Tags:
Topics: 
Node Thumbnail

บริการ Google Public DNS ประกาศเพิ่มมาตรการป้องกัน DNS Cache Poisoning ที่คนร้ายสร้าง DNS Reply โดยปลอมไอพีเป็น authoritive server มาตอบไอพีแทนเซิร์ฟเวอร์จริง หากสามารถยิง reply เข้าไปถึงกูเกิลก่อนที่ข้อความจากเซิร์ฟเวอร์จริงไปถึง ก็จะกลายเป็นว่าผู้ใช้จำนวนมากถูกส่งไปยังเซิร์ฟเวอร์ปลอมเป็นระยะเวลาหนึ่ง

ที่จริง IETF พยายามแก้ปัญหานี้แล้ว ด้วยมาตรฐาน DNS Cookies ( RFC 7883 ) ที่เพิ่มค่า cookie ให้เซิร์ฟเวอร์ตอบค่าเดียวกันเท่านั้น ทำให้คนร้ายไม่สามารถเดาค่านี้ได้ แต่ในโลกความเป็นจริงเซิร์ฟเวอร์จำนวนมากไม่ได้รองรับฟีเจอร์นี้ โดยรวมมีคิวรีที่ได้รับการปกป้องจากกระบวนการนี้แค่ 10%

เมื่อปี 2022 กูเกิลจึงทดลองมาตรการที่มีการเสนอกันมาตั้งแต่ปี 2008 คือการสุ่มตัวเล็กใหญ่ในชื่อโดเมน ซึ่งโดยทั่วไปแล้วเซิร์ฟเวอร์ authoritive จะตอบกลับชื่อเดิมที่คิวรีเข้า ในกรณีที่คนร้ายพยายามปลอม DNS reply ก็จะไม่สามารถเดาได้ว่ากูเกิลสุ่มตัวเล็กใหญ่ไว้รูปแบบใด เนื่องจากเซิร์ฟเวอร์ส่วนใหญ่มีพฤติกรรมตรงกันทำให้ป้องกันได้เป็นวงกว้าง และตอนนี้กูเกิลก็เปิดฟีเจอร์นี้เป็นค่าเริ่มต้น ทำให้การคิวรีมากกว่า 90% ได้รับมาตรการปกป้องเพิ่มเติม ลดความเสี่ยงถูกโจมตี cache poisoning ลงแล้ว

มาตรการนี้เซิร์ฟเวอร์ authoritive ไม่ต้องทำอะไรเพิ่ม แต่กูเกิลก็แนะนำให้พยายามเปิดใช้ฟีเจอร์ความปลอดภัยใหม่ๆ

ที่มา - Google Security Blog

No Description

ภาพกระบวนการคิวรี DNS จาก Cloudflare

Get latest news from Blognone

Comments

By: hisoft
Contributor Windows Phone Windows
on 8 April 2024 - 03:04 #1309423
hisoft's picture

ยังงงๆ อยู่ว่าช่วยป้องกันได้ยังไง 🥲

By: McKay
Contributor Android WindowsIn Love
on 8 April 2024 - 07:56 #1309428 Reply to:1309423
McKay's picture

ปกติ bad actors จะใช้วิธีการ flood dns reply โดยใช้ queryid ที่คาดเดาไว้จาก queryid ตัวก่อนๆที่ prime และ sniff ไว้ครับ

ซึ่งหมายความว่า flood dns reply มักจะเป็น domain record ค่าเดียวเสมอ เพื่อพยายามให้ recursive nameserver ได้รับค่าและนำค่านั้นไปใช้ก่อนค่าที่มาจาก authoritative nameserver ของจริง

ดังนั้นถ้า recursive nameserver ร้องขอ BlOgNoNe.CoM
recursive nameserver ask BlOgNoNe.CoM with queryid 1011 >> bad actor authoritative nameserver flood reply blognone.com with queryid 1011 = mismatch

recursive nameserver ask BlOgNoNe.CoM with queryid 1011 >> authoritative nameserver reply BlOgNoNe.CoM with queryid 1011 = match ครับ


Russia is just nazi who accuse the others for being nazi.someone once said : ผมก็ด่าของผมอยู่นะ :)

By: hisoft
Contributor Windows Phone Windows
on 8 April 2024 - 10:36 #1309442 Reply to:1309428
hisoft's picture

โอ้ ขอบคุณครับ อธิบายได้เห็นภาพเลย

By: deaknaew on 8 April 2024 - 05:13 #1309424

ไม่เข้าใจเช่นกัน

By: tg-thaigamer
Contributor iPhone Android Blackberry
on 8 April 2024 - 07:22 #1309427
tg-thaigamer's picture

เข้าใจว่าถ้าปลอม dns resolver ถ้าสุ่มพิมพ์เล็กพิมพ์ใหญ่ มันต้อง return ที่ถูกต้องกลับมาตามที่สุ่ม

แต่เข้าใจว่าถ้า MIM จะปลอมกลับด้วยพิมพ์เล็กใหญ่ domain ที่เจนมาไม่ถูก ทำให้มาเช็คได้ว่าใครทำ server ปลอมอยู่ เข้าใจถูกไหมนะ


มือใหม่!! ใหม่จริงๆนะ

By: Hoo
Android Windows
on 8 April 2024 - 09:05 #1309432

งงๆ
ถ้าคนร้ายแก้ให้ relay ปลอม ตอบตัวใหญ่เล็ก ตามที่ถูก query ถามมา
ก็หลอกได้แล้วรึเปล่า???

By: lew
Founder Jusci's WriterMEconomics Android
on 8 April 2024 - 10:27 #1309441 Reply to:1309432
lew's picture

Blognone.com นี่ 11 ตัวอักษร ไม่รวมจุด ความเป็นไปได้ 2^11 ประมาณ 2048 แบบ ถ้าชื่อโดเมนยิ่งยาวรูปแบบยิ่งมาก

เมื่อนำไปร่วมกับมาตรการอื่นๆ ก่อนหน้านี้ เช่น randomized port ที่คนร้ายต้องเดาว่า Google เลือกคิวรีโดเมนใดจากพอร์ตต้นทางพอร์ตไหนอีกประมาณ 30,000 รูปแบบ จะได้ความเป็นไปได้ประมาณ 60 ล้านรูปแบบในกรณขีของ Blognone มัน "เยอะพอ"ที่คนร้ายจะไม่สามารถเดาจนครบ ภายใต้ช่วงเวลาที่ Goolge ยิงคิวรีอออกมาจริงๆ และรอผลลัพธ์อยู่


lewcpe.com , @wasonliw

By: mix5003
Android Ubuntu Windows
on 8 April 2024 - 13:24 #1309452 Reply to:1309432

ผมเข้าใจว่าทำไม่ได้ครับ (ถ้าเข้าใจผิดขออภัย)เพราะมันไม่ได้ยิงไปถามคนร้าย คนร้ายเลยไม่รู้ว่าคนถาม ถามด้วยตัวใหญ่เล็กรูปแบบใด

ที่ผ่านมาคนร้ายน่าจะใช้วิธียิงคำตอบ ไปหาคนถามโดยไม่สนว่าคนถามถามว่าอะไรครับ
เช่นคนถามอาจจะถามว่า www.blognone.com ip อะไร แต่คนร้ายยิงไปว่า www.google.com ip นี้นะ
แล้วก็รอฟลุค ว่าเมื่อไหรคนถาม จะถามว่า www.google.com ip อะไร

By: Hoo
Android Windows
on 9 April 2024 - 07:32 #1309478 Reply to:1309452

อ๋อ ขอบคุณครับ ค่อยเข้าใจหน่อย

เห็นคำว่า relay เลยนึกว่า เครื่องคนร้ายจะทำได้ระดับ man in middle ซึ่ง ตัวใหญ่-เล็ก มันไม่น่าจะช่วยอะไร เพราะดักคำถามได้

By: itpcc
Contributor iPhone Red Hat Ubuntu
on 8 April 2024 - 12:54 #1309451
itpcc's picture

แต่แบบนี้ก็น่าจะไม่ช่วยกับพวก Unicode-based domain ล่ะมั้ง

ถึงอย่างนั้นก็น่าจะช่วยกับเว็บส่วนใหญ่พอได้อยู่


บล็อกส่วนตัวที่อัพเดตตามอารมณ์และความขยัน :P

By: big50000
Android SUSE Ubuntu
on 8 April 2024 - 13:56 #1309455
big50000's picture

แสดงว่าถ้า Client ไม่ได้ใช้ Case-sensitive Authoritive ก็อาจจะป้องกันไม่ได้

By: rattananen
Android Windows
on 8 April 2024 - 15:57 #1309463 Reply to:1309455

เวลา compare มันต้อง case sensitive ตาม spec น่ะครับhttps://datatracker.ietf.org/doc/html/rfc1034#section-3.1 ย่อหน้าที่ 5

By: big50000
Android SUSE Ubuntu
on 9 April 2024 - 05:12 #1309477 Reply to:1309463
big50000's picture

++

อย่างน้อยเบราว์เซอร์ก็หายห่วง