Linux Foundation ประกาศตั้งกลุ่ม Supporters of Chromium-Based Browsersดึงหลายๆ บริษัทเข้ามาช่วยพัฒนาเว็บเบราว์เซอร์ตระกูล Chromium
กลุ่ม Supporters of Chromium-Based Bowsers ที่อยู่ภายใต้ Linux Foundation จะทำหน้าที่เป็นองค์กรกลางในการร่วมพัฒนา Chromium เพิ่มเติมจากกูเกิลทำอยู่รายเดียว ตอนนี้มีสมาชิกเข้าร่วมเพิ่มอีก 3 รายคือ Meta, Microsoft, Opera และจะเปิดรับสมาชิกเพิ่มเติมอีกในอนาคต
ฝั่งกูเกิลให้ข้อมูลว่า โค้ดที่ส่งเข้า Chromium ในปี 2024 เป็นของกูเกิลประมาณ 94% ซึ่งกูเกิลยังคงเดินหน้าพัฒนา Chromium ต่อในระดับเดิม ออกเงินค่าเซิร์ฟเวอร์ในการจัดการโค้ด แก้บั๊ก ทดสอบ ฯลฯ เหมือนเดิม แต่ก็ยินดีที่จะเห็นบริษัทอื่นๆ เข้ามาร่วมลงทุนพัฒนา Chromium ให้มากขึ้นด้วย
โครงการ Supporters of Chromium-Based Bowsers ยังไม่ถึงขั้นรับช่วงดูแลโครงการ Chromium แทนกูเกิล (ดังที่เราเคยเห็นจากโครงการโอเพนซอร์สอื่นๆ เช่น CNCF รับดูแล Kubernetes ) แต่จะใช้โมเดลการกำกับดูแลโครงการโอเพนซอร์สแบบที่ Linux Foundation ใช้กับโครงการอื่นๆ ขั้นถัดไปคือจะตั้งคณะกรรมการเทคนิค (technical advisory committee) ขึ้นมาช่วยแนะแนวทางการพัฒนา Chromium ตามความต้องการของชุมชนผู้ใช้งาน
Opera บอกว่าพัฒนาเบราว์เซอร์บนฐาน Chromium มาตั้งแต่ปี 2013 และมีความเชี่ยวชาญในตัว Chromium อยู่มาก การเข้าร่วมกลุ่มจะช่วยให้ Opera มีเวทีในการเข้าร่วมพัฒนา Chromium มากขึ้น ซึ่งจะเป็นประโยชน์กับทุกคนที่ใช้ Chromium
ที่มา - Linux Foundation , Chromium , Opera
Comments
สาธุทำได้จริง ๆ ก็ดีเลย มาตรฐานจะได้ระดมความคิดมากขึ้น แต่ละคนก็มีความถนัดต่างกัน
Bowsers => Browsers
มาขนาดนี้แล้ว ก็ต้องยกให้เป็นมาตรฐานกลางแล้วล่ะ
..: เรื่อยไป
แบบนี้ Firefox กับ Safari น้อยใจแย่ (ฮา) กลุ่ม Browser Engines ตอนนี้ก็สู้กันอยู่ 3 กลุ่มนี่แหละครับ
รู้สึดผิดเลยใช้ firefox กับ safari อยู่ 🥹
มือใหม่!! ใหม่จริงๆนะ
555 ผมก็ยังใช้ Firefox อยู่ครับ แบบว่าใช้หมดเลย Chrome, FF, Edge, Brave ยกเว้น Safari
..: เรื่อยไป
safari เป็น มาตรฐานกลาง ใน โลกของเค้า อยู่แล้ว , เฉกเช่นอื่นๆ ? .. ถ้าจะสู้ ก็เหมือนคู่แข่งจะมีแค่ eu ( สุ้ไม่ยอมเปิดโลก กับ สู้ให้ยอมเปิดโลก ) , เฉกเช่นอื่นๆ ?
🤔
W3C กำหมัดแล้วนะครับ
ทำไม อ่ะครับ 😶
ก็องค์กรกำหนดมาตราฐานกลางเรามีอยู่แล้ว
อยู่ๆ ให้ engine ตัวใดตัวหนึ่งมาเป็นมาตราฐานกลาง มันซ้ำซ้อนกัน แถมไม่ทำให้เกิดการแข่งขันพัฒนาอีก
ถ้า scope ประมาณนี้ .. ตั้งแต่ตอนท้ายของ html5 , ก็ยกให้ whatwg เป็นคน lead ไปแล้ว ?
ถ้าทำแล้ว open และมี momentum ประมาณ Linux ( อนึ่ง , อันนี้ไม่ได้จะบอกว่า Linux คือ best of the best นะครับ ) .. ก็ลดประเด็นว่าใน ecosystem มี open spec แล้ว , แต่ implementation ที่ได้ใช้งานกันจริง ก็ยังมีประเด็น compatibility อยู่ดี ( รึป่าว ? 🤔 )
เหมือน รับช่วง ต่อกัน .. พวกระดับ w3c วาง spec , แล้วก็มีพวกที่ปูทางการ implement ให้ spec ถูกนำมาใช้จริงในวงกว้าง
ปล. รึอย่าง passkey , นี่ก็รอ browser รองรับเสมอๆ กันอยู่ .. ซึ่งตัว spec ก็ไม่ได้มีแค่ส่วนที่มาจาก w3c , แต่ท้ายสุดของ spec จากทุกส่วน คือ web app ใช้งานผ่าน browser ( ยังไม่นับของใหญ่สำหรับ pwa หรือ wasm , รึของใหม่อย่าง webnn )
เอางี้ผมอธิบายสิ่งที่ผมจะสื่อให้ชัดดีกว่า (ผมอ่านที่คุณคอมเม้นมาแล้วผมงงๆ)
คือ standard ออกมาโดยองค์กรกลางที่เกิดจากการรวมกลุ่มกันของบริษัท และเหล่า implementer ที่ทำ engine มาก่อน
แล้วบริษัทเหล่านั้นก็เอา standard ไป implement แข่งกันให้เกิดการแข่งขัน (ให้แสดงผลถูกต้อง ทำงานให้เร็ว ประหยัดพลังงาน หรือขนาดเล็ก) ซึ่งแต่ละบริษัท แต่ละ implementer มีความถนัดในแต่ละ target platform ไม่เท่ากัน โดยใครอยากได้อะไรเพิ่มเติมก็ทำกันไป หรืออยากเสนอเข้า standard ก็ไม่ต้องรอ แต่ก็ทำล่วงหน้าแล้วเสนอเข้ามาให้เป็น standard ทีหลัง
ซึ่งการมีหลายบริษัท และหลาย implementer ครับ มันช่วยให้เกิดการแข่งขันทั้งการสร้างความสามารถใหม่ๆ และการทำให้มันเข้ากันได้ไปในตัว เพราะ engine สักตัวอาจไม่รองรับอุปกรณ์ หรือแพลตฟอร์มทั้งหมดได้ครับ ถึงแม้ว่าจะมีความพยายามทำ แต่สุดท้ายบริษัทแต่ละที่ก็มีจุดมุ่งหมายของแต่ละบริษัทไม่เท่ากัน ก็ fork ออกมาทำเองกันอยู่ดี ดูได้จาก WebKit ที่ fork มาจาก KHTML และต่อมา Blink ก็ fork มาจาก WebKit
ยังไม่ได้พูดถึงความเสี่ยงกรณีผูกขาด และมีอำนาจเหนือตลาดด้วย
ส่วน ที่ บอกว่า , standard ออกมาโดยองค์กรกลาง .. standard หมายถึง html , และ องค์กรกลาง หมายถึง w3c รึป่าวครับ
ถ้าใช่ .. คือผมเข้าใจว่า , ส่วนของ html นั้น ตอนนี้ w3c ยกให้ whatwg เป็นคน lead แทนไปแล้ว
ซึ่ง ที่มาที่ไป ของ whatwg .. ผมเข้าใจว่า , ก็คล้ายๆ กับ กลุ่มที่กำลังจัดตั้งตามในข่าวนี้ แหละ
ทว่า ขอบเขต ของ whatwg , ผมเข้าใจว่า ก็ยังคล้ายๆ w3c คือ กำหนด spec .. ส่วน ขอบเขต ของ กลุ่มในข่าว , ผมเข้าใจว่า คือได้ implementation ออกมาเลย ( คล้ายๆfinal outcome ของ linux )
ภาพรวม ของ ข้อดี/ข้อเสีย สำหรับ การมีกลุ่มตามข่าว , ผมมองแบบง่ายๆ ก็คิดว่าคงคล้ายๆ กับ ตัวตนในตอนนี้ ของ linux .. ซึ่ง วิถีแบบนี้ , ผมมองว่า ก็คล้ายๆ วิถีที่ผ่านมาของ spec อื่นๆ ที่ถูก implement อยู่ใน browser ( เช่น ecmascript หรือ fido )
แล้วก็หวังว่า , อันนี้ จะเร่งให้ pwa เกิดได้ไวขึ้น .. ตอนนี้กำหนดได้แค่ os ต้องลง browser อะไรก็ได้ , แต่ os อาจไม่รองรับบาง feature ก็ได้ .. แต่ถ้ามี open standard browser , ก็เป็นไปได้มากขึ้นที่จะกำหนดว่าอย่างน้อย os กับ browser ตัวนี้ต้องทำงานร่วมกันได้ ( os จะปิดก็ได้ , มาปรับที่ browser เอาได้ เพราะว่าเปิดให้ใครร่วมปรับก็ได้ )
555 ผมแค่หยอกๆ
..: เรื่อยไป
Apple เข้าร่วมหน่อยมั้ย 👀
ใช้ Opera สมัยแรกๆ ที่ออกจำได้ว่าเร็วกว่า IE เยอะโดยเฉพาะ web ที่มีรูปเยอะ preview ได้ไวกว่า IE เยอะ แต่เลิกใช้เพราะใชั Gmail และ google Chrome กลับไปลอง Opera อีกทีก็ไม่ทนัเเลวเพราะติดกับดัก google Chrome log in link ข้อมูลมาหมด เเละใช้ Edge สะดวกกว่า และบางครังก็ไปใช้ Brave เพราะบ๊อกโฆษณาได้ดีมาก