แอปเปิลออกคำแถลงหลังจาก กรรมาธิการยุโรป (European Commission - EC) ออกคำสั่งปรับแอปเปิลเป็นเงิน 1,800 ล้านยูโร ในประเด็นกีดกันการแข่งขันตลาดแอปฟังเพลงสตรีมมิ่งบน App Store ตามที่ Spotify ร้องเรียน โดยแอปเปิลบอกว่าคำตัดสินนี้ คนที่ได้ประโยชน์สูงสุดก็คือ Spotify บริษัทที่มีสำนักงานใหญ่ในสวีเดน บริษัทเพลงสตรีมมิ่งที่ใหญ่ที่สุดในโลก และเป็นบริษัทที่เข้าพบคณะกรรมาธิการยุโรปถึง 65 ครั้ง ระหว่างการสอบสวน
แอปเปิลบอกว่าในยุโรป Spotify มีส่วนแบ่งตลาด 56% และมากกว่าคู่แข่งเบอร์สองเกือบสองเท่า บริษัทไม่เคยจ่ายค่าตอบแทนให้กับแอปเปิล แม้บริการและเครื่องมือของแอปเปิลจะมีส่วนต่อความสำเร็จ ที่ Spotify ใช้เข้าถึงผู้ใช้งานทั่วโลก
แอปเปิลยังเปิดตัวเลขที่ Spotify ใช้งานบนแพลตฟอร์มของแอปเปิล โดยที่บริษัทไม่ต้องจ่ายค่าตอบแทนให้แอปเปิลเลย เช่น การเข้าถึง API, เครื่องมือเชื่อมต่อกับอุปกรณ์อื่น, TestFlight มากกว่า 500 เวอร์ชัน, กระบวนการอนุมัติแอป 421 เวอร์ชัน ฯลฯ
แอปเปิลบอกว่าตั้งแต่ปี 2022 App Store ได้เพิ่มเงื่อนไข ใช้งานแอปกลุ่ม Reader ให้แทรกลิงก์ไปจ่ายที่เว็บตนเองได้ ซึ่ง Spotify ก็สามารถทำแบบนี้ได้ แต่เลือกไม่ทำเพราะ Spotify ต้องการแก้ไขกฎให้มากกว่านั้น แทรกราคาสมาชิกในแอป ไม่ใช้ระบบจ่ายเงินของ App Store แม้จะใช้เทคโนโลยีแอปเปิลทั้งหมด แอปเปิลจึงสรุปว่า Spotify ไม่รู้จักพอ Spotify ต้องการมากกว่านั้น
แอปเปิลบอกว่าคณะกรรมาธิการยุโรปไม่มีหลักฐานที่เพียงพอ ที่แสดงว่าสิ่งที่เกิดขึ้นเป็นอันตรายกับผู้บริโภค ในเมื่อผู้บริโภคมีทางเลือกในตลาดที่เติบโตตลอด และ Spotify ก็ยังเป็นผู้นำตลาด รวมทั้งไม่มีหลักฐานว่าแอปเปิลขัดขวางการแข่งขันอย่างไร จึงเตรียมอุทธรณ์กับ EC ต่อไป
ที่มา: แอปเปิล
Comments
ถ้า iOS ใช้ spotify youtube googlemap netflix ไม่ได้ ผมก็ไม่ใช้
ถ้าไม่มี app พวกนี้ใน iOS คนหนีไปใช้ android หมดแล้ว
นอกเรื่องนะครับ
เวลาเจอคำว่า แทรก ตอนนี้สมองต้องหยุดคิดแล้วว่ามันออกเสียงอ่านว่าอะไร
สาเหตมาจากคำว่า track(แทรค) เพราะ แทรค/แทรก เป็นคำที่เขียนคล้ายกันและใช้ตัวสะกดแม่กกเหมือนกัน แต่อ่านออกเสียงไม่เหมือนกัน
ภาษาไทยก็แบบนี้แหละครับ ☕
ผมว่าถ้าใส่เป็น แทร็ก จะอ่านง่ายขึ้นเยอะเลยครับ
ผมอ่านว่า แซก ครับ
😂😅
เออแหะ มันจะมีเอ๊ะในหัวอยู่พักนึง
แหะ --> แฮะอันนี้เสียงผิดตรงๆเลย
Spotify นี่คิดแพงของจริง คุณภาพไฟล์ที่เอามาสตรีมต่ำมาก คงเป็น Flac บิทเรทต่ำๆ เสียงบาง ไม่มีย่านกลางต่ำเลย
เอ๊ะ FLAC-Free Lossless Audio Codec มัน Lossless เปล่าครับ
Flac ยังไงก็คือบีบแล้วครับ ไฟล์เล็กลง เปิดเทียบกับ Wave หรือ Aiff ที่ริปจากแผ่นแท้ ยังไงก็ Drop
Flac คือ Lossless compression ตัวข้อมูลมันไม่ได้ drop นิ แค่ใช้ CPU เพิ่มเพื่อทำ un-compression แล้วไปประมวลผลเปลืองพลังงานขึ้น แต่ได้พื้นที่เก็บเพิ่มขึ้น
ถ้าบอกว่า drop มีแหล่งข้อมูลอ้างอิง?
ถ้าตามทฤษฎีแล้ว Flac คือ Compression Lossless ครับ อารมณ์เดียวกับ zip นั่นแหละ เพราะงั้นคุณภาพเสียงไม่ได้ลดลงครับ
ส่วนเรื่องส่งผลกับเสียง... เวลาเล่นเพลงมันก็คือ unzip แบบเรียลไทม์ เพราะงั้นในทางทฤษฎีอุปกรณ์ที่ออกแบบมาไม่ดีมันก็อาจจะสร้าง heat สร้าง noise จนส่งผลกับเสียงได้แหละ
ลองไปปิดnormalizationรึยังตรงนี้สำคัญกับคุณภาพของไดนามิกเสียงมาก ไฟล์เสียงไม่ได้แย่เลยนะเทียบกับไฟล์flacปกติอันอื่นๆผมว่าไม่ได้ต่าง แล้วไฟล์แต่ละเจ้าคือมาจากเจ้าของถ้าต้นฉบับจูนเสียงมาไม่ดีหรือดนตรีไม่ถึงลงspotifyมันก็มาทั้งยังงั้น ไม่ใช่ว่าไฟล์ดีแล้วอยู่ดีๆจะมีคนมาตีbassเพิ่มให้หรือมีนักร้องเพิ่มมาอีกคนนะ
Appleเองก็ไม่รู้จักพอเหมือนกัน คำอ้างเรื่องการเข้าถึงเครื่องมือต่างๆที่จริงสามารถออกเป็นแพคเกจค่าใช้เครื่องมือไปเลยก็ได้ เช่นสำหรับ บ.ใหญ่เข้าถึงเครื่องมือเยอะก็จ่ายค่ารายปีแพงขึ้นเป็นปีละแสนก็ยังได้ไม่ทำแต่จะเลือกวิธีกินค่าfee30%ยอดขายมูลค่าพันล้าน
ถามหน่อยว่าแบบนี้จะมี app จากบริษัทเล็กๆเกิดได้ไหมถ้าทำแบบนั้น
ผู้พัฒนาและ App ต่างๆก็จะหนีไปที่อื่น และสุดท้ายผลเสียก็จะตกอยู่ที่ Apple เองครับ
หลายคนมักมองว่า Apple เป็นผู้มีบุญคุณผู้เสียสละ คนอื่นมาอาศัยแล้วยังจะเรียกร้องอะไรแบบนี้ แต่จริงๆแล้วเป็นทั้งสองฝ่ายที่พึ่งพาอาศัยและได้ประโยชน์ซึ่งกันและกันครับ
เห็นด้วยนะอันนี้ อย่างน้อยก็มีราคาเป็น tier ตามยอดอะไรก็ว่าไป
ถ้ามันดูสมเหตุผลเดี๋ยวทาง dev เค้าก็ ok เองมั้ง
กำลังคิดว่า หรือว่าเป็นแบบ pay per use เหมือนพวก cloud น่าจะ ok มั๊ยนะ ถึงมันคิดตาม tier แต่มันก็คิดตาม usage ด้วย
ป.ล ไม่เกี่ยวกับข่าวเท่าไร
ซื้อ ebook บน mep ราคาบน เอเปิล แพงสุด
เห็นด้วยครับ ถ้า Apple เก็บเงินให้ตรงกับบริการที่ใช้ตั้งแต่แรก ผมว่ามันก็ไม่มีปัญหาหรอก
แต่กลับเลือกเก็บค่าบริการส่วนอื่นน้อยแล้วไปถัวเฉลี่ยเอากับส่วนแบ่ง 30% ของบริการ IAP เอง
ซึ่งพอเก็บไม่ตรง มันก็มีโอกาสที่เงินที่จ่ายไปมันไม่สมดุลกับบริการที่ได้รับ และนั่นก็เป็นต้นเหตุของความไม่พอใจ (บวกกับการไม่มีทางเลือก ทำให้เกิดเป็นการฟ้องร้องต่อ) แต่ถามว่า Apple ทำอะไรไหมก็ไม่
แต่พอในทางตรงกันข้าม พอเป็นฝั่ง Apple ที่รายได้ไม่สมดุลกับบริการที่ให้ กลับทวงบุญคุณซะงั้น ทั้งที่ตัวเองเป็นคนตั้งโมเดลเก็บเงินไม่ตรงบริการเอง
ก็ลดค่า fee สิครับ จะได้ได้ประโยชน์ทุกคนแล้วจะได้ไม่มีใครไม่พอใจไปฟ้องไง
ข้อเสียของบริษัทขนาดใหญ่คือ มันมี plan ลงทุนล่วงหน้าระยะยาว ทำให้รายรับเหล่านี้มันลงเป็นรายจ่ายรอไว้แล้ว การเปลี่ยนแปลงอะไรมันก็เลยทำให้ทำได้ลำบากหรือต้องใช้ระยะเวลา ซึ่งบางบริษัทจึงตัดปัญหาโดยการปล่อยฟ้องไป แล้วค่อยไปยอมความในชั้นศาลเอา เพราะในระหว่างรอมันก็ยังมีรายรับเข้ามาตามแผน ถ้าการเงินเก่งๆ ดีไม่ดีอาจวางาแผนถึงขนาดว่าดึงเวลานานแค่ไหน ถึงจะมีรายรับครอบคลุมค่าใช้จ่ายในการถูกฟ้อง แล้วพอต้องเคลียร์ปรกติผู้ฟ้องก็จะเริ่มรำคาญ หรือคิดว่ามันเสียเวลา ก็จะเริ่มยอมผ่อนปรนในบางกรณี ทำให้ต่อรองได้ พอเคลียร์ปุ๊บ + ค่าทนายอาจยังพอมีกำไรเหลือ ยกเว้นโดนศาลสั่งปรับเป็นเงินเหนือความคาดหมายก็อาจต้องนำเงินสดสะสมมาชำระ มันทำให้อาชีพทนายรวยโดยเฉพาะในประเทศอเมริกา
ชาวยุโรปนี่แสบจริงๆ ปรับทีหวังรวยกันเลย แค่ห้ามโฆษณา แอปเปิ้ลเสร็จแน่งานนี้