Water Cooler มาสักพักละครับ และแสดงความคิดเห็นเสมอว่า WC ไม่จำเป็นกับเคสส่วนใหญ่
[S]
ว่าแต่ Linus ที่ว่านี่คนไหนครับ
ปล. ทาง ZDnet เพิ่มส่วนของ heatsink แล้วว่าเป็น Noctua NH-U14S
LTT ครับ
[S]
แต่จัดที่ไรก็เห็นแต่ WC เนี้ยแหละ แต่ปากบอกไม่จำเป็น
ระบบน้ำจัดดีๆแล้วมันดูสวยกว่า แต่ส่วนตัวผมไม่คิดจะใช้อะเพิ่มชิ้นส่วนที่จะเสียขึ้นมาอีกเยอะ ใช้ไฟเยอะกว่า เสียงก็ไม่ได้เบากว่าแบบลมดีๆ
เบ็ดเสร็จกี่แสนน่ะ?
RAM ECC ถ้าเอาไปเทียบกับ non-ECC PC grade ราคามันก็เทียบไม่ติดอยู่แล้วละ
เขาลืมบอกไปเรื่องนึงว่าไม่มีไดรเวอร์ลินุกหรือเปล่า...
GPU เป็น RX580 รึเปล่าครับ
อยากรู้ราคา
ถ้าผมเป็น AMD คงให้ CPU + cooler อย่างดีฟรีไปเลยอุตส่าห์โฆษณาให้
อยากรู้ว่า ถ้าจับเอา Linus Torvalds กับ Linus Sebastian มารวมกัน จะเกิดอะไรขึ้น แค่แนวสเป็คเครื่องก็เริ่มไปทาง LTT แล้ว
ความล้มเหลว คือจุดเริ่มต้นสู่ความหายนะ มีผลกระทบมากกว่าแค่เสียเงิน เวลา อนาคต และทรัพยากรที่เสียไป - จงอย่าล้มเหลว
ก็ต้องเต็มไปด้วย RGB + แถบรัดสายไฟ LTT + ชุดน้ำ และอาจจะ Hydrodip การ์ดจอด้วยครับ
Heatsink ให้ Alex ทำครับ แกสั่งเครื่องมือมาเยอะ
เสร็จแล้วแก้ปัญหาไดรเวอร์ทั้งหมดด้วย Anthony พร้อมลง Glasswire
แถมอีกอัน ใช้ PIA เชื่อมต่อ Internet ทุกวันที่ทำงาน ปลอดภัยจากการสอดแนม แบบเดียวกับที่ LTT ชอบโฆษณา
ความล้มเหลว คือจุดเริ่มต้นสู่ความหายนะ มีผลกระทบมากกว่าแค่เสียเงิน เวลา อนาคต และทรัพยากรที่เสียไป - จงอย่าล้มเหลว
เครื่องแกจริง ๆ รันบนแร๊ค 3U ใช้ Water Cooler วางอยู่ใน Server Room แล้วต่อ Optical USB/Thunderbolt เข้าห้องทำงานครับ
เครื่องภรรยาก็เหมือนกัน
ต้องมีจอ high refresh rate ด้วย 5555
"Those who make peaceful revolution impossible will make violent revolution inevitable." JFK.
และต้องไม่ลืมที่จะขายสินค้าของตัวเอง
L T T S T O R E . C O M
Coder | Designer | Thinker | Blogger
จักรวาลล่มสลายครับ 55
ถ้า Linus Sebastian ทำอะไรไม่ถูกใจ Linus คนนี้จะกล้าด่า Fuck You Linus รึเปล่า
เพิ่มเติมจากในต้นฉบับว่า Linus ประกอบคอมเองอยู่แล้ว และปกติจะไปซื้อที่ร้าน Fry's แต่ช่วงนี้ห้ามไปไหนเลยสั่งชิ้นส่วนจาก Amazon เอาแทน
สงสัยช่วงนี้ผมดู LTT มากไปหน่อย อ่าน Linus ประกอบคอมแล้วนึกถึง LTT ทุกที
บล็อกส่วนตัวที่อัพเดตตามอารมณ์และความขยัน :P
ลงโอเอสอะไรครับ?
ย่อหน้าสุดท้ายครับ
ไม่ใช่ Debian แน่นอนครับ
สุดท้ายซอฟต์แวร์ลินุกซ์เจ้าตัวใช้ Fedora 32
ใกล้เคียงกับของ GKH เลยhttps://www.youtube.com/watch?v=37RP9I3_TBo
นึกถึงคอมประกอบของตัวเองสมัยเรียน พอมาเห็นสเปคคอมประกอบของเทพ ฟ้ากับก้นเหวจริงๆ
..: เรื่อยไป
ผมอยากรู้ว่าทำไมหลายคนคิดว่าระบบน้ำระบายความร้อนได้ดีกว่าพัดลม
เอาจริง ๆ ผมดูการทดสอบบน YouTube มาพอสมควร ผมคิดว่ามันระบายความร้อนได้ดีพอ ๆ กัน ระบบน้ำอาจจะระบายความร้อนได้ดีกว่าในช่วงต้น ๆ ของการใช้งาน แต่เมื่อใดก็ตามที่ความจุความร้อนเต็ม ตอนนั้นก็จะไม่เห็นความแตกต่าง เพราะแม้น้ำจะดูดซับความร้อนได้ดีกว่าอากาศ แต่ก็คายความร้อนออกได้ยากกว่าลม
That is the way things are.
ระบบแบบ heat pipe ก็ใช้ของเหลวข้างในในการถ่ายเทความร้อนเหมือนกันครับ เป็นลักษณะระเหย->กลั่นตัว->ระเหย ดังนั้นใน TDP ต่ำๆที่ของเหลวดำเนินลักษณะนี้ได้ก็จะเทียบเคียงได้กับ ระบบน้ำปกติครับ
อย่างไรก็ตาม ในปัจจุบันนั้น TDP ของ CPU สูงขึ้นมาก ทำให้การกลั่นตัวของของเหลวใน heatpipe เป็นไปได้ช้าลง ทำให้ความร้อนถูกถ่ายเทได้ยากขึ้น จึงเทียบได้กับความจุความร้อนเต็ม(steady-state)ของระบบน้ำครับ ดังนั้นทุกอย่างจึงขึ้นอยู่กับระบบระบายความร้อนที่เหลือครับ คือขนาดซิงค์/radiator ความถี่ของฟิน air-flow ที่มี (ในกรณีระบบน้ำจะรวมถึงความสามารถของ block และปั้มด้วย ซึ่งกรณีนี้ระบบน้ำจะได้เปรียบกว่าด้วยขนาดของ radiator ที่ทำให้ใหญ่กว่าได้ หรือ air-flow ที่เข้า/ออกเคสเลยและไม่ต้องผ่าน heatsink 2 รอบ(ในกรณี dual tower) และอีกหลายๆปัจจัยครับเช่นน้ำแรงดันสูงก็ทำให้ช่วยถ่ายเทความร้อนได้ไวขึ้น
ลองดู review นี้ ของ tech jesus ซึ่งค่อนข้างมี methodology ที่ดี(เสมอมา เช่นวัดอุณหภูมิตอน steady-state ไม่ใช่ชั่วขณะ)ครับ ในตาราง Time-to-Max จะเห็นได้ว่าตัว D15 ก็มี steady-state และตาราง 3950X – 100% ก็เป็นอุณหภูมิขณะ steady-state ครับ(มีกำกับไว้เป็น legends)
Russia is just nazi who accuse the others for being nazi.someone once said : ผมก็ด่าของผมอยู่นะ :)
โอ้ ขอบคุณสำหรับข้อมูลครับ
ดูวิธีการแล้วติดใจอย่างเดียวตรง steady state ที่เขาวัดจากอุณหภูมิของ CPU ว่าคงที่แล้วก็คือเข้า state นี้แล้ว ผมยังไม่ค่อยมั่นใจว่ามันใช่ไหม เพราะมันใช้เวลาสั้นมาก สูงสุดแค่ 360 วินาทีเท่านั้นเอง ในขณะที่ผมเข้าใจว่ากว่าน้ำจะเต็มความจุความร้อน มันน่าจะนานกว่านั้น (ซึ่งผมอาจจะเข้าใจผิด)
edit: ดูไปดูมาคิดว่า liquid cooler น่าจะดีกว่าจริง ๆ ด้วยครับ
That is the way things are.
steady-state(equilibrium) ไม่ได้หมายความว่าน้ำหรือของเหลวจะรับความร้อนเพิ่มไม่ได้นะครับ แต่มันคือประมาณจุดที่ ความร้อน (Q|J)ที่น้ำหรือของเหลว(+pipe)ได้รับ(ในที่นี้คือ ณ ~198W)กับความสามารถในการถ่ายเทความร้อนจากน้ำหรือของเหลว(+pipe)อยู่ในจุดสมดุลกันครับ
tech jesus วัดที่ ~198W เลยหน่ะครับมันเลยถึงเร็ว ซึ่งสำหรับคนทั่วไปจะอยู่ที่สูงสุด ~142W ครับ
ปล. ผมไม่ได้จะสรุปให้ว่า liquid cooling ดีกว่านะครัย เพียงแต่บอกว่ามันสามารถทำให้ดีกว่าได้(จากปัจจัยหลายๆอย่าง)ครับ อย่างถ้าให้เทียบ 240mm AIO กับ D15/Assassin-III ผมก็ยังมองว่า D15/Assassin-III ดีกว่าอยู่ดี(ทั้งอุณหภูมิ/noise)
Russia is just nazi who accuse the others for being nazi.someone once said : ผมก็ด่าของผมอยู่นะ :)
ระบายความร้อนด้วยน้ำ หรือ coolant ไปเลย มันดีกว่าลมอยู่แล้วลองดูอย่างรถยนต์ก็ได้ ถ้ามีอากาศปนเข้าไปในระบบน้ำ(ปิด) ความร้อนรถจะขึ้นทันที
แล้วแต่กรณี ความต้องการและงบประมาณครับ มันมีกรณีที่เหมาะสมอยู่
เทียบแบบนั้นก็ไม่ได้ครับ ระบบมันต่างกันเยอะ
ถ้าจะเทียบระบบระบายความร้อนของรถ มันก็เหมือนกันหมดน่ะแหละ
เพราะซิงค์ลมมันใช้ heat pipe ตัวนำความร้อนในนั้นก็เป็นของเหลว แล้วเอามาระบายสู่อากาศที่ครีบ
หลักการมันต่างอะไรกับหม้อน้ำรถยนต์หรือชุดบล็อคน้ำล่ะ
ที่ต่างกันจริงๆคือจะเอามาระบายในเคสหรือนอกเคส ถ้าเคสจัดการลมดีๆ อากาศที่จะผ่าน sink ด้านในก็เย็นไม่ต่างจากหน้าเคส และ heat pipe มี efficient ที่ดีกว่าสายยางใส่น้ำแน่นอน
ที่ทำให้ดูเหมือนว่าน้ำดีกว่าก็แค่ ความจุความร้อนทั้งระบบ ระบบน้ำมันอุ้มความร้อนได้มากกว่า heat pipe เท่านั้น
แต่ถ้าตราบใดที่ความร้อนไม่เกินที่ระบบจะรับได้ ไม่ว่าลมหรือน้ำมันไม่ต่างกันเลย