อินโดนีเซียเตรียมออกกฎหมายเพื่อผลักดันให้มีการใช้รถจักรยานยนต์ไฟฟ้าบนท้องถนนมากยิ่งขึ้น โดยตั้งเป้าว่าจะให้มีรถจักรยานยนต์ไฟฟ้า 2 ล้านคันภายในปี 2025
Budi Karya Sumadi รัฐมนตรีกระทรวงคมนาคมของอินโดนีเซียเป็นผู้ออกมาแถลงถึงนโยบายนี้ โดยเน้นย้ำว่าปัจจัยสำคัญ 3 ประการที่จะส่งผลให้นโยบายนี้ประสบความสำเร็จได้ ทั้งเรื่องการสร้างความมั่นใจในมาตรฐานการผลิตแบตเตอรี่สำหรับรถจักรยานยนต์ไฟฟ้า, การเพิ่มจำนวนสถานีชาร์จไฟและสถานีเปลี่ยนแบตเตอรี่ให้ครอบคลุมพื้นที่ต่างๆ และการสร้างความมั่นใจในมาตรฐานของคุณภาพมอเตอร์ที่เป็นหัวใจสำคัญของรถจักรยานยนต์ไฟฟ้า
การแถลงนโยบายนี้สอดคล้องกับข่าวการลงทุนของ Gogoro ผู้ผลิตรถจักรยานยนต์ไฟฟ้า, สกู๊ตเตอร๋ไฟฟ้า และพาหนะไฟฟ้าอื่นๆ และเป็นบริษัทผู้พัฒนาเทคโนโลยีแบตเตอรี่แบบถอดเปลี่ยนได้พร้อมระบบพื้นฐานสถานีเปลี่ยนแบตเตอรี่ โดยเมื่อปีที่แล้ว Gogoro ได้ประกาศข่าวร่วมลงทุนกับ Gojek สร้างสถานีเปลี่ยนแบตเตอรี่ "Swap & Go" ในอินโดนีเซีย
ระบบ Swap & Go ของ Gogoro ซึ่งเก็บค่าบริการ subscription จากผู้ใช้รถจักรยานยนต์ไฟฟ้า
อย่างไรก็ตามยังไม่มีการประกาศรายละเอียดชัดเจนว่าจะมีการออกกฎหมายหรือมาตรการจูงใจอย่างไรให้ประชาชนหันมาใช้รถจักรยานยนต์ไฟฟ้าเพิ่มมากกขึ้นในอนาคต แต่อาจคาดเดาได้จากการออกกฎหมายเกี่ยวกับการรับจดทะเบียนรถใหม่ รวมถึงมาตรการทางภาษี และการช่วยเหลือต้นทุนพลังงานไฟฟ้าเพื่อจูงใจผู้ใช้รถจักรยานยนต์
ตลาดของธุรกิจรถจักรยานยนต์ไฟฟ้าในเอเชียนั้นมีมูลค่ามหาศาลมาก อินเดียเป็นอีกประเทศหนึ่งที่มีการเติบโตของอุตสาหกรรมนี้อย่างรวดเร็ว มีบริษัทผู้ผลิตรถสกู๊ตเตอร์ไฟฟ้าและจักรยานยนต์ไฟฟ้าในประเทศเพิ่มมากขึ้น ในขณะที่ประเทศจีนก็มีการจดทะเบียนรถใหม่ที่ใช้น้ำมันเชื้อเพลิงลดน้อยลงมากสวนทางกับจำนวนการจดทะเบียนรถจักรยานยนต์ไฟฟ้าและจักรยานไฟฟ้า น่าสนใจว่า 3 ประเทศที่มีประชากรมากที่สุดในทวีปเอเชียเริ่มขยับตัวและมีการเปลี่ยนแปลงในเรื่องเทคโนโลยีรถจักรยานยนต์ไฟฟ้ากันแล้ว ประเทศไทยเราเองจะมีมาตรการหรือมีบริษัทใดเข้ามาทำการตลาดในธุรกิจนี้อย่างจริงจังบ้างหรือไม่
ที่มา - Electrek
Comments
ส่วนจีน เน้นแต่จักรยานไฟฟ้า
ส่วนไทยนั้น มัวแต่ไปยุ่งกับงานรูทีน ไม่เห็นวิสัยทัศน์ใด ๆ ปล่อยให้เอกชนทำงานไปถ้าโชคดีอันไหนออกมาดี ก็จะเคลมผลงานว่าเป็นไปตามที่ได้ส่งเสริมไว้(ตอนไหนไม่รู้)
ปล. สมเป็นรัฐราชการ ขนาดน้ำท่วมหนักในหลายพื้นที่ทั่วประเทศ แต่นายกและรมต. ก็ยังหยุดงานในวันเสาร์อาทิตย์
ปล่อยให้โฆษกมาส่งข้อความให้สื่อตามปกติว่านายก ห่วงใย มอบหมาย สั่งการ ให้หน่วยงานต่าง ๆ ดูแลแล้ว
แต่มอบหมายใคร สั่งการว่าอย่างไร มีการติดตามผลมั้ย "ไม่บอก"
อ่านสิครับ แพคเกจอีวีเรามีแต่ปีมะโว้แล้ว
ราชกิจจาฯ เพิ่งประกาศใช้ ไปเมื่อ 30 พ.ค. 65 นี่เรียกว่าตั้งแต่ปีมะโว้ได้ด้วยเหรอครับ
การที่เขาไม่บอก ก็ไม่จำเป็นที่ประชาชน ต้องรู้ทุกเรื่อง
แต่พอตอนบอก ก็เจอ มูกโต บ่น กุจะดูละคร กุไม่อยากรู้ กุจะดูละคร