DLA Piper บริษัทกฎหมายเผยตัวเลขคดีปรับตามกฎหมายคุ้มครองความเป็นส่วนตัวใหม่ของยุโรปหรือ GDPR ว่าตั้งแต่ 28 มกราคม 2020 เป็นต้นมา สหภาพยุโรปได้ออกบทลงโทษทางการเงินประมาณ 158.5 ล้านยูโร หรือประมาณ 192 ล้านดอลลาร์ ซึ่งเพิ่มขึ้น 39% จากช่วง 20 เดือนก่อนหน้าที่ Piper จัดทำในรายงาน และมีการละเมิดข้อมูลส่วนบุคคล 121,165 ครั้ง เพิ่มขึ้น 19% ภายในระยะเวลา 12 เดือน
กลุ่มประเทศที่มีโทษปรับสูงคือ อิตาลี, เยอรมนี, ฝรั่งเศส มีโทษปรับเป็นเงินกัน 192.8 ล้านยูโร หรือ 234 ล้านดอลลาร์ ตั้งแต่ GDPR มีผลบังคับใช้ โดยค่าปรับที่เยอะที่สุดยังคงเป็น 57 ล้านดอลลาร์ที่ฝรั่งเศสเรียกเก็บจาก Google เนื่องจากละเมิดกฎความโปร่งใสของข้อมูล
จำนวนโทษปรับที่สูงขึ้นสะท้อนกระบวนการทำงานของกฎหมายที่ตื่นตัวกับการละเมิดกฎความเป็นส่วนตัว Ross McKean ประธานกลุ่มงานปกป้องข้อมูลในสหราชอาณาจักรของ DLA Piper ให้มุมมองว่า ในขณะที่หลายประเทศในยุโรปนำ GDPR ไปใช้อย่างเข้มข้น แต่ยังพอมองเห็นว่าหน่วยงานกำกับดูแลแสดงการผ่อนปรนในปีนี้เพื่อให้สอดคล้องต่อสถานการณ์โรคระบาด มีการลดค่าปรับในหลายราย
Comments
ส่วนประเทศไทย มีอดีตผู้สื่อข่าวโฆษณาว่าอาหารเสริมตัวเองป้องกันโควิดได้ ปรับอย่างมากคดีละ 3 หมื่น ติดคุกไหม... น่าจะไม่ แต่ยอดขายร้อยล้าน... ให้ข้อมูลเท็จเรื่องโควิดมันผิดพรก.ด้วยไม่ใช่หรอทำไมไม่เอามาใช้ให้ถูกหน้าที่นะ...
สุดจะ Hard Sale ใช่คนที่ชื่อคล้ายขนมเหนียวๆรึเปล่า แต่มันน่าจะเกี่ยวกับกฏหมายตัวอื่นๆ มากกว่านะครับเดี๋ยว PDPA เข้าไทยอย่างเป็นทางการ ยอดก็พุ่งไม่แพ้ GDPR เหมือนกันครับ ธุรกิจกฏหมาย
จริงด้วยครับ คุณพูดมาผมเลยนึกได้ มันต้องโดนข้อหานำเข้าข้อมูลอันเป็นเท็จสู่ระบบคอมพิวเตอร์ด้วยอีก 1 คดีแต่อย่างว่าครับ ปรับ 3 หมื่นได้ยอดขายเป็นล้าน อยากปรับก็ปรับไปสิ
แต่ยังพอมองเห็นว่าหน่วยงานกำกับดูแล...
เว็บบอร์ดที่ไม่ยอมให้ผู้ใช้ลบบัญชีอย่างพันทิปคงโดนปรับเดือนละเป็นล้านเลย ข้อหาไม่มี right of erasure ถ้ามีกฏหมายนี้บังคับใช้ในไทย