สิงคโปร์ขีดเส้นตายว่าทุกองค์กรที่ต้องการส่งข้อความไปยังโทรศัพท์มือถือโดยชื่อผู้ส่งเป็นข้อความ ดังเช่นที่เราเห็นข้อความจากธนาคารต่างๆ จะต้องลงทะเบียนในฐานข้อมูลผู้ส่ง SMS แห่งชาติ (Singapore SMS Sender ID Registry - SSIR) ไม่เช่นนั้นเครือข่ายโทรศัพท์มือถือจะแสดงชื่อผู้ส่งว่าต้องสงสัยว่าจะเป็นข้อความหลอกลวง หรือ likely-scam แทน มาตรการนี้มีผลวันที่ 31 มกราคมนี้
ตอนนี้มีองค์กรลงทะเบียน SSIR แล้วกว่า 1,200 องค์กร รวมชื่อผู้ส่ง 2,600 ราย โดยก่อนหน้านี้ระบบ SSIR เป็นทางเลือกสำหรับการจองชื่อผู้ส่งเป็นหลัก ทำให้สามารถบล็อค SMS หลอกลวงได้บางส่วนเพราะพยายามใช้ชื่อตรงกับองค์กรในประเทศ และทาง IMDA ระบุว่ากำลังพิจารณาว่าจะเปิดตัวเลือกให้ประชาชนปิดรับ SMS จากต่างประเทศไปทั้งหมดเลยหรือไม่
แนวทางการเปลี่ยนชื่อผู้ส่ง SMS ของสิงคโปร์ คล้ายกับการเติมเลข 697 สำหรับเบอร์โทรศัพท์จากต่างประเทศในไทย อย่างไรก็ดีคนร้ายมักจะเปลี่ยนเทคนิคเพื่อให้หลองลวงได้แนบเนียนยิ่งขึ้น เช่นในไทยเองโทรศัพท์หลอกลวงจำนวนมากก็เป็นเลขหมายในประเทศแล้ว
ที่มา - Channel News Asia
หน้าจอจำลองข้อความที่พยายามปลอมชื่อผู้ส่งเพื่อส่งข้อความหลอกลวง
Comments
ผมว่าได้ผลไม่เยอะนะ โจทย์คือต้องให้คนไม่หลงเชื่อใช่มั๊ย
ถ้ามาดูว่าคนกลุ่มไหนที่ปัจจุบันหลงเชื่อ sms ก็จะมีประมาณนี้
a. ใครส่งมาก็ไม่รู้หรอก แต่ข้อความเหมือนว่าเราจะได้ตัง แบบนี้จะพลาดรึ กด link ที่เค้าส่งมาและทำตามขั้นตอนต่อด้วย
b. เจอข้อความแจ้งเตือนต่างๆ แล้วก็เชื่อ(เพราะไม่รู้ว่าแจ้งเตือนจริงหรือไม่ เช่น คลีนเครื่อง ต้องลงทะเบียนนู้นนี่เพื่อรักษาและยืนยันสิทธิ์) และก็ทำตามเพราะถ้าไม่ทำนี่แย่แน่ๆเลย (sms บอกว่าแบบนั้น)
c. sms มันชัดมาก ชวนทำงาน online / พนัน ก็ยังจะไปทำอยู่ดี คืออันนี้ผมรู้เหมือนกันว่าเค้าไม่รู้ว่าจะถูกหลอกหรอ ข่าวออกเยอะแยะ หรือตั้งใจเสี่ยงอยู่แล้ว
d. เจอข้อความแบบตามข่าวใน blognon เลยแต่ส่งมาด้วยเบอร์มือถือ แต่ก็ยังกดนะ
e. อื่นๆ อีกผมก็รู้ไม่หมดหรอก แค่มาชวนคิด
คราวนี้มาคิดดูว่า กลุ่มคนด้านบนที่หลงเชื่อ sms นั้นหากมี คำว่า likely-scam (ภาษาไทยก็ "อาจเข้าข่ายข้อความหลอกลวง") เค้าจะเปลี่ยนพฤติกรรมไปมั๊ย ก็คงจะมีแหละ แต่ว่าจะเยอะขนาดนั้นเลยหรอ
หรือถ้าบอกว่ามันมีประโยชน์แหละจะได้รู้ว่าเป็น sms ไม่ได้ลงทะเบียน คือจะบอกว่าคนที่สนใจว่าเป็น sms ลงทะเบียนหรือเปล่า ผมว่าเค้าก็ไม่ใช่กลุ่มที่จะหลงเชื่อ sms ง่ายๆ ดังนั้นการมี likely-scam อาจจะไม่จำเป็นสำหรับคนกลุ่มนี้
และต้องคิดด้วยจริงๆผมคิดว่าท่านอื่นๆ คงมีความเห็นที่แตกต่างกันไป ลองมาถกกันดูครับ
เยอะไม่เยอะไม่สำคัญ สำคัญว่า "คุ้มหรือไม่" ครับ
เหมือนมาตรการความปลอดภัยอื่นๆ ในองค์กร MFA, 2FA, Zero Trust ฯลฯ พวกนี้ไม่ได้ทำให้การโจมตีหายไป หรืออาจจะไม่ได้หายไปทั้งหมด แต่ถ้ามาตรการมันถูกพอ ทำได้ไม่ยากมาก แต่ลดการโจมตีได้เยอะพอก็คุ้มทำอยู่ดี
สมมติว่ามาตรการนี้เสียเงินปีละ 1 ล้านบาท (ค่าแรงคนดูแลรายการ + ค่าจัดการของภาคเอกชนต้องมาลงทะเบียน) แต่ช่วยเหลือเหยื่อได้ 10 คนต่อปี ความเสียหายที่อาจจะเกิดขึ้น 4-5 ล้านบาทก็คุ้มแล้ว แต่ถ้าได้แค่คนเดียวต่อปีก็ไม่คุ้ม
ในแง่ของการทำสิ่งที่ทำได้ก่อนก็อาจจะไม่มีการศึกษาตัวเลขประสิทธิภาพโดยตรง ก็น่าจะคล้ายๆ มาตรการ 697 ของเราที่เราเร่งทำเพราะทำได้ และปัญหามันอยู่ตรงหน้า ค่อยไปศึกษาตามมาว่ามันช่วยได้จริงไหม
lewcpe.com , @wasonliw
ก็ถ้ามันขึ้นมาบอกว่า “อาจเป็นการหลอกลวง” แล้วยังกดเข้าไปอีก ก็ช่วยอะไรไม่ได้แล้วครับ
การช่วย ช่วย “เพิ่ม” ได้อีกกี่คนไม่รู้ แต่ถ้ามูลค่าความเสียหายผมว่ายังไงก็คุ้มครับอย่างน้อยต่อให้โลภจริงๆ ก็คงจะระวังตัวเพิ่มขึ้นบ้างแหละครับ
ธรรมชาติของสมองมนุษย์จะฉุกคิดเมื่อเห็นสัญญาณที่จะเป็นอันตรายกับตัวเอง ถึงแม้ในขณะนั้นสมองอัตโนมัติจะทำงานด้วยข้อความที่เย้ายวนให้กดลิงค์ ก็จะมีการสลับโหมดมาที่สมองส่วนเหตุและผลระยะนึง ซึงข้อความแจ้งเตือนเหล่านี้ ออกแบบมาเพื่อกระตุกความมีเหตุและผลของมนุษย์ตามสัญชาติญาณ แต่ใครยังจะกดก็เป็นสิทธิของเขา เพราะเขาได้ถูกสมองอัตโนมัติควบคุมโดยสมบูรณ์
ในทางกฎหมาย ข้อความเหล่านี้ก็เป็นข้อความที่ทำให้ผู้รับผิดชอบสามารถปฏิเสธความรับผิดได้ เพราะถือว่าได้ทำหน้าที่แจ้งเตือนจนถึงที่สุดแล้ว ไม่ได้ละเลยในการควบคุม
เรื่อง sms ผมเคยคิดว่าควรจะใช้หลักการเดียวกับแอพแชตก็คือต้องเพิ่มเพื่อนหรือกดอนุญาติก่อนถึงจะส่งข้อความได้ทีนี้พวกบริการ otp หรือยืนยันตัวตนเราก็แค่กดอนุญาติครั้งแรกก็พอเพื่อจำproviderก็น่าจะแก้ปัญหาได้ เพราะในชีวิตจริงๆเรามีความจำเป็นอะไรที่จะอ่านsmsที่เราไม่ได้อนุมัติ
SMS ระบบมันเก่าแล้วครับ เก่ากว่า EMS หรือ MMS ซะอีก การจะเพิ่มอะไรยากครับ เพราะมือถือต้อง support
ที่ทำได้คือมือถือมีให้ตั้งไม่รับ SMS ที่ไม่อยู่ใน contact (จริงๆรับแต่ ignore) แต่ปัญหาคือ SMS ที่เป็นชื่อต่างๆ อย่างของธนาคารหรือค่ายมือถือที่เราต้องรับ OTP พวกนี้ก็ถ้าไปปิดรับก็มีปัญหาอีก
และอีกอย่าง ข้อจำกัดของการส่งชื่อแทนเบอร์ใน SMS มันไม่สามารถระบุได้ว่าชื่อที่ส่งมานี่ต้นทางส่งจริงหรือไม่ ทำให้เราจะเห็นทั้ง SMS หบอกและจริงปนกันอยู่ครับ
ในข่าวนี้คือกรณี SMS ปกติผู้ส่งจะเป็นเบอร์โทร แต่จะมีกรณีที่ส่งเป็นชื่อได้ เข่น AIS DTAC หรือชื่อธนาคารต่างๆ หรือแม้แต่ Shopee ซึ่งพวกนี้จะไม่มีเบอร์ต้นทางมาใน SMS อยู่แล้ว ตัวมือถือก็จะ group SMS ที่ชื่อเดียวกันอยู่ในช่องสนทนาเดียวกัน
อย่างตามข่าวในไทยที่จะเห็นๆกันว่า SMS หลอกลวง แต่อยู่ใน SMS chat (message) เดียวกันกับของจริง ซึ่งมันเป็นข้อจำกัดของ SMS ที่เป็นระบบเก่าแก่ไม่สามารถเพิ่มอะไรได้
ของสิงคโปรน่าจะเป็นการระบุว่า ถ้าหากว่าผู้ส่งชื่อเหบ่านี้ จากแหล่งไหนสักที่และไม่ได้แจ้งว่า ทางระบบ operator จะเป็นขื่อเป็น likely-scam แทน ซึ่งก็ช่วยเยอะพอควรที่ SMS หบอกลวงจะเข้ามาปนกับ SMS จริงได้ครับ
หลองลวง => หลอกลวง
พี่ไทยว่าไง
พี่ไทยไม่ต้องทำเยอะหรอก เอาแค่บล็อค sms จากประเทศเพื่อนบ้านก็ช้วยได้เยอะ มีบริการบล็อคเบอร์โทรเข้าจากประเทศเพื่อนบ้านด้วยก็ยิ่งดี
บล็อคจากต่างประเทศน่าจะเกินขนานครับ จะสมัครบริการต่างๆ (หลายครั้งเป็นบริการของไทยเองด้วย) เยอะมาก จะกำหนดเฉพาะประเทศเพื่อนบ้านนี่แทบเป็นไปไม่ได้ เขาตั้งเซิร์ฟเวอร์อยู่ประเทศไหนก็ใช้ SMS Gateway ประเทศอื่นๆ ได้หมด
lewcpe.com , @wasonliw
เรื้องนี้แค่จับ บัญชีม้าติดคุก 10 ปี ลงข่าวสัก สองอาทิตยพวกรับจ้างเปิดถ้ารู้แบบนี้ ผมว่ามันรีบปิดยัญชีเลย
ติดคุกใช้จริงไม่ได้แล้วครับ คุกล้นอยู่ ถึงขนาด ลดโทษนักโทษแล้ว ลดโทษนักโทษอีก จำคุกตลอดชีวิตน่าจะแทบไม่มีอยู่จริงแล้ว จนพวกที่เป็นนักโทษฆ่าคนตายโดยเจตนาได้ออกมาไวและมีโอกาสออกมาฆ่าคนเพิ่มได้อีกน่ะครับ ส่วนค่าปรับก็ใช้ไม่ได้เพราะม้าปกติไม่มีเงินจ่ายอยู่แล้วเพราะไม่มีเงิน ไม่งั้นเขาคงไม่มาเสี่ยงมาเปิดบัญชีม้าหรอกครับ
มีอยู่ทางเดียวคือต้องลดจำนวนนักโทษต้องจำคุกลง คือให้โทษของบัญชีม้าคือประหารชีวิตเลยซึ่งมันรุนแรงมากและทำจริงอยากแต่ก็ไม่มีทางเลือกแล้ว
ที่กสทช.โม้ไว้ว่าจะให้แจ้งความจำนงค์กับค่ายมือถือเพื่อบล็อคเบอร์โทรจากต่างประเทศ เพื่อลดปัญหาแกงค์call center ก็เป็นมาตรการไร้ผลนะครับ เพราะแกงค์ccแทบทั้งหมดใช้ VOIP โทรมา ดังนั้นถึงไปบล็อคการโทรเข้าจากต่างประเทศแล้วก็ยังมีสายเข้าอยู่ดีครับ