ด้วยเหตุที่มีกระแสเรียกร้องให้ ยกเลิกการใช้เลขไทยในเอกสารราชการ ซึ่งอาจส่งผลให้หลายฝ่ายเกิดความไม่สบายใจว่าเอกลักษณ์ความเป็นไทยอาจเลือนหายจนนำไปสู่การสิ้นชาติ เช่นนั้นแล้ว นักพัฒนาชาวไทยผู้มีใจรักชาติจึงได้สรรค์สร้างส่วนขยายของเบราว์เซอร์เพื่อแสดงผลเลขไทยแทนเลขอารบิค
ส่วนต่อขยายดังกล่าวสามารถดาวน์โหลดได้จาก กิตฮับของผู้พัฒนา โดยปัจจุบันยังรองรับเฉพาะเบราว์เซอร์โครมและเอดจ์ ผู้ที่สนใจร่วมสืบสานและอนุรักษ์ความเป็นไทยสามารถตรวจสอบและติดตั้งส่วนขยายดังกล่าวได้ตามขั้นตอนที่ระบุในที่มา
ที่มา - เฟซบุ๊กของผู้พัฒนา
Comments
หัวจะปวด
Opensource - Hackintosh - Graphic Design - Scriptkiddie - Xenlism Project
ติดตั้งให้ User ราชการไทยน่าจะถูกใจ
ไม่ถูกใจครับ
ไม่ถูกใจอีกเสียง และโคตรรำคาญกับการต้องพิมพ์เลขไทย ที่แป้นไม่ตรงกับเลขอารบิก รวมทั้งการต้องใช้ font IT๙ ที่มีระยะห่างระหว่างบรรทัดไม่เท่ากับ SarabunPSK V1.1 และ SarabunNew
ใช้ Macro เอาครับ สะดวกกว่า
แซะได้ดูเขลามากเลย
ถ้าเทียบกับการบิดสารของคนบางกลุ่มจากเดิมที่ต้องกาารให้ "ใช้เลขอารบิกแทนเลขไทยในเอกสารราชการที่เป็นข้อมูลตัวเลข" กลายเป็น "ยกเลิกการใช้เลขไทย" การแซะแบบนี้ก็ดูเขลาน้อยกว่าครับ
To be fair ถ้าราชการไม่ใช้ ก็เท่ากับยกเลิกเลขไทยเนี่ยแหละครับ 555 มันไม่มีใครใช้เลย
ใช้ตามฟอร์ม หน้าปก/ใบปิดเอกสารตามฟอร์ม ใช้กับวันที่ในหัวเอกสารโดยมีเลขอารบิกกำกับ ฯลฯ ได้ครับ
ใช้ในเชิงอนุรักษ์ มันเป็นคนละแบบกับใช้แบบตะบี้ตะบัน
lewcpe.com , @wasonliw
ผมว่าอย่างเลขโรมันก็ไม่น่าใช้แบบทางการ แต่เราก็เห็นได้เรื่อย ๆ นะครับ บางทีไม่ต้องใช้กับทุกอย่างก็ได้ แค่ใช้ในโอกาสที่เหมาะสมก็น่าจะพอแล้ว อย่างทำ artwork ไทย ๆ จะใช้เลขไทยก็ดูเหมาะสมดี
เอางี้เลย มาเล อินโด สิงคโปร์ เค้าใช้วิธี ขั้นสุดเลยคือเอา
ตัวหนังสืออังกฤษ มาเขียนเป็นตัวอ่านออกเสียงแบบ คาราโอเกะ
ของตัวภาษาท้องถิ่นเอาเลย (คิดได้ไงวิธีนี้ ?) มันใช้งานได้นะครับ
ตอนไปก็อ่านออก ถึงผมจะไม่รู้ว่า ไอ้คำว่า สะลามัตปากี
หรือ ก๊ง ฉี ฟา ฉัย มันหมายความว่ายังไงหว่ะ ?
ตัวหนังสือดั้งเดิม ถ้าใครอยากอนุรักษณ์ ก็ลงเรียนเป็นวิชาเสริมได้มันไม่หายไปง่าย ๆ หลอกน่า
ผมนึกว่าภาษาเขาไม่มีตัวเขียน เลยต้องใช้อักษรโรมันเขียน
ในอดีตเคยมีครับ ภาษายาวีใช้ตัวเขียนคล้ายภาษาอาหรับ
แต่โดนอังกฤษ ดัตช์ Colonized ให้ใช้อักษรโรมันมาหลายร้อยปีแล้วครับ
ถ้าให้เทียบก็คือภาษาล้านนาที่มีอักษรเป็นของตัวเอง
แต่ปัจจุบันคนเมืองส่วนใหญ่เขียนอักษรล้านนาไม่เป็นกันแล้ว
เพราะโดนบังคับให้เรียนแค่ภาษาไทยแทน
ใช้กับการตั้งราคาคนไทย กับราคาต่างชาติอันนี้ไม่ได้แซะนะ แต่ประเทศอื่นก็มีไรอย่างนี้เหมือนกัน
เห้ย!! มันใช่ อันนี้จริงเลยมีประโยชน์จริง ๆ ด้วย
มายุคนี้ ใช้ Google Translate/Apple Translator ก็จบกันครับ (ปล. ไม่เคยลอง)
พบคนฉลาด 1ea คนฉลาดชอบเหยียดคนอื่นว่าเขลาแบบนี้แหละ ผมไม่อยากเป็นคนฉลาดเลย นิสัยไม่ดี
ไร้สาระหน่า
ขอบใจท่านมาก ข้าพึงใจกับข่าวนี้เป็นยิ่งนัก ๕๕๕๕๕
@iannnnn
โหลดแล้วติดตั้งให้เพื่อนร่วมงานผู้รักความเป็นไทย
ครูเกษียณแถวบ้าน โวยวายให้อนุรักษ์เลขไทยตามข่าว
แต่เวลาเขียนหวย ไม่เคยเห็นใช้สักครั้ง
กลัวเวลาถูกหวยแล้วไม่ได้เงิน ..๕๕๕
เยี่ยมเลยครับ แต่ไม่ใช้ครับ เอาเวลาไปทำอย่างอื่นดีกว่า
ไม่มีภาษาอังกฤษในข่าวเลย โหดมาก ๕๕๕๕
ข้าพเจ้าถูกใจสิ่งนี้ยิ่งนักขอรับ
จริง ๆ ปัญหามันก็อยู่แค่ว่า เลขไทยมันอ่านยาก แล้วก็มีโอกาสผิดพลาดได้ง่ายเรามาเปลี่ยนมาใช้ตัวเลขแบบสากลในหลาย ๆ อย่างกันดีไหม
แค่นั้นจริง ๆ นะ
แต่ social ดันแซะกันไปมาจนมั่วซั่วไปหมด แล้วก็แซะกันไปเรื่อย ๆไม่รู้สึกเหนื่อยกันบ้างเหรอครับ
ตอนนี้ social network เต็มไปด้วยการ
การแซะให้คนอื่นโกรธเพื่อให้ตัวเองสะใจการพูดให้อีกฝ่ายเจ็บปวด เพื่อให้ตัวเองรู้สึกดี
ฯลฯ
โดยที่แทบไม่มีใครคิดที่จะเอะใจ ว่ามันเป็นเรื่องที่ดีหรือไม่ดีแทบทุกพื้นที่เต็มไปด้วยความเกลียดชัง
อยากให้ปรับจูนความคิดตัวเองกันมาก ๆ
ผมเองก็เป็น แต่ก็กำลังพยายามปรับตัวเหมือนกันมาลองปรับจูนไปด้วยกันดีไหม 😅
รู้ว่าสร้างความเกลียดชังมันไม่ดี แต่เหลือเป็นวิธีสุดท้ายเพื่อให้ท่านผู้นำอายและยอมแก้รัฐธรรมนูญแล้ว
ถ้าแค่อ่านยากคิดว่าไม่ใช่ประเด็นหลักเท่าไหร่ คือผมโพสไว้ใน status ส่วนตัวแต่คิดว่าในเมื่อข่าวนี้จุดประเด็น ผมเลยนำเสนอประเด็นตัวอย่างที่ทำให้เลขไทยนั้นทำให้การทำ digital transformation มีปัญหา
1.ความยากลำบากในการพิมพ์ เพราะต้องกด shift ก่อนกดตัวเลขไทย ซึ่งแตกต่างจากตัวเลขอารบิกในแป้นภาษาอังกฤษ (ในอนาคตผมคาดหวังว่าจะมีคนผลิตคีย์บอร์ดสำหรับพิมพ์เลขไทยออกมาบ้าง)
2.มีคนทำ solution ที่เรียกว่าการสับเปลี่ยนวิญญาณ ในรูปแบบของฟอนต์ TH Sarabun IT๙ คือหน้าฉากกายเนื้อเป็นตัวเลขแบบไทย แต่วิญญาณเนื้อแท้คือตัวเลขอารบิก
ซึ่งในมุมหนึ่งก็เป็นการแก้ปัญหาหนึ่งในด้านความไม่สะดวกในการพิมพ์ของผู้จัดทำเอกสาร เพราะมันแสดงผล และจัดพิมพ์ออกมาอย่างถูกต้องสวยงาม คือมันตอบโจทย์ปัญหาในมุมมองของมนุษย์ แต่การกระทำดังกล่าวกลับสร้างปัญหาที่ใหญ่กว่ามากมาแทนในด้านการประมวลผล และการสืบค้นข้อมูลในระบบจัดการเอกสารทางคอมพิวเตอร์ขึ้นมาแทน ซึ่งมันหลอกหลอนคนที่ต้องทำงานกับชุดข้อมูลเหล่านั้นไปจนกว่าชุดข้อมูลนั้นจะหมดความต้องการในการใช้
3.ปัญหาการประมวลผลทางสถิติ เราต้องเสียเวลาตรวจสอบ และแปลงชุดตัวเลขเหล่านี้ให้อยู่ในความหมายที่ถูกต้อง ตัวอย่างง่าย ๆ เราต้องจัดเรียงลำดับตัวเลขจะยิ่งเห็นชัดเจน แม้ใน Excel อาจจะเรียกลำดับ 1 และ ๑ เป็นลำดับเดียวกัน แต่บางระบบฐานข้อมูลอาจจะไม่ใช่ บางครั้งระบบที่เราต้องนำข้อมูลเข้าไปใช้งานร่วมกัน เราไม่สามารถควบคุม database collation ได้ โดยขออ้างอิง MariaDB โดยตัวเลข ๑ ไทยจะต่อท้าย ฮ ซึ่งผิดกับฝั่งภาษาอังกฤษจะขึ้นต้นตัวเลขก่อนตัว A ซึ่งปํญหานี้ยังไม่รวมลำดับของ 1 และ ๑ เวลาจัดเรียงก็เรียงไม่อยู่ในลำดับเดียวกัน (แบบ Excel) ทำให้เวลาเราเอาตัวเลขแบบไทยมาใช้ในงานประมวลผลจัดลำดับ เราต้องแปลงมันมาอยู่ในตัวเลขอารบิกก่อนจึงจะจัดลำดับได้อย่างเหมาะสม
รายการตัวอย่างข้อมูล
| 1 | A |
| 2 | B |
| 3 | C |
| 4 | ๑ |
| 5 | ๒ |
| 6 | ๓ |
| 7 | ก |
| 8 | ฮ |
| 9 | 1 |
| 10 | 2 |
ผลการจัดเรียงใน column ที่สองใน Excel
| 4 | ๑ |
| 9 | 1 |
| 5 | ๒ |
| 10 | 2 |
| 6 | ๓ |
| 1 | A |
| 2 | B |
| 3 | C |
| 7 | ก |
| 8 | ฮ |
ผลการจัดเรียงใน column ที่สองใน MariaDB collation tis620_thai_ci
| 9 | 1 |
| 10 | 2 |
| 1 | A |
| 2 | B |
| 3 | C |
| 7 | ก |
| 8 | ฮ |
| 4 | ๑ |
| 5 | ๒ |
| 6 | ๓ |
ซึ่งจากทั้งหมดที่ได้กล่าวมา เป็นเพียงการยกตัวอย่างและผลกระทบอย่างง่ายให้พอเห็นภาพ
เอาจริงๆ หากพบกันครึ่งทางควรใช้ในจุดที่เหมาะ อาจจะหัวประกาศ แต่กำกับเลขอารบิกไว้ด้วยเพื่อ index ตัวข้อมูลสำหรับสืบค้น เพราะเราต้องคิดว่าในอนาคตเราจะสืบค้นและแปลงข้อมูลอย่างไรให้สามารถใช้งานในระบบคอมพิวเตอร์ได้อย่างเหมาะสม
เอ่อ …. จากประสบการณ์การเขียนโปรแกรมระบบที่เกี่ยวข้องกับราชการ
ปกติแล้วในระบบ เป็นตัวเลขธรรมดาทั้งหมดนะครับ
มันจะเป็นเลขไทยแค่ตอนออก report
ไม่ได้ใช้ตัวเลขไทยทำอะไรพรรค์นี้นะคิดว่าไม่น่ามีใครทำด้วยนะ
ออก report มาเป็นเลขไทย ใจคอคนสั่งพัฒนาโปรแกรมเค้าคิดถึงคนเอาไปทำงานต่อใช่ไหม
เพราะในฐานะที่เคยได้ report PDF เป็นเลขไทย ต้องมานั่งกรอกมือ เสียเวลาชีวิตมากครับ
..........
report คือเป็นเอกสารสั่ง print อะไรพวกนั้นไม่ใช่เหรอครับ
ถ้าอยากได้ข้อมูลเพิ่มเติมเพือ่ไปทำงานต่อ ก็ export data จาก db ไปใน format อื่น ๆ ก็ได้นะครับจะ csv จะ json etc. ขึ้นกับว่าต้องการจะใช้ทำอะไร
ผมว่าไฟล์ pdf ไม่น่าจะเหมาะกับการเอาข้อมูลในนั้นไปทำอะไรต่อนะครับ เอาไว้ print ก็พอเถอะคือแบบ อย่าว่าแต่เลขไทยเลย แค่ตัวหนังสือภาษาไทย ก็ปวดหัวแล้ว
ทำทุกอย่างให้ง่าย แล้วสนุกกับชีวิตกันนะครับ :)
เห็นด้วย pdf เอาไว้ปริ้นต์ ใส่เลขไทยมามันก็ปรินต์ออก
เขาใจว่าทางเขาได้ report มาเป็น PDF ให้เอาข้อมูลไปใช้ต่อ นะครับ ถ้าเลือกได้ คงไม่ได้อยากได้ PDF แล้วต้องแปลงกลับไปเป็น csv, json, xlsx
ประสบการณ์ตัวเองเนี่ยเจอมาแล้วคือขอ report จากราชการ คนที่ติดต่อเค้าไม่รู้จักหรอก csv/json บางครั้งมันไม่ใช่ว่าคนที่เราไปขอเค้าเค้าจะประสานงานให้ได้ บางครั้งต้องตัดใจได้อะไรมาก็เอาแบบนั้นแหละ น้อยครั้งมากที่เค้าจะเข้าใจว่า csv หรือ json คืออะไร สุดท้ายตัดจบคีย์เองก็ได้ ดีหน่อยไฟล์ pdf มันแปลงพอไหวก็แปลง บางครั้ง OCR เอา
"ทำทุกอย่างให้ง่าย แล้วสนุกกับชีวิตกันนะครับ :)"
คือบางครั้งอยากให้ชีวิตมันง่ายครับ แต่มันสู้กลับ มันก็ไม่ง่าย
ปล.ประสบการณ์ตรงสัก 4-5 ปีก่อน หลังๆ อาจจะดีกว่านี้แล้วก็ได้ แต่คนรอบๆ ตัวก็เห็นบ่นๆ กันอยู่นะ
เคยได้มาเป็นกระดาษปึกใหญ่ๆปึกนึงแต่ก๋4-5ปีมาแล้วเช่นกัน
เคยได้มาเป็นกระดาษปึกใหญ่ๆปึกนึงแต่ก๋4-5ปีมาแล้วเช่นกัน
นี่ราชการด้วยกันยังเจอส่งข้อมูล 100,000 แถวมาเป็น PDF ทั้งๆ ที่ขอเป็น CSV หรือจะส่งมาเป็น Excel ก็ยังดี แถมยังเถียงว่า PDF ดีกว่า เพราะมัน "ป้องกันการเปลี่ยนแปลงข้อมูล" แต่ยังดีที่คนทำข้อมูลเค้าแอบส่งข้อมูลที่เป็น CSV มาให้หลังจากโทรไปบ่นครับ
แก้ข้อมูลแล้วส่งกลับไปให้เค้าดูสักทีไหมครับ
เคยทำไปแล้ว ผลตอบรับนี่โคตรสนุก เพราะทางโน้นไม่รู้ด้วยซ้ำว่ามันถูกแก้ จนว่าเอาไปทำต่อแล้วมันเพี้ยนถึงรู้ตัวว่ามันแก้ได้ครับ
เฮ้ออออออ
เห็นฝั่งข้าราชการหลายคนออกมาพูดถึงว่า เขาก็ไม่ได้บังคับให้ตัวเลขทั้งหมดต้องเป็นอักษรไทย จะใส่ตัวอารบิคก็ได้ ตามแต่ความเหมาะสม
แต่คนที่บ่นผมเดาว่า น่าจะเป็นลูกจ้างหรือพนักงานรัฐรุ่นใหม่ ๆ ที่เวลาส่งหนังสือไปก็ไม่ผ่านสักที เพราะอีตัวเลขพวกนี้หรือเปล่า ผมก็ไม่ชัวร์เหมือนกันครับ
ส่วนตัวผมตัดปัญหาโดยการไม่พิมพ์ภาษาไทยในเอกสารที่ดูเป็นทางการเลย (ฮา) ก็คือไม่ทำงานในที่ที่บังคับต้องใช้ภาษาไทยนี่ล่ะ
เคยทำงานภาครัฐครับ และตัวภาครัฐเองนี่แหละที่ไม่ได้จะอนุรักษ์ความเป็นไทยหรืออยากใช้เลขไทยอะไรขนาดนั้น เวลาทำโครงการหรือจัดงานอะไรที่อยากดูอินเตอร์ ก็พยายามตั้งชื่องานเป็นภาษาอังกฤษ และที่สำคัญก็ต้องใช้ปี ค.ศ. เป็นหลัก (ถึงแม้จะเป็นงานโลคอลที่มีแค่คนไทยเข้าร่วมก็ตาม)
พอเป็นแบบนี้แล้วเวลาทำหนังสือหรือเอกสารออกมา มันก็จะมีความผสมปนเปกันมั่วไปหมด ทั้งภาษาไทย ภาษาอังกฤษ เลขไทย เลขอารบิค ปี พ.ศ. และปี ค.ศ. อยู่ในเอกสารหน้าเดียว
อีกอย่างหลักการเขียนหนังสือราชการ ยังไงก็ต้องให้ความสำคัญกับภาษาไทยหรือเลขไทยต่ำกว่าภาษาอังกฤษหรือปี ค.ศ. อยู่แล้ว ถ้าต้นฉบับเป็นชื่อเฉพาะหรือจำเป็นที่ต้องอ้างอิงแบบนั้น เช่น โควิด-19 (คงไม่น่ามีใครเขียนโควิด-๒๕๖๒) ซึ่งก็จะก่อให้เกิดอีกปัญหาตามมาคือหากเอกสารนั้นต้องมีข้อมูลลำดับเหตุการณ์ การต้องมาทำความเชื่อมโยงหรือไล่แก้ตัวเลขจาก ค.ศ. ให้เป็น พ.ศ. มันเป็นสิ่งที่สร้างปัญหา ก่อให้เกิดความล่าช้า และมีโอกาสผิดพลาดได้สูง
การออกนโยบายอะไรที่พอเอามาใช้จริงแล้วเกิดปัญหา การรับฟังคนปฏิบัติงานแล้วนำความเห็นนั้นไปปรับปรุงเพื่อออกนโยบายใหม่ที่เหมาะสมกว่ามันควรเป็นสิ่งที่ทำกันปกติมากๆ การทบทวนนโยบายนั้นไม่ใช่เรื่องแปลกอะไรเลย แต่พอนโยบายนั้นถูกเอามาโหนด้วยความ "รักชาติ" มันก็เลยออกมาเละอย่างที่เห็น
ปัญหาการใช้เลขไทยในงานเอกสาร (โดยเฉพาะอย่างยิ่ง Sarabun IT๙) หรือการออกแบบระบบให้สามารถเก็บหรือประมวลผลข้อมูลได้ทั้ง ค.ศ. และ พ.ศ. มันไม่ใช่พึ่งจะมาเกิดเอาเมื่อวันสองวัน ในไทยเองมีหน่วยงานที่สามารถออกแนวปฏิบัติหรือข้อแนะนำในการพัฒนาระบบเพื่อให้รองรับเรื่องพวกนี้ได้อยู่แล้ว หน่วยงานเองก็เคยรับทราบปัญหาเพราะเคยมีความพยายามเสนอไอเดียเรื่องนี้ไปหลายครั้งแล้วด้วยครับ
เรื่อง ค.ศ. กับ พ.ศ. นี่ มันน่าปวดหัวกว่าเลขไทยเยอะจริง ๆ ครับไม่ได้ยากเพราะว่าเป็น พ.ศ. นะ มันยากตรงมันไม่มีมาตรฐานการเขียน code นี่สิครับ
ใครจะเขียนยังไง ปล่อยเขาไม่ต้องสนใจ ชั้นจะเขียนแบบนี้อะ ทำมาย ~ 🎶(อ่านด้วยทำนองเพลง ฮีลใจ)
สำหรับผม เรื่องปรับทัศนคติไม่ยากเลยครับ แค่โดนลดโควต้าเม้นจากไร้ขีดจำกัดมาเป็นวันละ 6 เม้่นเพราะชอบเกรียดไปฟาดชาวบ้าน แค่นี้ก็ปรับได้แล้วครับ
คุณพี่ที่ชอบบอกนู่นนี่ขยะ เค้าไม่มาเม๊นท์ข่าวนี้หน่อยเหรอครับ 😅
เสียเวลาสมัครสมาชิกใหม่อยู่ครับ สมัครเพื่อให้ความเห็นแบบนี้แล้วโดนแบนในไม่กี่วัน หรือบางครั้งก็ไม่กี่ชั่วโมงก็โดนแล้ว น่าสงสารเขานะครับ
ความล้มเหลว คือจุดเริ่มต้นสู่ความหายนะ มีผลกระทบมากกว่าแค่เสียเงิน เวลา อนาคต และทรัพยากรที่เสียไป - จงอย่าล้มเหลว
อารบิก
ว่าจะมาคอมเมนท์ว่า Github เป็นชื่อเฉพาะน่าจะใช้ภาษาอังกฤษไปเลย แต่เพื่อเป็นการรักษาเอกลักษณ์ไทยเลยปล่อยไปดีกว่า
onedd.net
เอาแบบฝรั่งเศสที่เพิ่งออกกฎมั้ยล่ะครับ อันนั้นหนักกว่าเยอะ
แค่มนุษย์คนนึงที่อยากรู้เกี่ยวกับวงการไอที
เข้าใจมาตลอดว่าคือเลขเขมรซะอีก แค่ไทยยืมมาสมัยสุโขทัยเห็นด้วยว่าควรยกเลิกเลขไทย และปี พศ โดยให้เลขเลขอาราบิก และคศ แทน
เพราะเลขไทยอ่านยาก ปีพศ มีปัญหาเยอะ
เค้าไม่ใช้ รศ ก็ยังดีนะครับ 😂
แต่ผมว่าก็ยังดีกว่าปีญี่ปุ่นนะครับ orz
สีหย่าคนอ่านข่าว: 🙄
มันเลขที่เอามาจากขอม(เขมร)นิ มันเป็นเลขไทยซะที่ไหนจะอนุรักษ์ความเป็นไทยก็เขียนเป็นคำอ่านไปเลยสิจะได้ไทยแท้ให้สาแก่ใช คนไทยผู้หวงแหนวัฒนธรรมไทยจนอยากแช่แข็งประเทศ
ก็เพราะเวลาเอาไปประมวลผลต่อมันสร้างภาระให้คนทำงานอีกมากมายมหาศาล เชสถึงได้มาเรียกร้องรณรงค์กัน
เลขไทย(ที่ลอกเขมรมา) ต่อให้ราชการไทยไม่ใช้ มันก็ไม่หายไปง่าย ๆ หอกยังไงเวลาเขียนยันตร์ ก็ต้องใช้เลขไทยอยู่ดี เพราะเขียนเป็นเลขอารบิกมันไม่ขลัง 555
อนุรักษ์ก็ส่วนอนุรักษ์
จะไปอยู่ในส่วนของงานศิลปหรือวัฒนธรรมก็ว่ากันไป
เหมือนแต่งชุดไทย แต่งกิโมโน ตามงาน ตามเทศกาล
แต่อย่าถึงขนาดบังคับใช้ในชีวิตประจำวัน
เพราะเราต้องสื่อสาร ไม่ใช่แค่กับคนในประเทศ
และอะไรที่มันสร้างความสับสน
ปรับเปลี่ยนได้ก็ควรปรับ
พาให้คิดไปว่า ท่านคงว่างจัดๆ จะนิ่งเฉยก็เกรงใจเงินเดือน กระนั้นเลยก็ออกแคมเปนกันเถอะ แล้วก็หันไปสั่งเด็กฝึกงาน ให้ไปคิดต่ออีกที เอาอะไรที่คนธรรมดาไม่คิดทำ เราจะได้ปังๆวันก่อนเพิ่งดูคลิปกินซอสเลอะเต็มหน้ามา วันนี้อยากปังมั่ง
เค้าก็ไม่ได้บังคับใช้ในชีวิตประจำวันนะ งานที่ใช้ก็เป็นงานเฉพาะ มีระเบียบการใช้เฉพาะแต่ความ ปสด ที่รับสารแล้วกระจายสารแถมยังแอมพลิฟายสารสนองนี้ดลูกหาบแบบแปลกๆ อันนี้ต้องพินิจดูความตั้งใจ ซึ่ง ก็นั่นแหละ
ส่วนตัวผมพิมพ์งาน ชอบเลขไทยนะ มันทางการดี (แต่ใช้ฟอนต์ IT๙ :P)
แต่ปัญหาเรื่องการสืบค้นข้อมูลก็หนักจริง ก็เห็นด้วยที่จะยกเลิกครับ
ทุกวันนี้ก็แอบเนียนยกเว้น พวกหนังสือราชการที่เกี่ยวกับการเบิกจ่ายงบ เพราะกลัวคนรับลงข้อมูลตัวเลขผิด 5555
เลิกใช้ไปเลยนี่ไม่มีความจำเป็นแน่ๆ เลขไทยคือภาษาของเรา ยังไงก็ต้องคงอัตลักษณ์นี้ไว้ในส่วนที่เป็นข้อมูลเชิงสัญลักษณ์ เพียงแต่อาจจะต้องปรับว่า ข้อมูลส่วนไหนที่จำเป็นต้องเอาไปประมวลผลต่อในระบบฐานข้อมูลภาครัฐ ให้ใช้เลขอารบิคทั่วไป
การใช้ภาษามันมีหลายมิติ จะเอามาแสดงความรักชาติอย่างเดียวก็ไม่ใช่ ในขณะเดียวกันจะมองแค่ความสะดวกก็ไม่ได้อีกเหมือนกัน
ปล. เรื่องปี พ.ศ. กับ ค.ศ. นี่ อิอิ ผมเป็นคนนึงที่คิดว่าข้อมูลมันน่าว่าปวดหัวกว่าชุดตัวเลขซะอีก เพราะโดยส่วนใหญ่แทบไม่มีอะไรบอกได้เลยว่านี่คือปีที่อ้างอิงปฏิทินอะไร
..: เรื่อยไป
ไหนๆก็ไหนๆแล้ว ใช้คำศัพท์เป็นภาษาไทยด้วยเลยค่ะ เบราว์เซอร์ ก็ต้องเปลี่ยนเพราะเป็นคำทับศัพท์ อาจจะนำมาสู่การสิ้นชาติได้ เริ่มเลยค่ะ