Tags:
Node Thumbnail

หลังจากที่ PINE64 ได้ เปิดตัว PineNote เครื่องอ่านอีบุ๊คจอ e-ink ที่โฆษณาว่าลงลินุกซ์ได้ ไปเมื่อปีก่อน มาวันนี้ ผมได้สั่งซื้อ PineNote มาเพื่อลองใช้งานกับพัฒนาโปรแกรมต่าง ๆ เลยถือโอกาสหยิบมารีวิวกันครับ

alt=

บทความนี้ไม่ได้รับการสนับสนุนใด ๆ จาก PINE64

สำหรับ PineNote ที่ผมได้มารีวิว คือ PineNote Developer Edition ถือเป็นรุ่นสำหรับนักพัฒนาเท่านั้น ซอฟต์แวร์ต่าง ๆ ยังไม่สมบูรณ์อีกมาก และยังไม่เหมาะกับการใช้งานจริงบนลินุกซ์

สเปคของ PineNote

  • ชิป RK3566 quad-core A55 SoC
  • LPDDR4 RAM 4 GB
  • หน่วยความจำ eMMC ขนาด 128 GB
  • พอร์ต USB-Type C
  • 5Ghz AC WiFi
  • ขนาดหน้าจอ 10.3 นิ้ว, Grayscale 16 e-paper display, DPI: 227
  • น้ำหนัก 438 กรัม (เบากว่า iPad รุ่นที่ 9 นิดหน่อย)
  • มีลำโพงและไมโครโฟน
  • ความละเอียดหน้าจอ 1404×1872 พิกเซล
  • มาพร้อมกับปากกา EMR pen และ Protective cover

หลังจากที่ผมได้กล่องมาแล้ว แกะกล่องจะเจออุปกรณ์สายชาร์จ, ปากกา, PineNote และ Protective cover

ตัวเครื่อง

ตัวเครื่องเป็นพลาสติกทั้งเครื่อง มีแค่พอร์ต USB-C ใต้เครื่อง ไม่มีช่องหูฟัง 3.5 และใส่ microsd ไม่ได้ ทำให้เพิ่มเนื้อที่ไม่ได้ แต่ PineNote มาพร้อมกับ eMMC ขนาด 128 GB ถือว่าเพียงพอมากพอสมควร สำหรับเก็บอีบุ๊ค รวมถึงลงระบบปฏิบัติการลินุกซ์

ด้านหน้า

alt=

ด้านหลัง

alt=

ด้านหลังจะเป็นรอยมันได้ค่อนข้างง่าย พร้อมลำโพงสองข้างอยู่ด้านหลัง

ซอฟต์แวร์

PineNote Developer Edition ล็อตใหม่ ๆ จะมาพร้อมกับระบบปฏิบัติการแอนดรอยด์ 11 ทาง PINE64 ระบุว่าเป็น “Tech Demo” เท่านั้น (ที่ใช้งานจริงได้) โดยจะไม่มีการอัปเดตใด ๆ เพิ่มเติม เพราะจุดมุ่งเน้นของ PineNote คือ ระบบปฏิบัติการลินุกซ์ ทั้ง Debain, Arch Linux และอื่น ๆ

แต่เนื่องจากระบบปฏิบัติการลินุกซ์สำหรับ PineNote ตอนนี้ยังไม่สมบูรณ์อยู่มาก เพราะยังอยู่ในช่วงกำลังพัฒนา ดังนั้นผมจึงขอรีวิวด้วยระบบปฏิบัติการแอนดรอยด์ 11 มาพร้อมกับเครื่องสำหรับบทความนี้

หลังจากเปิดเครื่องมา จะพบกับหน้าจอที่ (เหมือน) ถูกปรับแต่งมาให้สำหรับเครื่องอ่านอีบุ๊คจอ e-ink ที่สามารถทำงานฟังก์ชันพื้นฐานของเครื่องอ่านอีบุ๊คจอ e-ink ทั่วไปได้

alt=

alt=

ซอฟต์แวร์ที่มาพร้อมกับเครื่อง มีโปรแกรมอ่านไฟล์อีบุ๊ค พร้อมสามารถจดโน้ตได้, โปรแกรม WPS Office Lite สามารถจัดการเอกสาร และ XPhoto (อันอื่นไม่นับเพราะเป็นแอปที่ผมติดตั้งเสริมเข้ามาภายหลัง)

alt=

สำหรับการใช้งานฟังก์ชันพื้นฐานของเครื่องอ่านอีบุ๊คจอ e-ink ทั่วไปได้ ผมได้ทดสอบดังนี้

ทั้งการอ่านอีบุ๊คไฟล์ PDF

อ่านอีบุ๊คไฟล์ EPUB

การจดโน้ตด้วยปากกา EMR pen

เปิดเว็บ

alt=

ทั้งหมดนี้ถือว่าทำงานได้ค่อนข้างโอเค ค่อนข้างไว แถมอ่านภาษาไทยได้ในตัวแบบไม่ต้องตั้งค่าอะไร ยกเว้นตรงอ่านอีบุ๊ค โปรแกรมไม่สามารถทำ highlight ข้อความในไฟล์อีบุ๊คได้ การสลับหน้าค่อนข้างโอเค (อย่าลืมรีเพจหน้าจอ เพื่อล้างหน้าจอเดิมทิ้ง)

สำหรับโหลดแอปเพิ่มเติม เนื่องจากระบบปฏิบัติการแอนดรอยด์ 11 สำหรับ PineNote เป็นแค่ Demo ดังนั้นจึงไม่มี Google Play Store มาให้ แต่สามารถติดตั้งได้เพิ่มเติมจากไฟล์ APK ได้อยู่ดี

สำหรับแบตเตอรี่ค่อนข้างโอเค ผมใช้งานตั้งแต่ 14:00 น. จนถึง 1:00 น. จาก 87% เหลือ 68% ทั้งจากการลองต่อไวไฟ ลองเกม และอื่น ๆ

สำหรับตัวอย่างการใช้งานเพิ่มเติมสามารถดูได้จากคลิปของทาง PINE64

สำหรับการลงลินุกซ์ เนื่องจากตอนนี้ยังอยู่ในช่วงกำลังพัฒนา ผมจึงตัดสินใจยังไม่เอามารีวิว เนื่องจากต้องคอมไพล์เองที่ใช้เนื้อที่หลายร้อย GB ดังนั้นผมจึงขอทำรายการลินุกซ์ดิสทริบิวชันที่รองรับ PineNote แล้วได้แก่
- postmarketOS ที่ตอนนี้มี หน้าวิกิ สอนวิธีลงแล้ว แต่ยังไม่มี image ให้โหลด ต้องคอมไพล์เอง
- Manjaro มีวิธีการสอนคอมไพล์เพื่อลง Manjaro ใน PineNote
No Description
ภาพจาก GitHub
- Debian มี หน้าวิกิสอนลง แล้วเช่นกัน แต่ต้องคอมไพล์เอง
- Arch Linux รองรับ PineNote แล้วเช่นกัน แต่ยังต้องคอมไพล์เอง

ข้อดี

  • จอ e-ink ขนาด 10 นิ้ว ราคา $399
  • เนื้อที่ค่อนข้างเยอะทั้งแรมและ eMMC
  • สามารถลงระบบปฎิบัติการลินุกซ์ได้
  • มาพร้อมกับปากกา และระบบปฏิบัติการแอนดรอยด์ 11 ที่ให้มากับโรงงาน พอใช้งานได้

ข้อเสีย

  • เป็นรุ่น Developer Edition (ชื่อบอกในตัว)
  • ระบบปฏิบัติการแอนดรอยด์ 11 แบบ Demo ที่แพมาตั้งแต่โรงงาน (เพราะมุ่งลินุกซ์)
  • ไม่กันน้ำ
  • มีแค่พอร์ต USB-C
  • ประกันแค่ 30 วัน ตามมาตรฐาน PINE64

สำหรับส่วนตัวผม PineNote Developer Edition ถือว่าค่อนข้างดีเกินคาด (นึกว่าจะทำอะไรได้ไม่มากเท่าไร เพราะระบบปฏิบัติการแอนดรอยด์ 11 เป็น Demo จึงไม่ได้คาดหวังอะไร) แต่ไม่แนะนำให้บุคคลที่ไม่คุ้นชินกับลินุกซ์ซื้อไปใช้งาน เพราะระบบปฏิบัติการแอนดรอยด์บน PineNote จะไม่ได้รับการดูแลใด ๆ ต่อและเรื่องประกันกับความเพียบพร้อมในการใช้งานที่ขาด Google Play store

หากท่านใดมีคำถาม สามารถถามได้ใต้ช่องความคิดเห็นของโพสต์ในเว็บ Blognone นี้ได้เลยครับ

Get latest news from Blognone

Comments

By: tontan
Contributor Android Symbian Ubuntu
on 13 October 2022 - 14:56 #1265067
tontan's picture

อันนี้ผมรีวิวผิดพลาดอะไรหรือเปล่าครับ? ถ้าผิดพลาดขออภัยด้วยนะครับ จะได้ถอดเนื้อหาเอาไปลงบล็อกส่วนตัวครับ


บล็อก: wannaphong.com และ Python 3

By: hisoft
Contributor Windows Phone Windows
on 13 October 2022 - 16:03 #1265072 Reply to:1265067
hisoft's picture

น่าจะแค่ตรง ราคา 399$ -> ราคา $399 กับการจั่วหัวว่าลง Linux ได้แต่ไม่ได้รีวิวส่วนที่ลงให้ดูครับ 😅 นอกนั้นอ่านสนุกดีครับ

By: tontan
Contributor Android Symbian Ubuntu
on 13 October 2022 - 16:26 #1265075 Reply to:1265072
tontan's picture

ขอบคุณครับ ผมปรับตรงลงลินุกซ์ได้เป็นโฆษณาว่าลงลินุกซ์ได้ก่อนแล้วกันครับ เพราะต้องโหลด tool ต่าง ๆ หลายร้อย GB เพื่อคอมไพล์และลง ขอผ่านก่อนแล้วกันครับ 😅


บล็อก: wannaphong.com และ Python 3

By: hisoft
Contributor Windows Phone Windows
on 13 October 2022 - 18:01 #1265083 Reply to:1265075
hisoft's picture

ต้องโหลด tool ต่าง ๆ หลายร้อย GB เพื่อคอมไพล์และลง

😱

By: tontan
Contributor Android Symbian Ubuntu
on 15 October 2022 - 12:03 #1265109
tontan's picture

ถึงไม่มี Google play store แต่ยังลง store อื่น ๆ ได้อยู่ เช่น f-droid


บล็อก: wannaphong.com และ Python 3

By: HudchewMan
Contributor Android WindowsIn Love
on 15 October 2022 - 14:35 #1265244
HudchewMan's picture

ในฐานะคนใช้ลินุกซ์เป็นหลักมาเกือบ 10 ปี โดยไม่มีวินโดวส์ + ใช้ e-Reader มา 10 ปีเต็ม (Kindle 4, Boox Poke Pro, Kindle PPW 2021)

ผมนึกไม่ออกว่า e-Reader ที่โฆษณาว่าลงลินุกซ์ได้ มันมีจุดขายที่เป็นจุดเด่นต่างจากการใช้ Android e-Reader ทั่วไปยังไง (^^')a

สำหรับเครื่องนี้ คงวางตัวในตำแหน่งสำหรับอ่านพวกเปเปอร์ มีจดโน้ต อะไรทำนองนี้ แต่ด้วยความที่เป็นลินุกซ์ อาจจะมองได้ว่าเป็นอุปกรณ์ในตลาดอีกตัวที่เป็นระบบกึ่งเปิดกึ่งปิดล่ะมั้ง


~ HudchewMan's Station & @HudchewMan ~

By: big50000
Android SUSE Ubuntu
on 16 October 2022 - 01:41 #1265288
big50000's picture

ผมหวังจริงๆว่าสุดท้ายแล้วอุปกรณ์ ARM จะ mature บน Linux ได้ แล้ว Android จะได้อานิสงส์ไปด้วย แม้ว่าจริงๆ ผมอยากให้กดดันผู้ผลิตฮาร์ดแวร์ให้เปิดซอร์สมากกว่า