AIS สะกดรอยกลุ่มคนจีนใช้ เสาสัญญาณโทรศัพท์ปลอม (false base station) ปล่อยคลื่นโทรศัพท์มือถือ ทีมวิศวกรของ AIS ตามคลื่นได้จนถึงลานจอดรถของอพาร์ทเม้นท์แห่งหนึ่งในซอยนวลจันทร์ 60 ตำรวจไซเบอร์เข้าจับกุมได้สำเร็จ
ผู้ต้องหามีสองราย คือ Mr. Li อายุ 49 ปี และ Mr. Zhu อายุ 47 ปี ตัวเครื่องติดตั้งอยู่ท้ายรถ โดยปล่อยสัญญาณเสาโทรศัพท์มือถือและส่ง SMS เข้าเครื่องของเหยื่อพร้อมกับใช้ชื่อผู้ส่งเป็น AIS เอง
สภาสิงคโปร์ผ่านกฎหมาย Protection from Scams Bill ต่อสู้กับแก๊งคอลเซ็นเตอร์ โดยกฎหมายนี้มีความพิเศษที่เป็นการล็อก "บัญชีเหยื่อ" เพื่อต่อสู้กับกรณีที่เหยื่อหลงเชื่อคนร้ายไปแล้ว และพยายามจะโอนเงินให้คนร้าย
บริษัท โกโกลุก ประเทศไทย จำกัด เจ้าของแอพ Whoscall เปิดตัวบริการ Whoscall Verified Business Number (VBN)ให้ภาคธุรกิจมายืนยันตัวตนว่าเป็นเบอร์โทรศัพท์ของแท้ขององค์กร ไม่ใช่เบอร์หลอกลวง
นายแมนวู จู ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท โกโกลุก ประเทศไทย บอกว่าผู้ใช้โทรศัพท์กว่า 60% ไม่รับสายเบอร์แปลก ทำให้ธุรกิจพลาดโอกาสในการติดต่อกับลูกค้า แต่ถ้าเบอร์นั้นยืนยันตัวตนผ่านบริการ Verified Business Number จะแสดงชื่อธุรกิจ โลโก้ วัตถุประสงค์ของการโทร และเครื่องหมายว่าตรวจสอบแล้วเพื่อให้ลูกค้ามั่นใจ
O2 ค่ายโทรศัพท์มือถือในสหราชอาณาจักร เปิดตัวแชตบอต Daisy สร้างขึ้นมาเพื่อคุยกับแก๊งคอลเซ็นเตอร์โดยเฉพาะ Granny เป็นปัญญาประดิษฐ์ที่ถูกฝึกให้พูดเหมือนมนุษย์เต็มรูปแบบ ทำท่าทีว่าเป็นเหยื่อชั้นดีของแก๊งคอลเซ็นเตอร์เพื่อดึงให้คนร้ายเสียเวลาให้มากที่สุดเท่าที่เป็นไปได้
ที่ผ่านมา O2 พยายามแก้ปัญหาทางอื่นๆ ทั้งการบล็อคหมายเลขของแก๊งคอลเซ็นเตอร์นับล้านเลขหมายต่อเดือน รวมถึงการรับแจ้งหมายเลขแก๊งคอลเซ็นเตอร์จากลูกค้าและการช่วยธนาคารบล็อครายการโอน
ภายในของ Daisy เป็นปัญญาประดิษฐ์แปลงเสียงเป็นข้อความ, LLM เรียกว่า personality layer, และแปลงข้อความเป็นเสียงอีกครั้ง
กูเกิลเริ่มปล่อยฟีเจอร์ Scam Detection ตรวจสอบแก๊งคอลเซ็นเตอร์ระหว่างโทร และขึ้นแจ้งเตือนหากพบว่าพูดคุยกันในรูปบบที่น่าจะกำลังโดนหลอกอยู่
ระบบนี้ทำงานบนโทรศัพท์โดยตรงทั้งหมด ปัญญาประดิษฐ์บนเครื่องสามารถฟังและเข้าใจข้อความ เช่น ผู้โทรมาอ้างตัวว่าเป็นเจ้าหน้าที่ธนาคารแล้วพยายามหลอกเหยื่อให้รีบโอนเงิน เมื่อปัญญาประดิษฐ์ตรวจพบบทสนทนาที่เข้าข่ายจะส่งเสียงและสั่นพร้อมกับขึ้นหน้าจอแจ้งเตือน
Scam Detection ปิดไว้เป็นค่าเริ่มต้นและผู้ใช้ต้องเปิดใช้งานเอง กระบวนการแปลงข้อความจะไม่เซฟไว้ในเครื่องหรือส่งออกไปวิเคราะห์ที่อื่นอีก
ตอนนี้เปิดให้ใช้สำหรับผู้ใช้ Pixel 6 ขึ้นไปในสหรัฐฯ ที่เป็นกลุ่มทดสอบ public beta เท่านั้น
เว็บข่าวความปลอดภัย Krebs on Security มีบทความในประเด็นเรื่องแพลตฟอร์มจองโรงแรมอย่าง Booking.com เจอปัญหา phishing ส่งข้อความในระบบของ Booking.com เองมาหลอกลวงผู้ใช้ให้กรอกข้อมูลส่วนตัว
ปัญหานี้ไม่ใช่เรื่องใหม่ของวงการจองโรงแรมออนไลน์ และมีรายงานใน social network ของไทยเองมานานพอสมควรแล้ว รูปแบบคือผู้จองโรงแรมจะได้รับข้อความจากผู้จัดการโรงแรมผ่านข้อความในระบบ มักบอกว่าการจ่ายเงินมีความผิดพลาด หรือต้องยืนยันตัวตนเพิ่มเติม พร้อมส่งลิงก์ URL เว็บปลอม phishing ที่หน้าตาเลียนแบบ Booking.com ของจริง เพื่อหลอกให้ผู้จองโรงแรมเข้าไปกรอกข้อมูลการเงินต่อไป
Gogolook บริษัท TrustTech ผู้พัฒนาแอปพลิเคชัน Whoscall ประกาศตั้งสำนักงานใหญ่แห่งที่ 2 ในไทย เพื่อขยายธุรกิจทั่วภูมิภาค (Dual HQ)
Gogolook มีสำนักงานใหญ่แห่งแรกอยู่ในไต้หวัน ซึ่งงานหลักจะเน้นไปที่การดูแลผลิตภัณฑ์และเทคโนโลยีของบริษัท ส่วนสำนักงานใหญ่ในประเทศไทย จะมุ่งเน้นไปที่การพัฒนาธุรกิจและการทำการตลาดเป็นหลัก โดยในอนาคตมีแผนขยายทีมผลิตภัณฑ์และเทคโนโลยีในไทยด้วย
กูเกิลประกาศเพิ่มฟีเจอร์ให้กับแอพส่งข้อความ Google Messages ให้ป้องกันข้อความหลอกลวง (scam) ดีขึ้นกว่าเดิม
Gogolook ผู้พัฒนาแอปพลิเคชัน Whoscall เปิดรายงานสถานการณ์การหลอกลวงจากมิจฉาชีพในประเทศไทย (State of Scams in Thailand) ประจำปี 2567 ร่วมกับองค์กรต่อต้านกลโกงระดับโลก Global Anti-Scam Alliance (GASA) และ ScamAdviser
จุดมุ่งหมายของรายงานนี้คือการเผยถึงรูปแบบการหลอกลวงที่เปลี่ยนแปลงและส่งผลกระทบต่อคนไทย ผ่านการสำรวจความคิดเห็นของคนไทยกว่า 9,360 คนจากหลากหลายกลุ่มประชากรตลอด 1 ปีที่ผ่านมา
ข้อมูลที่น่าสนใจจากรายงาน เช่น กว่า 1 ใน 4 หรือ 28% ของผู้ตอบแบบสอบถามตกเป็นเหยื่อมิจฉาชีพในช่วง 12 เดือนที่ผ่านมา และ 58% รับมือกับมิจฉาชีพบ่อยขึ้นเมื่อเทียบกับปี 2566 โดย 89% ต้องรับมือกับมิจฉาชีพอย่างน้อยเดือนละครั้ง
Bloomberg รายงานว่าการหลอกลวงแบบ scam ที่ใช้ซอฟต์แวร์จำพวก deepfake ปลอมหน้าหรือเสียงของผู้บริหารยังระบาดรุนแรงขึ้นเรื่อยๆ โดยบริษัทขนาดใหญ่รายล่าสุดที่โดนโจมตีลักษณะนี้คือ Ferrari
ในเดือนที่ผ่านมา ผู้บริหารระดับสูงของ Ferrari หลายคนได้รับข้อความทาง WhatsApp ที่แสดงตัวว่ามาจากซีอีโอ Benedetto Vigna พูดถึงดีลการซื้อกิจการใหม่ที่ยังเป็นความลับ ขอให้ผู้บริหารช่วยเซ็นสัญญาไม่เปิดเผยข้อมูล (NDA) และเข้ามาช่วยงานซีอีโอในดีลลับนี้
กรรมการคุ้มครองผู้บริโภคออสเตรเลีย (Australian Competition and Consumer Commission - ACCC) เตรียมเสนอร่างกฎหมายเพื่อเอาผิดแพลตฟอร์มที่ปล่อยให้แสกมเมอร์ใช้แพลตฟอร์มเป็นช่องทางหลอกลวงประชาชน
ออสเตรเลียมีกฎหมายแบบนี้อยู่ก่อนแล้ว แต่บังคับกับผู้ให้บริการโทรคมนาคมเช่นเครือข่ายโทรศัพท์เท่านั้น แต่คนร้ายมักอาศัยช่องทางแพลตฟอร์มออนไลน์เข้าหลอกลวงประชาชนหนักขึ้นมาก
ตอนนี้ร่างกฎหมายยังไม่ออกมาว่าจะบังคับให้แพลตฟอร์มทำอะไรบ้าง แต่โทษหากแพลตฟอร์มไม่ทำตามจะเป็นโทษปรับ 50 ล้านดอลลาร์ออสเตรเลีย, 3 เท่าของรายได้ที่เกิดจากการทำผิด, หรือ 30% ของรายได้ในช่วงเวลาที่ทำผิด โดยทาง ACCC หวังว่าจะออกกฎหมายให้ทันสิ้นปีนี้
ศูนย์ต่อต้านสแกมออสเตรเลียออกประกาศเตือนประชาชนว่าแก๊งคอลเซ็นเตอร์ที่มุ่งหลอกลวงเหยื่อที่ถูกหลอกลวงมาก่อนว่าสามารถตามเงินได้ (money recovery scam) กำลังอาละวาดอย่างหนัก จำนวนคดีในช่วง 6 เดือนที่ผ่านมาเพิ่มขึ้นถึง 129%
แก๊งเหล่านี้มุ่งเป้าไปยังเหยื่อแก๊งหลอกลวงอื่นๆ โดยปลอมตัวเป็นหน่วยงานรัฐ, ทนาย, หรือบางครั้งก็ปลอมเป็นมูลนิธิช่วยเหลือคน พร้อมกับอวดอ้างว่าสามารถตามเงินคืนให้เหยื่อได้ โดยแก๊งเหล่านี้มักโฆษณาตามช่องทางออนไลน์
รัฐบาลสิงคโปร์ประกาศความสำเร็จในการสั่งหน่วยงานกว่าร้อยหน่วยงานที่ต้องส่งข้อความหาประชาชน โดย SMS ทั้งหมดจะส่งผ่านระบบกลางด้วยชื่อผู้ส่ง "gov.sg" เท่านั้น เพื่อลดความเสี่ยงที่ประชาชนจะถูกหลอกจากคนร้ายปลอมตัวเป็นเจ้าหน้าที่รัฐ
เนื่องจากหน่วยงานทั้งหมดต้องส่ง SMS ภายใต้ชื่อเดียวกันหมด ข้อความที่ส่งออกไปจะมีชื่อหน่วยงานที่ส่งข้อมูลอยู่ในข้อความเอง
ศูนย์ต่อต้านการล่อลวงออนไลน์ (Anti-Scam Center - ASC) ของสิงคโปร์ รายงานถึงการติดตามเงินของเหยื่อหญิงวัย 70 ปี แม้คนร้ายจะได้เงินและโอนออกนอกประเทศได้ แต่สุดท้ายตำรวจร่วมกับธนาคารสามารถตามเงินกลับมาได้
กรณีนี้คนร้ายหลอกด้วยโฆษณาที่ปลอมตัวเป็นไมโครซอฟท์ แสดงโฆษณาบนเครื่องคอมพิวเตอร์ว่าคอมพิวเตอร์ถูกแฮกให้รีบติดต่อไปยังศูนย์ซัพพอร์ต เหยื่อตกหลุมพรางเชื่อโฆษณาปลอมและโทรติดต่อไป จากนั้นคนร้ายขอรีเซ็ตรหัสผ่านธนาคารแล้วเหยื่อก็แจ้ง OTP จากโทเค็นให้คนร้าย
คนร้ายใช้เวลาหลายชั่วโมงจึงสั่งเพิ่มวงเงินโอนเงินต่างประเทศ และโอนเงิน 170,000 ดอลลาร์สิงคโปร์ออกไปยังสหรัฐฯ อาหรับเอมิเรตส์ เมื่อเหยื่อรู้ตัวจึงรีบแจ้งตำรวจ และ ASC ก็ทำงานร่วมกับธนาคาร DBS ตามเงินกลับมาได้เต็มจำนวน
กูเกิลโชว์ Gemini Nano โมเดลปัญญาประดิษฐ์สำหรับโทรศัพท์รุ่นใหม่รองรับอินพุตหลายรูปแบบทั้งภาพ, เสียง, และข้อความ พร้อมกับความสามารถของแอป Gemini ที่ผูกเข้ากับระบบของแอนดรอยด์เต็มตัว
Gemini Nano อ่านภาพได้ ทำให้สามารถบรรยายภาพได้โดยไม่ต้องมีข้อมูลล่วงหน้า กูเกิลใส่ความสามารถนี้ในฟีเจอร์ TalkBack ที่ช่วยผู้มองเห็นได้จำกัด ทำให้สามารถบรรยายภาพได้อย่างละเอียด นอกจากนี้ยังสามารถฟังเสียงได้ ทำให้สามารถฟังเสียงการสนทนาตลอดเวลาและแจ้งเตือนทันทีเมื่อพบว่าบทสนนนาน่าจะเป็นการหลอกลวง ฟีเจอร์นี้จะเป็นแบบ opt-in ต้องเปิดใช้งานเอง และจะเปิดให้ใช้ภายในปีนี้ (ไม่ระบุประเทศที่รองรับ)
สิงคโปร์เป็น อีกประเทศที่เจอปัญหา scam หลอกลวงเงิน แบบเดียวกับประเทศไทย ที่ผ่านมา รัฐบาลสิงคโปร์มีมาตรการหลายอย่างเพื่อป้องกันปัญหา เช่น ระบบล็อคเงินห้ามถอนออนไลน์ , ความร่วมมือกับกูเกิลบล็อคแอพใน Play Store , ทำฐานข้อมูลชื่อผู้ส่ง SMS ทั้งประเทศ
ข้อมูลจาก SteamDB พบนักพัฒนาเกมอินดี้ต้มตุ๋นปลอมเกมจำนวน 2 เกมที่วางขายอยู่แล้วใน Steam ให้กลายเป็น Helldivers 2 เพื่อหลอกขายผู้เล่นในราคา 12.49 ดอลลาร์ และ 19.99 ดอลลาร์
ประวัติที่บันทึกไว้ของ SteamDB แสดงให้เห็นว่าทั้ง 2 เกมได้รับการแก้ไขเมื่อเวลา 11.50น. โดยเปลี่ยนแปลงชื่อเกม, คำอธิบาย, ภาพประกอบ แม้แต่ข้อมูลผู้จัดจำหน่ายเกม และชื่อทีมพัฒนาก็ถูกเปลี่ยนให้ตรงกับของเกม Helldivers 2 ตัวจริง
Alvin Tan รัฐมนตรีกระทรวงพาณิชย์และอุตสาหกรรมสิงคโปร์ให้ข่าวว่าตัวเลขประชาชนที่ใช้ฟีเจอร์ล็อกเงินไม่ให้ถอนผ่านบริการออนไลน์ตอนนี้มีเกิน 61,000 บัญชี รวมมูลค่าเงินถึง 5.4 พันล้านดอลลาร์สิงคโปร์ หรือกว่า 140,000 ล้านบาท หลังจาก ธนาคารหลักๆ ในสิงคโปร์เปิดบริการนี้เมื่อปลายปีที่ผ่านมา
ตำรวจสิงคโปร์ออกรายงานสรุปภาพรวมคดีหลอกลวง โดยปีนี้เป็นปีแรกที่แอปดูดเงิน (malware scam) ถูกรวมเข้าไว้ในรายงานนี้ โดยรวมมีคดี 1,899 คดี คิดเป็นความเสียหาย 34.1 ล้านดอลลาร์สิงคโปร์ หรือประมาณ 910 ล้านบาท
ความเสียหายและจำนวนคดีของแอปดูดเงินนับว่าน้อยเมื่อเทียบกับการหลอกลวงอื่นๆ หากนับตามมูลค่าความเสียหายแล้ว 5 อันดับแรกได้แก่ 1) หลอกลวงลงทุน 204.5 ล้านดอลลาร์สิงคโปร์ 2) หลอกลวงว่าได้จ้างงาน 135.7 ล้านดอลลาร์สิงคโปร์ 3) หลอกลวงว่าเป็นเจ้าหน้าที่รัฐ 92.5 ล้านดอลลาร์สิงคโปร์ 4) หลอกให้รัก 39.8 ล้านดอลลาร์สิงคโปร์
ปัญหาแอปดูดเงินหรือการฉ้อโกงออนไลน์ต่างๆ มีจุดร่วมเหมือนกันคือต้องอาศัยบัญชีม้าเพื่อนำเงินออกไปยังตัวคนร้ายตัวจริงโดยปกปิดตัวตนของคนร้าย สิงคโปร์เองรายงานถึงการดำเนินคดีกับผู้ที่ไปรับเปิดบัญชีม้าต่อเนื่อง อย่างไรก็ตามจำนวนผู้ต้องหาในคดีเหล่านี้กลับเพิ่มขึ้นต่อเนื่องจนปีนี้
ปี 2019 มียอดผู้ถูกสอบสวนฐานเปิดบัญชีม้าเพียงประมาณ 1,000 ราย ก่อนจะเพิ่มเป็น 4,800 รายในปี 2020, 7,500 รายในปี 2021, 7,800 รายในปี 2022 ส่วนปี 2023 เฉพาะครึ่งปีแรกมียอดแล้ว 4,700 ราย แต่ในช่วงปี 2020-2022 นั้นมีผู้ถูกดำเนินคดีจริงๆ เพียง 236 รายเท่านั้น เพราะตำรวจไม่สามารถพิสูจน์ได้ว่าผู้เปิดบัญชีม้านั้นตั้งใจเปิดเพื่อให้คนร้ายใช้งานจริงๆ
CloudSEK บริษัทความปลอดภัยไซเบอร์รายงานถึงแก๊งหลอกลวงเงินในอินเดียที่กำลังระบาดขึ้น โดยอาศัยระบบโอนเงินทันที UPI แบบเดียวกับ PromptPay ในไทยเป็นโครงสร้างสำคัญ
แก๊งนี้อาศัยการหลอกโฆษณาแอปปล่อยกู้ โดยหลอกเหยื่อว่าต้องจ่ายค่าธรรมเนียมก่อนจึงจะได้เงินกู้ และเมื่อได้เงินแล้วก็มักหายตัวไป โดยช่วงเวลาเพียงไม่กี่เดือนในไตรมาสสามปีนี้มีผู้เสียหายแล้วถึง 40,000 ราย มูลค่าความเสียหายอย่างน้อย 1.6 ล้านบาท
กลยุทธ์ของกลุ่มคนร้ายนี้คล้ายกับคนร้ายในไทยที่พยายามซ่อนเงินผ่านทางเครือข่ายบัญชีม้าหลายชั้น และกลุ่มใหญ่อาศัยบริการ payment gateway ของจีนที่เปิดทางให้สามารถรับเงินได้ผ่านทางหมายเลขโทรศัพท์โดยไม่มีกระบวนการป้องกันการฟอกเงินที่ดีพอ
- Read more about ระบบโอนเงินทันทีของอินเดียกลายเป็นช่องทางหลอกลวงเงิน
- 9 comments
- Log in or register to post comments
กองบัญชาการตำรวจสืบสวนสอบสวนอาชญากรรมทางเทคโนโลยี (บช.สอท.) ร่วมกับ กสทช. และ AIS แถลงข่าวการจับแก๊งคอลเซ็นเตอร์ในกรุงเทพ ที่แอบติดตั้งกล่อง Sim Box ที่หนึ่งกล่องบรรจุซิมการ์ดจำนวนมาก ตามบริเวณอาคารสำนักงานต่างๆ เพื่อใช้เป็นจุดโทรไปหลอกลวงประชาชน
กล่อง Sim Box หรือ GSM Gateways ที่จับกุมได้รองรับการใส่ซิมการ์ด 32 ซิมต่อกล่อง กระจายตัวอยู่ 5 จุดทั่วกรุงเทพ รวมแล้ว 10 กล่อง วิธีการใช้งานคือคนร้ายจะโทรผ่านอินเทอร์เน็ต ส่งทราฟฟิกมายัง Sim Box เพื่อให้ฝั่งผู้รับเห็นเป็นเบอร์โทรศัพท์ปกติ (ไม่ใช่หมายเลข IP Phone ที่มี prefix นำหน้า ซึ่งคนเริ่มเรียนรู้และไม่กล้ารับสายแล้ว)
ตำรวจฮ่องกงแถลงข่าวจับกุมเหตุฉ้อโกงครั้งล่าสุด 43 ราย จาก 32 คดี โดยระบุว่าสองในสามของผู้ถูกจับกุมครั้งนี้เป็นผู้เปิดบัญชีม้าให้คนร้ายอาศัยเป็นช่องทางฟอกเงิน พร้อมกับเตือนประชาชนว่าอย่าให้เช่าหรือยืมบัญชีไปก่ออาชญากรรมเช่นนี้ ไม่เช่นนั้นจะถูกดำเนินคดีฐานฟอกเงินที่โทษสูงสุดจำคุกถึง 14 ปี
ความพิเศษของตำรวจฮ่องกงคงเป็นการเปิดบริการค้นหา Scameter ระบบค้นหาข้อมูลว่าเกี่ยวข้องกับการฉ้อโกงหรือไม่ โดยสามารถค้นได้ทั้ง URL เว็บ, อีเมล, หมายเลขโทรศัพท์, ชื่อบัญชีออนไลน์ต่างๆ, หมายเลขบัญชีธนาคาร, รวมถึงหมายเลขไอพี
ตำรวจสิงคโปร์รายงานถึงเหยื่อแอปดูดเงินว่ายังอยู่ในระดับสูง โดยครึ่งปีแรกมีคดีรวมกว่า 700 คดี มูลค่าความเสียหายรวมประมาณ 8 ล้านดอลลาร์สิงคโปร์ หรือประมาณ 210 ล้านบาท แม้ว่าจะมีการปรับปรุงกระบวนการล็อกบัญชีปลายทางเพื่อลดความเสียหาย แต่ก็ตามเงินคืนมาได้เพียง 94,000 ดอลลาร์สิงคโปร์เท่านั้น
แนวทางของรัฐบาลสิงคโปร์ในช่วงหลังคือการลงโทษคนรับจ้างเปิดบัญชีม้าค่อนข้างหนัก ผู้ที่รับจ้างเปิดบัญชีม้าจะถูกดำเนินคดีทั้งอาชญากรรมคอมพิวเตอร์และกฎหมายฟอกเงิน โดยคดีรอบล่าสุดมีผู้ถูกจับกุม 6 ราย หนึ่งในนั้นเป็นผู้ต้องหาอายุเพียง 16 ปี
ก่อนหน้านี้ Gmail ได้ออกเครื่องหมายถูกสีฟ้าหลังชื่อผู้ส่งอีเมล เพื่อใช้ในการยืนยันองค์กร ซึ่งเครื่องหมายถูกเป็นสิ่งที่ทำเพื่อใช้ในการตรวจสอบตัวตนออนไลน์เบื้องต้นได้ทันทีที่เห็น ล่าสุด Chris Plummer วิศวกรด้านความมั่นคงทางไซเบอร์สังเกตว่า มิจฉาชีพเจอวิธีใช้ประโยชน์จากเครื่องหมายของถูก Google เพื่อหลอกลวงผู้อื่นให้เชื่อว่าเป็นข้อความมาจากบริษัทที่น่าเชื่อถือ
Plummer แสดงหน้าจอที่คนร้ายปลอมตัวเป็นบริษัท UPS โดยอาศัยการยืนยันตัวตนจาก sub-domain ของ UPS ที่ชื่อว่า kelerymjrlnra.ups.com อีกทีหนึ่ง ไม่แน่ชัดว่าคนร้ายสามารถยึดโดเมนนี้อย่างไร แต่ผลสุดท้ายคือคนร้ายสามารถส่งอีเมลโดยได้รับเครื่องหมายสีน้ำเงินจากกูเกิลได้